ทีมงานซอฟต์แวร์ของ SpaceX ตั้งกระทู้ตอบคำถามบน Reddit ให้คนทั่วไปตั้งคำถามใดๆ ก็ได้ ทำให้ทีมงานมีโอกาสเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม โดยประเด็นที่สำคัญคือหน้าจอสัมผัสของยาน Dragon นั้นรันอยู่บน Chromium โดยมีไลบรารีจาวาสคริปต์แบบ reactive ที่พัฒนาขึ้นเองเป็นการภายใน โดยหน้าจอนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับหน้าจอรถของ Tesla
ทีมงานยืนยันว่าหน้าจอบนยานไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับเกมจำลองการเชื่อมต่อแคปซูลเข้ากับสถานีอวกาศนานาชาติ แม้จะพัฒนาโดยทีมงานเดียวกันแต่ก็เป็นโปรเจคทำเอาสนุกของทีมงานบางคนและสุดท้ายบริษัทตัดสินใจพัฒนาต่อเปิดให้คนทั่วไปเข้ามาเล่น

ยังมีข้อมูลอีกหลายส่วน โดยข้อที่น่าสนใจเช่น
- ทีมงานมีหน้าจอแบบเดียวกันกับบนยานรันอยู่ในห้องบังคับการบิน แต่เนื่องจากไม่สามารถส่งข้อมูลเซ็นเซอร์ลงมาได้ทั้งหมด ข้อมูลก็จะไม่ครบเท่ากับบนยาน โดยข้อมูลแต่ละภารกิจของ SpaceX นั้นมีปริมาณข้อมูลเซ็นเซอร์นับร้อยกิกะไบต์เลยทีเดียว
- หน้าจอคอนโซลของห้องบังคับการบินบางส่วนพัฒนาด้วย LabVIEW โครงการใหม่เปลี่ยนเป็น JavaScript/HTML/CSS ทั้งหมดแล้ว
- ลินุกซ์ที่ใช้บนยานเป็นดิสโทรเฉพาะที่ SpaceX พัฒนาไว้ใช้งานเอง มีแพตช์บ้างเล็กน้อย แต่ส่วนสำคัญคือใช้แพตช์ CONFIG_PREEMPT_RT เพื่อทำให้เคอร์เนลทำงานแบบเรียลไทม์ แต่ก็ยังไม่ตรงกับความต้องการเสียทีเดียว ส่วนที่เหลือเป็นการพัฒนาไดรเวอร์สำหรับฮาร์ดแวร์เฉพาะของ SpaceX
- ซอฟต์แวร์ที่รันบนยานจริงเป็น C/C++ ส่วนเครื่องมือทดสอบใช้ Python ในห้องแชตของทีมพูดถึง Rust อยู่บ้างแต่ยังไม่ได้นำมาใช้งาน โดยซอฟต์แวร์ส่วนมากเป็นเธรดเดียว เนื่องจากต้องการความคาดเดาได้
- กระบวนการทดสอบซอฟต์แวร์เริ่มตั้งแต่ unit test และทดสอบในคอนเทนเนอร์ที่นักพัฒนาทดสอบในเครื่องตัวเองได้ จากนั้นจะไปทดสอบกับฮาร์ดแวร์จริงในระบบจำลองการบิน เรียกว่า hardware-in-the-loop หรือ HITL โดยกระบวนการจำลองการบินสามารถจำลองได้ทั้งภารกิจ รวมถึงจำลองเมื่อเกิดเหตุผิดพลาด
- ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์บนยาน Dragon ออกแบบให้ทนทานต่อความผิดพลาดแบบ 2 fault tolerant โดยยังหยุดภารกิจได้อย่างปลอดภัย เช่นถอนตัวออกจากสถานีอวกาศได้ในกรณีภารกิจขนส่งธรรมดา และต้องพานักบินกลับโลกได้ในภารกิจมีนักบินไปด้วย โดยคอมพิวเตอร์บนยานนั้นแรงพอๆ กับโทรศัพท์มือถือที่ออกมา 5 ปีแล้ว
- ระบบอัตโนมัติบนยาน Dragon ที่เทียบท่าสถานีอัตโนมัติ และระบบลงจอดอัตโมัติของ Falcon 9 ไม่ได้ใช้ซอฟต์แวร์แบบ machine learning แต่อย่างใด
ทีมงานยังตอบถึงการทำงานว่าโดยทั่วไปมีสมดุลชีวิตที่ดี ทีมงานสองคนเพิ่งมีลูก แม้ว่าจะมีบางช่วงที่งานหนักมากๆ ต้องทำงานดึกและทำงานเสาร์อาทิตย์ เช่นก่อนภารกิจ Demo-2 และการพัฒนายาน Starship ตอนนี้
ที่มา - Reddit AMA
Comments
ไลบรารีหรือไบนารีนะครับ ?
ไดร์เวอร์ => ไดรเวอร์
กาารบิน => การบิน
แรงพอๆกับมือถืออายุ 5 ปี หมายถึงแรงพอๆกับมือถือรุ่น 5 ปีก่อนใช่มั้ยครับ
ผมก็งง กับคำนี้เหมือนกันครับ
น่าจะใช่ครับ
https://www.reddit.com/r/spacex/comments/gxb7j1/comment/ft62781
ใช่ครับ ทีมงานไม่เปิดเผย architecture ของ CPU บอกแค่ว่าเป็น quad core ความแรงเท่าๆ มือถือที่ออกมา 5 ปีที่แล้ว
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
ส่วนตัวคิดว่าควรใช้เป็น โทรศัพท์ 5 ปีที่แล้ว มากกว่าโทรศัพท์อายุ 5 ปีนะ
+1 อ่านแล้วงงมาก
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เป็นการแปลตรงๆ
similar in power to a 5 year old phone.
จริงๆผมว่าก็โอเคนะ
แสดงว่าถ้านานกว่านี้จะโตไปจะเป็น snap 875?
555555
ผมก็คิดว่าผม งง อยู่คนเดียว
ปรับใหม่แล้วนะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
และระบบลงจอดอัตโมัติของ Falcon 9 >> และระบบลงจอดอัตโนมัติของ Falcon 9
เขียนด้วย js รันบนเว็บ อย่างเท่ ?
ถ้าใช้ Windows ละก็...
แว่บมาระบบควบคุมฝั่งโบอิ้ง ตรงข้ามกับ SpaceX เลย เลยสงสัยว่า SpaceX นี่ทำไงให้ปุ่มหายไปไหนหมด
โบอิ้งเน้นเมนนวลครับ ไม่ใช่อะไร ก็กันไว้เวลาจอสัมผัสมันเจ๊งอ่ะแหละ ยังไงก็ต้องให้นักบินควบคุมได้
แต่ดันเขียนให้ซอร์ฟแวร์คุมเครื่องได้เอง จนตกระนาวแทบเจ๊งอยู่นั่น
ก็ไม่รู้จะทำระบบแมนนวลมาไว้ทำไม งงกะมัน
จอสัมผัสเสียจอนึงยังใช้จออื่นแทนได้ ปุ่มเสียนี่ไม่มีปุ่มสำรองจบเลย
ปุ่มมันไม่ค่อยเสียนี่สิครับ
แต่มันเคยเสียมาแล้วตอนอพอลโล ทำให้ได้ตำนานปากกาช่วยชีวิตของบัช อัลดริน
ต้องเทียบกับจอสัมผัสด้วยนะครับว่าผ่านการใช้งานมากี่ครั้งแล้วเสียกี่ครั้งเมื่อเทียบกับปุ่ม เข้าใจว่าจอมันดีตรงสายคงน้อยลงเมื่อเทียบกับปุ่มกด
ปุ่มเสียใช้ปากกาได้
จอสัมผัสเสีย ใช้อะไรแก้ได้ครับ?
แล้วถ้าไปต่อ ปุมเสีย 1 ปุ่ม ก็เสีย 1 ปุ่ม
จอสัมผัสเสีย 1 จอ ไปทุกปุ่มบนจอเดียวกัน
ผมอ่านจากไหนไม่แน่ใจว่า จอเสียก็ใช้จอข้างๆ เอาครับ เพราะมันเป็นจอสัมผัสหมด เสียไปจอนึงก็สลับเอาส่วนที่สำคัญหรือต้องใช้ตอนนั้นไปไว้จอที่ยังดีอยู่ ก็อาจจะลำบากหน่อยเพราะช่องทางรับข้อมูล + input น้อยลง แต่ปุ่มเสียนี่มันกดปุ่มอื่นแทนไม่ได้นะครับ
และผมคิดว่าเค้าคงออกแบบไม่ให้มันเสียพร้อมกันทุกจอแหละ
ถ้าจอสัมผัสแบบ resistive นี่มันทนมากเลยนะครับ ถ้านับเรื่องฝุ่นนี่ผมว่าอาจจะชนะปุ่ม mechanical
lewcpe.com, @wasonliw
ก็เอาของที่ไม่ต้องใช้ในยามฉุกเฉินไปใส่ในทัชสกรีนให้หมดไงครับ อย่างเช่น ลูกบิดปรับแอร์
ปรัชญาของโบอิ้งคือคนต้องคุมเครื่องครับ เพิ่งมาเมากาวกับ 737Max นี่แหละ
I need healing.
ผมว่าส่วนนึงเพราะยานตัวนี้มีพื้นฐานจากยานเก่าๆ ที่เอามาต่อยอดด้วยนี่ล่ะ
ยังไงระบบที่ต้องการความปลอดภัยและชีวิตก็ยังอยากให้เป็นแมนนวลอยู่ดีนะ ถ้าเกิดอะไรขึ้นมาเรายังพอจะหาอะไรทดแทน แก้ไขได้ เอาใกล้ตัวก็รถยนต์นี่แหละสมัยนี้ไฟฟ้าแทบทั้งคันพอเกิดเหตุไฟฟ้ารวนหรือรถจมน้ำขึ้นมาผู้ใช้อย่างเราแทบจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย ถ้าอย่างในรูปเกิดจอเสียขึ้นมานี่ไม่อยากจะคิดเลยจะเป็นอย่างไร...
รถยนต์ย้อนกลับไป 30 ปีก็ยังเป็นไฟฟ้า เบรก ABS ก็ไฟฟ้า เราติดใจอะไรที่แมนนวลเสถียรกว่าไฟฟ้าเหรอครับ คนในนี้น่าจะรู้ว่าปัญหา Human เป็นสาเหตุใหญ่ที่คุมไม่ได้ยิ่งกว่าแผงควบคุมพวกนี้อีก
I need healing.