ช่วงปีที่แล้วต่อมาจนถึงช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เรื่องการผูกขาดของบริษัทไอทีถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในมิติการเมืองสหรัฐที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคเดโมแครตฝ่ายซ้ายอย่างอลิซาเบธ วอร์เรนที่มีบทบาทผลักดันกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมการแข่งขัน ได้นำเสนอนโยบาย Break Up Big Tech ที่จะจับแยกบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ ให้แตกออกมาเป็นบริษัทย่อย เพื่อเสริมการแข่งขันและลดอิทธิพลของบริษัทเหล่านี้ลง
ทว่าหลังการถอนตัวของวอร์เรน กอปรกับวิกฤติโควิด ประเด็นเรื่องการจัดการการผูกขาดของบริษัทเทคโนโลยีโดยภาครัฐกลายเป็นแค่คลื่นกระทบฝั่งเท่านั้น ก่อนที่เรื่องนี้จะกลายเป็นข่าวหน้าหนึ่งอีกครั้ง จากกรณีที่ Epic ขบถด้วยการทำระบบจ่ายเงินของ Fortnite เอง จนตามมาด้วยการแบนของ App Store และ Play Store ต่อด้วยคดีความเรื่องการผูกขาดที่ Epic เตรียมไว้อยู่แล้ว
บทความนี้จะพาไปสำรวจพฤติกรรมและแนวคิดการผูกขาดของ Apple (และ Google) และการต่อสู้เพื่อการปลดแอกของ Tim Sweeney ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Epic Games ที่ในท้ายที่สุดอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายต่อต้านการผูกขาดในสหรัฐก็เป็นได้
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว ส่วนหนึ่งก็ต้องยกความดีความชอบให้ Steve Jobs ที่ผลักดันให้เกิด iPhone ไปจนถึงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดจำหน่ายซอฟต์แวร์ จากเดิมที่มีทั้งซื้อแผ่นจากหน้าร้านเอามาลงหรือดาวน์โหลด ให้อยู่ในรูปของการดาวน์โหลดและติดตั้งผ่าน App Store ช่องทางเดียว
การมาถึงของ App Store ไม่ใช่แค่เปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดจำหน่ายและติดตั้งซอฟต์แวร์ ให้นักพัฒนาไม่ว่าจะรายเล็กรายใหญ่ สามารถนำเสนอแอปตัวเองไปยังผู้ใช้งานได้แพร่หลายมากขึ้น แต่ยังเปลี่ยนแปลงแนวคิดเรื่องความเชื่อใจ (trust) และความปลอดภัย (safety) ในการใช้งานและติดตั้งซอฟต์แวร์รวมถึงเรื่องข้อมูลบัตรเครดิตไปพร้อม ๆ กัน
เดิมการติดตั้งซอฟต์แวร์ลงบนพีซี เราอาจกังวลเรื่องไวรัส เรื่องมัลแวร์หากไม่ใช่ซอฟต์แวร์แท้ที่มาจากบริษัทใหญ่ ๆ อย่าง Adobe หรือ Microsoft แต่ App Store ได้สร้าง trust และ safety ไปพร้อม ๆ กันผ่านนโยบายการควบคุมและตรวจสอบแอปอย่างเข้มงวดของ Apple แบบระบบปิด ทำให้ผู้ใช้งานกล้าที่จะโหลดแอปจากนักพัฒนาที่ไม่รู้จักโดยไม่ต้องกลัวเรื่องไวรัสหรือมัลแวร์
แนวคิดของ Apple เลยอยู่ในรูปแบบของอำนาจรวมศูนย์ การตัดสินถูกผิดทุกอย่าง อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้แอปไหนขึ้นสโตร์ ขึ้นอยู่กับ Apple แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งพอเข้าใจได้หากมองในฐานคิดด้านวิศวกรรมและด้านความปลอดภัย
ทว่า Apple เริ่มขยายขอบเขตของการใช้อำนาจรวมศูนย์ออกไป จากการรองรับการจ่ายเงินสมัครสมาชิก (subscription) ผ่านระบบจ่ายเงินของตัวเองในปี 2011 ซึ่งหักค่าธรรมเนียม 30% พร้อมทั้งบังคับให้แอปที่มีระบบสมาชิกต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบจ่ายเงินของ Apple เท่านั้น บังคับไม่ให้แอปที่เป็นพับลิชเชอร์ (เช่น Kindle, Netflix, หรือหนังสือพิมพ์อย่าง WSJ ที่สามารถเสพคอนเทนท์นอกแพลตฟอร์ม Apple ได้) ใส่ระบบจ่ายเงินของตัวเองเข้ามาในแอป รวมถึงห้ามมีสโตร์ซ้อนอยู่ในแอปอีกที แม้แต่ในรูปของการเปิดหน้าเว็บผ่าน webview (ไม่ว่าจะหน้าสโตร์หรือหน้าจ่ายเงิน) ก็ไม่อนุญาตเช่นกัน
เหตุการณ์เหล่านี้สะท้อนวิธีคิดของ Apple ว่าจะไม่ยอมให้ใครหน้าไหนก็ตาม มาใช้ฮาร์ดแวร์และแพลตฟอร์ม Apple แบบฟรี ๆ แม้จะเกิดประโยชน์กับผู้บริโภคหรือนักพัฒนาก็ตาม (แม้กระทั่งช่วยภาคธุรกิจในช่วงโควิดก็ไม่ยอม) (แต่เหตุผล Apple เวลาแก้ตัวมักจะอ้างประโยชน์ของผู้บริโภคหรือนักพัฒนา)
นอกจากนี้ยังมีเอกสารหลักฐานจากการไต่สวนการผูกขาดของสภาคองเกรสล่าสุด เป็นอีเมลภายในของ Apple ช่วงปี 2011 ที่ตอกย้ำฐานคิด "ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จโดย Apple เพื่อ Apple" ไม่ว่าจะเป็นคำพูดของ Steve Jobs ที่ยอมรับกลาย ๆ ว่าการบีบให้จ่ายค่าธรรมเนียม 30% จะสร้างความเดือดร้อนให้บริษัทอื่น หรือคำพูดของ Eddy Cue รองประธานอาวุโสฝ่ายซอฟต์แวร์และบริการอินเทอร์เน็ตแสดงความเห็นเรื่องการเก็บค่าธรรมเนียมกรณีการต่ออายุสมาชิก (recurring subscription) ว่าควรเก็บที่ 40% ด้วยซ้ำไปในปีแรก
Apple จึงเปรียบเสมือนการท่าเรือที่คุมอำนาจเบ็ดเสร็จ สามารถไล่ต้อนคน (แอป) ให้ผ่านเข้าออกแค่ประตูเดียวที่มี Apple เป็น ตม. แถมต้องจ่ายศุลกากร (30%) ให้ Apple ด้วย มิเช่นนั้นก็ไม่สามารถผ่านเข้าประตูนี้ไปได้ เจ้าของแอปไม่มีทางเลือกอื่นหากจะให้บริการบน iOS/iPadOS นอกจากต้องก้มหน้าทำตามนโยบายของ Apple เท่านั้น
กรณีของ Android และ Play Store อาจมีความคล้ายคลึงกับ App Store ในแง่ของการบังคับช่องทางการจัดจำหน่ายแอปและการคิดเงิน แต่ผู้พัฒนาแอปและผู้ใช้งานยังพอมีทางเลือกอยู่บ้าง เช่น ไซด์โหลดเกมลงในเครื่องโดยไม่ผ่าน Play Store ด้วยไฟล์ apk หรือการมีสโตร์และระบบคิดเงินแยกอย่าง Galaxy Store ของซัมซุง หรือ Huawei AppGallery
ที่ผ่านมานโยบายของ Google ในแง่การสร้าง trust และ safety ค่อนข้างแตกต่างจาก Apple ดังที่เห็นจากความอะลุ่มอะล่วยหลาย ๆ อย่าง จนเกิดปัญหาแอปมัลแวร์ แอปดักข้อมูลผู้ใช้งานอยู่เต็ม Play Store ทำให้ Google ต้องพยายามไล่แก้ปัญหามาหลายปีและค่อย ๆ บังคับใช้นโยบายแบบปิดตามรอย Apple มากขึ้นด้วยบริการ Google Play Protect ที่เริ่มเข้ามาสแกนแอปในเครื่องของผู้ใช้ ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย
การใช้อำนาจเบ็ดเสร็จของ Apple ยิ่งสะท้อนออกมาอย่างชัดเจนในช่วงหลัง ดังจะเห็นได้จากกรณีดังๆ เช่น แอป Hey ของ Basecamp, Facebook Gaming หรือ WordPress ที่ล้วนแต่มีปัญหาโดน Apple กีดกัน ผ่านการห้ามไม่ให้อัปเดตแอปของตัวเองบน App Store ทั้งสิ้น แม้ว่าบางครั้งเป็นความผิดพลาดของฝั่ง Apple เองด้วยซ้ำ เช่น กรณีของ WordPress ก็ตาม
ภาพการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จและการผูกขาด ที่สร้างความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันยิ่งสะท้อนออกมากยิ่งขึ้นจากท่าทีต่อบริการคลาวด์เกมมิ่งล่าสุดของ Apple ที่บล็อคทั้ง xCloud และ Stadia โดยอ้างการตรวจสอบเนื้อหา ทั้งที่ในความเป็นจริงหากปิดกั้นหรือจำกัดการเข้าถึงสิทธิของแอปหนึ่ง ๆ โดยอ้างเหตุผลด้านความปลอดภัยก็พอเป็นเหตุผลที่เข้าใจได้ แต่กับกรณีของคลาวด์เกมมิ่ง มันออกไปในแนว Apple ไม่ได้ประโยชน์เลยไม่อนุญาตมากกว่า บวกกับข่าวลือว่า Apple จะทำบริการคลาวด์เกมมิ่งเอง เลยกีดกันคู่แข่งเอาไว้ตั้งแต่แรก
นอกจากเรื่องการผูกขาดสโตร์แล้ว Apple ยังมีประเด็นเรื่องการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม จากบทบาทที่ทับซ้อนกันในการเป็นทั้งเจ้าของแพลตฟอร์มและผู้ให้บริการ อย่างกรณีการทำแอป Parental Control ออกมาแล้วแล้วแบนแอปนักพัฒนาภายนอก หรือการทำ Apple Music ส่งผลให้ Spotify ต้องต่อสู้บนสนามที่ไม่เท่าเทียม ทั้งในแง่การพรีโหลดมาในเครื่องของ Apple Music และเรื่องต้นทุนที่มากกว่าของ Spotify จากค่าธรรมเนียม เพราะ Apple เป็นทั้งเจ้าของตลาด (App Store) และคนขายของ (Apple Music) ในขณะที่ Spotify เป็นคนขายของแบบเดียวกัน เป็นคู่แข่งโดยตรง แล้วถูกบีบให้ต้องมาขายในตลาดของคู่แข่ง
เคส Spotify ค่อนข้างฉายภาพความได้เปรียบของ Apple ออกมาอย่างชัดเจน เพราะ Spotify ช่วงปี 2014 ต้องขึ้นค่าบริการจากสมาชิกที่ใช้ iOS เป็น 13 เหรียญจาก 10 เหรียญเพื่อชดเชยค่าธรรมเนียม (ผลักไปให้ผู้บริโภคเพราะตัวเองก็รับต้นทุนไม่ไหว ตอนนั้นยังขาดทุนอยู่) ก่อนที่ Apple Music จะเปิดตัวในปี 2015 ด้วยราคาแค่ 10 เหรียญ ทำให้ Spotify ต้องยกเลิกระบบสมาชิกผ่าน App Store และให้ผู้ใช้จ่ายเงินผ่านเว็บแทน
กรณีนี้ของ Apple คล้าย ๆ กับที่ Amazon โดนโจมตีเรื่องผูกขาดจากการทำแพลตฟอร์มขายของแล้วทำสินค้าแบรนด์ตัวเองมาขาย ซึ่งทำให้ผู้ผลิตสินค้าแบบเดียวกันแข่งขันได้ยาก (ประเทศอินเดียถึงกับออกกฎหมายห้ามอีคอมเมิร์ซขายสินค้าที่ตัวเองมีส่วนได้ส่วนเสีย) หรือถ้าจะให้ยกตัวอย่างใกล้ตัวขึ้นมาหน่อยก็มีกรณีของ 7-11 ที่มีข้อมูลว่าสินค้าชิ้นไหนขายดี ก็ทำสินค้าชนิดเดียวกันแต่เป็นแบรนด์ของตัวเองมาแข่ง
ก่อนหน้านี้ ผู้พัฒนาแอปที่โดน Apple แบน อาจทำได้แค่ต้องยอมทำตามที่แอปเปิลต้องการ หรือบ่นเล็กๆ น้อยๆ พอให้เป็นข่าว แต่กรณีของ Epic กับเกม Fortnite อาจถือเป็นครั้งแรกที่ Apple ต้องพบเจอกับ "ขบถ" ที่มีกำลังพอสมน้ำสมเนื้อ เพราะ Fortnite เป็นเกมที่มีฐานผู้เล่นจำนวนมหาศาล อีกทั้งพฤติกรรมของ Epic Games เองที่มีนิสัย "ขบถ" มานานแล้ว
แม้ระยะหลังเราอาจเห็น Tim Sweeney ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Epic Games ออกมาพูดถึงเรื่องระบบเปิด หรือโจมตีแอนดรอยด์ว่าเป็นระบบเปิดจอมปลอม แต่ซีอีโอ Epic ก็เคยเขียนบทความ op-ed โจมตีไมโครซอฟท์เมื่อปี 2016 มาแล้ว จากกรณีผลักดันโครงการแอป UWP ที่ Sweeney มองว่าเป็นแพลตฟอร์มปิดและผูกขาดช่องทางการจัดจำหน่ายแอป
ภาพจาก Getty Images
ในแง่หนึ่งอาจบอกได้ว่าเขามีอุดมการณ์ มีหลักการต่อต้านระบบปิดและการผูกขาดมานานแล้ว เรื่องนี้ได้รับการยืนยันจากผู้บริหารและนักลงทุนของ Lightspeed Venture Partners และ aXiomatic ที่ลงทุนใน Epic ซึ่งบอกไปในทางเดียวกันว่า Tim Sweeney มีแนวคิดเรื่องระบบเปิดและระบบที่เป็นธรรมมานานแล้ว ตั้งแต่ก่อนที่เขาจะมีเงินเยอะเหมือนทุกวันนี้ด้วยซ้ำ
Tim Sweeney เคยออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยหลายครั้งว่าเจ้าของแพลตฟอร์มอย่าง Steam, Apple, Google เอาเปรียบนักพัฒนา (โดยเฉพาะนักพัฒนาอิสระที่ไม่ใช่บริษัททุนใหญ่) จากการหักค่าธรรมเนียม 30% ทั้งที่ตัวเองไม่ได้เป็นองค์ประกอบสำคัญในซัพพลายเชนการพัฒนาเกม แต่กลับสามารถทำเงินได้มากกว่าผู้พัฒนาที่ไม่มีทางเลือก (ช่องทางในการจัดจำหน่ายเกม)
นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ Sweeney วางตัว Epic Games Store ในภาพลักษณ์ของนายทุนที่ดี มีเมตตา จากการหักค่าธรรมเนียมเพียง 12% เพื่อแสดงให้เห็นว่าการเก็บค่าธรรมเนียมเท่านี้ (12%) เจ้าของแพลตฟอร์มก็สามารถทำกำไรได้ที่ราว 5-7% แล้ว เมื่อเทียบกับ Steam ที่หักไปถึง 30% (ก่อนที่ Steam จะเริ่มปรับเงื่อนไขลดค่าธรรมเนียมเหลือ 25% ถ้ายอดขายอยู่ที่ 10-50 ล้านเหรียญและ 20% ถ้าเกิน 50 ล้านเหรียญ)
คำถามคือทำไม Tim Sweeney ถึงเพิ่งลุกขึ้นสู้อย่างจริงจังกับทุนผูกขาดอย่าง Apple/Google ส่วนหนึ่งคิดว่าเพราะ Epic เพิ่งมี Fortnite ที่มีจำนวนผู้ใช้มหาศาลและมีอิทธิพลพอจะเอามาใช้เป็นคานงัดกับ Apple/Google ได้
Epic เปิดเผยเองในเอกสารคำฟ้องว่าจำนวนผู้เล่น Fortnite ทั่วโลกขึ้นไปถึง 350 ล้านคนแล้ว ขณะที่อีเวนท์ที่เป็นปรากฎการณ์สำคัญของ Fortnite คือคอนเสิร์ต Travis Scott เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาที่จัดขึ้นภายในเกม มีผู้เข้าชมรวมกันทุกรอบถึง 28 ล้านคน เพิ่มจากคอนเสิร์ต Marshmello ปีที่แล้วที่มีแค่ 10 ล้านคน ไม่เพียงเท่านั้น Fortnite ก็เป็นเกมทำเงินสูงสุดในปี 2019 อีกด้วย
Fortnite ไม่ได้เป็นเพียงไม้คานที่ Epic เอามาใช้งานกับ Apple/Google เท่านั้น แต่ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ Sweeney ใช้แสดงออกซึ่งอุดมการณ์ของตัวเองด้วย จากการทำ cross-play ให้ตัวเกมเล่นข้ามแพลตฟอร์มกันได้ รวมถึงการเปิด Online Services บนทุกแพลตฟอร์มเกม (ถ้าจะมองว่าการทำแบบนี้ Epic ได้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจมากกว่าเป็นการทำตามอุดมการณ์ล้วน ๆ ก็ไม่ผิด)
คดีความการฟ้องร้องระหว่าง Epic และ Apple/Google ครั้งนี้ Epic ยืนยันชัดเจนว่าทำเพื่ออุดมการณ์ล้วนๆ เพราะไม่ได้เรียกร้องค่าชดเชยค่าเสียหายเป็นเงินเลย เทียบตัวเองเป็นเหมือนอัศวินขี่ม้าขาวที่เช้ามาช่วยให้เกิดการปลดแอกจากทุนผูกขาด ซึ่งประโยชน์ไม่ใช่แค่จะเกิดกับ Epic แต่รวมถึงนักพัฒนาอิสระและผู้บริโภคจำนวนมาก
Epic is not seeking monetary compensation from this Court for the injuries it has suffered. Nor is Epic seeking favorable treatment for itself, a single company. Instead, Epic is seeking injunctive relief to allow fair competition in these two key markets that directly affect hundreds of millions of consumers and tens of thousands, if not more, of third-party app developers.
ขณะเดียวกัน Epic ก็ดูจะไม่ได้ยืนอยู่คนเดียวเพราะมีอีกหลายแบรนด์ออกมาสนับสนุน เช่น Xbox และ Spotify ที่เป็นโจทก์ Apple เช่นกัน ไม่รวมว่าคดีความครั้งนี้ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ทั้งการแฉถึงการใช้อำนาจผูกขาดของ Apple จาก WordPress และ กลุ่มสื่อ DCN ที่แฉเรื่องการลดค่าธรรมเนียม 15% ของ Amazon Prime Video ไปจนถึงเป็นแบบอย่างให้ผู้ที่ถูกกดขี่ลุกขึ้นมาสู้ด้วย ไม่ว่าจะกลุ่มสตาร์ทอัพเกาหลีหรือนักพัฒนา Android
แม้ผลการฟ้องร้องครั้งนี้จะคาดเดายาก และน่าจะกินเวลาเป็นปี ๆ แต่อย่างหนึ่งที่ชัดเจนคือ Epic สามารถสร้างการตระหนักรับรู้เรื่องการผูกขาดไปยังผู้บริโภค นักพัฒนาหรือแม้แต่หน่วยงานภาครัฐให้ตื่นตัวมากขึ้น
ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐอเมริกา มีการสอบสวนการผูกขาดของบริษัทไอทียักษ์ใหญ่มาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังคงไม่มีมาตรการใด ๆ ออกมาเป็นรูปธรรม กระแส Apple vs Fortnite ครั้งนี้อาจใหญ่พอ จนกดดันภาครัฐให้ออกมาตรการหรือควบคุมการผูกขาดที่ทันสมัยและจริงจังมากขึ้นได้บ้าง (หลังมีผลงานวิชาการชี้ว่าการจัดการการผูกขาดของสหรัฐในปัจจุบัน ด้อยประสิทธิภาพกว่าในช่วงทศวรรษ 1970s) และนี่อาจเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของ Epic มากกว่าหวังผลการตัดสินของศาล
Comments
ผมคิดว่า 15% พอจ่ายไหว แต่ Epic ใจป๋ามาก 12%
ถ้า 12% นี้ยังมีกำไรเหลือมาบริหารได้อีก หนับหนุน
อ่านๆดูก็จริงอยุ่ ถ้าไม่มี epic มาเปิดก่อน ก็อาจจะยอมทนกันต่อไป ทางเลือกก็มีจะลงหรือไม่ลง app store เท่านั้น
เดี่ยวก็มีคนมาเม้น เช่าพื่นที่เค้า ก็ต้องจ่ายตังสิ
เช่าพื้นที่เค้าก็ต้องจ่ายตังสิ
รายปีก็จ่ายแถมยังมาเก็บเพื่มขายสินค้าได้
รายปีไม่กี่บาทเองครับ คิดว่าปีละเท่าไรเหรอครับ?
3,000 บาท
กับโปรเจกต์ open-source
อื้อหือ ปีละ 3,000 บาท ทวงบุญคุณยังกะจ่ายปีละ 3 ล้าน
นึกถึงชาว VAT7% เลย สงสัยฐานคิดเดียวกัน 55555
"โปรเจกต์ open-source"
"เช่าพื้นที่เค้าก็ต้องจ่ายตังสิ"
"ไม่จ่าย"
น้อยไปก็เพิ่มค่าเช่าได้ครับ ผมคิดว่ามีทางเลือกอื่นนอกจากเป็นเสือนอนกิน30%
จ่ายแค่ vat แล้วเรียกร้องไม่ได้หรอครับ ทุกคนมีสิทธิ์ในการเรียกร้องหมด
จะจ่าย vat กี่ % ก็คือจ่ายเหมือนกัน สิทธิในการเรียกร้องมีเท่ากันครับ จะเยอะจะน้อยทุกคนมีกำลังในการจ่ายไม่เท่ากัน แต่สิทธิพื้นฐานทุกคนควรจะมีเท่ากันทั้งหมดครับ
คุณอย่าคิดอะไรมาก App Store ไม่ใช่ของคุณ อยู่ๆ ไปเถอะ คิดซะว่าเช่าเค้า
- ธนา วงศ์ญาณณาเวช, somedate somemonth and someyear
ใครอธิบายผมได้บ้างว่ากรณีแบบนี้ผูกขาดยังไง ในเมื่อสมมุติผมลงทุนสร้างตลาดให้คนเช่าพื้นที่ขายของโดยรายได้หลักไม่ใช่ค่าเช่าแต่เป็นคอมมินชั่นจากรายได้สินค้าที่ขาย ต่อมามีผู้เช่ามาโวยวายว่า ไม่อ่ะคอมแพงไปจะจ่ายแค่นี้ แต่ไม่ออกด้วยจะขายของในตลาดนี้ต่อล่ะ ตลาดนี้ผูกขาดนี่หว่า คืออะไร งง ใครอธิบายตรรกกะนี้ได้รบกวนช่วยหน่อย
มันอาจเข้าข่ายการใช้อำนาจเหนือตลาดครับ กรณีนี้มีผู้เล่นแค่สองราย (Google / Apple) กลายเป็นตลาดผู้เล่นน้อยราย
คำอ้างแบบคุณ มันอ้างได้ย้อนคดีเก่าๆ ได้เหมือนกัน "กูเกิลลงทุนสร้างแอนดรอยด์มา เขาอยากขายเบราว์เซอร์กับ Search Engine ของเขาเองมันผิดยังไง" แต่กูเกิลโดนปรับ 4,300 ล้านยูโรไปแล้ว และต้องขายแยกการพ่วงซอฟต์แวร์ ออกจากตัวแอนดรอยด์
กรณีนี้มันเถียงกันได้ว่าแอปเปิลใช้อำนาจเหนือตลาดบังคับคนใช้บริการ payment ของตัวเองไหม แต่ไม่ใช่ว่าลงทุนมาเองแล้วอยากทำอะไรก็ได้
lewcpe.com, @wasonliw
อย่าง Spotify ที่เป็น App แบบเดียวกันกับ Apple Music ครับ ใช้วิธีกดดันให้อีกฝ่ายเก็บ 13 เหรียญ แต่ตัวเองออก Apple Music มา 10 เหรียญ
พูดง่าย ๆ คือพยายามกีดกัน App คนอื่นไม่ให้มาแย่งกำไร App ตัวเองที่เหมือนกันโดยข้ออ้างต่าง ๆ ครับ บางทีก็ Block ทิ้งไปหน้าด้าน ๆ ซะงั้น
ถ้าเป็นอย่าง steam ที่ขายเกมอย่างเดียว ฟ้องผูกขาดไม่ได้ครับ เพราะ steam ไม่เคยบอกว่าห้ามเอาเกมที่ลงใน steam ไปขายที่อื่นประมาณนี้
หรืออย่างของ MS นี่คือกรณี Windows 10 S ครับว่า Lock ให้ลงผ่าน Store ได้อย่างเดียวก็จริง แต่ User สามารถขอออกจาก S mode ได้ เลยไม่ติดเรื่องผูกขาดครับ เพราะออกจาก S mode ก็สามารถ Install จาก .exe หรือ .msi ได้เลย
ผมขอแบ่งเป็น 2 ส่วนนะ
1.ลงทุนสร้าง OS ต้องได้รับค่าตอบแทน
2.ค่าตอบแทนต้องอยู่ในตัวเลขที่เหมาะสม
1.Apple ขายฮาร์ดแวร์ ได้กำไรจากส่วนนั้นไปแล้ว แม้แต่ Google เองก็เก็บค่าลิขสิทธิ์กับผู้ผลิตมือถือเช่นกัน เรียกได้ว่าไม่มีใครเป็นพ่อพระ ลำพังแค่นี้ก็อยู่กันได้สบายๆ
2.ค่าตอบแทนที่เหมาะสมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการแข่งขัน ไอเดียผมคือการอนุญาตให้แต่ละ OS มี Alternative Store ได้
ที่ Dev โดนโขก 30% เพราะ Apple คุมเรียบ ราวกับถือ ม.44
ส่วน Google ก็น่าจะรอดตัวไป แม้จะแอบยัดฟีเจอร์ถามรัวๆให้ผู้ใช้ตกใจกลัวว่า “apk จากสโตร์อื่นอาจมีไวรัส”
กาลครั้งหนึ่ง... มีคนกลุ่มนึงตั้งประเทศขึ้นมาได้ แล้วเขาก็สร้างตลาดขึ้นมา 1 ที่ แล้วออกกฎหมายแนวเผด็จการว่า ห้ามสร้างตลาดมาแข่งนะโว้ย ถ้าทำขึ้นมารัฐบาลจะสั่งปิด แบบนี้เรียกว่า ผูกขาดไหมครับ? แล้วคนที่ขายของในตลาดนั้นต้องจ่ายภาษีให้รัฐบาล 30%
เช่นเดียวกันครับ แอปเปิ้ล iOS = ประเทศครับ ตลาด = App Store ภาษี = ส่วนแบ่ง
คำถามคือ ในสถานะที่เป็นประชาชน ไม่มีสิทธิสงสัยเลยหรือว่า 30% ที่เก็บ ๆ ไปเอาไปทำอะไรบ้าง? สร้างสวัสดิการ ทำอะไรตอบแทนบ้าง? หรือเข้ากองคลังอย่างเดียว?
มันจะไม่ดีกว่าหรือถ้า... รัฐปล่อยให้เป็นตลาดเสรี ใครจะตั้งตลาดก็ได้ ปล่อยให้มันแข่งขันกันอย่างเสรี แน่นอนถ้าขายของได้ก็จ่ายภาษีเข้ารัฐ แบบนี้ไม่ดีกว่าหรือครับ?
ไม่สู้ก็อยู่อย่างทาส
เทียบกับประเทศไม่ได้ รูปแบบของรัฐกับของเอกชนไม่เหมือนกัน รัฐยอมขาดทุนได้เพื่อให้แระชาชนได้สงบสุข เช่น ขสมก หรือพวกตระกูลขนส่งมวลชน ดู MRT กับ BTS ก้ได้ BTS แพงเอาแพงเอา ส่วน MRT ราคายังถูกกว่ารัฐยังกดราคาได้ นี่คือข้อแตกต่างระหว่างรัฐกับเอกชนเนื่องจากเอกชนไม่ได้มีเงินภาษีเอามาอุ้มส่วนขาดทุนให้การดำเนินการมันไปต่อได้แบบรัฐ
แต่เอกชนยอมขาดทุนต้องไปถามผู้ถือหุ้นก่อนนะครับ ครจะกล้ามาลงเงินกับเขา
คนที่เทียบกับประเทศก็นะ
เกิดมาในประเทศนั้นหนือไม่(ไม่)
ถือสัญชาติประเทศนั้นหรือไม่(ไม่)
เป็นต่างชาติ แต่เข้ามาประกอบธุรกิจใช่หรือไม่(อันนี้ใช่ละ)
มีการหลบเลี่ยงการเสียภาษีใช่หรือไม่(ใช่ ออฟคอสสส)
มีการกระทำที่ผิดต่อธรรมนูญแห่งประเทศนี้หรือไม่ (เอ๋ ผิดด้วยเหรอ...)
ท่านเลยถูกระงับวีซ่าและเนรเทศเฉดหัวออกไปใช่หรือไม่ ....
แค่เอาไปเทียบกับประเทศก็ไม่ถูกต้องตามตรรกะล่ะ เหตุผลใดๆที่อ้างมาก็ fallacy ไปตั้งแต่ต้นละครับ
เปรียบกับประเทศค่อนข้างผิดประเด็นนะครับ เพราะบริบทของ รบ.คือไม่แสวงหากำไร มุ่งเน้นบริหารทรัพยากรให้คนในปกครอง แต่บริษัทคือมุ่งแสวงหากำไร การการทำที่มุ่งเน้นแสวงหาผลประโยชน์หรือกำไรของ รบ.จะผิด แต่บริษัทแบบแอปเปิลไม่ผิดครับ ดังนั้น unfair ของ2ตัวตนนี้จะไม่เหมือนกัน
ผมอ่านยังไงๆ ก็งงกับเหตุผลที่ว่าเปรียบเทียบกับรัฐไม่ได้ เพราะฝั่งนึงแสวงหาผลกำไร อีกฝั่งนึงไม่แสวงหาผลกำไร
สมมติด้วยคำพังเพยละกัน เช่น รัฐมนตรีคนนึงถูกจับคดียาเสพติดในออสเตรเลีย ก็มีความพยายามปิดบังเรื่องดังกล่าว จึงเทียบว่า ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิดไม่มิด
ก็มีคนเถียงด้วยลอจิคที่ว่า เปรียบเทียบกับช้างไม่ได้ เพราะคนไม่ใช่สัตว์ และไม่มีงา
คือการอุปมาอุปมัยมันไม่ต้อง PC หรอกครับ เอาแค่เนื้อหาก็พอ ถ้าจะค้านก็บอกเหตุผลที่เป็นสาระสำคัญดีกว่า
เช่น บริษัทที่เป็นลักษณะทางธุรกิจ ไม่ต้องแจกแจงการประกอบการทุกอย่างต่อสาธารณะ ต่างกับรัฐบาลที่ต้องมีความโปร่งใส (transparency) สูงกว่า
ผมว่าความ PC ที่คอยบอกว่าไม่ควรเอานั่นเอานี่มาเทียบกัน โดยที่ไม่ยอมพยายามทำความเข้าใจสาส์นที่คู่สนทนาพยายามสื่อมันทำให้บทสนทนากร่อยอ่ะนะ มันเหมือนหาจุดติเล็กๆ น้อยๆ เพื่อลดความน่าเชื่อถือมากกว่า
ยกเว้นว่ามันเป็นการเทียบที่ผิดฝาผิดตัวชัดเจนอ่ะนะ
PSN กับ MS Store ก็เก็บ 30% เหมือนกัน
ถ้าในเชิงกฎหมายการแข่งขันก็คือ ไม่ใช่บริการที่จำเป็น หรือ ไม่มีอำนาจเหนือตลาดครับ ถ้าไม่เข้าใจลองหาเรื่อง dominance player อ่านดูก่อนมาคอมเมนต์ได้นะครับ
นายทุนที่มีเมตตาจากการไปตบเกมที่สัญญาว่าจะลง store อื่น ๆ มา Exclusive ตัวเองปีนึงเหรอ
หรือนายทุนที่มีเมตตาแต่แอบเอา Data ของ steam ไปเงียบ ๆ เหรอ
เรื่องการสู้กับผูกขาด App Store ผมว่ามันเริ่มจาก WordPress มากกว่า ถ้าจะขบถจริง ๆ เปิดเหมือนกรณี Facebook ไปเลยว่า Apple บังคับให้จ่าย 30% หรือแบบ WordPress ที่ออกมาโวยเรื่องบังคับ In-App Purchase น่าจะดีกว่านะ
ฟังดูเคลิ้มดีๆครับ
ที่fortnite เติมผ่าน 100คูปองใน apple payment 10$ หัก30% แล้วจะได้epicได้7$
(ผมจำนวนคูปองไม่ได้เป๊ะๆนะ แต่จำนวนเงินที่เติมจำได้ชัวร์)
...
แต่ถ้าเติมผ่านระบบตัวเอง 100คูปองเท่าเดิมใน epic pay direct เหลือ8$ แล้วepicก็ได้8$เต็มๆ ส่วนappleได้0$
ซึ่งฟังดูดี...ผู้บริโภคได้ของถูกลง นักพัฒนาได้เงินเยอะขึ้น เจ้าของแพลตฟอร์มช่างมัน
...
ที่ผมจะสื่อ คือ Epicพยายามทำตัวเป็นพระเอก
แต่จริงๆคือต้องการจะฟันกำไรมากขึ้น
...
ถ้าสมมุติappleบ้าจี้ ลดค่าคอมเหลือ5%
ถามใจตัวเองลึกๆ คิดว่าepicจะลดราคาลงมาสะท้อนตามต้นทุนที่แท้จริง หรือ คงราคาไว้แล้วฟันกำไรมากขึ้น
ทุกอย่างมันมีต้นทุน บางอย่างต้องเจอกับตัวเองถึงจะเข้าใจ
น่าคิดทีเดียว (ผมว่ามีส่วนถูกเลยแหละ).........แต่ใจลึกๆผมก็อยากให้ตัวเล็กๆได้โตมั่งนะครับ Apple ใหญ่เกินไปแล้ว ได้มั่งไม่ได้มั่งคงไม่เป็นไรและในภาพรวมแล้วผมว่าน่าจะดีต่อรายเล็กมากกว่านะครับ
เอาจริงตลาดมือถือมันก็ไม่ได้ผูกขาดโดย Apple นี่นา แบรนด์ก็ไม่ได้เป็นอันดับหนึ่งในตลาดมือถือด้วยหนิ ถ้าอยากเล่น Fortnite ก็ไปหาแอนดรอยด์เล่นก็ได้ ก็ยังถือว่ามีสินค้าทดแทน ผมว่ายังไง Apple ก็รอดแหล่ะ ถ้าจะผูกขาด ในนิยามผมคงน่าจะหมายถึงหาสินค้าทดแทนไม่ได้แล้ว ต้องซื้อกับเจ้านี้เจ้าเดียว อันนี้ควรต้องเข้ากระบวนการศาลนะ
ถ้าเอาเฉพาะสหรัฐอเมริกา ก็ส่วนแบ่งตลาดเกือบ 60% แล้วครับ เกือบเข้าข่าย market power & market dominance ตามกฎหมายผูกขาดแล้ว
เรื่อง amazon prime 15%
.
Apple มีกฎแยกนะ พวกสมัครบริการายเดือน ปีแรกหัก30%ตามปกติ แต่ปีถัดไปเหลือ15%
ไม่ใช่แต่amazon prime แต่ทุกเจ้าที่ทำบริการแบบรายเดือนก็ได้สิทธินี้
Game Theory วิเคราะห์ไว้ว่าอาจเป็นเรื่องของ Epic ที่อยากจะลง Epic mobile app store ด้วยครับ (เคยจะ bundle มาบน OnePlus แต่โดน Google ห้าม) เป็นทฤษฎีที่น่าสนใจเหมือนกัน
Ref : https://www.youtube.com/watch?v=8qZkl9CKgjI
จริงๆ ผมก็ไม่ได้เชื่อว่า Epic / Tim Sweeney ทำเพื่ออุดมการณ์ล้วนๆ แหละครับ แค่ว่าไอที่มันเป็นระบบเปิด / ครอสเพลย์ and so on มันตอบโจทย์เรือ 2 แคมที่ Sweeney ยืนอยู่คือทำให้ทุกคนได้ประโยชน์ (ตอบโจทย์อุดมการณ์) โดยเฉพาะตัวเองที่น่าจะได้ประโยชน์มากกว่านักพัฒนาอิสระเพราะแพลตฟอร์มใหญ่กว่า (ตอบโจทย์บริษัททุนนิยม)
Playstation ที่ Tim อวยมาสามชั่วรุ่นก็เก็บ 30%นะ ไม่ค่อยจะทาสเลย
Tim Cook สินะครับ
Tim Tam
อ่านแล้วนึกว่า ทิมคุก
อยากต่อต้านการผูกขาด เริ่มจากเลิกเอาเกมชาวบ้านมาผูกขาดก่อนเลยครับ
สรุปคือคิดกันแค่เรื่องผูกขาด = เจ้าของห้างเก็บค่าคอมมิชชัน 30% อย่างเดียว จบ
อืม ครับ
ในความเป็นจริงคุณสามารถ สร้างห้างขึ้นเอง วางของตัวเองขายเองได้ไง ไม่มีใครห้าม
Fire OS ของ amazon
Huawei service
ใน forum เมืองนอกฝรั่งก็มองว่า epic ผิดตั้งแต่ไปเซ็นตกลงแล้วฉีกกฎเองนั่นแหละ แถมตัวเองก็บริษัทใหญ่ที่มีการเก็บค่าต๋งเหมือนๆกัน
นั่นมัน non-iOS นี่ครับ
ถึงแม้คำฟ้องจะมี Google ด้วย แต่ดูยังไง Apple ก็คือเป้าหมายหลักของ Epic ดูจากวิดีโอที่ทำมาพร้อม ซึ่งในนั้นเค้าก็บอกอยู่แล้วว่าสำหรับ iOS มันไม่มีหนทางอื่น คุณจะ sideload ไม่ได้ คุณจะไปใช้ store อื่นไม่ได้ คุณจะสร้าง store ขึ้นมาเองไม่ได้
สำหรับ PC ถึงจะมี Steam เป็นเจ้าใหญ่ แต่คุณสามารถไปอยู่เจ้าอื่นได้ เกลียด Epic ก็ไม่ต้องอยู่กับ Epic ทำเองยังได้
แล้วของ Playstation Xbox Nintendo Switch นี่ sideload ได้ไหม
ลองทำความเข้าใจตคอมเมนท์ของคุณ MK และคุณ Lew ข้างบน ๆ เรื่อง market dominance / dominant position ดูนะครับ เพราะมันซ้ำไปซ้ำมาเหลือเกิน argument แบบนี้
เอาจริง ๆ ตลาดคอนโซลมันก็ผู้เล่นน้อยรายนะครับ 3 เจ้า แบบนี้ไม่เรียกผูกขาดหรอครับ? เหมือนค่ายมือถือก็มีผู้เล่นน้อยราย ตัวรัฐบาลก็ไม่อยากให้มีการควบรวมกิจการ(t-mobile - sprint)แต่ถ้าไม่ควบรวมกิจการก็ไปไม่รอดผมมองว่าบางธุรกิจมันเป็นแบบ winner take all อะครับ เหมือนสิงคโปร์รัฐบาลจัดประมูลคลื่นราคาพิเศษให้ผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาเล่นในตลาด แต่สุดท้ายก็ไม่มีใครมาประมูลเพราะตลาดมันไม่เหลือที่ว่างให้ผู้เล่นรายใหม่แล้ว ขนาดว่าภาครัฐช่วยสนับสนุนการเข้าสู่อุตสาหกรรมในการลดราคาคลื่นให้แล้วนะครับ
ในกรณีนี้เราก็ว่ามันก็เหมือนกันอะครับ Epic อยากขึ้นมามีส่วนแบ่งการตลาด/อำนาจเหนือตลาดแทนเจ้าตลาดเดิม เลยใช้ข้ออ้างสวยหรูพวกนี้มาอ้างมากกว่าครับ ดูจากพฤติกรรมในอดีตก็ได้
สิ่งที่คุณ ravipon ยกตัวอย่างมามันคือตลาดแบบ oligopoly ผู้แข่งขันน้อยรายครับ คือทุกรายมีสินค้าและบริการคล้ายกันและพอจะทดแทนกันได้ ในทฤษฎีเป๊ะ ๆ ผมก็จำไม่ค่อยได้ แต่มันเป็นตลาดที่มีการแข่งขันโดยธรรมชาติ คนที่อยู่ในตลาดอยู่แล้วเขาทำ economic of scale ได้อยู่แล้ว ต้นทุนถูกกว่า คนที่เข้ามาใหม่มันก็ต้องต้นทุนสูงกว่าเป็นธรรมดาอ่ะครับ (ยิ่งหาก resource ในตลาดมันจำกัด ต้นทุนหน้าใหม่ก็จะยิ่งสูง) มันคือพฤติกรรมการแข่งขันโดยเสรีอยู่แล้ว (กรณีที่ผู้แข่งขันในตลาดไม่ได้ฮั้วกันจนเกิดการ dominance ตลาดนะครับ อันนั้นผูกขาดแน่ๆ)
ฉะนั้นน่าจะพอตอบคำถามคุณ ravipon ได้นะครับว่าตลาดคอนโซลผูกขาดไม๊
ส่วนจุดประสงค์ epic ก็ไม่เถียงหละครับ ผมก็เชื่อว่าที่ทำก็เพื่อประโยชน์ตัวเองแน่ ๆ หละ แต่ก็มันก็คนละกรณีกับการผูกขาด/คุมตลาดของแอปเปิลอะครับ
เผอิญมันเป็นประเด็นเรื่องเกมไง แล้ว apple มีปัญญาสร้างเกมแข่งกับใครได้ยัง
ถ้า Apple ทำเกมแนว Pubg แข่งกับ Fortnite แล้วไปแบนเกมเขาออกนั่นแหละผูกขาดแน่นอน
อย่างที่ถอนฟ้องก็ลือกันขำๆว่าเจอขู่ห้ามใช้ Unreal engine นี่เข้าข่ายอยู่อย่างทาสเหมือนกันไหม
https://www.blognone.com/node/102687
ส่วนตัวไม่ค่อยเห็นด้วยกับไอ้วลีอยู่อย่างทาส เพราะคู่กรณีก็กำลังสร้างทาสเหมือนกัน อ่านแล้วแปลกๆเหมือนด่าโจรเพื่ออวยโจรอีกฝั่ง
ไม่ใช้ Unreal จะไปใช้เอนจินอื่นก็ได้ หรือจะสร้างเองก็ได้ครับ มันเลยไม่เชิงบังคับแต่เป็นการชักชวนมากกว่า
ส่วน iOS นี่ ใครไม่มีแม๊คจะบิลด์ไม่ได้ อันนี้ก็เป็นการผูกขาดในแง่หนึ่งเหมือนกัน
ปล. ก่อนจะมีคนอ้างว่า "Windows ก็บิลด์จาก OS อื่นไม่ได้" อันนี้ไม่เชิงนะ มัน Cross Compile มาได้ จะอัพขึ้นสโตร์ก็ได้ เขียนเป็น UWP ก็ยังได้ (แต่ทูลส่วนใหญ่ไม่สนับสนุน)
/me ที่ build Windows binary บน Wine
เขาไม่ได้ผูกขาดที่ซื้อเกมนะสิครับ อยากจะซื้อแบบแผ่น หรือดิจิตอลร้านไหนก็เลือกเอา
จะซื่อแผ่น หรือซื้อ digital ผู้ผลิตเครื่องก็หัก % เหมือนกันนะครับ ถึงแม้จะซื้อจากร้านไหนก็ตาม
หักเท่ากันด้วยป่าวครับ ทั้งๆที่ซื้อดิจิตอล ไม่มีต้นทุนค่าปั้มแผ่น กล่อง ปก ฯลฯ แต่ก็เห็นขายราคาเท่าๆกันเลย
ผมเห็นบทความเขียนขนาดนี้ ยกตัวอย่างขนาดนี้ พูดถึงประเด็นผูกขาดเพราะ iOS ไม่สามารถมี store อื่นได้ sideload ก็ไม่ได้ พูดถึงระบบเก็บเงินข้างนอกก็ไม่ได้ redirect ก็ไม่ได้
แต่คนยังเมนท์แบบไปเช่าห้างเค้าอยู่กันอีก เห็นใจครับ 55555555555555555
ทำไม ROV เติมเงินข้างนอกได้ไม่โดยแบนด์ รึเค้ายอมจ่ายรายได้ 30% จากทุกช่องทาง
ทุกธุรกรรมในแอป แบบนั้นจะหัก30% เช่นใช้ Android กดเติมผ่านplaystore(ไม่ว่าจะชำระเป็นcredit, wallet)
แต่ถ้าธุรกรรมนั้นเกิดนอกแอป ทำได้ แต่ต้องรับผิดชอบเองเวลามีปัญหา และห้ามโปรโมทวิธีนั้นภายในแอปตัวเอง เช่น termgameของrov . ผู้ใช้ไปหาเอง เจอตามเวปก็ได้(ถ้าสังเกตrovจะไม่โฆษณาให้เติมนอกแอป ภายในเกม. แต่จะมีก็ต่อเมื่อstreamการแข่งจากyoutubeแล้วมีโฆษณาติดมาจากyoutube คือ..ใช้ช่องโหว่อ่ะ)
แล้วคนที่ใช้ช่องทางนี้มีอีกเยอะ. Amazon prime, netflix คือไปสมัครเสียตังในเวป(นอกแอป). แล้วมาloginดูในiphone, androidก็ได้
ถ้า ios ทำไม่ได้นะ กับเกม apple ห้ามมีการเติม currency ในเกมโดยไม่ผ่าน app store
ถ้าอยากเข้าใจ... อยากแรกต้องเริ่มจากการเอาความคิดที่ว่า "เป็นเจ้าของ จะทำอะไรก็ได้" ออกไปจากหัวก่อนครับ
เข้าใจว่าต่างประเทศเขามีกฏหมายแทรกแซงธุรกิจเพื่อป้องกันอำนาจเหนือตลาดจากการผูกขาด เพราะงั้นกฏหมายนี้จึงไม่ได้ใช้กับทุกบริษัทที่ผูกขาด แต่ใช้กับบริษัทใหญ่ที่ผูกขาดแล้วมีแนวโน้มมีอำนาจเหนือตลาด (เพราะงั้นที่ผ่านมา Google กับ Microsoft เลยโดนก่อน และด้วยเหตุผลเดียวกัน Playstation จึงยังไม่โดน)
เมื่อไหร่ที่ถึงจะเรียกว่ามีอำนาจเหนือตลาด? ส่วนตัวผมคิดว่าเมื่อตัวเองสามารถเรียกร้องอะไรตามอำเภอใจและบริษัทอื่นได้แต่ก้มหน้ายอมทำตามไป เมื่อนั้นแหละผมว่าเริ่มมีอำนาจเหนือตลาดแล้ว หรืออีกนัยนึงก็คือมีอำนาจมากพอจะบังคับตลาดได้นั่นแหละ และส่วนตัวคิดว่า Apple ก็อาจจะเข้าข่ายเหมือนกัน แต่ทั้งนี้ก็ต้องรอดูคำตัดสินอยู่ดีว่าจะออกมาเป็นยังไง
ผมคิดว่าเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทยหรือแม้แต่สำหรับผมเอง ที่ผมว่ามาก็อาจจะถูกๆผิดๆด้วย แต่อยากให้หลายๆคนที่ไม่รู้จักกฏหมายเรื่องนี้ลองเปิดใจดูครับ ผมคิดว่าถ้าไทยเรามีเข้มงวดเรื่องนี้ เราอาจได้เห็นร้านสะดวกซื้อต่างแบรนด์มาแข่งอย่างสูสีโดยไม่โดนซื้อรวบ หรืออาจจะมีเบียร์ไทยยี่ห้ออื่นๆเพิ่มมากขึ้นมาก็เป็นได้
+1
+1024
เสริมนิดหนึ่งครับ เพราะว่าการผูกขาดและการมีอำนาจเหนือตลาดมันส่งผลเสียทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน เป็นผลเสียต่อผู้บริโภคครับ
ระบบเปิดจอมปลอม
ป.ล. อยากได้ poll ใน blognone ถามถึงเรื่องนี้บ้างว่าเห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย
เขียนดีมากครับ อ่านสนุกมากเลย ?
คิดว่าแอปเปิ้ล เก็บ 30% เพื่อให้ทางแผนกอยู่ได้ด้วยตัวเองมากกว่า ไม่ต้องเอาเงินรายได้จากแผนกอื่นมาโปะเพราะขาดทุน
ไม่รู้ว่า เวลาอัพเดทแอพจะต้องตรวจทุกครั้งไหม มันมีค่าใช้จ่ายตลอด เพราะไหนจะต้องใช้คนจำนวนมาก แถมแอปเปิ้ลจ้างพนักงานที ก็ไม่ใช่ถูกๆ แต่ 30% เหมาะสมไหม คงต้องไปหาข้อสรุปกันอีกที
Epic ทำตัวไม่น่ารัก ของแบบนี้เจรจาขอส่วนลดเป็นรายๆ ได้อยู่แล้ว
เจ้าใหญ่ๆ เจรจากันมันมี power แต่ epic มาทำหักคอกับ apple ที่ใหญ่กว่า เป็นเจ้าของ store ด้วย ทำแบบนี้ เขาตัดให้ซึมได้เลย แล้วถ่ามีการฟ้องร้องยืดเยื้อไป epic เองจะเจ็บหนักกว่า
ไปดูตัวเลขกำไรจาก app store ซิครับ น่าจะตกใจ
ผมสนใจเรื่องที่ว่า ใครเป็นคนกำหนดว่า 30% ไม่เป็นธรรม ?
แน่นอนว่าฝั่ง developer ย่อมต้องการโดนหักเงินส่วนแบ่ง "น้อยที่สุด" เพื่อความเป็นธรรมของ "ตัวเอง" ในขณะเดียวกันฝั่ง hardware + platform ก็ต้องการส่วนแบ่งที่ "มาก" ประมาณหนึ่ง คงขึ้นไปถึงชีดสุดไม่ได้แต่ก็ต้องมากในระดับที่ฝั่ง developer ยอมจ่ายอย่างไม่มีปัญหา
ผมคิดว่าตัวเลข 30% ไม่ได้น่าเกลียดมาก อาจจะมากไปหน่อยแต่ถือว่าเป็นตัวเลขที่ยังพอรับได้อยู่
ถามว่าทำไม Apple มีสิทธิ์อะไรมาเก็บ 30% ก็ต้องย้อนกลับไปแต่เริ่มก่อนว่า Apple เป็นคนสร้างฐานผู้ใช้ iPhone มาแต่แรก ปฏิวัติวงการโทรศัพท์มือถือ สร้าง platform การขาย software ที่ขายได้ง่ายในขณะเดียวกันก็เข้าถึงผู้ซื้อได้ง่ายด้วย ผมไม่ปฏิเสธว่า application ต่าง ๆ บน App Store ก็ส่วนทำให้ยอดขาย iPhone มาถึงจุดนี้ได้ ผมมองว่ามันก็คือการพึ่งพากันและกันระหว่าง Apple กับ developer ในเมื่อเป็นการพึ่งพากันและกันก็ต้องแบ่งส่วนแบ่งกัน
ถ้าวันนี้ Apple ยอมลดค่าธรรมเนียมเหลือ 20% แล้ววันหน้าจะมีคนอื่นมาพูดอีกไหมว่า 20% ก็ไม่เป็นธรรม ต้องเหลือ 10% แล้วถ้าเหลือ 10% ก็จะออกมาบอกอีกไหมว่าจะเอา 5% จุดสิ้นสุดมันจะอยู่ที่ตรงไหน ความพอดีวัดจากอะไรในเมื่อต่างฝ่ายต่างก็ต้องการผลประโยชน์ของตัวเองเป็นที่ตั้งสูงสุด
ในฝั่งผู้บริโภคก็ไม่มีอะไรรับประกันหรือว่าหาก Apple ลดค่าธรรมเนียมนี้แล้ว developer ทั้งหลายจะลดราคา application ของตัวเองลง สมมติว่าเดิมมีเกมราคา $10 ขายอยู่บน App Store แล้ววันหนึ่ง Apple ตกลงยอมลดค่าธรรมเนียมเหลือ 20% มันจะมีอะไรการันตีว่าเกมนี้จะลดราคาขายลงมาถูกกว่า $10 ถ้า developer ต้องการกำไรมากขึ้นหรือชอบราคาที่ตัวเองตั้งไว้แล้ว การคงราคาขายเท่าเดิมก็ไม่เห็นจะมีประโยชน์ต่อผู้บริโภคแต่อย่างใด ที่พูด ๆ กันเหมือนเป็นแค่เรื่องของความเป็นไปได้เท่านั้น
That is the way things are.
เป็นคำถามที่ดีที่ฝั่งเรียกร้องความเป็นธรรมก็ไม่อยากตอบเหมือนกัน 555
ผมอธิบายใน’เม้นท์บนไปแล้วว่าต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1.ในฐานะผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม ก็สมควรได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม ซึ่ง Apple ก็ได้ไปแล้วในการขายฮาร์ดแวร์ตามจำนวนเครื่อง ส่วน Google ก็ได้ในรูปแบบค่าลิขสิทธิ์
ฉะนั้น เลิกอ้างได้แล้วว่าคนคิดนวัตกรรมนั้นน่าเห็นใจ เขากำไรแล้วกำไรอีกจนมูลค่าบริษัทติด Top 5 แล้วนะ ลืมตามาดูความเป็นจริงบ้าง
2.app store ก็มีต้นทุน ค่าโฮม ค่าแบนวิดธ์
ส่วนแบ่ง % ที่ store ควรได้ จึงไม่มีใครตอบได้ว่าตัวเลขที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่เท่าไหร่
ต้องให้ตลาดเป็นคนตัดสิน นั่นคือ ต้องเปิดให้มี alternative store
+30
คุ้น ๆ ว่าเลข 30 เองก็เป็นเลขที่ลดมาจากอีกเลขนึง (60 มั้ง?) ผมไม่ชัวร์นะ
จุดสิ้นสุดขึ้นอยู่กับว่าครองตลาดมากขนาดไหน 20% ในวันนี้อาจจะ ok แต่ในอนาคตอาจจะไม่ก็ได้ ส่วนเรื่องราคามันจะเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อ Apple ลงมาแข่งด้วย อันไหนขายดีก็ลงมาทำแข่งแล้วบีบให้เขาตายด้วยราคาที่ถูกกว่าแบบนี้หรอ
จริงครับ ตัวเลขที่"เป็นธรรม"เป็น subjective มาก ไม่มีใครกำหนดได้อย่างถูกต้อง
เพราะงั้นตลาดจึงควร"เสรี"เพื่อให้มือที่มองไม่เห็นเป็นผู้กำหนดไงครับ
ถ้าแอปเปิลเปิดให้ลง sideload หรือจ่ายเงินผ่านช่องทางอื่น/store อื่นได้ นักพัฒนาก็จะเลือกช่องทางที่สมเหตุสมผลที่สุด ทางช่องทางต่างๆก็จะแข่งขันกันด้วยค่าธรรมเนียมที่สมเหตุสมผลที่สุด สุดท้ายมันก็จะไปลงที่จุดดุลยภาพเอง
ถ้าเราเชื่อเรื่องทฤษฎีตลาดเสรี การไม่ปล่อยให้เกิดการผูกขาดจะนำเราไปสู่ราคาที่เรียกว่ายุติธรรมด้วยกลไกของตลาดเองครับ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นกับนิยามว่าแอปเปิลควรมีสิทธิ์ในการกำหนดตลาดของไอโฟนทั้งหมดรึเปล่าด้วยละนะครับ
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ เพราะไม่รู้ว่าตัวเลขเท่าไรเหมาะสม จะต้องใช้วิธีให้เกิดการแข่งขันเพื่อให้เกิดตัวเลขที่เหมาะสมขึ้นเองตามธรรมชาติของการแข่งขันครับ
market dominance, กับยอดของผู้ใช้แพลตฟอร์ม เป็นตัวกำหนด
ตอนที่ตลาดเปิดใหม่ การเก็บ 30% ถือว่าค่อนข้างสมเหตุสมผลในอดีต เพราะบริษัทยังไม่โตมาก ยอดขายยังไม่มากเช่นกัน แต่เมื่อมีคนเข้ามาใช้บริการมากขึ้น โอกาสในการขายสูงขึ้น แน่นอนยอดเก็บ 30% มันโตเป็นเงาตามตัว จากยอดเก็บเล็ก ๆ ไม่กี่แสนบาท ตอนนี้อาจเหยียบสิบล้านไปแล้ว ในขณะที่ตลาดยังเหมือนเดิม (ในมุมมองของ publisher) และไม่ได้มีข้อเสนออะไรเพิ่มเติมเลย นี่จึงเป็นจุดที่ publisher เริ่มคิดหนักแล้วว่า ทั้ง ๆ ที่แอปของเราขายดีแต่กลับไม่ได้เงินเท่าที่ควรได้ ตลาดก็ไม่ได้ช่วยอะไรนอกจากเป็นแหล่งปล่อยแอป (ในกรณีของแอปเปิล) ยิ่งไปกว่านั้น สถานะของตลาดแอปเปิลไม่มีคู่แข่งใด ๆ เลยบนแพลตฟอร์มตัวเอง และตัวเองกุมฐานผู้ใช้จำนวนมาก ทำให้เกิด market dominance ขึ้น publisher อยู่ในสภาวะกึ่งถูกบังคับ เพราะไม่มีโอกาสขายบนตลาดอื่นเลย นอกจากย้ายแพลตฟอร์มหนีเท่านั้น แต่มันก็ไม่ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ dev/publisher ที่ทำโปรดักส์สำหรับแพลตฟอร์มเดียว
จริง ๆ จะมองว่าการปรับลด % มันไม่ยุติธรรมสำหรับแอปเปิล มันก็ไม่ผิด เพราะแอปเปิลกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย จะบังคับให้ลด % ทำร้ายกันมากเกินไปหรือเปล่า แต่เราอย่าลืมว่าสถานะของแอปเปิลตอนนี้ไม่ได้เป็นแบบนั้นแล้ว จะเรียกว่าเหมือน Steam ยังได้เลย (เหมือนที่ Epic Games เคยเปรียบไว้เป็น "เสือนอนกิน") ยิ่งไปกว่านั้น แอปเปิลล็อกตายแพลตฟอร์มตัวเองให้อยู่กับตลาด App Store นั่นเท่ากับว่าแอปเปิลมีสิทธิ์ชี้เป็นชี้ตายให้กับ publisher ได้ เพราะลูกค้าในแพลตฟอร์มก็ไปซื้อที่อื่นไม่ได้เหมือนกัน จะ
ให้ผู้ถือหุ้นขอให้ขึ้น%ยังได้เลย ในสายตาของ publisher ขณะนี้ คือ Apple กำลังขูดรีดอยู่ และไม่ได้ช่วยอะไร นอกจากบังคับช่วยส่งแอปขึ้นแพลตฟอร์มตัวเองซึ่งมันมีทางเดียวเท่านั้น จึงไม่แปลกนักที่ publisher พยายามรวมตัวกันเรียกร้องให้ Apple ลดค่าธรรมเนียมลงให้ยุติธรรมกับตัวเองมากขึ้นSolution สำหรับกรณีนี้มันมีตัวอย่างให้เห็นแล้ว เช่น Steam เก็บ ~3,000 บาทสำหรับทุกเกมที่จะเข้าร้าน เก็บยอด 30% สำหรับยอดขาย แต่ลด % ลงเรื่อย ๆ หากขายได้จำนวนมากถึงจุดที่กำหนด แต่แอปเปิลกลับไม่ทำแบบนั้น (ไม่นับ subscription) ปล่อยให้ปัญหาเรื้อรังมาเรื่อย ๆ จน Epic ใช้เป็นข้ออ้างโจมตีตัวเองได้อีก (เอาจริง ๆ ผมมั่นใจมาก ๆ ว่าต่อให้แอปเปิลทำแบบ Steam ยังไงก็ต้องโดน Epic โจมตีอยู่ดี แต่กระแสจะไม่รุนแรงเท่ากับตอนนี้)
ส่วนเรื่องที่ว่าต่อให้ลด % ลง publisher จะลดราคาโปรดักส์ลงด้วยไหม มันไม่มีคำตอบ เพราะขึ้นกับ publisher ล้วนๆ เอาจริงๆ เรื่องผู้บริโภคมันนอกประเด็นนี้ด้วยซ้ำ เพราะเรากำลังคุยเรื่องผลประโยชน์ของ publisher กับตลาดอยู่
กลับมาแก้ ลืมพูดถึง Android มีคนถามว่า ทำไมไม่ย้ายไป Android ล่ะ ฐานผู้ใช้สูงกว่าเยอะด้วยนะ แถมไม่บังคับลงสโตร์ด้วย ปัญหามันก็เหมือนเดิม นั่นคือ Google Play จะบอกว่าให้ผู้ใช้ side-load เอาก็อย่าคิดว่าผู้ใช้อยากจะทำตามทุกคน ทั้งกังวลเรื่องความปลอดภัย ยังไม่นับรวม Play Protect ที่เป็นก้างขวางคออยู่ ซ้ำร้ายยอดใช้จ่ายบน Play Store ไม่ได้สูงเหมือนอีกแพลตฟอร์ม สวนทางกับผู้ใช้ที่มีจำนวนมาก ย้ายไปทีเหมือนฆ่าตัวตายชัด ๆ แต่พูดตามตรงยุคนี้มันไม่มีใครอยากทำ exclusive กันหรอก ใคร ๆ ก็อยากควบตลาดกันทั้งนั้น แต่การโดนหัก % อันมหาโหดจากแพลตฟอร์มที่มีหลักประกันเรื่องฐานคนจ่ายเงิน กับการอยู่ในแพลตฟอร์มที่คนจ่ายน้อย (แถมโดนหัก % มหาโหดอีกเช่นกันถ้าเอาลง store อย่างเป็นทางการ) ยังไงมันก็เจ็บปวดสำหรับ publisher อยู่ดี
ถ้าตอบในเชิงเศรษฐศาสตร์ ตลาดจะเป็นตัวกำหนดราคาที่เหมาะสมเองครับ เพราะจะแข่งขันกันจนราคาเข้ามาอยู่ในจุดสมดุล ที่ผู้เล่นทุกรายในตลาดยอมรับกันได้
ตัวอย่างง่ายๆ คือ พวกโปรเน็ตไม่จำกัดของ operator บ้านเราที่สู้กันดุเดือดแล้วเจ็บหนักกันหมด สุดท้ายก็ต้องลดละเลิกกันไปเอง
ซึ่งเคสของ App Store นี่คือไม่มีตลาดเลย เพราะมีผู้เล่นผูกขาดแค่รายเดียว
ส่วนตัวผมไม่คิดว่า business model แบบ alternative store เป็นคำตอบ เพราะผมคิดว่ามันขัดแย้งกับธุรกิจและบริการอื่น ๆ ของ Apple อยู่พอสมควร
Apple ขาย iPhone ไม่ได้ขายเพียงแค่ hardware, OS กับ platform แต่ยังรวมไปถึงบริการหลังการขายและ ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ได้รับ ไม่ว่าจะเป็น Apple Store ที่ออกแบบมาอย่างมีเอกลักษณ์ พนักงานที่ train มาเฉพาะอย่าง Genius Bar และระบบ customer service ผ่านโทรศัพท์ที่ขึ้นชื่อว่าช่วยเหลือผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี
เมื่อผู้ใช้ smartphone "ทั่วไป" มีปัญหา ไม่ว่าจะเกิดจาก hardware หรือ software สิ่งแรกที่พวกเขาจะทำคือติดต่อคนขาย ไม่ว่าจะผ่านทางโทรศัพท์ email website หรือแม้กระทั่งเดินทางไปที่ร้านค้าด้วยตนเอง เพื่อที่จะให้ผู้ขาย smartphone ยี่ห้อนั้น ๆ ทำการตรวจสอบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่ง Apple ขึ้นชื่อว่าให้บริการด้านนี้เป็นอย่างดี ให้การดูแลลูกค้าดีกว่า smartphone ยี่ห้ออื่น ๆ ณ ปัจจุบัน เนื่องจากทุกอย่างย่อมมีราคาของมัน คุณภาพการบริการที่ดีอันนี้ก็เช่นกัน ส่วนหนึ่งย่อมมาจากราคาขาย iPhone ที่ Apple น่าจะผนวกไปด้วยแล้ว
การที่ Apple ควบคุมหมดทั้ง hardware และ software ของ iPhone ทำให้ Apple ค่อนข้างมั่นใจได้ว่า เมื่อมันเกิดปัญหาด้านการใช้งาน (ที่ไม่ใช่เกิดจากความผิดพลาดของผู้ใช้ เช่น ทำเครื่องหล่น ทำตกน้ำ เป็นต้น) ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะมาจากทาง Apple เอง ดังนั้นทาง Apple จึงยินดีที่จะตรวจสอบ ช่วยเหลือ และหาทางแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าอย่างดีที่สุด
ทว่าหาก Apple ยินยอมให้คนอื่นมาเปิด alternative store บน hardware และ software ของตัวเอง หากผู้ใช้ไปลง application ที่ไม่ดี ประสงค์ร้าย หรืออันตราย จน iPhone ของผู้ใช้คนนั้นมีปัญหาเกิดขึ้น Apple ก็จะต้องเป็นผู้เสียเงินและทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อการตรวจสอบหาต้นตอของปัญหานี้ว่าเกิดจากอะไร และยิ่งไปกว่านั้นยังต้องหาทางพิสูจน์เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ให้ได้อีกด้วยว่าปัญหาเกิดจาก application นอก App Store จริง ๆ เพื่อที่จะยืนยันกับลูกค้าให้ได้ เพราะกระบวนการ support หลังจากนั้นน่าจะมีแนวทางที่ต่างจากกรณีที่ความผิดพลาดเกิดจากทาง Apple เป็นสาเหตุเอง เช่น อาจจะต้องคิดเงินลูกค้าเพิ่ม หรืออาจจะไม่รับประกันใด ๆ ทั้งสิ้นก็เป็นได้
ส่วนตัวผมคิดว่าการยืนยันว่าปัญหาเกิดจาก application นอก App Store เป็นอะไรที่น่าจะมีปัญหาตามมาพอสมควร บางครั้งข้อผิดพลาดอาจจะเกิดจากการกระทำของ application มุ่งร้ายเพียงอย่างเดียว บางครั้งอาจจะเกิดจากทั้ง application นั้นร่วมกับข้อผิดพลาดอื่นของ Apple เอง ซึ่งน่าจะนำไปสู่ปัญหาเรื่องขอบเขตความรับผิดชอบว่าใครจะต้องเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหานี้ และจะทำให้ลูกค้ายอมรับได้อย่างไรว่าสาเหตุของปัญหาเกิดจากลูกค้าไม่ใช่ Apple
ยกตัวอย่างเช่น iOS มี bug อันหนึ่งเพิ่งถูกค้นพบ สามารถ brick iPhone ได้และยังไม่มี patch แก้ไขออกมา application ทุกตัวบน App Store ไม่มีการใช้ bug นี้เพื่อก่อปัญหา ดังนั้นทุกคนที่ลง application จาก App Store จะไม่มีปัญหา แต่กลับมี application มุ่งร้ายบน alternative store ที่ใช้ bug นี้จู่โจม iPhone จนทำให้เครื่อง brick คำถามคือเมื่อเครื่อง brick ไปแล้ว ใครจะเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาให้กับลูกค้าคนนี้ ? Apple ที่เป็นเจ้าของ bug บน iPhone ? เจ้าของ alternative store ที่อนุญาตให้ลูกค้าลง application มุ่งร้าย ? เจ้าของ application เอง (ซึ่งคงจะไม่น่าจะรับผิดชอบอยู่แล้ว) ? มันยากมากที่จะกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา ซึ่งอาจจะต้องนำไปสู่กระบวนการทางกฎหมายในที่สุด
แน่นอนว่ากระบวนการทั้งหมดนี้นั้นต้องใช้เวลา ซึ่งอาจจะนานและก่อให้เกิด user experience ที่ไม่ดี จนทำให้ brand เสียภาพลักษณ์และด้อยมูลค่าในที่สุด นั่นหมายถึงมูลค่าทางธุรกิจอันมหาศาลเพราะ brand คือสิ่งที่มีมูลค่าสูงมาก มีคนจำนวนไม่น้อยที่ซื้อสินค้าเพราะความเชื่อมั่นใน brand เป็นที่ตั้ง
สรุป ผมไม่คิดว่าแนวทาง alternative store จะส่งผลดีต่อ Apple แต่อย่างใด และอาจส่งผลเสียรูปแบบใหม่ต่อลูกค้าอีกด้วย
1.เมื่อมีปัญหากับ app นอก App Store ใครจ่ายค่าตรวจสอบปัญหา ? ถ้า Apple เก็บค่าธรรมเนียม alternative store เพื่อนำเงินมาใช้ส่วนนี้ จะโดนกล่าวหาว่ากีดกันและแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมอีกหรือไม่ ?
2.เมื่อมีปัญหากับ app นอก App Store จะยืนยันกับลูกค้าได้อย่างไรว่าปัญหาไม่ได้เกิดจากทาง Apple และเมื่อยืนยันแล้ว ลูกค้าต้องทำอย่างไรต่อ ? ไปติดต่อ call center ของ alternative store แทน ?
3.หากลูกค้าไม่เชื่อการวินิจฉัยปัญหาของ Apple Customer Support จะต้องหากระบวนการและหลักฐานอะไรมายืนยัน และจะนำไปสู่การฟ้องร้องทางกฎหมายหรือไม่ ?
4.เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ผู้ใช้ไม่เคยโทษตัวเองอยู่แล้ว และกลับมอง brand ด้วยภาพลักษณ์ที่มีปัญหา Apple จะต้องทำอย่างไร ใช้เงินอีกเท่าไรจึงจะสามารถกู้ภาพลักษณ์คืนมาได้ ?
5.สำหรับคนที่คิดว่า application ไม่สามารถสร้างปัญหาได้ ผมไม่เชื่อ มันเป็นไปได้ที่จะเขียน application ที่ read / write infinite loop จนทำให้ Flash Memory เสื่อมก่อนอายุขัย หรือเปิดปิดหน้าจอตลอดเวลา อะไรทำนองนั้น ตราบใดที่ใช้ hardware ร่วมกัน มันย่อมมีช่องให้ทำอะไรแปลก ๆ ได้เสมอ
That is the way things are.
เรื่องบริการหลังการขายที่ดี ผมแนะนำให้ดูช่อง Louis Rossman เลย
ผมเคยดูอยู่เหมือนกันครับ ฮาดี
เข้าใจว่า Genius Bar และช่างอื่น ๆ ของ Apple เองก็วินิจฉัยและแก้ปัญหาผิดพลาดได้ แต่โดยรวมผมยังเชื่อว่างานบริการส่วนนี้ Apple เหนือกว่า brand อื่นครับ โดยเฉพาะกรณี iPhone ไม่ใช่ Mac
That is the way things are.
edit: ขอแก้คำว่า "ผมไม่เชื่อ" ในข้อ 5. เป็น "ผมไม่เห็นด้วย"
เหตุผล: เป็นคำที่ความหมายตรงกว่า
That is the way things are.
=== ซ้ำ ===
อยู่ไม่ได้ก็ออกไป จากประวัต apple ไม่มีทาง99% ที่จะลดนักลงทุนไม่ใช่นักบุญทำทุกอย่างเพื่อให้ได้กำไร
ส่วน google ถ้าไม่อยากอยู่ก็ไปพวก store นอกของแต่ละเจ้าหรือไซโหลดเอายังมีทางเลือกอยู่แค่ไม่สดวกสบาย
หรือไม่ก็ไปหัวเหวยเลยถ้าคิดว่ารับได้
ลองถามคนเอาของไปขายใน7บ้านเราโดยหัวคิวไปเท่าใหล่กำไรจริงๆเหลือเท่าใหล่สุดท้ายตกที่ผู้บริโภค ถ้าอยากได้ของแบบที่ต้องการก็ต้องทำเองแต่อยากได้ตลาดที่ใหญ่ก็ต้องยอม google store ก็เป็นตลาดหนึ่งที่มีลูกค้าเยอะและสดวกกว่าที่อื่น (สำหรับ apple ไม่มีทางเลือกนอกจากทิ้งกลุ่มลูกค้าไป)
อ่านแล้วก็สับสนเหมือนกันนะครับ ว่าด่า 7-11 หักหัวคิวเยอะ แต่พอเป็น Apple กลับบอกว่าอยู่ไม่ได้ให้ออกไป ตกลงชีวิตมีหลักการอะไรบ้างไหมครับ
นั่นสิไม่แน่ใจว่าทำไมคุณเข้าใจเองเออออเองว่าผมไม่ได้ว่า 7 เหมือน apple และบรรทัดใหนชน apple ดี แล้วจะผมยกมาพูดทำไม 7 apple google อยากได้ตลาดเขาคุณก็ต้องทำตาลกฎ อยู่ไม่ได้ก็ออกไป เข้าใจ?
มีอีกทางนะ ฟ้องศาลเรื่องผูกขาดให้ชนะ
จะว่าผูกขาดก็ไม่เชิงนะ ยังสามารถทำช่องจ่ายเงินจากภายนอกแอพได้ โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องไม่มีลิงค์จากในแอพนำทางไป แต่มันคงไม่แฟร์กับแอพรายเล็กๆ
เกมใน ios ทำไม่ได้ครับ
Rov ไง
หลายๆคนผมว่า มองในระยะสั้นๆ เช่น ตามกฎก็ไม่ตาม ก็สมน้ำหน้า epic ไปนั่นถูกแล้ว
ซึ่งเอาจริงๆมันก็เป็นแบบนั้นนะ จะได้รู้กันไปว่าทำไม่ถูก
แต่ในระยะยาว หากเรื่องราวลักษณะนี้คงอยู่ต่อไป Big Tech เติบโตขึ้นเรื่อยๆ Curve ของการพัฒนาแข่งขันก็จะน้อยลง น้อยลง และไม่มีอะไร Innovation ใหม่ๆเลย
เราจะสังเกตได้ว่า หากมี Startup เจ๋งๆที่ทำชิ้นงานออกมาได้อย่างมีคุณภาพมาก (ไม่จำกัดเฉพาะด้าน IT รวมไปถึง startup อื่นๆ) มันจะจบลงด้วยอะไร ? คำตอบก็รู้ๆกันอยู่ คือการจบลงด้วยการถูกซื้อจากทุนใหญ่ๆ มันไม่ใช่สิ่งที่ผิด ใครๆก็รู้ โลกทุนนิยมก็แบบนี้
ย่อหน้าที่ 2 ที่ผมเขียนไว้คำว่า ระยะยาว
Bigtech พวกนี้มีเงินเยอะมาก จนทำอะไรก็ได้ กำหนดอะไรก็ได้ แม้แต่ จะลงมาเล่นเอง ก็ได้
Spotify ทำแอพขายได้เงินดีเหรอ ? ฉันทำ Apple Music ซะเลย
WSJ ทำข่าวมีคนอ่านเยอะจนรวยเหรอ ? ฉันทำ Apple News ซะเลย
เกม xxx สนุกมีคนเล่นเยอะมาก ? ฉันทำ Studio Game ซะเลย แถมรองรับ hardware ล้ำๆของฉันได้โดยตรงด้วย
ฉันเป็นเจ้าของตลาดอยู่แล้ว ECO system เป็นของฉัน
เงินที่มีเยอะแยะ ไม่ใช่แค่เพียงจ้างทีม Dev เก่งๆได้ แต่หมายถึง ซื้อทั้งบริษัทก็ยังได้
หรือจะแม้กระทั่ง ลงทุนเพื่อจะแข่งกับคนอื่น ในตลาดตัวเองก็ยังได้
ใครจะรู้ละ Dev ที่มาบ่นๆในนี้วันนี้ แล้วมี App ตัวเองที่ทำขายอยู่ อาจจะโดน Apple ลงมาทำ app แบบนั้นเล่นเองเข้าสักวัน ถึงตอนนั้นคงจะเป็นยังไงนะ เมื่อลูกค้าหนีไปใช้ app ของ apple หมด จะไปขับ foodpanda แทนรึเปล่า ก็พูดเองว่าใช้บ้านเค้าก็ต้องเคารพกฎเค้า ไม่ผิดครับ คุณแค่โชคดี ที่ big tech มันยังไม่ลงมาเล่นในตลาดแอพของคุณเท่านั้นเอง ซึ่งการจัดอันดับโลกที่เค้ามีเงินอยู่ในมือ เห็นได้ว่าเค้ามีศักยภาพสูงมากที่จะลงมาเล่นตอนไหนก็ได้ แอพเล็กๆไอเดียใหม่ๆในอนาคตหากจะเกิด ก็ไม่ต้องไปแข่งหรอก เดี๋ยว Big Tech ก็มาซื้อ
หรือ ถ้าไม่ปัง ก็จางหายไป แล้วโลกเราก็จะมี Innovation น้อยลงทีละนิด ทีละนิดนั่นแหละ
ถ้าใครเปรียบเทียบ 7-11 อยู่ ก็อยากให้มองโลตัส อยากให้มอง Makro ด้วยเลยดีมั้ย
โลตัสก็มี สินค้ายี่ห้อ คุ้มค่า มาวางขายแข่ง
Makro ก็มีสินค้ายี่ห้อ aro ที่เป็นของ makro เองเช่นกัน
ลองนึกภาพตามถ้าคุณเป็นแบรนด์เล็กๆ แต่ระบบคุณดี สินค้าดี จึงสามารถไปวางบน 7-11 หรือ Makro ได้
คุณต้องวัดใจลูกค้านะ ว่าจะหยิบสินค้าแบรนด์คุณ หรือ สินค้าตีแบรนด์ของ 7-11 / Makro ซึ่งผมไม่เชื่อว่าเค้าจะทำราคาได้แพงกว่าสินค้าของคุณ ที่วางในร้านของเค้าเอง
และที่น่ากลัวก็คือ ตอนนี้ 7-11, Lotus, Makro เป็นของเจ้าของเดียวกัน กินรวบทุกทางเลย
ผมนอกเรื่องไปนิด ไม่เกี่ยวกับข่าว (ฮา)
เห็นด้วยครับ
คือสงสาร ธุรกิจที่โดน apple มาทับ line มากกว่าอย่าง spotify ทำธุรกิจเหมือนกัน แต่โดนกดให้จมโดยการให้จ่ายแพงกว่า
ถ้าไม่ใช่ epic ก็คงน่าเชื่อถืออยู่ เพราะสิ่งที่ epic มักบอกว่าเป็นความไม่ถูกต้องนี่ Epic ล้วนทำหมดและยังทำต่อไปจนถึงปัจจุบันขณะพูดด้วย อยู่อย่างทาสนี่เหมือนพูดถึงตัวเองเหมือนกันนะ Epic แค่อยากเข้าเป็นนายทาสอีกคนมากกว่าพระเอกปลดแอกทาส ชนะไปเราก็เป็นทาส Apple อยู่ดีเพิ่มเติมคือเป็นทาส Epic ด้วย
ผมชอบที่ Louis Rossmann ด่า Apple ว่าทำตัวเป็น Half Bitch ที่จะเอา 30% แต่พอ Facebook จะอัพเดทแอพเพื่อบอก user ทั่วไปว่าที่จ่ายไปนี่ 30% จะโดนหักเข้า Apple นะไม่ได้เข้า Facebook ดันแบนไม่ให้ update คือจะเอาส่วนแบ่งแต่ไม่ยอมเป็น Full Bitch ประกาศดัง ๆ ไปเลยว่าชั้นจะเก็บ 30% ใครมีปัญหามั้ย
เขียนดีครับ อ่านเพลิน
:D
เจอคนเห็นด้วยกับ Apple Tax 30% แต่เวลาจ่าย YouTube Premium ดันไม่กดจาก iPhone/iPad แต่ใช้ Android กดซื้อเอาเพราะไม่อยากโดน Apple Tax 30% ก็ได้แต่ยิ้มอ่อน
ผมว่าไม่น่าจะใช่เรื่องของโดน Apple หักจากผู้พัฒนา 30% นะครับ ที่เค้าเลือกกดจาก Android เพราะราคามันถูกกว่า ถ้าหากว่าราคากดจาก iPhone/iPad ถึงแม้ผู้พัฒนาจะโดน % แพงกว่า แต่ราคาสมาชิกถูกกว่า เค้าก็กดจาก iPhone/iPad อยู่ดี
อย่างซื้อเกมจาก EPIC (หน่วย USD) กับ Steam (หน่วย THB) ทั้ง ๆ ที่ EPIC เก็บค่า tax จากผู้พัฒนา 12% และ Steam ก็บ 30% แต่ราคาใน Steam ถูกกว่า คนก็กดจาก Steam กันแหละครับ
ผมเข้าใจว่าคนที่เห็นด้วยกับ tax 30% น่าจะเป็นกลุ่มคนที่ต้องการสนับสนุนกำไรให้ apple นะ เอาจริงๆคือหาเหตุผลอะไรมาสนับสนุนกลุ่มนี้ไม่ได้เลยจริงๆ เพราะถ้า apple ลด tax คนได้ประโยชน์คือ dev กับผู้บริโภค คนเสียประโยชน์มีแต่ apple
เรื่องนั้นเข้าใจครับ แต่ที่ผมพูดถึงคือ เอามาเปรียบเทียบกับการไปซื้อ Youtube Premium จาก Android ซึ่งราคาถูกกว่า ผู้ลริโภคก็ต้องการของที่ราคาถูกกว่าอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับการสนับสนุนหรือไม่ครับ
เมื่อเราเห็นดีเห็นงามกับมาตราการ A (ในเคสนี้คือจ่าย+30%)
แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราต้องเลือกเพราะเป็นลูกค้าว่า ระหว่างเหตุการณ์ 1 + A ที่เสียประโยชน์ กับเหตุการณ์ 2 + B (ไม่ต้องจ่าย+30%) ที่ได้ผลประโยชน์กว่า
เราก็มักจะเลือกเหตุการณ์ที่ 2 เพราะเราได้ผลประโยชน์
ในมุมลูกค้าน่ะก็อยากได้ของถูก แต่ผมในฐานะที่เป็นทั้ง Dev และเป็นลูกค้า คงไม่สามารถทำตัวปากว่าตาขยิบได้ และเห็นควรต่อรองผลประโยชน์นี้ให้มันเหมาะสมกว่าที่เป็นอยู่ เพราะมิเช่นนั้น สุดท้ายลูกค้า-สังคมจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านั้น
ซึ่งในเคสข้างต้น ลูกค้าเป็นตัวประกันของทั้งสองฝ่ายเสมอ ฉะนั้นเราในฐานะลูกค้าก็ควรคิดว่าเราควรจะรักษาผลประโยชน์ในมุมของใคร
อันนี้คือเรื่องจริงเลยครับ
ผมว่าคนละเรื่องกันนะครับ ฝั่ง user กับฝั่ง dev ถ้าคนไปจ่ายช่องทางอื่นเพราะด้วย marketing, branding, ราคา หรืออื่นๆ ของตัว dev เอง dev ก็ไม่ต้องเสีย 30% นั้นให้ apple ถูกแล้ว
เกมหลายเกมก็ทำแบบนั้นทั้งในของ app store, play store
แต่ถ้า dev อาศัยช่องทาง/platform ของ apple ในการทำเงิน แล้วจะไม่จ่าย 30% คนละเรื่องกันนะครับ ถ้าอนุญาตให้ทำได้ แล้วทำแบบนี้กันหมด ยุติธรรมกับ app store/play store หรอครับ ให้โหลด app free แล้วทำ link ไปจ่ายผ่านระบบตัวเองกันหมด ส่วนเรื่องโดนเอาเปรียบ 30% มากเกินไปอันนี้ต้องมาดูว่าขูดรีดเกินไปจริงหรือไม่
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ผมไม่รู้ว่าตั้งแต่เมื่อไหร่ที่ apple เปลี่ยนกฏนะ
แต่กับเกม ios ไม่สามารถจ่ายช่องทางอื่นได้เลยครับ
currency หรือสิ่งของที่ซื้อผ่านช่องท่างอื่นจะเอามาใช้ใน ios ไม่ได้
อ่า หรอครับ ผมไม่แน่ใจเหมือนกัน เลิกเติมเกมมือถือไปละ เคยเติมแค่ตอนใช้ android
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ห้ามมีช่องทางอื่นครับ ที่ Epic โดนเพราะเพิ่มช่องทางอื่นไปในแอพ จึงโดนแบน
ห้ามพูดถึงในแอพด้วยว่าเรามีช่องทางอื่นนะ ห้ามมี FAQ พูดถึงช่องทางอื่น ห้าม redirect ไปช่องทางอื่น
ไม่ได้ห้ามมีช่องทางอื่น แต่ห้ามมีลิงค์จากในแอพไปจ่ายช่องทางอื่นครับ สำหรับเกมผมไม่แน่ใจว่าตอนนี้มีกฎแบบนั้นแล้ว หรือไม่ ตอนเล่นกับเพื่อนก็เหมือนเพื่อนยังซื้อบัตร garena จาก shopee เติมกันอยู่ แต่ผ่านมาหลายปีแล้ว
และแอพที่ไม่ใช่เกม youtube premium, netflix, spotify ก็จ่ายช่องทางอื่นได้อยู่ แต่ห้ามมี link จาก app บน iOS ไป ซึ่งเหมือนกับ play store นะครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
มีช่องทางอื่นได้ครับ ผมเล่นเกมส์กาชาอยู่ซื้อเพชร(currency)จากplaystore หรือ amazon ได้ แต่มันจะไม่ถูกรวมในระบบ ios แยกขาดจากกัน ต้องเอามาแปลงเป็นตัวมอนสเตอร์หรือไอเทมที่เล่นในเกมส์ก็จะใช้ได้ ผมว่าที่โดนน่าจะแบบให้ซื้อ currency โดยจากทีือื่นแล้วเอามารวมกันได้โดยตรงเลยมากกว่าถึงโดน จริงๆทำแบบเกมส์อื่นก็ไม่น่าจะมีปัญหาแล้วนะ
ไม่แน่ถ้าชนะรอบนี้ แล้วมีการเรียกร้องต่อแบบสุดโต้งเลยนะ อาจ Apple/Google หรือเจ้าของแพตฟอร์มอาจต้องจ่ายเงินให้นักพัฒนา เพราะไม่มีนักพัฒนา แพตฟอร์มก็อยู่ไม่ได้เพราะไม่มีคนพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ เพราะก่อนหน้านี้ก็มีนักพัฒนากลุ่มหนึ่งบอกแบบนี้
แล้วที่บอกต่อต้านการเก็บหัวคิวของแพตฟอร์ม นี้คือการต่อสู่เพื่อกำไรของแพตฟอร์มตัวเองไหม ถามว่าแล้วราคาซอฟต์แวร์มันจะถูกลงจริงเหรอ ในเมื่อตลาดขายได้ในราคาเดิมคนก็ต้องยอมซื้อ
ตอนแรกที่เข้าวงการ Dev ก็ไม่เข้าใจนะว่าทำไม Visual Studio ต้องขาย ทำไมต้องจ่าย MSDN ทำไมต้องจ่าย Apple Developer นี้มันค่าทำเนียมอะไรเนี่ย เราจะพัฒนาซอฟต์แวร์ให้นะแพตฟอร์มนะ พัฒนาให้ฟรี ๆ ด้วย แต่ตอนเข้าใจ ต้องมองกลับไปที่เจ้าของแพตฟอร์มบ้าง นี้เขาพัฒนามาให้เราเอาไปใช้เขาลงทุนไปมหาศาล แต่เราเอาไปใช้ฟรี ๆ ถึงจะบอกว่าเราเป็นโครงการโอเพนซอร์ตก็ตาม แต่ถามว่าเราไม่ได้ประโยชน์ทับซ้อนในทางอ้อมอะไรเลยเหรอ?
ประเด็นคือผูกขาดจริงหรือไม่ในนิยามของแต่ละคน
- บางคนอาจมองว่าส่วนแบ่งตลาดมากกว่าที่กำหนดก็ถือว่าผูกขาด
- บางคนมองว่ามีผู้เล่นน้อยรายถือว่าผูกขาด
- บางคนมองว่าแค่มีทางเลือก(ไม่ว่าปัจจัยอื่นจะแย่กว่าแค่ไหน)ก็ถือว่าไม่ผูกขาดแล้ว
แต่สำหรับผมการสั่งห้ามไม่ให้บอกผู้ใช้ว่าถูกเก็บค่าธรรมเนียมนี่ผูกขาดสุดๆ ผูดขาดแม้กระทั่งความจริง
*30%
เอาจริง ๆ เรื่องเปอร์เซ็นค่าธรรมเนียมตามสัญญาทั่วไปเค้ามักจะกำหนดว่าเป็นความลับระหว่างคู่ค้าอยู่แล้วครับ อย่าง Grab, Lineman พวกนี้ก็มีกำหนดไว้ว่าเป็นความลับ เพราะจะมีบางเจ้าที่ดีลกันได้ถูกกว่าเปอร์เซ็นกลาง ๆ ที่เราทราบ ๆ กันอยู่ครับ ดังนั้นผมเลยมองว่าการไม่ให้บอกว่าโดนเก็บค่าธรรมเนียม อันนี้ขึ้นอยู่กับสัญญาที่เซ็นครับ ถ้าได้อ่านสัญญาและยอมรับ ก็ต้องทำตาม แต่ถ้าไม่ยอมรับ ก็ต้องตกลงกันตั้งแต่ตอนแรก
เอาจริง ๆ เรื่องเปอร์เซ็นค่าธรรมเนียมตามสัญญาทั่วไปเค้ามักจะกำหนดว่าเป็นความลับระหว่างคู่ค้าอยู่แล้วครับ อย่าง Grab, Lineman พวกนี้ก็มีกำหนดไว้ว่าเป็นความลับ เพราะจะมีบางเจ้าที่ดีลกันได้ถูกกว่าเปอร์เซ็นกลาง ๆ ที่เราทราบ ๆ กันอยู่ครับ ดังนั้นผมเลยมองว่าการไม่ให้บอกว่าโดนเก็บค่าธรรมเนียม อันนี้ขึ้นอยู่กับสัญญาที่เซ็นครับ ถ้าได้อ่านสัญญาและยอมรับ ก็ต้องทำตาม แต่ถ้าไม่ยอมรับ ก็ต้องตกลงกันตั้งแต่ตอนแรก
ที่ facebook โดนคือ an App Store rule that bars developers from showing “irrelevant” information to users. ครับ ไม่ใช่เรื่องห้ามบอกความลับระหว่างคู่ค้า
ดังนั้นแค่ระบุว่า เงินที่จ่ายไปจะมีการหักค่าธรรมเนียมจาก apple(ซึ่งไม่เป็นความลับ เพราะมีระบุอยู่ในเวป apple เอง) ข้อหานี้ก็สามารถตีความห้ามได้หมด
แต่การที่ไม่ให้แสดงเนี่ยบางทีมันก็ทำให้ผู้ใช้งานหวังนะครับ จ่ายเงินไปเท่านี้ทำไมได้แค่นี้ ฯลฯ
นิยาม "ผูกขาด" ของผม คือ การที่ผู้เล่นรายใหญ่รายนึงสามารถกำหนดนโยบายอะไรก็ได้โดยไม่คำนึงถึงความสมเหตุสมผล และอาจทำให้คู่แข่งไม่สามารถแข่งขันได้
โอ้ยยย เม้นเยอะเกิน อ่านยาวกว่าข่าวอีก
คนที่ทำงานพวก retail ห้างค้าปลีก มาอ่านนี่คงคิดว่า นี่เราอยู่คนละโลกกับชาวแอกหรอกเหรอ
30% นี่อาจจะน้อยไปด้วยซ้ำกับตลาดที่มีคนเห็นวันละเป็นพันล้านคน
ประเด็นคือ บน iOS ผู้พัฒนาไม่มีทางเลือกหน่ะสิครับ ต้องไปลงแต่ App Store อย่างเดียว
พันล้านคนที่ไม่เห็นของเรา เพราะ สินค้ามีเป็นล้านชนิด
ทางเลือกมีครับ
ทำ vs ไม่ทำ
ต้องตอบทำถามว่า ทำไมในเมื่อรับเงิ่อนไขค่า store ของ apple ไม่ได้ จึงไม่ทำลง android อย่างเดียว
ถ้าบอกว่าทำเพราะต้องการ scale ผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด ทั้ง 2 platform
ก็ต้องถามกลับว่า มูลค่า platform ที่มีผู้ใช้เยอะขนาดนี้ คุ้มค่ากับ 30% หรือไม่ วนกลับไปคำถามเดิม จะทำหรือไม่ทำ
แล้วในกรณี In-App purchase ผู้พัฒนาทำอะไรได้ไหมครับ สร้างระบบจ่ายเงินตัวเองก็ห้าม โปรโมทให้ไปจ่ายที่เว็บ หรือที่อื่นๆ ก็ไม่ได้ บอกลูกค้าว่าเงินที่บวกเพิ่มมาจาก Apple Tax ก็ไม่ได้
ซึ่งในปัจจุบันคือ ผู้ใช้ iOS ไม่มีทางเลือกที่จะจ่ายค่าบริการหลังการขาย โดยจ่ายไปที่ผู้พัฒนาตรงๆได้ ต้องจ่ายผ่าน Apple เท่านั้น ซึ่งก็โดนเก็บเงินเพิ่มอีก 30% และ ถ้า Apple เห็นว่าแอปแบบนี้ทำเงินดี เขาก็ทำลงมาแข่งอีก ผ่านห้างของเขาเอง ยังไงๆ Apple ก็สามารถขายของได้ราคาถูกกว่า เพราะ Apple ทำของมาขายในห้าง Apple เอง ยังไงต้นทุนของ Apple ก็ต่ำกว่าครับ
ถ้าคุณเทียบเหมือนห้าง ทั้งเมืองมีกฎให้เมืองนี้มีห้างได้แค่ห้างเดียว เวลาคุณซื้อคอมพิวเตอร์ในห้าง คุณยกคอมไปซื้อ OS, Software ต่างๆ ที่ร้านอื่นไม่ได้ ผู้ผลิตจะทำหน้าร้านเองก็ไม่ได้ จะแถมเอกสารบอกว่าซื้อผ่านออนไลน์ก็ได้นะ ก็ทำไม่ได้ ต้องซื้อผ่านห้างนั้นห้างเดียวเท่านั้น ไม่ซื้อของพ่วงผ่านห้างนั้น เขาก็ไม่ให้คุณขายของในห้าง แถมถ้าของชิ้นนั้นขายดี ห้างก็ทำมาขายแข่งอีก ซึ่งไม่ว่ายังไงห้างก็สามารถขายของเขาได้ถูกกว่าของผู้ผลิตแน่ๆ คุณว่าแบบนี้มันแฟร์ไหมครับ หรือจะบอกว่าให้ทั้งผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ กับ ลูกค้าก็ย้ายไปอยู่เมืองอื่นสิ?
มีอีกอย่างที่ห้างเทียบไม่ได้ด้วย คือ ห้างมีหน้าที่หาลูกค้ามาซื้อของที่ขายในห้างใช่ไหมครับ ถ้าทำสำเร็จ ค่า Commission ก็เป็นไปตามที่ตกลงกัน แต่พวกของพ่วงต่างๆ บริการเสริมหลังการขายต่างๆ ห้างมีสิทธิ์ไปบังคับลูกค้า และผู้ผลิต ให้ซื้อ หรือขายผ่านห้างเขาอย่างเดียวได้ไหมครับ?
โปรโมชั่นในห้าง เคมเปญ ออกร้าน ลานโปี ห้างเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มจากSup. เพิ่มนะครับ แจ้งไว้เผื่อท่านไม่รู้
ซึ่งการดึง traffic คือการ ปชส ห้างว่า มาสิ ห้างนี้ดี ของเยอะ (ขายเครื่อง ขาย eco system ของ ios)
พูดอีกก็ถูกอีก เพราะส่วนแบ่งของรายได้ GP% ก็ต้องแบ่งให้เจ้าของห้างครับ ไม่ต่างกับ app ขายขาด transcation ก็นับแยกไม่ต่งกัน
ก็อย่างที่บอกไปเลือกได้ จะทำหรือไม่ทำ ถ้าทำแล้วเห็นแนวทางขอแก้ไขก็อยู่ที่การตัดสินใจของเจ้าของห้าง
แต่อย่างเคส epic นี่อาจจะต้องแก้พาดหัวเป็น ขอสู้และอยู่อย่างโจร กระมัง
ทุกวันนี้ถ้าคุณซื้อมือถือจากร้าน AIS ในห้างเซ็นทรัล
AIS ต้องแบ่ง 30% ของค่าบริการรายเดือนที่คุณจ่ายให้เซ็นทรัล 30% มั้ยครับ?
มีสติในการหาเคสมาเทียบหน่อยสิครับ
ซื้อมือถือจาก shop ในห้าง
มันเกิดธุรกรรม 4ฝ่าย ลูกค้า-shop<-->operator-ห้าง
ธุรกรรมที่เกิดคือ ซื้อมือถือ(แถมแพคเกจ)ห้างเอา GP ไป
แพคเกจเป็นธุรกรรมของ ลูกค้า-operator ไม่เกี่ยวกับห้าง
ถ้าเทียบ in app ผมไม่เทียบกับพวก netflix หรือ rov ที่จ่ายข้างนอกได้นะ
ถ้าเทียบอาจจะเปรียบเทียบกับพวก แอปซื้อฟีเจอร์ฟิลเตอร์อะไรพวกนี้ ซึ่งถ้ารวมมูลค่าทั้งหมด มันก็คือราคาขายของ app นั้นๆ
คุณตั้งราคาแอป 560 บาท vs ฟรี แยกขายเป็นส่วนๆละ 80 บาท
สุดท้าย ก็คือการซื้อผ่าน-ช่องทาง-ที่ใช้ gateway ของเค้าอยู่ดี
อย่าง meb คุณไปซื้อหนังสือในเวป ก็ราคาถูกกว่า มาซื้อในแอปก็แพงกว่าเพราะค่า gateway (แลกกับความสบายที่ต้องไปใช้ safari หรือเดินไปเปิดคอมซื้อเค้าอาจจะคิดว่าเศษเงิน นอนกดในมือถือนี่แหละ)
อย่างที่ผมว่าไปอะแหละ คนที่ทำงานเรื่องห้างretail มาอ่านโพสนี้คงจะ อิหยังวะกันไป
ที่เทียบแบบนั้น เพราะมันไม่เหมือนกันอยู่แล้วไงครับ
มันไม่มีห้างไหนที่ บังคับให้ต้องจ่ายผ่านห้างไปตลอดชีวิต / ห้ามบอกลูกค้าว่ามีช่องทางอื่นที่ไม่ผ่านห้าง / ห้ามขายช่องทางอื่นราคาถูกกว่าในห้าง ฯลฯ
ลองนึกถึงข้อจำกัดเวลาใช้งานอุปกรณ์สักอย่างนึง หากเราเลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีข้อจำกัด และจำกัดfunction ต่างๆ ในขณะที่ที่ค่ายอื่นๆทำได้ แต่ของเราทำไม่ได้? คุณจะเลือกใช้ apple เพื่ออะไร? ตอนนี้ผมนึกอะไรไม่ออกนอกจากตอนรับงาน job บน iOS ที่บังคับว่านักพัฒนาต้องจ่ายค่ารายปีเพื่อพัฒนาแอพบน iOS และยังจะโดนหัก30%จากยอดขายอีก ตาสว่างและเลิกใช้เถอะครับ ผมเองถ้าไม่เขียนแอพ iOS จะไม่เลือกใช้งานสินค้าของ apple เลย..(ตอนนี้ก็ใช้ฟรีตามที่ บ. จัดให้ไปก่อนละกัน)
การเลือกใช้ขึ้นกับความชอบส่วนตัวครับ บางคนใช้อปุกรณ์ที่ความสามารถที่คุณว่าจำกัด มันพอเพียงสำหรับเค้า การใช้งานที่ง่ายและสะดวกสำหรับเค้า จะมาว่าคนอื่นตามืดมัว ใช้ของที่มีข้อจำกัดก็ไม่ถูกนะครับ
สินค้าแบรนด์เนมดัง ๆ พวกกระเป๋า เสื้อผ้า รองเท้า ราคาเป็นหมื่นเป็นแสน เสื้อแพงๆกระเป๋าเสื้อก็ไม่มี ทั้งที่เสื้อราคาหลักร้อยหลักพันมีกระเป๋าเสื้อ มีช่องเสียบปากกา ฟังก์ชั่นการใช้งานเยอะกว่า ทำไมบางคนถึงเลือกซื้อใช้กัน ต่างคนก็ความชอบต่างกันครับ
ตอนนี้ผมใช้ Pixel 3 อยู่ เครื่องหน้าผมจะย้ายกลับไป iPhone เหตุผลคือเพราะมันดีกว่าในหลาย ๆ อย่างที่ผมต้องการครับ
That is the way things are.
ตามที่ใจชอบเลยครับ ผมอาจจะคิดถึงแต่เหตุผลที่เป็นเส้นตรงไปหน่อยแต่ในมุมนักพัฒนา ผมมองไม่เห็นว่ามี function ไหนที่ iOS ทำได้แต่ค่ายอื่นทำไมไม่ได้.. นอกจากราคาแพงกว่า + ข้อจำกัดแอพ(โดยเฉพาะเกมส์)ที่กำลังจะเกิดขึ้นจากการแบน และ ราคา app+top up ที่แพงกว่าค่ายอื่นๆ ถ้าสะดวกใจก็ตามนั้นครับ
ฟังก์ชั่นที่นักพัฒนาเลือก ios คือ ความสามารถในการจ่ายเยอะกว่าลงช่องทางอื่นไงครับ(ไม่งั้นก็ลง android exclusive ไปสิ)
ซึ่งผลที่ตามมาคือ ในเมื่อมีจำนวน willing to pay เยอะระดับพันล้านคน ทำไมถึงต้องแบ่งให้ apple 30% (ทั้งๆที่ใช้ช่องทางของ apple ในการขาย)
Apple Watch, Airpod, Car Play และการทำ UX ให้ดีครับ
เดี๋ยวนี้ผมไม่เลือก Apple แค่เพราะฮุบทุกอย่างไว้กับตัว ตัวจะเป็นผู้ควบคุมทุกสิ่งในโลกหล้าผมเลยไม่สนับสนุนเท่านั้นเอง
+1 เหมือนกันครับ ตอนนี้ก็ใช้ iPhone อยู่ อยากย้ายไป Android หลายทีแต่มันติดพันเรื่องอุปกรณ์เสริม จะให้ไปใช้เจ้าอื่นก็ทดแทนได้ไม่หมดอีก ยังไม่รวมถึงรถที่ใช้อยู่ที่รับได้แค่ CarPlay จะให้ขายทิ้งเพื่อไปซื้อรถที่รองรับ Android Auto ก็ใช่ที่ เมื่อก่อนเคยหาความอิสระจากมัน แต่พอหาไปหามามันเริ่มตันเลยกลับมา iPhone นี่แหละ
ส่วนในเรื่องของข่าว ผมเห็นด้วย 50/50 ในเรื่องผู้พัฒนา(ไม่นับ Epic) ที่ประท้วงเรื่องนี้ และ Apple ทำผิดจริงๆในหลายๆเคส แต่ที่ไม่เห็นด้วยก็มีเรื่อง Epic นี่แหละที่ดันทำตัวเองจนคนเกลียดไปเลย
ปล.ตอนข่าวก่อนผมดันแสดงความเห็นชื่นชมคนขาย iPhone ซื้อ Galaxy Tab มาเล่น Fortnite โดยเฉพาะ มันก็ดีที่พวกเขาทำตามอุดมการณ์ตามที่หวังได้สำเร็จ แต่ผมคงไม่เอาด้วยหรอก
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ถ้ามองมุมกลับว่า ถ้าเครื่องที่บอกว่าดีและอิสระหนักหนาแต่ดันไม่มี App ที่เราจะใช้ มันก็เป็นข้อจำกัดที่ตลกอยู่นะ โดยเฉพาะกรณี iPad vs Table ค่ายอื่น
มันก็เหมือนซื้อเครื่องเกม console ไม่มีเกมที่อยากจะเล่นลงน่ะ
ตาสว่างและเลิกแนะนำคนอื่นเถอะครับ
ของทุกอย่างมีดีมีแย่
แค่คุณมองหาข้อดีของมันไม่เจอ...ไม่ได้แปลว่ามันไม่มีนะครับ
ระบบทุนนิยมสร้าง Apple มาแบบนี้ในเวลาแค่สิบกว่าปี แล้วระบบเดียวกันนี้ก็บีบคนอื่นจนลำบาก
กฎหมายต่อต้านการผูกขาดนี้เอามาคานระบบ ประมาณว่าแบ่ง ๆ กันรวยดิ
Capitalism ยังไม่ดีพอ จะออกแบบระบบแบบไหนไม่ให้เกิดปัญหาแบบนี้ดีครับ
เส้นทางแห่ง Communism ช่างยากลำบากจน Utopia แทบเป็นไปไม่ได้
(ขอฉีกแนวบ้าง)
ตกเป็นทาสของประชาธิปไตย เอะอะก็อ้างอิสระภาพ
ข่าว Apple นี่ขายดีจริงๆ อ่านเพลิน
Just a nerd, who interested in technology :p
ทำไม epic ไม่ขึ้นราคาให้คุ้มกับที่เสียให้ appstore / playstore
กลัวลูกค้าเสียเงินเยอะ รักลูกค้า?
ขึ้นไป ก็คงไม่เหมือนกับ spotify ที่พอขึ้นราคาแล้วโดน apple music ออกมา 10$
Apple ไม่น่าทำเกมเอง ถึงแม้ทำก็ไม่น่าจะดัง คนเล่นเยอะเท่า fortnite
ของ ไอเท็มในเกม มันเป็นของที่จับต้องไม่ได้ คนเล่นเกมจริงๆ เวลาจะเติมราคาเพิ่มยังไงมันก็เติม
Fortnite นี่ขายของในเกมคนละราคาอยู่แล้วนะ ถ้าซื้อผ่าน App Store จะแพงกว่าซื้อผ่านร้านในเกมอยู่แล้ว ก็คือ + ราคามาชดเชย 30% อยู่แล้ว
อ่อครับ พอดีไม่ได้เล่น
แล้วงี้จะขายข้างนอก appstore ไปเพื่อ?
แล้วถ้าจะขายข้างนอก ให้ราคาต่ำกว่าไปเพื่อ?
ไม่มีความสามารถในการสร้างแพลตฟอร์มที่มีกลุ่มคนใช้งานเยอะๆ แล้วมาบังคับให้คนที่เค้าทุ่มทุนทำแพลตฟอร์มมาอย่างมหาศาล ให้สิทธิพิเศษกับตัวเอง
ถ้าเกมมันดีจริง ก็ทำคอนโซลเล่นเองไปเลยสิ จะมายืมจมูกคนอื่นหายใจเพื่ออะไร ทำเองหาลูกค้าเองเลยสิถ้านักเลงพอ
เรื่องทำ console นี่ดู Nintendo กับ Wii U ก่อนครับ
เคสนี้ถ้า apple ยอมลดค่าธรรมเนียมเรื่องจะจบไหมครับ ?
จบแค่ปัญหาที่เกิดกับ Epic ครับ ส่วนเรื่องใช้อำนาจบังคับตลาดนี่น่าจะยากหน่อยครับ
เข้าใจมุมมอง Apple และ Google นะ แต่พอแพลตฟอร์มใหญ่ขึ้นจะให้เก็บแบบเดิมคงไม่เป็นธรรมเท่าไหร่
ถึงแม้ค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อให้ Store อยู่ได้ และ + trust และ safety การลดลงมาจากอดีตที่ได้รายได้จาก Store เยอะไปเท่าไหร่แล้ว น่าจะลดลงมาบ้างเล็กน้อยก็ยังดี
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
กำลังคิดว่า comment จะถึง 200 ไหมเนี่ย
ผมล่ะงง ทำไมหลายคนเลือกไปอยู่ข้างที่ทำตัวเองเสียผลประโยชน์
ในอนาคต มันจะต่างอะไรกับค่าธรรมเนียมธนาคาร ที่ทุกวันนี้แข่งกันที่ลดแลกแจกแถมกันหมด
เพราะเมื่อ trust หรือ safety คือสิ่งที่จ้าว store ต้องดูแล เพื่อเป็นสิ่งดึงดูดให้ลูกค้าซื้อมือถือที่ฝูก store ของตน
แต่ว่าตอนนี้ อำนาจในตลาดของแบรนด์ยังสูง เก็บทุกเม็ด แต่ในอนาคตหากคนไม่แคร์แล้ว สุดท้ายก็จะลดแลกแจกแถม
นั่นเป็นหน้าที่ของ store ต้องดูแลอยู่แล้วครับ ไม่ใช่ข้ออ้างในการกำหนดค่าธรรมเนียมสูง ที่ไม่ได้ส่งผลดีต่อผู้บริโภคแต่อย่างใด