อินเทลมีแผนเปิดตัวซีพียูเดสก์ท็อปรุ่นใหม่ Rocket Lake-S ภายในไตรมาส 1/2021 พอใกล้กำหนดการเข้ามาเรื่อยๆ ก็เริ่มมีเบนช์มาร์คออกมาข่มกัน ทั้งที่เป็นเบนช์มาร์คหลุดและเบนช์มาร์คจากอินเทลเอง
ล่าสุด Ryan Shrout ผู้บริหารตำแหน่ง Chief Performance Strategist ของอินเทล ออกมาโพสต์เบนช์มาร์คเปรียบเทียบซีพียูรุ่นท็อป Core i9-11900K เทียบกับคู่แข่งระดับเดียวกันคือ AMD Ryzen 9 5950X ในเรื่องประสิทธิภาพสตอเรจที่เป็น PCIe Gen 4
เดสก์ท็อปทั้งสองตัวใช้สตอเรจเป็น SSD Samsung 980 Pro 1TB รุ่นเดียวกัน โดยประสิทธิภาพของฝั่งอินเทล (วัดด้วยเบนช์มาร์ค PCMark 10 Quick System Drive) เหนือกว่าฝั่ง AMD ประมาณ 11% แสดงให้เห็นว่า Rocket Lake มีประสิทธิภาพ PCIe ที่สูงกว่า
แน่นอนว่า เบนช์มาร์คตัวนี้เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของการวัดผลในภาพรวมเท่านั้น (และอินเทลย่อมเลือกตัวที่ตัวเองชนะมาโชว์) แต่ก็เป็นสัญญาณสะท้อนให้เห็นว่า ตลาดซีพียูเดสก์ท็อปจะกลับมาร้อนแรงขึ้นอีกในเร็วๆ นี้ หลังจากฝั่ง AMD ชนะขาดในยุค Ryzen 5000 มาตั้งแต่ช่วง Q4 ปีที่แล้ว
At #CES21 we looked at Rocket Lake-S gaming. Here’s a sneak peek of Core i9-11900K PCIe Gen 4 storage performance - up to 11% faster on PCMark 10 Quick System Drive Benchmark vs the 5950X. Thanks @Malventano for the data. Backup: https://t.co/LcI5n5Cok2 pic.twitter.com/NhblHRQJSC
— Ryan Shrout (@ryanshrout) February 23, 2021
ที่มา - Notebookcheck
Comments
หัวข้อข่าว "11990K" >> "11900K"
จมอยู่กับความฝันต่อไปนะ
อยากให้ ARM พวก Snapdragon และเจ้าอื่นๆ เกิดได้จริงๆ ในตลาด PC เสียที เหมือนที่ Apple ทำได้ใน Apple Silicon จะได้เกิดการแข่งขันเต็มรูปแบบเสียที ไม่ตอยากเจอแบบ Intel เป็นเสือนอนกินช่วงก่อน Ryzen เข้ามากับเจ้าอื่น
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เกิดไม่เกิดอยู่ที่ os ละครับ โดยเฉพาะ window ทำ window on arm มาก่อนอีก แต่ก็ดันไม่สุด *- -
ไม่มีทางครับที่จะมาตีตลาด Desktop แบบโต้งๆได้ เพราะไม่มี OS ชุดคำสั่งบอกได้ว่า Windows 10 x86 เยอะมากๆหบายชุดคำสั่งในการสั่งการ 1 ครั้งแต่กลับกัน ARM เป็นสถาปัตยกรรมที่เน้น สั้นๆจบเร็ว มาเจอ Windows 10 ที่ไม่ใช่ for ARM เดี้ยงเลยแบบไปไม่เป็น ขนาดว่า Win on ARM ยังเอ๋อเลยในการใช้งานจริง
Apple M1 ที่เห็นนั่นเขียน Rosetta มาดีก็เลยแก้ขัดไปได้ Win on ARM ที่เห็นในปัจจุบัน ยังอ่าน X86 ไม่ได้ทุกโปรแกรมเลย ถึงกับต้องทำ Emulator มาขั้นกลางระหว่าง Windows กับตัว ARM เพื่อแปลงคำสั่ง แต่ประสิทธิภาพก็หายไปอีก บางโปรแกรมไม่ให้ใช้ผ่าน Emu ด้วยนะครับ
ว่าแต่ PCMark จัดว่าเป็น real world performance ไหมครับ
ดูน่าสงสารพี่เขาเหมือนกันนะครับ
เอาใจช่วยนะฮะ การแข่งขันดีเสมอ
ทำไมผมมองว่า Intel เค้าย้อนแย้ง กับคำพูดเมื่อก่อนจังที่บอกว่า " Benchmark ไม่ส่งผมถึงการใช้งานจริง "
อืม.....แต่ตอนนี้พี่แกขิงใหญ่เลย
ขำที่บอกว่า Benchmark ไม่สะท้อนการใช้งานจริง (เพราะตัวเองแพ้)
ที่ฮากว่าคือ Tech Jesus นับจำนวนการพูดถึงคู่แข่งเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ของตัวเอง...
Coder | Designer | Thinker | Blogger
จริงอันนี้ฮามาก ขนาดทำกร๊าฟมาเลยว่า Intel พูดถึง AMD พูดถึง Ryzen ไปกี่ครั้ง
สงสัยอย่างนึงครับ
i9-10900K vs R9-5950X | 14 nm vs 7 nm
7nm ประสิทธิภาพมันควรจะต้องดีกว่าในระดับเท่าตัวแล้วหรือเปล่า ไม่ใช่ห่างกันแค่ราวๆ 20%
Intel ยังได้เปรียบด้านสถาปัตยกรรมอยู่ แต่มันก็เป็นจุดตายของ Intel ไปในตัว เพราะลงต่ำกว่า 14 nm ยากลำบาก
คือถ้า intel สามารถสร้างชิปที่รีดประสิทธิภาพของ 7 nm ได้เหมือนกับที่รีด 14 nm
ก็จะแรงกว่าคู่แข่งแบบทิ้งห่างเลยสินะครับ
แต่ทำไม่ได้ เศร้าเลย
ขนาดของทรานซิสเตอร์ไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพพุ่งขนาดนั้นนะครับ
พี่ช่วยอธิบายเพิ่มเติมอีกนิดนึงครับว่ามันเป็นจุดตายอย่างไรครับแล้วทำไม intel ถึงลงต่ำกว่า 14 มิลลิเมตรยากกว่าเจ้าอื่นครับขอบคุณล่วงหน้าครับ
น่าจะไม่มี knowhow ไรแบบนี้เปล่าครับ โรงงานที่ทำได้ก็มีไม่กี่ที่มั้งที่เห็นก็ของ TSMC ถ้า Intel ทำถึง 7nm อาจจะเหนือกว่าคู่แข่งไปอีก แต่ดันทำไม่ได้เนี่ยซิ
น่าจะจ้าง samsung ทำ 5 nm
ถ้าข้อมูลไม่ผิดพลาด ปกติแล้ว สถาปัตยกรรมของไมโครโพรเซสเซอร์ ถ้าจะทำให้เล็กลงกว่าเดิม โครงสร้างของ ISA ต้องเอื้ออำนวยให้มันลงได้ ซึ่ง Intel มีชุดคำสังแปลก ๆ อยู่ในโพรเซสเซอร์มากมาย ทำให้มีประสิทธิภาพในงานบางอย่างสูงมาก แต่แลกมากับการที่ตัว instruction set สร้างขึ้นบนเวเฟอร์ลำบากกว่าปกติ และต้องการเทคโนโลยีเฉพาะของ Intel
เอาจริง ๆ 14 nm ของ Intel ก็ใช่ว่าจะใหญ่กว่า 7 nm ของ AMD หากเทียบ nm กันแล้ว Intel ยังทำ 14 nm ได้ขนาดใกล้เคียงกับ 7 nm ของ AMD และประสิทธิภาพ single-core ที่ยังดีกว่า งาน multi-core ตอนนี้ก็ยังมีแค่บางซอฟต์แวร์ที่สามารถ take advantage ได้ (เช่นเกมยุคใหม่ หรือซอฟต์แวร์งานกราฟิกที่ draw call มหาศาล) เมื่อใช้งานกับงานส่วนใหญ่ Intel ยังได้เปรียบอยู่... ตอนนี้นะ
เอาคร่าวๆก็ขนาดไม่ได้เป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้ CPU เร็วขึ้น แต่ขนาด ทำให้ใส่วงจรได้มากขึ้นในกรณีมีการขยับระยะห่างระหว่างทรานซิสเตอร์ในขนาดที่เท่ากัน และลดการสูญเสียพลังงานจากขนาดเล็กลง ทำให้มีช่วงความร้อนที่เอาไปเพิ่มความถี่ได้ ในกรณีเอาทรานซิสเตอร์ที่เพิ่มขึ้นไปทำวงจรประมวลผลช่วยหรือชุดคำสั่งพิเศษแบบ cpu รุ่นทอปที่มีข่าวว่าintelเอาความสามารถcpu xeonบางอย่างมาใส่ชิพรุ่นทั่วไป หรือ M1 ของ apple ที่ใส่หน่วยประมวลผลช่วยทางด้านต่างๆก็จะเร็วขึ้นในงานนั้นๆไป
ส่วนความเร็วจริงๆวัดจาก clock ที่เท่ากันมันขึ้นอยู่กับ สถาปัตยกรรมของแต่ละค่ายที่ทำออกมาแข่งกันยกตัวอย่างเช่น zen armcortex ซึ่งมีผลต่อความถี่ของclock ที่สามารถทำได้สูงสุด อยู่ที่วงจรที่ออกแบบว่าวงจรอะไรออกแบบยังไงเอาไว้ต่ำแหน่งใหน ถ้าจะให้เทียบกับงานทั่วๆไปก็ประมาณต่อท่อน้ำในบ้านยังไงให้ใหล่ดี เปลี่ยนจากบ้านเป็นพวกfpga
ถ้าไม่หิ้วของหนักเกินไปก็ ไหล่ดี อยู่นะ
มันเป็นเทคโนโลยีการผลิตไม่ใช่ขนาดไม่ใช่14ยัดได้10 7ต้องยัดได้20 ข้างในแตกต่างกันไม่ถึง20% เข้าใจใหม่เสียด้วยสาวกintel
ขนาดของ Transistor มันเป็นแค่การตลาดมาตั้งแต่ยุค 32nm แล้วครับ เอาจริงๆเลยนะขนาดไม่มีผล ที่มีผลคือเรื่องจำนวนของ Transistor ที่ยัดลงไปได้และการออกแบบล้วนๆเลย ถ้าเป็น 14nm 7nm ของจริงแบบแท้ๆ คุณจะเห็นความต่างว่ามันต้องต่างกันมากๆแบบคนละโลกจาก 32nm intel gen4 มาหา 14nm intel gen6 ก็จะเห็นว่าไม่ต่างกันเลย เมื่อ MHz ของตัว CPU มีความเร็วเท่ากัน แค่นี้ก็บ่งบอกแล้วว่าขนาดของ Transistor มันเป็นแค่วงการขิง การตลาดเค้าไม่ผิดเค้าบอกว่า " เทคโนโลยีการผลิต 14nm 7nm "
แต่เค้าไม่ได้บอกว่า Transistor มีขนาดเท่าไหร่
เพราะงั้นที่สำคัญที่สุดการออกแบบ สำคัญมาก
ดูผลตัวไหนเป็นหลักครับ
ถ้าดู multitread 5950x แรงกว่า 50%+ นะครับ
อีกอย่าง 14nm ของ intel เนี่ยเป็น nm คุณภาพ
10nm intel นี่ความหนาแน่นน่าจะได้พอๆกับ 7nm tsmc เลยครับ
14 nm คุณภาพ พึ่งเคยได้ยิน
แปปนะ ตอนนี้ ryzen กะ core i เจนปัจจุบันที่ราคาตลาดเดียวกัน amd ชนะเรื่องpciexหรอครับ
The Last Wizard Of Century.
PCIe 4.0 vs 3.0 ครับ อินเทลตอนนี้ยังไม่มี Gen 4 ครับ พึ่งจะมีเนี่ย Ryzen มีตั้งแต่ Ryzen 3000
อ่อครับ แล้วใช้งานจริงต่างกันไหมครับ
The Last Wizard Of Century.
ถ้าเป็น SSD รุ่นโปรมาใหม่ก็ต่างครับ
การ์ดจอรุ่นใหม่ก็เริ่มปรับแต่งให้ใช้ช่องแบนด์วิดท์อันมหาศาล เช่นกัน
คนเล่นเกมส์ไม่เห็นประโยชน์ของ Pcie 4.0 ครับ
แต่คนทำงานจะมีประโยชน์มาก เล่นเกมส์ไม่ได้ใช้ขนาดของ bandwidth ขนาดนั้นแต่ต้องการความเร็วในการส่งงานและคำนวณ แค่นั้นเอง เอาจริงๆคนเล่นเกมส์ 3.0 x8 ยังใช้ไม่หมดเลย แต่คนทำงานที่ต้องการ bandwidth มีเท่าไหร่ก็ไม่พอครับ
อ๋อ ขอบคุณครับเห็นภาพเลย
The Last Wizard Of Century.
โม้มาก ผู้ใช้งานเขาก็เหม็นปาก รีบทำรีบขาย
อวดสรรพคุณมันไม่ได้ช่วยให้น่าซื้อ
แต่หุ้น intel ในช่วง 6 เดือนนี้ก็ขึ้นเอาๆ
6 เดือนนี้มีหุ้นเทคตัวไหนไม่ขึ้นบ้างครับ
เท่าที่ผมตามอยู่ ท่ีไม่ขึ้น มี Adobe , Facebook , IBM , SAP
ครับ