หลังคณะกรรมการด้านการค้าของสหรัฐ (Federal Trade Commission หรือ FTC) ยื่นฟ้อง Qualcomm ในปี 2017 ด้วยข้อหาผูกขาดตลาดชิปโมเด็มสมาร์ทโฟน โดยใช้เทคนิคด้านค่าไลเซนส์สิทธิบัตร เพื่อกีดกันผู้ผลิตสมาร์ทโฟนไม่ให้ใช้ชิปของคู่แข่ง
คดีนี้ Qualcomm ถูกศาลชั้นต้นตัดสินว่าผิดจริงในเดือนมิถุนายนปี 2019 ก่อน Qualcomm จะยื่นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์กลับคำตัดสิน ยกคำร้องของ FTC ในเดือนตุลาคมปี 2020
ล่าสุด FTC ออกแถลงการณ์ อ้างอิง Rebecca Kelly Slaughter รักษาการประธานคณะกรรมการด้านการค้า ระบุจะไม่ส่งคดีนี้ฟ้องศาลสูงสหรัฐ (supreme court) ต่อ เนื่องจากกรรมาธิการประสบกับแรงต้านพอสมควร (“...significant headwinds facing the Commission in this matter...”) พร้อมระบุว่าทีมกฎหมายของ FTC ทำงานได้ดีแล้ว ส่วน FTC และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะติดตามบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการผูกขาดต่อไป
ฝั่ง Don Rosenberg ที่ปรึกษาทั่วไปด้านกฎหมายของ Qualcomm ระบุว่า Qualcomm ลงทุนกับการค้นคว้าวิจัยไปกว่าหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อคิดค้นเทคโนโลยีที่ผู้คนหลายพันล้านใช้งานทั่วโลก จึงเป็นเรื่องสำคัญที่บริษัทต้องรักษาแรงจูงใจพื้นฐานในการคิดค้นและแข่งขัน
การยุติคดีครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะของ Qualcomm ในการต่อสู้คดีความที่ลากยาวมาถึง 4 ปี และน่าจะส่งผลต่อการพัฒนาชิปโมเด็มทั้ง 4G และ 5G ที่ Qualcomm จะได้เปรียบตลาดต่อไป
ที่มา - FTC via Android Central
Comments
ถ้ามีหัวเหว่ยในตลาดอีกสักเจ้า FTC ก็ถอนฟ้องไปได้ตั้งแต่แรกแล้ว
คำร้อว -> คำร้อง
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
โดยใช้เทคนิคด้านค่าไลเซนส์สิทธิบัตร
ผูกขาด แต่เมื่อผลประโยชน์ลงตัวก็ไม่สามารถทำอะไรได้
อาจต้องรอเหมือน Intel กับ AMD กลับมาแข่งกันเองอีกครั้ง ในตลาด SoC มือถือ ซึ่งตอนนี้มีแค่ Qualcomm ที่เด่น นอกนั้นไม่ค่อยดีเท่าไหร่ MediaTek, Samsung และเจ้าเล็กๆ ทำมาใส่กับมือถือราคาถูก ยังแข่งยากเลย
และใจจริงอยากให้มีเจ้าอื่นมาแข่งเพิ่มด้วย ไม่งั้น Qualcomm ก็ไม่ต่างอะไรกับ Intel ในไม่กี่ปีก่อน
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
Apple ?
apple ก็ทำแต่ของตัวเองนิครับ
เข้าใจผิดหรือเปล่า
MediaTek was the world’s biggest smartphone chipset vendor in 2020
พาดหัว ฏีกา => ฎีกา
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.