เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้ออกกฎหมายใหม่กำหนดให้รถยนต์ที่จะผลิตใหม่และขายในยุโรปต้องติดตั้งระบบจำกัดความเร็วอัจฉริยะที่เรียกว่า ISA (Intelligent Speed Assistance) เพื่อช่วยในการแจ้งเตือนผู้ขับเมื่อใช้ความเร็วเกินกำหนดหรือช่วยจำกัดความเร็วอัตโนมัติ และล่าสุดทางการ New york เองก็เริ่มนำเอาระบบอุปกรณ์นี้มาทดลองใช้งานกับรถราชการแล้ว
ระบบ ISA นี้จะอาศัยข้อมูลตำแหน่งพิกัดของรถจาก GPS จากนั้นมันจะตรวจสอบข้อมูลความเร็วสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้บนถนนเส้นที่รถกำลังวิ่งอยู่ หากมันพบว่าความเร็วจริงของรถที่วิ่งอยู่นั้นสูงกว่าความเร็วที่ได้รับอนุญาต ระบบก็จะทำการแจ้งเตือนผู้ขับขี่หรืออาจลดความเร็วของรถลงเองโดยอัตโนมัติให้ลงมาต่ำกว่าเกณฑ์
ตัวอย่างหน้าจอแสดงผลการทำงานของ ISA ในรถยนต์ Hyundai
ในแง่ของการการทำงาน ISA อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือแบบ active ซึ่งหมายถึงระบบจะทำงานโดยช่วยในการควบคุมความเร็วของรถโดยตรง กับอีกแบบคือแบบ passive หมายถึงระบบจะทำการแจ้งเตือนผู้ขับขี่ให้รับทราบถึงการใช้ความเร็วเกินกำหนดเท่านั้น
หลักการทำงานโดยสังเขปของระบบ ISA
สำหรับกฎของ EU นั้นระบุว่ารถที่ได้รับการออกแบบและเปิดตัวใหม่นับตั้งแต่ประกาศใช้กฎนี้จะต้องมีระบบ ISA ติดตั้งมาด้วยในตัวรถทุกคัน โดยในระหว่างนี้รถที่มีการผลิตออกสู่ท้องตลาดอยู่ก่อนแล้วจะยังคงได้รับการอนุโลมให้ไม่ต้องมีระบบ ISA ก็ได้ อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ปี 2024 รถที่ถูกผลิตออกขายทุกคันในตอนนั้นซึ่งรวมถึงรถที่เริ่มผลิตขายมาตั้งแต่ก่อนประกาศกฎหมายนี้ล้วนแล้วจะต้องได้รับการปรับปรุงงานออกแบบให้มีระบบ ISA ติดมาด้วยทั้งหมด
โดยระบบ ISA ตามกฎของ EU นั้นแบ่งออกเป็น 4 ระดับให้ผู้ผลิตรถสามารถเลือกใช้กับรถของตัวเองได้โดยอิสระ ได้แก่
จะสังเกตได้ว่าตามข้อกำหนดของ EU นั้น ระบบ ISA แม้แต่แบบ active ก็ยังถูกกำหนดว่าจะต้องออกแบบโดยยังคงให้ผู้ขับขี่สามารถใช้ความเร็วโดยเพิกเฉยต่อระบบ ISA ได้ ทั้งนี้เพราะเป็นที่เข้าใจว่าในภาวะคับขันสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้ขับขี่อาจต้องใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนดและการควบคุมรถได้อย่างสมบูรณ์คือสิ่งจำเป็น
ทั้งนี้ในปัจจุบันมีผู้ผลิตรถยนต์หลายรายได้ใส่ระบบ ISA เข้ามาในรถของตนเองแล้ว สามารถดูรายชื่อรุ่นและยี่ห้อของรถบางส่วนที่มีระบบ ISA อยู่ก่อนแล้วได้จากที่นี่
ข้ามฟากมาอีกทวีปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วทางเมือง New York ได้ประกาศเริ่มการทดสอบใช้ระบบ ISA แบบ active กับรถของราชการจำนวน 50 คัน โดยจะใช้งบประมาณ 80,000 เหรียญในการดัดแปลงรถเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ระบบ ISA โครงการนี้จะมีการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินผลการใช้งานเป็นเวลา 6 เดือน หากประสบความสำเร็จได้ผลเป็นที่น่าพอใจก็จะมีการขยายผลต่อไปกับรถราชการอื่นๆ ของ New York ซึ่งมีมากถึง 30,000 คัน
ที่มา - European Road Safety Charter, NYC ผ่าน The Next Web
Comments
อยากให้บ้านเรารีบๆเอาระบบนี้มาใส่ในรถ
ทุกวันนี้ขับกันบ้าระห่ำเกินไป
คงต้องใช้โหมด active อย่างเดียว และกระทืบคันเร่งก็ไม่วิ่งเร็วกว่ากำหนดครับ
เชื่อเหอะ บ้านเราเหยียบต้านระบบ active แน่นอน (ซึ่งมันยอมอยู่แล้ว 555)
รู้สึกเค้าใส่ใจมากเลยก่อนที่จะออกกฎ นึกถึงเคสที่จำเป็นต้องใช้ความเร็วด้วย
ความคิดพัฒนาไปไกลมาก แถวบ้านผมอยากจะเสรีอะไร ก็จะประกาศทันที🥲🥲🥲
ถ้าเอามาเมืองไทยนี่ ต้องยกเครื่องเรื่องป้ายกำหนดความเร็วกันเลยนะ บางถนนขึ้นป้าย 60 ขับๆ ไป ป้ายกำหนดความเร็วหายยยยยยย แล้วถ้าเอาระบบ Active มาใช้นะ หนุกหนานละคราวนี้ ได้วิ่งอึด 60 ไปตลอดทาง...
ป้าย 90 ไปหนายยยยยยยยยย~*
ยี่ห้อไหนเอามาใช้ในไทย รถน่าจะขายไม่ออก
บ ผลิตรถ เขาไม่ใส่หรอกครับ
แต่กฏหมายบังคับให้ใส่ ใครไม่ใส่ก็ อดขาย
ว่าแต่ปัจจุบันรถยนต์ที่ใช้ทั่วไปมีการจำกัดอยู่แล้วหรือเปล่าครับ? เหมือนเคยได้ยินว่าบางคันต้องเอาไปปรับแต่งเพื่อที่จะให้เหยียบเกินได้ หรือรถไฟฟ้าบางคันเห็นเขาว่าเครื่องมันแรงและเร่งได้แรงกว่านั้นแต่เขาจำกัดเอาไว้
มีนานแล้ว แต่นู้นล๊อกที่ 100ปลาย 200
ถ้าญี่ปุ่นเมื่อก่อนล็อค 180km/hr
รถยุโรป(เยอรมัน)เมื่อก่อนล็อคด้วย gentlemen’s agreement ที่ 250km/hr แต่ตอนหลังก็ไม่สนใจ/ยกเลิกกันหมดแล้ว
แต่ถ้าในไทยที่ล็อคกัน มีพวกรถเล็กๆ เช่นhonda brio ล็อคที่ 145 km/hr ,nissan kicks ล็อคที่ 160km/hr เป็นเรื่องของความปลอดภัย/ป้องกันเครื่องยนต์หรือแบต มากกว่า รวมถึงรถhonda เก๋งส่วนใหญ่ก็ล็อคที่200km/hr น่าจะถนอมเกียร์เป็นหลัก
พวกนี้ล็อคด้วยsoftwareในecu คนก็หาทางไปปลดกัน
ส่วนในข่าวล็อคตามการจำกัดความเร็วแต่ละถนนด้วยตำแหน่งGPS เลย (google's map ก็เตือนอยู่ แต่อันนี้คือไปพ่วงกับระบบของรถเลย)
ของไทยก็ควรจะทำอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเวลาใกล้ถึงโรงเรียน หรือ เขตชุมชน
ดูข่าวเมื่อเช้านี้ รถชนเด็กที่ทางม้าลายหน้าโรงเรียนอีกแล้ว
ผมว่าไทยควรเริ่มทำที่ถนนมากกว่าครับ ง่ายกว่า ใช้ได้กับรถทุกคัน
เวลาวิ่งต่างจังหวัด เห็นป้ายโรงเรียน จนถึงทางข้ามโรงเรียน ตัวถนนไม่มีอะไรต่างเลย นอกจากมีขรุขระนิดนึง จะวิ่ง 90 ต่อไปก็ไม่มีปัญหา
เทียบกับเมืองนอกมีทั้งบีบถนนให้แคบลง หรือมีทางเท้าแบบยกสูง (นึกภาพสถานีกลางบางซื่อ) หรือมีไอ้วงเวียนเล็กๆที่รถต้องชะลอ
คือมันบังคับให้รถไม่สามารถวิ่งเร็วได้ไปในตัว
ชอบไอเดียวงเวียนนี่ล่ะครับ
เพราะบีบถนน บางคนมั่นใจก็ยังซิ่งได้เหมือนเดิม
อย่างน้อยวงเวียนก็ต้องชะลอล่ะ
มันบีบถนนในแนวที่ต้องเบี่ยงหลบน่ะครับ แบบมีต้นไม้มาต้องหักซ้ายขวา คล้ายๆพวกกรวยก่อนถึงด่านตรวจ น่าจะเรียกว่า traffic calming คือไม่ต้องบังคับ speed limit เลยคนจะรู้สึกเองว่าถนนแบบนี้ขับเร็วไม่ได้ เอาพื้นที่ถนนที่หายไป ไปเป็นทางเท้าบ้าง ทางจักรยานบ้างอะไรงี้ แต่บ้านเราเน้นเพิ่มเลน 555
รอเลย