ทีมวิจัยจาก Oregon Health & Science University (OHSU) รายงานความสำเร็จในการศึกษากระบวนการแปลงเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้าในหูชั้นใน โดยอาศัยการศึกษาจากหนอนตัวกลม Caenorhabditis elegans ที่มีโครงสร้างการแปลงแรงกระทำเป็นสัญญาณ (mechanosensory) คล้ายมนุษย์ ทำให้คาดได้ว่าโครงสร้างระดับโปรตีนในหูมนุษย์ก็จะมีรูปแบบคล้ายกัน
การศึกษาอาศัยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนศึกษาโครงสร้างของโปรตีน transmembrane channel-like protein 1 (TMC-1) ที่ประกบคู่กันสองชุด และโปรตีนอื่นๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นเซ็นเซอร์สามารถควบคุมการไหลของไอออนตามเสียงได้
ทีมวิจัยพยายามแยกโปรตีนเหล่านี้ออกมาศึกษากระบวนการทำงานทำให้ต้องใช้หนอนไปกว่า 60 ล้านตัวใช้เวลา 5 ปี โดยต้องพัฒนาตั้งแต่กระบวนการเลี้ยงหนอนจำนวนมากๆ และการแยกโปรตีนที่ต้องการออกมาศึกษา
Eric Gouaux หนึ่งในทีมวิจัยระบุว่าความเข้าใจในโครงสร้างระดับโปรตีน จะเปิดโอกาสให้เราสามารถพัฒนาโมเลกุลมาทดแทนหากในกรณีผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการได้ยิน ทั้งจากสาเหตุทางพันธุกรรม หรือกรณีหูเกิดความเสียหายจากการฟังเสียงดังมากๆ ต่อเนื่อง
งานวิจัย Structures of the TMC-1 complex illuminate mechanosensory transduction ตีพิมพ์ในวารสาร Nature
ที่มา - OHSU
Comments
พันธุกรรม
60 ล้านตัว
ถ้าเป็นบ้านเราคงโดนทอดแทนเอามาวิจัย
หนอนตัวกลมนี่สภาพไม่น่าจะต่างจากพยาธิเลยนะครับ
I need healing.
I don't see the problem here.
ขอบคุณหนอนทุกตัว และทีมวิจัยครับ
งานวิจัยนี้ผมว่าแอบพลิกโลกต่อยอดได้เยอะเลยนะ