สัปดาห์ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์เปิดตัวดิสโทรลินุกซ์ของตัวเอง Azure Linux อย่างเป็นทางการ (general availability) มันจะถูกใช้เป็นโฮสต์ในการรันคอนเทนเนอร์บนบริการ Azure Kubernetes Service (AKS) ทำให้ AKS มีโฮสต์เป็นลินุกซ์ด้วยแล้ว
จริงๆ แล้วโครงการ Azure Linux ไม่ใช่ของใหม่ เพราะทดสอบมาสักพักแล้วในชื่อโค้ดเนม CBL-Mariner หลังจากทดสอบมานาน 2 ปีก็ได้ฤกษ์เปิดให้คนทั่วไปใช้กัน
Azure Linux เป็นระบบปฏิบัติการขนาดเบา เน้นเสถียรภาพ และปรับแต่งมาเพื่อ Azure โดยเฉพาะ อัพเดตต่างๆ จะต้องผ่านการทดสอบ Azure validation test ก่อนเสมอ นอกจากนี้เมื่อจำนวนแพ็กเกจมีน้อย ปริมาณแพตช์ความปลอดภัยที่ต้องใช้งานก็น้อยลง และไมโครซอฟท์ยังคอยเฝ้าระวังปัญหา supply chain attack ให้กับซอฟต์แวร์ต่างๆ ด้วย
Azure Linux เป็นดิสโทรที่ไมโครซอฟท์พัฒนาขึ้นเองทั้งหมด โดยไม่ได้ fork มาจากดิสโทรชื่อดังตัวอื่นๆ ส่วนผู้ให้บริการคลาวด์รายอื่นอย่าง AWS ก็มีดิสโทรลินุกซ์ของตัวเองสำหรับใช้บนคลาวด์แบบเดียวกันชื่อ Amazon Linux ที่เวอร์ชันปัจจุบันอิงจาก Fedora
ที่มา - Microsoft, The Register
Comments
อีกหน่อยจะมี Microsoft Linux ปล่อยมาไหมนะ
Microsoft Xenix
lewcpe.com, @wasonliw
อันนี้เกินไม่ทันเลยครับ ฮ่าๆ
WSL2-Linux-Kernel
อันนี้นับปะ 5555
แค่ Kernel ยังไม่นับดีกว่านะครับ รอตัวเต็มๆ ถ้าออกตัวเต็มมาจริงคงขายแบบ Redhat
ดีนะครับ มีแค่ packages ที่จำเป็นและจัดการเองได้หมด
..: เรื่อยไป
หรือว่า Windows ในอนาคตจะมีทั้ง Windows NT Kernel ที่มีอยู่ในตอนนี้และแบบ Linux Kernel สำหรับสาย Enterprise และ Developer
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ทุกวันนี้ก็มี WSL2 อยู่แล้วนะครับ ทำงานพร้อมๆ กันได้เลย
ถ้าแบบนั้นก็คงเข้าแบบแรก แต่คนใช้งานต้องลงส่วนเสริมเอง แต่ถ้าหมายถึงแบบที่สอง ผมหมายถึง Linux Kernel ที่ Microsoft พัฒนาเอง เอามาใช้เป็นแกนกลางของ Windows แทนที่ NT เดิมนะครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
มันยากตรง Linux ในร่าง Windows แต่มันไม่ compatible กับแอป Windows เดิมทั้งหมด มันทำให้การสื่อสารกับลูกค้ามันยาก แค่ Windows on ARM ยังลำบากเลยตอนนี้ สู้ทำ Azure Linux แล้วปรับให้เหมาะกับ HyperV ให้มากที่สุด แล้วขายในชื่อ Microsoft Linux ตรงๆ น่าจะง่ายกว่า
อะไรคือประโยชน์ที่ต้องทำแบบนั้นนะครับ
สำหรับผมคือ Linux kernel ค่อนข้างเสถียร เวลารันโปรแกรมในพื้นหลังหนักๆ และเวลาบูตเข้า OS แม้แต่กรณีเกิดปัญหาขึ้นก็สามารถแก้ไขได้ง่ายกว่า และสั่งปิด/ฆ่า Process ที่มีปัญหาได้เร็วครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ถ้า run Windows แบบไม่มี UI + ปิด service ที่ไม่จำเป็น น่าจะพอกันครับ
Windows นี้หมด resource ไปกับ UI น่าจะเกินครึ่ง
ผมว่าที่คุณว่ามาคือข้อดีเมื่อคนใช้มีคงามรู้ระดับนึงเลยนะครับ อย่าลืมว่ากลุ่มคนใช้ Windows ส่วนใหญ่ไม่ทีความรู้เรื่องนี้
รวมทั้งความเข้ากันกับ program เก่าๆ เรียกว่าใช้ไม่ได้เลย ขนาดแค่เปลี่ยน major version บางคนยังบ่นกันเลยว่า program เดิมใช้ไม่ได้ นี่ถ้าเปลี่ยน kernel เลยผมว่าคนไม่ upgrade ตามซะส่วนใหญ่แน่นอน
มีอยู่แล้ว จริง ๆ วินโดวส์ก็รันอยู่บน Hyper-V ถ้าเปิดไว้ ฉะนั้นพอเปิด WSL2 มันคือการรัน Linux แยกต่างหากบน Hyper-V แล้วเปิด interface กลับมาหา Windows ที่อยู่บนอีก Environment
Hyper-V เป็น Type-1 Hypervisor ฉะนั้นมันต้องรันบนฮาร์ดแวร์จริง ถ้าไปเปิดไว้ผ่าน Windows Features มันคือการเอา Windows ไปรันบน Hyper-V อีกทีแล้วเปิด direct access กับอุปกรณ์ทั้งหมด
ส่วนตัวไม่เห็นเหตุผลที่จะต้องรวม Windows NT เข้ากับ Linux เลย แถม Windows NT เสถียรกว่า Linux อีกด้วย อย่าลืมว่า Linux ยังเป็น Monolithic (เหมือน Windows 9x) ถ้าไม่เขียนทั้งโครงสร้างให้ดีมาตั้งแต่ต้น โอกาสถล่มย่อมสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว (Manjaro Kernel ที่ผมใช้อยู่แฮงก์เป็นว่าเล่นเลย) อย่างตาไลนัสที่ชอบให้นิ้วกลางบ่อย ๆ กับผู้พัฒนาฮาร์ดแวร์เพราะว่าไม่ให้ความร่วมมือที่ดีกับ Linux นี่แหละ (Nvidia นี่ตัวดีเลย) ที่ Windows ดูเสถียรน้อยกว่าเป็นเพราะ legacy issue ที่สั่งสมมานาน ผู้พัฒนาฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์ไม่ชอบเคารพ design language ที่ดี ทำให้ NT Kernel ลงเหวไปด้วย