SUSE บริษัทซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ประกาศพัฒนาลินุกซ์ต่อจาก RHEL ของ Red Hat แม้ว่าจะมี SUSE Linux Enterprise (SLE) เป็นดิสโทรหลักอยู่แล้วก็ตาม โดยโครงการใหม่ที่แยกออกมาจาก RHEL นี้จะดูแลโดยมูลนิธิด้านโอเพนซอร์สภายนอก เพื่อดูแลว่าสามาารถใช้งานซอร์สโค้ดร่วมกันได้ โดยทาง SUSE จะลงทุน 10 ล้านดอลลาร์ในโครงการนี้ภายในระยะเวลาหลายปีข้างหน้า
ก่อนหน้านี้ Mike McGrath รองประธานของ Red Hat ออกมาอธิบายเหตุผลที่ปิดซอร์สโค้ด RHEL ว่าเป็นเพราะกลุ่มคนที่ดูดโค้ดไป build นั้นไม่สร้างคุณค่า และยังยกตัวอย่างผู้สร้างดิสโทรคู่แข่งอย่าง SUSE, Canonical, AWS ว่าเป็นการแข่งขันที่ดีโดยไม่ต้องอ้างว่าทำงานร่วมกันได้กับดิสโทรอื่นเต็มร้อย แต่วันนี้ทาง SUSE ก็หันมาพัฒนาดิสโทรที่เข้ากันได้กับ RHEL เองแล้ว
มีความเป็นไปได้ว่าดิสโทรลินุกซ์หลายโครงการที่ใช้ซอร์สโค้ดต่อจาก RHEL จะต้องเลือกข้างใช้ซอร์สโค้ดหลักจากบริษัทที่เป็นผู้พัฒนาหลักบริษัทใดบริษัทหนึ่ง สำหรับประกาศของ SUSE ครั้งนี้ก็มี CIQ ผู้พัฒนา Rocky Linux มาร่วมแสดงความยินดี
SUSE เปิดตัว SUSE Liberty Linux หลังจาก Red Hat ปิดโครงการ CentOS ไป แต่ตอนนั้นก็ยังใช้ซอร์สโค้ดต้นทางจาก RHEL อยู่ ส่วนดิสโทรใหม่นี้น่าจะใช้ชื่อใหม่แยกออกมาและในประกาศระบุเพียงว่าเป็นดิสโทรใหม่ที่เข้ากับ RHEL
ที่มา - SUSE
Comments
คือ SUSE เค้าจะ fork RHEL เพื่อพัฒนาต่อโดยยังคงความเข้ากันได้กันกับ RHEL หรอครับ แต่ RHEL เค้าก็ปิด source code ไปแล้วนี่นา แล้วทำไมต้องทำให้เข้ากันได้กับ RHEL
เอาจริงๆผมไม่รู้เองแหละว่า SUSE เค้าจะทำอะไร หรือทำไมต้อง RHEL
ประเด็นนี้น่าสนใจ เข้าใจว่าส่วนแบ่งการตลาด Linux Enterprise ทั้ง RHEL นำอยู่ค่อนข้างห่าง เลยจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจต่อตลาดว่า SUSE ก็มีทีมพัฒนาระบบที่เก่งงี้เปล่านะ โอ้ย เดามั่วไปไหน
..: เรื่อยไป
เพื่อการ migrate ออกจาก RHEL ให้ smooth ครับ เพราะนโยบายช่วงหลังของทาง RH ค่อนข้างจะไปในทางที่ปิดมากขึ้นและราคาแพงขึ้น SuSE คงเสนอตัวเป็นทางเลือกในตลาดที่สามารถเข้ากันกับระบบเก่าของลูกค้าน่ะแหละครับ
ขอบคุณครับ หายสงสัยไปเยอะเลย
ระบบพวกนี้เอาไว้รันงานอะไรครับ
ผมไม่รู้จริงๆ
มันมี enterprise software หลายๆตัวที่กำหนดเงื่อนไขว่า หากไม่ใช้ linux ตัวที่อยู่ใน list จะไม่อยู่ในการ support เลยครับ ที่เคยเจอก็พวก platform เกี่ยวกับ bid data บางตัว กำหนดส่าเป็น RHEL หรือ พวก Identity management ที่ต้องเป็น SUSE
ลงพวก community os ก็ใช้ได้นะครับ แต่ไม่อยู่ใน warrantee ให้เปิด เคส support เค้าก็ไม่ทำให้ครับ
เวลาบริษัท software ที่เอาไปขายองค์กร นอกจากเรื่องระบบของตัวเอง ยังมีงานที่ต้องคอย support หรือ maintain ให้เข้ากันได้กับ OS เวลา OS พวกนี้มันมี patch หรือ upgrade version ซึ่งมันจะมีบั๊กบางประเภทครับที่ bug บน OS ส่งผลเพราะ API หรือ library หลาย ๆ ตัวที่ใช้มันก็ไปเรียกใช้ kernal ต่อ
เพราะงั้นบริษัททำระบบพวกนี้เค้าจะทำ performance test, stability test กับ OS แต่บางตัวเพื่อลดต้นทุน เพราะงั้นในเอกสารก็จะบอกว่า certitifed แล้วกับ OS นี้ version นี้
ลูกค้าไม่ควรหรือไม่อนุญาติเอาไปรันใน OS ที่ไม่ได้ certitifed เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาที่จะตามมา