สถิติจาก StatCounter ระบุว่าลินุกซ์มีส่วนแบ่งตลาดระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อป 4.03% เมื่อสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ถือเป็นครั้งแรกที่ทำได้เกิน 4% และใช้เวลาเพียง 8 เดือน นับจากส่วนแบ่งตลาดเกิน 3% ในเดือนมิถุนายน 2023 (กว่าจะทำได้ถึง 3% แรกใช้เวลา 30 ปี)
ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนนักว่าทำไมส่วนแบ่งตลาดของลินุกซ์บนเดสก์ท็อปถึงเติบโตเร็วในรอบปีที่ผ่านมา เว็บไซต์ ZDNet คาดว่ามาจากหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น การเล่นเกมบนลินุกซ์ได้รับความนิยมมากขึ้นจาก Steam ช่วยดัน, ตัวเลขผู้ใช้งานลินุกซ์ในอินเดีย (ซึ่งมีประชากรเยอะ) เพิ่มขึ้นมากในช่วงหลัง ตอนนี้ส่วนแบ่งตลาดลินุกซ์ในอินเดียเกิน 15.23% แล้ว ในขณะที่ macOS มีเพียง 3.11%
ที่มา - StatCounter, Linuxiac, ZDNet
Comments
ผมเดา comment ไว้ก่อนเลยแล้วกันครับ
จริงครับ ใช้งาน Linux Mint / LMDE มา 1 ปี 3 เดือนแทบจะไม่มี terminal เข้ามาเกี่ยวข้องเลย ผิดกับสมัยยังเป็นนักศึกษา
เท่าที่ทราบ Linux Mint เป็นดิสโทรตัวเดียวที่ผมรู้จัก เวลาค้น manual ถ้าไม่เกี่ยวกับระบบจริง ๆ เขาจะไม่ชี้แนะวิธี cmd เลย พยายามชี้แนะ GUI ตลอด
Kdenlive ก็เป็นโปรแกรมตัดต่อวิดิโอที่หน่วยก้านดีเอาเรื่องด้วยครับ คือบางฟีเจอร์ก็เทียบตัวเสียเงินไม่ได้ แต่เรื่อง performance / preview lag ถือว่าน่าประทับใจยิ่ง
ข้อนึงผมชอบมาก ๆ เวลาต้องการดาวน์โหลดซอฟท์แวร์ ลีนุกซ์สมัยนี้มี Software Manager ที่คล้าย ๆ App Store / Play Store เป็น GUI ให้ แอพฯที่ใช้งานบ่อย ๆ ก็เช่น XnView MP, VLC, FreeFileSync, Audacity ฯลฯ สามารถพบเจอในนี้ได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องเปิดบราวเซอร์พิมพ์ URL ไปกดดาวน์โหลดเลย
สรุปสั้น ๆ ก็คือ QOL ลีนุกซ์ตอนนี้น่าประทับใจมาก ๆ ครับ เพียงแต่ถ้าย้ายมาจากวินโด้จะเจอ Learning Curve เล็กน้อย ซึ่งส่วนตัวผมเต็มใจปรับตัวเพราะเริ่มเกลียดตั้งแต่สมัย Windows 10 เมื่อหกปีก่อน...
Linux Mint ผมใช้เม้นอยู่ตอนนี้เลยครับดีมาก แต่ถ้าหากว่าอยากดู distro ที่เน้น GUI สุด ๆ ในยุค Y2K หรือก่อนนั้น ดู Mandrake Linux และ SUSE Linux ได้ครับ
ขอถามเพิ่มหน่อยครับ LMDE เป็นยังไงบ้างครับ เมื่อเทียบกับ Linux Mint ในร่าง Ubuntu
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
มีเฉพาะ Cinnamon DE ครับ ส่วนตัวเคยใช้ MATE กับ Xfce ไม่นานเท่าไหร่ รวม ๆ เลยยังรู้สึกเหมือนเดิมทุกอย่าง
แต่เท่าที่นึกออกคือไดรเวอร์ NVIDIA ยังใช้ได้ปกติทุกอย่าง เกมจากวินโด้เลยรันได้เหมือนเดิม คือตอนแรกตกใจว่าหายไปไหน มันไปอยู่ตรง Software Manager แล้วต้องพิมพ์ค้นที่นั่น เพราะตรง Welcome app จะไม่มีให้กดครับ
ลองออก Windows 12 แล้วคนใช้ Windows 10 ยังอัปไม่ได้ จะได้เห็น Windows ดิ่งของจริงก็คราวนั้น (หันไปดูส่วนแบ่ง Windows ใน USA ดิ่งเป็นเส้นตรงเลย) ต่ำสุด 55.14% เมื่อมิถุนายนปีที่แล้ว https://gs.statcounter.com/os-market-share/desktop/united-states-of-america#monthly-200901-202403
ตื่นเต้น linux 4% อย่างไว
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ไม่ต้องห่วงครับ อัพไม่ได้แน่นอน เพราะยัด AI หรืออะไรพวกนี้เยอะ แถมยังติดเรื่อง TPM2.0 อยู่ ดิ่งยิ่งกว่าเดิมแน่
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ไม่ดิ่งหรอกครับ เดี๋ยวเครื่องที่ตันแค่ Win10 ก็ทยอยพัง แล้วก็ซื้อใหม่เป็น Win12 มาเลย
ไม่แน่นะครับ เพราะตลาด PC ขยายไปมากกว่านี้ไม่ได้แล้ว + MS จะไปเน้นตลาดองค์กร windows 365 ตลาด windows ของ MS เหมือนจะไม่ใส่ใจเท่าเมื่อก่อนแล้ว เทียบกับสมัย 7->8 iPad ตี windows ต้องรีบปรับ ไม่นั้น windows ตายในตลาดแท็บเล็ต จนสุดท้าย โละโหมดแท็บเล็ตทิ้งไปจาก windows 11 แต่ ipad win ตลาดนี้ไปเลย
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ไม่รู้ว่าในสถิติมันรวมประชากรแฝงยัง เพราะคนใช้ Windows เถื่อนเยอะด้วยสิ 555
StatCounter เค้าเก็บจากการเข้าใช้งานผ่าน browser น่ะ
แอบสงสัย ยุคนี้ยังมีคนใช้ Windows เถื่อนเยอะอยู่เหรอครับ?
ผมรู้สึกว่า... นอกจากจะประกอบคอมเองแล้ว หาซื้อคอมที่ไม่มี Windows แท้นี่น่าจะยากกว่าเสียอีก ส่วนคนที่ซื้อคอมประกอบมาใช้น่าจะมีไม่เยอะขนาดนั้น โดยเฉพาะยุคนี้ที่ความจำเป็นของคอมน้อยลงด้วย ถ้าจะเหลือก็เหลือแค่เครื่องที่ใช้เถื่อนมานานแล้วและใช้เถื่อนต่อไปมากกว่า จำนวนเครื่องเถื่อนใหม่ไม่น่าจะเพิ่มมากขึ้นเยอะรึเปล่า?
ย้ำอีกทีว่าเป็นแค่ความรู้สึกนะ อยากรู้สถิติจริงๆเหมือนกัน 55+
ถ้านิยามแค่ว่า Windows แท้จะต้องเป็น FPPพร้อมกล่องและ activate ใส่คีย์แล้วหรือ OEM ติดเครื่องเท่านั้นล่ะก็ กลุ่มที่ใช้วินโดวส์แบบไม่ activate กับพวกที่ซื้อคีย์ถูกๆมาก็เยอะอยู่เหมือนกันนะครับ
เอาเฟ้ย งั้นขอ 5% ภายในปีนี้เลยดีมะ 555 (ขำๆเน้อ)
ต้องขอบคุณ Valve ไว้ ณ ตรงนี้ด้วยกับ contribution ที่ช่วยพัฒนาฝั่ง FOSS
ผมว่า Linux Desktop น่าจะโตได้อีกพอสมควร ยอดน่าจะมาจากเด็กรุ่นใหม่ที่กำลังจะเข้ามาใน IT industry กับ Power users ตรงนี้ผมว่าอยู่ที่มหาลัยละว่าจะช่วยเติม user หน้าใหม่ได้เร็วแค่ไหน
แต่ส่วนแบ่งที่ทำได้ ไม่น่าจะเกิน 10% เหตุผลหลักสำหรับผมคือ Windows OS เองก็ดีขึ้นเลยๆ ราคาก็ไม่ได้สูงเหมือนแต่ก่อน (ขายพ่วงกับ OEM แทบทั้งหมด) และการที่ MS เองก็เป็นมิตรกับ Linux, การใส่ WSL เข้ามาใน Windows น่าจะทำให้หลายๆคนไม่จำเป็นต้องสลับไปใช้ Linux Desktop แบบเต็มตัว
..: เรื่อยไป
ผมเคยคิดว่าจะไม่เกิน 5% หรือ 10% แต่เมื่ออินเดียขึ้นไป 15.23% แล้ว ก็เริ่มคิดว่าชักจะไม่แน่เหมือนกัน
ประวัติ Windows OS ห่วยสลับดีตลอดแบบนี้ ไม่น่าจะเรียกดีขึ้นเรื่อย ๆ ได้นะครับ XP ดี > วิต้า ห่วย > 7 ดี > 8 ห่วย (รวม 8.1) > 10 ดี > 11 ห่วย? ครั้งสุดท้ายที่ผมว่าดีที่สุดของ Windows OS คือ Windows 10 ก่อนเลิกเป็นสาวก MS ตอน Windows 11 จากที่เคยใช้มาตั้งแต่ Windows XP
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ตอนนี้ผมใช้ 10 อยู่ ผมก็ว่า 10 ดีกว่า 7 อยู่นะครับ ถึงได้เชื่อว่ามันค่อยๆดีขึ้น อันนี้คือในแง่ของฟีเจอร์ละกัน ถ้าเรื่องความนิ่ง ผมว่ากิน XP ยาก
ที่ผมบอกว่าดีขึ้นเรื่อยๆ คือ 12 น่าจะดีกว่า 10 หรือถ้า 12 ออกมาห่วย เดี๋ยว 13 หรือ 14 มันก็จะดีกว่าที่ห่วยตอนนี้ อะไรประมาณนี้อ่ะครับ :)
..: เรื่อยไป
ผมให้ 11 แย่กว่า 10 ครับ
1. animate transition มันเยอะไป กว่าจะได้ interact ก็เกือบ 1 sec
2. load UI (พวก menu ของ Windows) ช้าลง น่าจะมาจากการปลี่ยน engine render จาก native ไป XAML host (ไม่แน่ใจ)
3. การเอา menu มารวมกันอย่าง notification + calendar , network + sound + power , context menu คลิกขวา
4. ใช้วิธีปกติปิดการ auto update ไม่ได้
3 อย่างแรกนี้ผมทำอย่างไรก็ไม่ชินสักที
ผมก็เลยยังอยู่กับ Windows 10 จนถึงทุกวันนี้ล่ะครับ เพราะชื่อเสียงเหล่านี้ แหะๆ
..: เรื่อยไป
ขอแชร์ประสบการณ์ ผมดันโชคร้าย เป็นคนส่วนน้อยบนโลกที่ใช้คีย์บอร์ด 3 ภาษา
วิน 8 ผมข้ามไปเพราะชื่อเสียงดังกระฉ่อนมาก แต่วิน 10 อยู่ดี ๆ ไมโครซอฟท์ก็ทำให้ shortcut key เปลี่ยนภาษาญี่ปุ่นมีบั๊ก กดไม่ติด และยังเป็นแบบติด ๆ ดับ ๆ อยู่ทุกวันนี้ยังไม่แก้เลยครับ เสียความรู้สึกพอสมควร
วิน 11, หลายคนบอกปรับตัวชินแล้ว แต่ผมรำคาญมากเรื่อง always combined taskbar ส่วนตัวติดขัดตรงนี้ตลอด แล้วไมโครซอฟท์ดันไม่ยอมให้ตัวเลือกแบบที่เคยเป็นมา
ล่าสุดได้ข่าวว่าปรับเหมือนเดิมได้แล้ว ... ก็จริง แต่ตอนนี้คุ้นเคยกับ Cinnamon / KDE Plasma ไปเสียแล้ว (ฮา) เลยไม่ค่อยอยากกลับเท่าไหร่...
+1 ความนิ่ง XP นี่ยังคงคิดถึงแม้ไปใช้ OS ตัวอื่น ๆ ก็ตาม ส่วนตัวผมข้ามวิต้าไป 7 ได้ยินว่าเป็นตำนานเลย น่าลองโหลดมาเล่น
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
มันกลับกัน windows วิธีแก้ไขต่างๆ โดยเฉพาะ official doc. จากเว็บms. กลับเต็มด้วย ให้แก้ registry หรือใช้ผ่านคำสั่ง PowerShell
ในขณะที่ ui setting เองก็ทำอะไรแบบจำกัด
กลับกันในแง่ความรับรู้ของผู้คนครับ เมื่อนานมาแล้วเล่าว่า Windows รองรับ OpenSSH server คนแปลกใจนิดหน่อย ไม่กี่ปีก่อนผมยังใช้ sc create สร้าง service อยู่เลย ในขณะที่ GNU/Linux มี GUI ทำได้หลายอย่างแล้วตั้งแต่ยุค Y2K แต่ก็สื่อสารออกไปไม่ค่อยถึงกลุ่มเป้าหมาย
ส่วนตัวผมใช้ linux เป็น OS หลัก แต่จะลง VM ไว้ด้วยกรณีที่ต้องการใช้ Windows
อยากรู้ว่าพวก Single Board computer อย่าง Raspberry Pi เขานับรวมไหมครับ
ถ้าเขานับรวมด้วยคิดว่าการเพิ่มขึ้นของการใช้ Linux ไม่น่าแปลกใจเลย โดยเฉพาะฝั่งอินเดียนี่น่าจะใช้ RPi กันกว้างขวางด้วย
ใช้วิธีการผ่านเบราว์เซอร์ส่วนมาก ฉะนั้นถ้าเครื่องเหล่านั้นเป็นเครื่องท่องเน็ตเป็นหลักก็นับรวมด้วย
มาดูปัญหาสุดบัดซบกันบ้าง
- Nvidia กับ Wayland ใช้งานได้ปกติ ...จนกระทั่งเล่นเกม ถ้าเฟรมไม่นิ่ง/ปล่อยเฟรมไหล (จำเป็นมากสำหรับเกมที่ต้องการ Latency ต่ำ) ภาพเขย่าเป็นสุนัขทำกิจกรรมเข้าจังหวะทันที (ไม่ต้องแนะนำวิธีแก้ไขกับผม ผมลองมาหมดแล้ว มีวิธีเดียวที่แก้ได้คือต้องล็อกเฟรมเท่านั้น เป็นบั๊กกับ Nvidia ที่ไม่รองรับ Explicit Sync) ต้องย้อนกลับไปใช้ X11 ซึ่ง... ก็เจอปัญหา Frame Buffer ติดบั๊กทำให้กระตุกถ้าเปิด Compositor ไว้ ดีที่ว่าเครื่องนั้นไว้เล่นเกมอย่างเดียว (เครื่อง i7 Gen 4 + GTX 970 และ Windows 10 จะหมดอายุในสองปี ไม่ขอเสี่ยง) เลยเอาแค่พอใช้งานได้ และส่วนตัวผมใช้จอเดียว ถ้าใช้หลายจอผมจะด่าเยอะกว่านี้
- ถ้าจะเข้า Software Management Ecosystem ต่าง ๆ เตรียมใจเผื่อความวายป่วงไว้ด้วย ของผมเจอบางทีโดน Repo Maintainer นุ้กระบบผมยกแผงเพราะอะไรก็ไม่รู้ (น่าจะความผิดพลาดมนุษย์ เพราะของสลับ Repo Mirror ก็ไม่หาย) หรือขนาด Package Manager ที่เขาว่าดีนักหนาอย่าง Flatpak ผมเจอปัญหาฟอนต์ไม่ Render ภาษาไทยแบบที่คนไทยอ่านออก แจ้งปัญหาไปก็ไม่ยอมแก้สักที และบางทีเจอบั๊กภาษาอังกฤษเรนเดอร์เป็นแนวตั้ง (ระบบตัดบรรทัดเอ๋อ) เพราะเมนเทนเนอร์ Flatpak คอนฟิกฟอนต์มาเน่า ตัวที่ใช้งานได้ราบรื่นที่สุดในชีวิตคือ AppImage ที่... ใช้วิธีการจัดการ Dependency เดียวกับ Windows เลย 5555555555
- Software Increment ของ Linux ถ้าใช้ Rolling Release ทำใจด้วย ดิสโทรของท่านอาจมีอัปเดตชุดใหญ่ (Major Version) แล้วนุ้กปลั๊กอินที่ท่านติดตั้งไว้เพราะ API เปลี่ยนไป ผมโดนมาแล้ว ดีที่ว่าหลังจากอัปเดตไม่นานก็มีคนทำปลั๊กอินเวอร์ชันถัดไปมาให้ใช้ แต่บางตัวก็ไม่ได้ไปต่อเพราะเจ้าของขี้เกียจทำต่อ และปัญหาไม่ได้หยุดแค่นั้น ถ้าซอฟต์แวร์ของท่านพัฒนาด้วยแนวคิด Legacy แบบ Windows ท่านอยู่ในสถานภาพกึ่งถูกบังคับให้ปรับเปลี่ยนแก้ไขมันตลอดเวลาเพราะ API/ABI Stack ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา จนกว่าท่านจะไม่สามารถทำมันได้อีกต่อไป (และเป็นเหตุผลว่าทำไม Point/Stable Release จึงยังจำเป็นใน Linux และเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงมี Docker บนงาน Server) ซึ่งเหนื่อยมากถ้าคิดจะทำซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไป นอกจากจะมี Mentality ที่ยัดทุก Dependency ที่เราจะใช้ลงไปในแพ็กเกจชุดเดียว หรือใช้ระบบจัดการแพ็กเกจที่จัดการเวอร์ชัน Dependency แบบอัตโนมัติได้ (Flatpak นั่นแหละ แต่ปัญหาฟอนต์!!) เกม Linux หลายเกมที่ออกสมัย Valve พยายามโปรโมต Linux พังพินาศด้วยสาเหตุเดียวกัน จน Valve ต้องออกมาตามเช็ดถูด้วย Steam Runtime Library อีกที ปัจจุบันปัญหานี้ยังเกิดขึ้นถ้าคุณยังเป็นคนที่ใช้งาน Flatpak ไม่ได้ (แบบผม) และแอปที่ต้องใช้ไม่ได้ออกแบบ AppImage หรือ ZIP/Tarball แบบครบเซ็ตที่มี Dependency ทุกอย่างมาให้ (Google เลือกใช้อย่างหลัง)
- Bluetooth ของเครื่องผมติดบั๊กหลุด/แครชตลอดเวลาถ้าปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป ต้อง HW Reset ผ่านคำสั่งตลอด ไม่รู้เป็นกับอะไร ตัดปัญหาด้วยการไม่ใช้
ที่เหลือผม Happy หมดละ เกมก็เล่นได้แทบทั้งหมดยกเว้นเกมออนไลน์ที่ใช้ Anti-cheat หลาย ๆ เกมผมก็ไปเล่นบนมือถือเอา (มีบางเกมที่ใส่ของ Linux มาให้ หรือบางเกมก็อนุญาตให้เล่นได้เป็นกรณีพิเศษอย่าง Genshin Impact) ปัญหาอื่น ๆ ที่ผมเจอส่วนมากเป็นปัญหาสไตล์ "ศาสนา" มากกว่า ซึ่งไม่มีทางแก้หายหรอก ดิสโทรแตกย่อยนับพัน เจอปัญหาแตกออกนับหมื่น แก้ด้วยการใช้ดิสโทรยอดนิยมหรือที่มาจากบริษัท จบปิ๊ง ตอนนี้ผมกำลังจะลอง openSUSE Tumbleweed เพราะคุยว่าเครื่องมือจัดการครบครัน และจัดการแพ็กเกจเสถียรสุดในสามย่าน (แข่งกับ Debian, Fedora)
ยังไม่เคยเจอไอ้ที่คล้าย ๆ Device Manager ของฝั่งวินโด้เลยครับ ทุกอย่างต้อง lsusb lspci เอง (และอื่น ๆ ซึ่งผมยังไม่รู้จัก - เหนื่อยก่อนตอนพยายามอ่าน)
เคยเจอปัญหาไวไฟ M.2 เครื่องก่องก๊อง รำคาญมาก (ASUS TUF F16 ผมขอประจานไว้ ณ ที่นี้เลย สุขภาพจิตผมจะพังเพราะมัน) พยายามซื้อ USB Wifi มาติด ยี่ห้อ TP-Link น่ะครับ ฝั่งวินโด้ไม่มีอะไรเสียบก็ใช้ได้เลย แต่ Linux Mint แค่ขึ้นใน lsusb
แล้วพอพยายามจะคุ้ยหาว่าไดรเวอร์ต้องยังไง เสียเวลาอยู่ตั้งสัปดาห์ ได้ความแค่ว่าต้อง compile from source จาก github ซึ่งพอพิมพ์ตามเจ้าของกระทู้มันก็แจ้งว่าไม่พบ repo ที่ร้องขอ (sus) เหม็นพอควรเลยครับ
-เรื่องไดรเวอร์ของ nvidia ที่ผมเจอมาก็ wtf มาตลอดตั้งแต่ศาสดาชูนิ้วกลางไปเมื่อหลายปีก่อน มาตอนนี้ก็ยังไม่ค่อยดีขึ้นสักเท่าไหร่ อัพไดรเวอร์ทีต้องลุ้นยังกับเปิดกาชาว่าจะโดนจอดำตอนไหน
-ตัวของ flatpak นี่เรื่องฟอนต์ก็เจอปัญหาเหมือนกัน มันไม่ยอมอ่าน system font ที่ลงไว้ให้ ไม่รู้เหมือนกันว่าแก้ยังไง แต่ว่า Appimage ผมก็พังเหมือนกันเจอโปรแกรมที่มันตีกับ Dependency ในเครื่องแล้วเปิดไม่ขึ้น สุดท้ายไปจบที่ flatpak แล้วไปแก้ในโปรแกรม flatseal เอา
-เรื่องตัว app repo ของดิสโทรผมแทบไม่ใช้งานถ้าไม่จำเป็นเพราะอัพรุ่นในแต่ละครั้งก็ต้องมาลุ้นว่าบูตจะพังหรือเปล่า ยิ่งพวก rolling นี่ยิ่งไปกันใหญ่
-ส่วน hardware ของผมไม่ค่อยเจอปัญหาอะไรมากนักยกเว้นการ์ดจอ Intel ARC ที่โดนบีบคอให้เปิด ReBAR ไม่งั้นระบบเห็น vram แค่ 256MB เล่นเกมอย่างหน่วง
โปรแกรมที่ทำตัวเหมือน Device Manager มากสุดคงจะเป็น hardinfo ล่ะมั้งแต่ก็ได้แค่ดูว่ามันมีอะไรในเครื่องบ้าง
พอใช้ Nvidia ผมยังใช้ Telegram ไม่ได้เลยครับ ตาม issue นี้เลย สยอง
เครื่องใหม่ล่าสุดผมลง Fedora แฮ่ม ยังไม่ได้มีเวลาเซ็ตเครื่อง เลยยังไม่ได้ใช้งานแบบเต็มที่ ก็เลยยังไม่เห็นปัญหาอะไรเท่าไหร่ (แต่คงมีบ้างล่ะมั้ง) WI-FI นิ่งดีครับ แต่ Bluetooth ยังไม่ค่อยได้ใช้เลยอาจจะยังไม่เจอ
ที่เจออย่างแรกคือ finger print ไม่ซับพอร์ต ถึงจะทำใจไว้แล้ว แต่ก็ review กับทางโรงงานไปว่า ทำมาให้หน่อยเหอะ (มีของฝั่ง .dep สำหรับ Ubuntu แต่ของ .rpm ไม่มี)
..: เรื่อยไป
เอาจริง ๆ หลัง ๆ ผมเขียนโค๊ดถ้าไม่มีความจำเป็นผมใช้ static link หมดเลย (ฮา) รู้สึกว่ามันปลอดภัยกว่า shared object แล้วคือ object file มันก็ไม่ได้ใหญ่อะไรขนาดนั้น (เมื่อเทียบกับไฟล์ AVVR ในเครื่องเดียวกัน ฮา)
ส่วนเรื่องปัญหาอื่น ๆ ผมว่าส่วนหนึ่งคือถ้าเราปรับแต่งอะไรหนักมือไปหน่อย คนที่เขาดูแล package เขาอาจจะไม่คิดถึง use-case เรา แล้วก็มาบึ้ม use-case เรานี่ล่ะ หลัง ๆ คือไม่ค่อยไปรับอะไรมากมาย ใช้ตาม default ไป อันไหนไม่ถูกใจก็ไม่ใช้ ง่ายกว่าแบบเราต้องไปนั่งปรับให้ตามความพอใจเรา อะไรงี้ครับ
เครื่อง Linux ผมปรับแค่ UI ของ Gnome 150% แคนั้นเองเลย (เพราะว่าใช้กับทีวี) ที่เหลือใช้ตามที่มันมี อะไรงี้ครับ
ผมก็เริ่มเห็นจุดเด่นของ static link ขึ้นมาในพักหลังนี่เหมือนกันครับคุณตาหวาน โดยเฉพาะกับโปรแกรมอะไรที่เราแบบว่า ไม่ต้องการจะปรับหรือเปลี่ยนฟีเจอร์ตาม libs เวอร์ชันใหม่ๆในอนาคต
..: เรื่อยไป
ส่วนมากทุกวันนี้ เครื่องส่วนตัวใช้ Linux แต่การทำงาน ด้วยความทำบนเครื่อง Office เลยใช้ Windows ก็ไม่ได้อะไรมากมาย เคยพยายามทำงานบน Linux งานที่สนุกที่สุดคือเขียนเว็บ เครื่องมือก็เหมือนใช้ใน Windows แหละ แต่ใช้งานได้ลื่นกว่า ส่วนงานเอกสาร อย่าได้พูดเลย ต่อให้ MS 365 online เอกสารก็เพี้ยน เอาฟ้อนต์ Windows มาใช้ ก็เพี้ยน เรื่องการตัดคำไทย การจัดการภาษาไทย แอพอะไรก็สู้ MS Office ไม่ได้