โครงการ ALICE ของ CERN ที่พยายามตรวจจับอนุภาคในรูปแบบที่เหมือนขณะเกิด Big Bang รายงานถึงการค้นพบหลักฐานของ antihyperhelium-4 เป็นครั้งแรก โดยใช้ข้อมูลการชนของนิวคลีออนที่พลังงาน 5.02 TeV เมื่อปี 2018 มาค้นหาข้อมูลด้วย machine learning ที่ประสิทธิภาพการค้นข้อมูลดีกว่าเทคนิคเดิมๆ
antihyperhelium-4 ประกอบไปด้วย antiproton สองอนุภาค, antineutron หนึ่งอนุภาค, และ antilambda (lambda เป็นอนุภาคที่ประกอบไปด้วยควาร์ก 3 อนุภาค) การตรวจจับจะดูจากการสลายกลายเป็น antihelium-3
ทีมงานพบหลักฐานของ antihyperhelium-4 โดยมีระดับนัยสำคัญที่ 3.5 standard deviations (แปลว่าความมั่นใจเกือบ 100%)
การศึกษาถึงสสารในรูปแบบที่ใกล้เคียงเวลาก่อกำเนิดจักรวาลเช่นนี้จะช่วยห้เราเข้าใจถึงคุณสมบัติต่างๆ ของสสารในปัจจุบันไปด้วย
ที่มา - CERN
Comments
เพิ่ิมเติม 3.5 sigma คือความมั่นใจที่ 99.953%
เกือบ 100% ก็จริง แต่ในทางฟิสิกส์อนุภาคถือว่าน่าสนใจแต่ยังน้อยเกินไป ปกติจะใช้ 5 sigma (99.99994%)
เสริมครับ อย่างการประกาศการค้นพบ Higgs Boson ก็ใช้ที่ 5 sigma ครับ
ถ้าใช้ genai น่าจะได้ accuracy 99.9999999999999%
ส่วนตัวคิดว่า ไม่เชื่อภาพรวม เรื่อง anti He4 นะครับ (แก้เพื่อพิมพ์อธิบายดีๆ บน PC)
ผมคิดแบบนี้นะครับ
(แต่ถ้า MoND ถูก ที่ CREN proved มาก็ผิด เพราะมันจะไม่ต้องมี SuSy แต่ผมเชื่อ MoND ไงครับ แค่นั้นเลย 55)