อีกหนึ่งความพ่ายแพ้ของการจำกัดสิทธิในการใช้งานด้วยเทคโนโลยี DRM เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อแฮกเกอร์จากอิสราเอลและสหรัฐฯ สามารถแกะเอาไฟล์ของ Kindle แล้วแปลงให้เป็นไฟล์ .mobi แบบไม่มีข้อจำกัดใดๆ ทำให้สามารถนำไฟล์ไปใช้งานกับเครื่องอื่นๆ ที่รองรับฟอร์มแมตเดียวกันนี้ได้
แฮกเกอร์อาศัยการ reverse engineer ซอฟต์แวร์ของ Kindle บนพีซีโดยเจาะจงไปที่การทำงานของซอฟต์แวร์ขณะที่กำลังถามรหัสผ่านจากผู้ใช้ แล้วขโมยรหัสผ่าน PC1 ที่ใช้ในการถอดรหัสไฟล์ออกมา
ซอฟต์แวร์มีสองรุ่น หาอ่านได้ใน pastie และ pastebin
หลายต่อหลายครั้งที่ผู้ผลิตเนื้อหาโดยเฉพาะด้านความบันเทิง พยายามใช้ DRM เพื่อจำกัดสิทธิ์ในการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ด้วยความหวังว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะลดการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยยอมแลกกับความลำบากของลูกค้าที่ซื้อสินค้าอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี CSS ใน DVD, BD+ ใน Blu-ray, ไล่ไปจนถึงการติดตั้ง rootkit ลงบนเครื่องของผู้ใช้ในกรณี Sony ที่สุดท้ายต้องจ่ายเงินค่าชดเชยในที่สุด
หวังว่าถึงจุดหนึ่งแล้วผู้ผลิตจะคิดว่า "พอกันที" กับเทคโนโลยีเหล่านี้แล้วหันมาอำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้ออย่างถูกต้องให้ดีที่สุดกันเสียที
ที่มา - The Register
Comments
สองคำ..."งานเข้า" มองในแง่ดี ซื้อ e-book ผ่าน Amazon แล้วไม่ต้องถูก Lock-In ใช้ kindle อย่างเดียว ยอดขายอาจจะเพิ่มขึ้นอีกก็ได้นะ
เก่งจริง
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
หวังว่าถึงจุดหนึ่งแล้วผู้บริโภคจะคิดว่า "พอกันที" กับการงัดแงะเทคโนโลยีเหล่านี้แล้วหันมาสนับสนุนการซื้ออย่างถูกต้องให้ดีที่สุดกันเสียที
เบื่อเหมือนกัน กับการทำ CM แล้วต้องมานั่งทำ DRM ด้วย (ตอนสร้าง Content ก็เหนื่อยอีก) ไก่กับไข่ อะไรจะเกิดก่อนกัน.. เฮ้อออ
ถูกครับ
ถ้าไม่มีโจร บ้านเมืองก็ไม่ต้องมีตำรวจหรอกครับ
ผมว่าบางครั้งเราต้องแยกให้ออก ว่าแบบไหนคือ "รัฐที่มีตำรวจ" แบบไหนคือ "รัฐตำรวจ"
การที่งัดแงะเทคโนโลยีครั้งนี้ ไม่ได้มาจากการซื้อที่ไม่ถูกต้อง แต่เป็นการที่ ของเถื่อนของปลอมดันดีมีประโยชน์กว่าของจริง
คนซื้อเหมือนถูกหักหลัง สิ่งที่ควรทำได้กลับไม่ยอมให้ทำ
ไก่กับไข่จริงๆ
สรุปว่าพลาดเพราะออกรุ่นสำหรับ PC สิครับเนี่ย
ไม่รู้ว่าเขาทำวิจัยกันหรือปล่าวครับ ว่าคนที่เขาซื้อจองแท้ แล้วจะหันมา copy เยอะหรือไม่
ส่วนตัวผมคิดว่า คนซื้อแท้ ก็มักจะซื้อของแท้ตลอด สว่นคน copy อย่างงัยก็ copy วันยังค่ำ
ผมคิดว่าควรมีการป้องกันบ้าง แต่ไม่ต้องถึงกับสร้างความยุ่งยากให้กับผู้ใช้งาน เพราะคนเล่นของแท้ เขาจะมีใจที่จะเล่นของแท้อยู่แล้ว ส่วนคนเล่น copy จะ copy วันค่ำ เพราะ ebook เนี้ยหาโหลดได้ตามร้านขายยาทั่วไปอยู่แล้ว (bit และเว็บ)
งานวิจัยแนวนี้เท่าที่ผมจำได้ เคยมีงานระบุว่า คนที่ดาวน์โหลดของปลอมเยอะ เป็นกลุ่มคนที่ซื้อของแท้สูงไปด้วยนะครับ
อันนี้จำจากคุ้นๆ เอาอย่าเพิ่งเชื่อครับ เดี๋ยวไปหาลิงก์มาให้ก่อน
lewcpe.com, @wasonliw
ผมว่ามันเหมือนกับเราไปเลือกซื้อหนังสือที่ร้าน
-หนังสือเล่มหุ้มพลาสติกไว้เห็นแต่ปก หรือเห็นยี่ห้อก็น่าซื้อแล้ว ซื้อได้ทันที
-บางเล่มบางร้านอาจไม่ให้แกะดูข้างใน คนซื้อก็ชั่งใจว่าซื้อไปจะคุ้มไหม ซ้ำกับที่เรามีหรือเปล่าหว่า? คนกล้าเสี่ยงก็ซื้ออยู่ บางคนก็ไม่กล้าซื้อ อดได้ลูกค้าไปซะงั้น
-บางเล่มบางร้านอาจให้เปิดดูข้างในได้ คนซื้อนั่งอ่านจนจบเล่ม บางคนอาจคิดว่ามีประโยชน์กับเขา เก็บไว้ใช้วันหลังได้ หรือน่าเก็บเอาไว้ ก็ซื้อ แต่บางเล่มเปิดไป 2-3 หน้า ก็เก็บเข้าที่เดิมแล้ว
คนที่โหลดของปลอมมาเยอะ ๆ ก็ได้มีโอกาสพิจารณาผ่านตามากกว่าคนที่ซื้อของแท้อย่างเดียว บางอย่างมันแกะดูก่อนเหมือนหนังสือไม่ได้ (อย่างหนังโรง โปรแกรม ฯลฯ) ผมว่าถ้าสำหรับคนที่มีงบจำกัดก็น่าจะมีส่วนให้มีโอกาสซื้อของแท้ได้มากกว่าคนที่ไม่ได้่สัมผัส รอซื้อของแท้อย่างเดียวเลย เพราะจะซื้อทีก็ต้องมั่นใจจริง ๆ ว่ามันดี (แล้วจะมั่นใจได้ไง???)
สรุปว่า ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากของนั้นมากกว่า ถ้าดีจริงไม่ต้องกลัวว่าขายไม่ได้แน่นอน...
มีคนที่จำใจเล่นของก็อป เพราะไม่มีเงินซื้อของแท้ หรือถ้าซื้อก็แกลบ
แต่ไม่อยากจะพลาดโอกาสดีๆในชีวิต
พวกนี้เขามีความละอาย ไม่อยากออกมาประกาศตัวเหมือนพวกเกรียนที่ภูมิใจว่าตรูฉลาดที่โกงได้หรอกครับ
ถ้ามีโอกาส มีเงินซื้อของแท้ เขาก็ซื้อ
เพราะงั้นคุณเห็นเกรียนที่ภูมิใจกับการ Copy แล้วมานั่งพูดว่า "คน copy อย่างงัยก็ copy วันยังค่ำ"
อย่าคิดว่านั่นเป็นส่วนใหญ่
มองเห็นพระอาทิตย์ จะถือว่าตาดี นั้นไม่ได้
ผมว่า คน copy นั่นแหละคือคนส่วนใหญ่
ไม่งั้น บรรดาเจ้าของลิขสิทธิ์ทั้งหลาย (ค่ายเพลง, หนัง, หนังสือ) คงไม่มานั่งกลุ้มใจกับการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ทุกวันนี้หรอก
แต่ผมเห็นว่านั่นคือส่วนใหญ่ สังเกตจากผู้ใหญ่รอบ ๆ ตัวนะครับ
เรื่องลิขสิทธินี่อาจจะมีตื่นตัวในคนยุคเราพอสมควร แต่คนยุคเก่า ๆ ยังมองว่าการที่ได้ของเหมือนกันแต่ราคาถูกกว่ามันเสียหายตรงไหน ?
อย่างบ.ลุงผมเพิ่งจะวิ่งหา License ซอฟท์แวร์เอาก็ตอนที่ตร.ส่งหมายไปที่บ.นั่นแหละ ...
อ้อ ผมโดนที่บ้านด่าประจำว่า จะซื้อ CD เพลงทำไมเยอะหนักหนา โหลดเอาก็ได้นี่ ! (บางแผ่นผมต้องถ่อไปซื้อถึงญี่ปุ่น ราคาก็ไม่ถูก) ...ชอบบอกว่าให้เก็บเงินไว้ซื้อบ้าน (ที่คงไม่ได้ย้ายไปอยู่แหง ๆ) ... แต่ผมภูมิใจกับ Collection ผมนะ !
ผมว่าปัจจัยเรื่องนี้บางครั้งมันมากกว่าเรื่องราคากับคนด้วยครับ
ผมยอมรับว่าตัวผมเองละเมิดลิขสิทธิมากเมื่อเป็นหนังหรือ Series ด้วยสาเหตุหลักคือ
ส่วนเรื่อง CD เพลงนี่ผม iTunes โลดอยู่แล้ว ปัญหาหลักที่ทำให้ผมไม่อยากซื้อของจริงเพราะต้องซื้อทั้งแผ่น ผมต้องการแค่เพลงเดียวในหลาย ๆ กรณี เช่นกันกับหนังสือหรือ Magazine ถ้าเป็นไปได้ส่วนใหญ่ผมต้องการแค่บทความเดียวหรือบางส่วนเท่านั้น ถ้ามีวิธีที่เราไม่ต้องจ่ายทั้งหมดเพื่อได้เฉพาะสิ่งที่เราต้องการจะดีมาก
เรื่องหนังสือพิมพ์ที่ต้อง Subscribe น่าเบื่อสุด WSJ เป็นตัวอย่างที่ดีเลย ผมอยากได้แค่บทความเดียว Academic Journals ก็เหมือนกัน ในเมื่อมันซื้อบทความไม่ได้ แต่ผมต้องการบทความนั้นจริง ๆ ผมก็ละเมิดเลยด้วยความจำเป็น เพราะว่ามันอยู่ตรงหน้าเราอยู่แล้ว จะละเมิดมันก็แค่เพิ่ม Effort เรานิดเดียวว่างั้น
แต่อย่างที่ว่า เรื่องนี้กลับไปสู่ข้อโต้แย้งของ North ได้อีกเรื่อง Institution กับ Law Enforcement กฏหมายบางอย่างมันทำผิดกันมากมายและตรวจสอบยาก ว่าง่าย ๆ ถ้า Social Norm มันเป็นแบบนั้นมันยากจริงที่จะแก้ไขครับ
เริ่มรู้สึกว่าตัวเองเรียนกฏหมายมาแต่ดันทำผิดกฏหมายซะนี่ - -''
@TonsTweetings
เทคนิค reverse engineer ก็ไม่โดนเื่รื่องกฏหมายสินะครับ เหมือน Emu PS1
บางประเทศห้ามนะครับ อย่างน้อยๆ ก็สหรัฐฯ มีกฏหมาย DCMA คุ้มครองบางส่วนไว้
lewcpe.com, @wasonliw
ข่าวนี้ Cool! มั่กๆ ;)
my blog