Morris Chang ผู้ก่อตั้ง TSMC ให้สัมภาษณ์กับ Acquired ซึ่งเป็นการพูดคุยแบบยาวครั้งแรกในรอบ 17 ปี โดยเนื้อหามีทั้งความสัมพันธ์กับ NVIDIA ที่เลือก TSMC เป็นผู้ผลิตการ์ดจอรุ่นแรก ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต 40 นาโนเมตรในเวลานั้น และความขัดแย้งช่วงปี 2009
ไฮไลท์ของการสัมภาษณ์นี้คือเรื่องของแอปเปิลกับอินเทล โดย Chang บอกว่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2011 แอปเปิลได้พักการพูดคุยเรื่องผลิตชิปรุ่นใหม่กับ TSMC ชั่วคราว เนื่องจากอินเทลได้เข้ามาเจรจากับซีโอโอ Tim Cook เวลานั้น เพื่อให้ iPhone เปลี่ยนมาใช้ซีพียูที่อินเทลเป็นผู้ผลิต ซึ่งเวลานั้น Mac ทุกรุ่นใช้ซีพียูอินเทลอยู่แล้ว
ในเวลาเพียง 2 เดือนของการหารือ Cook สรุปว่าให้แอปเปิลใช้ชิป iPhone ที่ผลิตโดย TSMC ต่อไปเหมือนเดิม โดย Cook เล่าให้ Chang ฟังเมื่อเขาเดินทางไปพูดคุยที่สำนักงานใหญ่แอปเปิลในเดือนมีนาคม 2011 ว่าอินเทลแค่ไม่เข้าใจการเป็นบริษัท Foundry ที่ผลิตชิปให้ลูกค้า
Chang บอกว่าเขาไม่รู้สึกอะไรเมื่อได้ยิน Cook เล่าแบบนั้น เพราะเขามั่นใจว่าบริษัทเหนือกว่าอินเทลทั้งศักยภาพการผลิต และการตอบสนองความต้องการลูกค้า เขาบอกว่ารู้จักลูกค้าอินเทลที่เป็นบริษัทในไต้หวันหลายราย ทุกคนไม่ชอบอินเทลกันทั้งนั้น เพราะอินเทลมักปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนเป็นผู้ผลิตซีพียูเพียงรายเดียวในตลาด
เขาบอกว่าความสำเร็จของ TSMC มาจากการตอบสนองลูกค้าตามที่ต้องการและลงในทุกรายละเอียด บางครั้งคำขอลูกค้าก็บ้าเกินไปและไม่มีเหตุผล แต่ TSMC ก็พยายามตอบสนองต่อสิ่งเหล่านั้น ซึ่งอินเทลไม่เคยทำ
Acquired บอกว่าการสัมภาษณ์นี้ถือเป็นของแรร์มาก เพราะบทสัมภาษณ์ Morris Chang ภาษาอังกฤษที่ทีมงานหาได้ครั้งล่าสุด เป็นการสัมภาษณ์โดย Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA นั่นเอง และการสัมภาษณ์ครั้งนี้ Huang ก็เป็นคนที่ช่วยประสานงานให้
Comments
ตอนนั้นยังอหังการอยู่
นี่สิคนมีวิสัยทัศน์
intel คงแนวขายของมีของไรไรมา คุณต้องใช้ของเราตามที่มีขาย
แต่ apple เหมือนสั่ง custom ของ Intel ได้หน่อยเปล่าช่วง MacBook Air ตัวแรกมา
ใจความสำคัญคือ ในอดีตเครื่อง Mac ที่ใช้ CPU ของ Intel จะต้องใช้ CPU ที่ Intel ผลิตออกมา เมื่อ Intel ผลิตรุ่นไหนออกมา Mac ก็ต้องใช้รุ่นนั้น ในขณะเดียวกัน iPhone ได้เริ่มใช้ชิป SoC (System on a Chip) แล้ว และ Apple อาจจะมองว่า Intel ไม่สามารถผลิต CPU ได้ตามความต้องการของ Apple ได้ ในที่สุด TSMC ก็กลายมาเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่เพราะสามารถผลิตชิปได้ตามความต้องการของลูกค้าได้ และนั่นคือเหตุผลที่เราได้เห็นชิป M1 ที่เป็น SoC ถือกำเนิดขึ้นมา
ยังนึกถึงสมัยได้ยิน TSMC ช่วงแรกๆ ทุกคนยังยี้ รุ่นแรกของ iPhone ที่ใช้ชิพที่ผลิตโดย TSMC คือ iPhone 6 ซึ่งเปิดตัวในปี 2014 โดยใช้ชิพ A8 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของ Apple ในการเลือก TSMC เป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์
ก่อนหน้านี้ Apple ส่วนใหญ่พึ่งพา Samsung ในการผลิตชิพ ช่วงแรกๆ นั้นทุกคนต่างหา iPhone ชิพล็อตที่ทำโดย Samsung ไม่เอาล็อตที่ทำด้วย TSMC ยังเชื่อเกาหลีมากกว่าไต้หวัน .... ตอนนี้มาไกลมาก เนื้อหอมสุดๆ
WE ARE THE 99%
มันก็พูดยากนะ วัฒนธรรมการทำงานแบบตะวันตกก็จะเป็นแบบนั้นแหล่ะ เน้นสร้างมาตรฐานเพื่อให้สามารถสเกลงานได้ ถึงแม้จะมีปัญหาด้านแรงงานมีฝีมือ ก็สามารถทดแทนกันได้ตลอดเวลา ด้วยความมีมาตรฐานกลางที่ไม่ได้ปรับให้เฉพาะลูกค้ารายหนึ่งรายใด ทั้งนี้เนื่องจากมีลูกค้าจำนวนมาก และหลากหลายในหลายประเทศ ซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกัน รวมถึงตัวลูกค้าเองบางทีก็ยังไม่รู้ว่าอยากได้อะไร แต่เห็นคนอื่นมีก็อยากมีบ้างก็สั่งทำ พอออกมาแล้วไม่พอใจก็เปลี่ยน จนทำให้ต้องสร้างระบบมาตรฐานขึ้นมารองรับ เพื่อให้งานหลังการขายสามารถทำได้ง่าย และรักษาระดับต้นทุนให้อยู่ในระดับที่ทำกำไร (บอกเลยโครตซับซ้อน บริษัทขนาดเล็ก จะโตขึ้นเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ต้องก้าวข้ามตรงนี้ให้ได้ก่อน แต่ส่วนใหญ่มักตกม้าตาย กันตรงนี้แหล่ะ รวมทั้งผมด้วย 555 ยิ่งถ้าใครเคยทำค้าปลีกจะรู้เลยว่าการมีสินค้าหลาย SKU มันสร้างความปวดหัว และสร้างต้นทุนการเก็บรักษาอะไหล่หลังการขายมากขนาดไหน ซึ่งต้นทุนแฝงเหล่านี้ทำให้สินค้ามีราค่าสูงเกินความจำเป็น เนื่องจากมีการคำนวณความเสี่ยงล่วงหน้าไว้ ทำให้ทำราคาขายสู้สินค้าอื่นไม่ได้อีก)
ในทางกลับกันบริษัทขนาดเล็ก (ในขณะนั้น) ก็ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้ยังคงอยู่ในตลาด ลูกค้าอยากได้อะไรก็พยายามจัดหามาให้ ซึ่งมันก็จะเหมาะกับบริษัทที่ฐานลูกค้ารายใหญ่ไม่กี่ราย ที่ต้องคอยรักษาเอาไว้ แต่ก็มีความเสี่ยง หากลูกค้าย้ายฐานก็พร้อมที่ล้มทุกเมื่อ
ผมว่ามันต้องดู size order ด้วยนะครับ APPLE นี่ scale ใหญ่นะครับ เหมือน PC อีกแขนงนึงเลย ไม่ทำ = ทิ้ง นะ ไม่ใช่ customer แบบ ต็อกต๋อย
ในมุมหนึ่งน่ะใช่ครับ แต่นั่นเป็นความเสี่ยงต่อ supplier ระดับสูงเลยหล่ะครับ
ถ้า supplier สเกลเพื่อรองรับการผลิตให้ เพราะ Apple บอกจะสั่งล้านชิ้นนะ ระยะเวลาเท่านั้น-เท่านี้ แต่จู่ ๆ Apple บอก เราให้ทำล้านชิ้นไปแล้ว แต่ไม่มีลอตต่อไปแล้วนะ แต่ supplier สเกลรอไว้ลอตต่อไปก็คือพังทันที เพราะแบกต้นทุนสเกลที่ทำไว้ ฝั่ง Apple ก็แค่ย้าย supplier ใหม่ ความเสี่ยงตกอยู่กับ supplier ไม่ใช่ Apple ตรงนี้ supplier ยังไงก็ต้องต่อรอง ไม่งั้นก็ต้องวิ่งหาแบรนด์อื่น ๆ มาเป็นลูกค้าใหม่แทน Apple ซึ่งก็ไม่ง่ายที่จะให้คำสั่งซื้อระดับเดียวกัน
เกิดขึ้นมาแล้ว ซัพพลายเออร์ในจีน มีแผนกแอปเปิลโดยเฉพาะ พอเปิ้ลลดกำลังการผลิต ฝ่ายนี้ของซัพเจ้านี้เคว้งเลย
ถ้าไม่ลงทุนไม่กล้ารับความเสี่ยงจะโตได้ยังไงสำคัญคือจะแมนเนจยังไงมากกว่าให้งานไม่เจ๊งได้กำไร เจ้าไหนๆเค้าก็อยากรับงานใหญ่ทั้งนั้นแหละถ้าแมนเนจได้ดีก็กำไรเน้นๆ ถ้ามัวแต่กลัวเค้าก็ไม่ต้องรับแล้วงานใหญ่อย่าง Nvidia, AMD หรือสารพัดชิปเจ้าใหญ่ๆที่มาสั่งผลิต
ก็ไม่ได้บอกว่าไม่ให้รับความเสี่ยง แต่มันต้องคิดเรื่องถ่ายโอนความเสี่ยงด้วยครับ (ผมอธิบายไปด้านบนแล้ว) เพราะการรับงานที่มีความเสี่ยงระดับบริษัทล้มละลายเค้าไม่ทำกันหรอก (รับงานเกินตัว) อันนี้พูดในฐานะคนที่เคยต้องประเมิณอะไรแบบนี้อยู่บ้าง
บางครั้งคำขอลูกค้าก็บ้าเกินไปและไม่มีเหตุผล
แต่ TSMC ก็พยายามตอบสนองต่อสิ่งเหล่านั้น
ถ้าแบบนี้ก็ถือว่าเจ๋งจริง
TSMC เสี่ยงมาก แต่ก็ยอมวัดใจ
Tim Cook ตัดสินใจได้ดีมาก
ยุคนี้ต้องเป็น TSMC ละ Intel ตกขบวนไปไกลแล้ววว แต่ก็อยากให้กลับมาแข่งกับ TSMC, AMD(CPU) เหมือนกันนะ รอลุ้นว่าเมื่อไรจะกลับมาพร้อม CEO ที่เก่ง
คิดว่าการที่ apple เลือก tsmc ผลิตชิปให้ น่าจะส่งผลในการต่อรองทางการเมืองของ Chang ด้วย เพราะรัฐบาลไต้หวันเลือกเขาเป็นผู้แทนพิเศษของ ปธน. ไปประชุมเอเปคที่สหรัฐอเมริกาเป็นชาติสมาชิกด้วย ตั้งแต่ 2018-2023
Intel ยังไม่ออกจากแนวคิด Tick-Tock ทุกครั้งที่จะผลิตอะไรคิดค้นอะไรก็จะดึงเอา Tick-Tock กลับมาให้ได้