คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission - EC) ออกคำสั่งให้แอปเปิลต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดเรื่องการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ โดยสั่งให้ iOS ต้องรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ 3rd Party เช่น สมาร์ทวอทช์, หูฟัง, ทีวี ให้เข้าถึงความสามารถต่าง ๆ เท่ากับการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ของแอปเปิล เช่น การแจ้งเตือน, การเชื่อมต่อ P2P, NFC, การจับคู่ที่ทำได้ง่าย เป็นต้น
เมื่อธันวาคมปีที่แล้ว EC ได้ออกเอกสารรับฟังความเห็น เกี่ยวกับการออกคำสั่งนี้ โดยมองว่าจะทำให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ 3rd Party มีโอกาสสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่กับผู้ใช้งานในยุโรป
EC กำหนดกรอบเวลาให้แอปเปิลต้องรองรับความสามารถการแจ้งเตือนบนอุปกรณ์ 3rd Party เท่ากับอุปกรณ์ของแอปเปิลเองภายในสิ้นปีนี้ ส่วนความสามารถอื่น เช่น การจับคู่ การให้แอปรันแบ็คกราวด์ได้ และอื่น ๆ ภายในสิ้นปี 2026
ด้านแอปเปิลออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนี้ โดยบอกว่าเป็นการสร้างกฎที่ยุ่งยากเกินไป ส่งผลให้แอปเปิลต้องชะลอการออกฟีเจอร์นวัตกรรมใหม่กับผู้ใช้งานในยุโรป แถมยังต้องให้ฟีเจอร์เหล่านี้ฟรีกับบริษัทอื่นที่ไม่ได้เข้ามาร่วมพัฒนาด้วย จึงเป็นผลเสียงโดยรวมกับผู้ใช้งานในยุโรป ซึ่งบริษัทจะหารือกับทาง EC ต่อไป
ที่มา: European Commission และ 9to5Mac
Comments
ซัมซุงไม่รอดแน่ จาก smart watch จะว่าไปอย่าลืมเอากฎพวกคุณนี้ไปบังคับ HMD / Fairphone / SHIFTphone / Volla Phone ด้วยล่ะครับ โดยเฉพาะ Fairphone ที่โฆษณาว่าคุณซื้อชิ้นส่วนเปลี่ยนเองได้ ความจริงซื้อเมนบอร์ดเปลี่ยนไม่ได้ ไม่มีขาย พัง คือเครื่องส่งซ่อมเท่านั้น ไม่ได้ Fairphone เหมือนชื่อ
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ปล้นนวัตกรรมกันดื้อๆแบบนี้ซะเลย
ขอแค่ให้นาฬิกา 3rd สามารถเลือกแสดงแจ้งเตือนเปิดปิดรายแอปได้ แค่นี้น้ำตาจะไหลแล้ว ทุกวันนี้ทำไม่ได้เลย
ตัดฟีเจอร์ใน EU เอาแทน
จุดจบนักกั๊ก ถ้าเล่นกันแฟร์ๆ เปิด API ให้คนอื่นใช้งานด้วยแต่แรกหน่วยงานรัฐก็ไม่จำเป็นต้องขยับ
เพิ่มการแข่งขันทางการค้าในปัจจุบัน แต่มันลดการแข่งขันทางนวัตกรรมในอนาคตเลย ไม่ใช่เฉพาะแอปเปิ้ล แต่เจ้าอื่นจะยอมทำอะไรใหม่ๆเฉพาะของตัวเองก็ไม่ได้ ต้องมาเปิดให้เจ้าอื่นใช้ได้ด้วย และใครจะยอมลงทุนทำอะไรใหม่ๆ
ถ้าจะไม่คิดว่าคิดค้นอะไรใหม่ๆ เพื่อทำมาขายให้ผู้บริโภค
และถ้าอยากจะทำอะไรซ้ำๆ เดิมๆ ก็ทำไปครับ
อันนี้ไม่เข้าใจมันจะลดการแข่งขันทางนวัตกรรมยังไง การเปิดฟีเจอร์ที่โดนกั๊กไว้นั่นแหละเป็นการส่งเสริมนวัตกรรมทุกค่ายเข้าถึงได้เท่ากันทีนี้แต่ละค่ายก็ต้องสร้างจุดเด่นของตัวเองขึ้นมา เจ้าไหนมีอะไรให้ดึงดูดผู้ใช้ก็จะสนใจซื้อเอง ส่วนประโยคท้ายแค่ดูแอปเปิ้ลก็พูดได้แล้วว่ามันไม่ใช่เลยพัฒนาน้อยมาก
ผมมองว่าบริษัทพวกนี้ทำอะไรต้องมีจุดขายที่เด่นกว่าคู่แข่ง ในเมื่อคุณทำให้เด่นกว่าได้ แตาปรากฏว่าโดนบังคับให้เปิดให้คู่แข่งสามารถใช้ได้ด้วย จุดขายที่ลงทุนวิจัยมามันก็ไม่เหลือ กลายเป็นลงทุนเพื่อให้คู่แข่งได้ประโยชน์ไป
ในมุมมองผู้ใช้มันดีครับ ผมไม่ได้มองว่าไม่ดีสำหรับผู้ใช้เลย
แต่มุมมองบริษัทก็จะมองว่าจะลงทุนหนักๆไปทำไมเมื่อได้ผลออกมาน้อยกว่าเดิมมากๆ (ต้องมาแบ่งให้เจ้าอื่นใช้)
กลายเป็นว่าอยากมีอะไรใหม่ๆ ก็ต้องใช้วิธีการจับมือคู่แข่งเพื่อลงทุนร่วม กว่าอะไรใหม่ๆจะออกก็ใช้เวลาในการตกลงนานกว่าเดิม
ผมคิดว่าเขาสนใจแต่รายใหญ่ครับ
หนึ่งบริษัทพัฒนานวัตกรรมยากขึ้น แต่เปิดโอกาสให้อีกหลายบริษัทได้พัฒนานวัตกรรมใหม่
ส่วนการลงทุนทำอะไรใหม่ๆนั้น ถ้าไม่ลงทุนก็รอโดนค่ายอื่นแซงไปเท่านั้นเองครับ ยกเว้นว่าจะผูกขาด(หรือกึ่งผูกขาด)จนไม่มีคู่แข่ง ก็ไม่มีความจำเป็นต้องลงทุนทำอะไรเพิ่ม (ซึ่งจุดประสงค์ของกฎหมายเหล่านี้คือป้องกันเหตุการณ์แบบนั้นแหละครับ)
เพราะงั้นส่วนตัวผมยังมองว่าการแข่งขันโดยรวมยังคงเพิ่มขึ้นมากกว่าลดครับ
กลับกัน ถ้าปล่อยไว้แบบนี้ ยังไงค่ายอื่นก็ไม่มีทางทำออกมาได้ดีเท่าของ Apple และ Apple ต่อให้ไม่ปรับปรุงอะไรก็ไม่มีทางโดนแซงได้ แบบนี้ผมว่าการแข่งขันด้านนวัตรกรรมจะน้อยลงมากกว่าครับ
ส่วนเรื่องความเสียหายของบริษัทที่โดนนั้น ยังไงกฎหมายป้องกันการผูกขาดบริษัทใหญ่ๆก็มีแต่เสียกับเสียอยู่แล้ว เพราะงั้นแทนที่จะมัวแต่คิดว่าเสียยังไง ผมคิดว่าควรคิดว่าเสียแล้วส่งผลดีผลเสียโดยรวมกับตลาดยังไงมากกว่าครับ
+1
เพิ่มงานอีกละ คนเท่าเดิม แต่งานเพิ่ม
อยากให้อียูตั้งกฎสมาร์ทโฟนทุกรุ่นจะต้องมาพร้อมกับจอ 120 Hz ฮ่าๆๆ
เออ แปลก มีคนไม่เห็นด้วย ทั้งๆที่มันเป็นผลดีกับผู้ใช้แท้ๆ
คือถ้ามองในมุมว่า Apple กีดกันคู่แข่ง, ทำลายการแข่งขัน ก็ถูกต้องตาม EU ว่ามา
มันมีข้อดีข้อเสียตามเค้าว่าด้วยระดับนึงแหละฮะ อาจจะในมุมรู้สึก exclusive เอง หรือในมุมที่ของที่ทำออกมามันออกได้ช้าลงเพราะต้องคิดต้องทำเยอะขึ้นอันนี้ก็จริงอีก มันไม่ใช่อยู่ๆ เสกออกมาได้เลยแค่กดเปิด
อันแรกพอเข้าใจ แต่อันที่สองผมว่าไม่นะ แค่เปิด API ที่เคยกั๊กไว้ใช้กับของตัวเองให้คนอื่นแค่นั้นเอง
เปิดเฉยๆ คงไม่น่าจะจบนะครับ มันต้องทำเพิ่มเพื่อรองรับ ให้เป็นมาตรฐานที่ดีขึ้นไปอีก การเชื่อมหลากหลายมากขึ้น
แบบตัวอย่างมั่วๆ นะครับ เช่นใช้ AppleID authen ก็จบ คราวนี้ต้องมาทำเพิ่มรองรับ Google ID , Microsoft Account ไรอีก ลากยาวไประบบอื่นด้วย ถ้ามีอะไรทำงานฝั่ง Server เพิ่มโหลดเข้ามาชุดใหญ่งี้เลย
เวลาทำ internal API เราจะไม่ได้ทำแบบคิดหน้าคิดหลังมากขนาดเวลาทำให้คนอื่นใช้ด้วยฮะ เราต้องเผื่อนู่นเผื่อนี่ กันคนใช้ผิด กันคนพยายามใช้ในทางที่ผิด กันคนใช้แผลงๆ ตั้งสิทธิ์ ตั้งการตรวจสอบ ฯลฯ
ถ้า process มันเท่ากันนะ การที่ทำไว้ใช้เองภายในเราไป control ฝั่ง app ของตัวเองได้ไม่ให้ทำอะไรแปลกๆ แต่เปิด feature ให้ 3rd party ใช้ ต้องทดสอบ ออกแบบรัดกุมกว่าเยอะ เผื่อใครไปใช้อะไรแปลกๆ หรือมีปัญหาก็เข้าตัวเอง ทำให้การพัฒนาหรือออก product ยากขึ้น ต้องหาสมดุล การใช้เองเหมือนเป็นทดสอบในวงจำกัดไปด้วยในตัว อาจมีใช้เองในระยะแรกได้ แต่ต้องให้ 3rd party ใช้ได้ด้วยใน 1-2 ปีไรงี้ เพราะใช้แล้วกั๊กไว้คนเดียวตลอดก็ไม่ดี
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
กฏของ EU มันเหมือนดาบสองคม ส่วนหนึ่งคือเท่าเทียม แต่อีกด้านคือไม่ก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆเลย อย่างเรื่องพอร์ทชาร์จเนี่ย ถ้าเกิดผมพัฒนาพอร์ทชาร์จรุ่นใหม่มา คุณภาพและและสิทธิภาพดีกว่าเดิม แต่พอจะวางขายดันต้องมาเจอกฏบังคับ type-c ก็กลายเป็นย่ำกับที่ ไม่ต้องไปต่อกันพอดี ยิ่งเห็นข่าวว่า 17 Air จะตัดพอร์ทชาร์จออก แต่สุดท้ายก็เพราะ eu นั่นแหละเลยต้องเอากลับคืนมา แล้วอย่างงี้เมื่อไรจะไปกันข้างหน้าเสียที
ต้องไปโน้มน้าวทั้ง อุตสาหกรรม ทั้ง supply chain แทบทุกวงการ ทุกผู้ผลิตให้มาใช้ของใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งก็น่าจะยาก ต้นทุนเพิ่มใครจะยอมเปลียน ใครเปิดก่อนก็ไม่ได้เพราะขายไม่ได้ ยกเว้นใส่มันสองรู ก็คงไม่มีคนทำ
อนึ่ง EU ไม่ได้บังคับว่าต้องมีแค่พอร์ตเดียว จะใส่มาหลายพอร์ตก็ได้ครับ
จริงอยู่ว่าเราแทบไม่ค่อยเห็นกันในมือถือ แต่ต่อจากนี้ไป อาจจะเห็นมากขึ้นเพราะกฎนี้ก็ได้ อย่าง MacBook เองก็ชาร์จได้ทั้ง MagSafe และ USB-C เลย
แน่นอนว่ามันเกิดยากขึ้นเพราะต้นทุนมันสูงขึ้น แต่ผมมองว่ามันไม่ได้ถึงขั้นปิดกั้นหรือไม่ก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆตามที่กล่าวซะทีเดียวครับ
อันที่จริงผมมองกลับกันด้วยซ้ำว่ากฎนี้มันทำให้งบ R&D ถูกนำไปเพื่อพัฒนาสิ่งที่ดีกว่าจริงๆ ไม่ใช่เอาไปพัฒนาเพื่อให้กำไรมากกว่าเฉยๆ ก็อาจจะเป็นการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมที่ทำให้ดีขึ้นจริงๆมากกว่าเดิมก็เป็นได้ครับ (ไม่ได้หมายความว่าการพัฒนาที่ทำให้กำไรมากขึ้นไม่ใช่นวัตกรรมนะครับ การพัฒนาสิ่งที่ดีพอๆกันแต่ต้นทุนถูกกว่าก็นับเป็นนวัตกรรมเหมือนกัน)
ผมคนนึงที่อยากให้โทรศัพท์ตัวเองมี USB-C สักสองช่องขึ้นไป orz
เห็นด้วยครับ เอาจริง ๆ พวกมาตรฐานมันไม่ได้ทำเสร็จง่ายอะไรขนาดนั้น ดูอย่าง AirTag, Apple Pay, AirDrop และอื่น ๆ ถ้า Apple รอให้มีมาตรฐานเปิดออกมาก็กลายเป็นผลเสียให้กับผู้ใช้งานได้ แทนที่จะมีวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานต้องไปรอมาตรฐานที่ยังไม่เสร็จ แถมไม่มี unfair advantage อีก แบบนี้บริษัทไหนจะมาลงทุนด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ ต้องไปไล่สร้างมาตรฐานอะไรส่งหน่วยงานนี้นั้นอีกแทนที่จะได้เห็นความก้าวหน้าอะไรใหม่ ๆ
จะว่าไป Google ก็เหมือนกัน โดยเฉพาะ google chrome สร้างของใหม่ออกมาเรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่มาตรฐานยังไม่เสร็จ หรือยังไม่เสนอไปเป็นมาตรฐานด้วยซ้ำ ของหลายอย่างใช้บน firefox/webkit ไม่ได้ด้วย แต่ไม่มีใครสนใจ
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
แต่เคสนี้มันไม่ใช่เรื่องการกำหนดมาตรฐานนะครับ Apple ยังสามารถสร้างและทำอะไรใหม่ๆได้เต็มที่เหมือนเดิมโดยไม่ต้องรออะไร แค่กั๊กให้ Apple ใช้ได้คนเดียวไม่ได้แล้วเท่านั้นเอง หรือเรื่องพอร์ตชาร์จก็ตามที่ผมบอกข้างบนว่าสามารถใส่มา 2 พอร์ตได้เลย ไม่ต้องรออะไร
ส่วนบริษัทไหนที่จะมาลงทุน.. ก็บริษัทที่อยากแซง Apple นั่นแหละครับ
Google Chrome เอง ถึงจะออกฟีเจอร์ที่ยังไม่เป็นมาตรฐาน แต่เข้าใจว่าก็ไม่ได้กั๊กฟีเจอร์เหล่านั้นให้ Google ใช้เองอย่างเดียวครับ
การกำหนดมาตรฐานเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้น หากต้องการให้บ.อื่นใช้งานร่วมกันกับอุปกรณ์/ระบบของตัวเองได้นะครับอย่างเช่น การแจ้งเตือน, การเชื่อมต่อ P2P, NFC, การจับคู่ที่ทำได้ง่าย พวกนี้ถ้าไม่มีมาตรฐานกำหนด ถ้าทำงานร่วมกันไม่ได้ ส่วนพอร์ตชาร์จน่าจะโดนแช่แข็งเทคโนโลยีไปแล้ว อนาคตจะมีพอร์ตใหม่ต้องมีพอร์ตเดิมไว้อีก การใส่ 2 พอร์ต
.
ส่วนบริษัทไหนมาลงทุน ตอนนี้ไม่น่ามีใครมีทุนมากกับทรัพยากรมากขนาดทำได้เทียบเท่า Apple นะครับ ถึงมี ไม่มีบริษัท made in EU ในนั้นแน่ ๆ แบบนี้พวกบริษัทใหม่ ๆ ใน EU คงต้องลงทุนมากให้ทำให้ได้ตามข้อกำหนดของกฎหมายซะเอง
.
ส่วน Google Chrome มีกั๊กนะครับ ที่ให้ Google ใช้เองอย่างเดียว ถ้าให้ไล่ก็ไม่หมด แต่ก็น้อย
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ขอบคุณครับที่แก้ไขเรื่อง Google Chrome ที่ผมเข้าใจผิดให้ ผมแค่ต้องการจะสื่อว่าประเด็นของคำสั่งนี้คือเรื่องของการกั๊ก ไม่ใช่เรื่องของมาตรฐาน แต่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า Google กั๊กหรือเปล่า เพราะงั้นขอแค่เข้าใจประเด็นที่ผมอยากจะสื่อก็ถือว่าโอเคแล้วครับ
ส่วนเรื่องมาตรฐานตอนแรกผมนึกว่าคุณหมายถึงมาตรฐานกลางที่หลายๆค่ายต้องตกลงกันตอนร่างหรือตอนแก้ไข (ซึ่งผมต้องการจะบอกว่ามันไม่จำเป็นสำหรับคำสั่งนี้)
แต่ถ้าคุณหมายถึงมาตรฐานที่ให้อุปกรณ์ทำงานร่วมกันเฉยๆ... ต่อให้กั๊กไว้ให้แค่ใช้ได้แค่ของ Apple เอง มันก็ต้องมีมาตรฐานที่ใช้กันภายในอยู่แล้ว แน่นอนว่าการเปิดออกมาให้คนอื่นใช้ก็ต้องปรับปรุงหลายๆอย่าง แต่ถึงอย่างนั้น Apple ก็สามารถออกแบบเองได้ตามใจโดยไม่จำเป็นต้องรับฟังหรือร่วมตกลงกับบริษัทอื่นครับ เพราะงั้นผมจึงมองว่ามันไม่ได้เป็นการปิดกั้นอะไร Apple เลย (แต่มันชะลอแน่นอนครับ)
เรื่องพอร์ตชาร์จ เรามีความเชื่อที่ต่างกันครับ คุณเชื่อว่ามันคือการแช่แข็ง แต่ผมมองว่ามันเป็นการควบคุมทิศทางการพัฒนา เพื่อให้ขัดเกล่าและพัฒนานวัตกรรมที่ดีกว่าเดิมจริงๆ (เพราะถ้าไม่ดีกว่าเดิมคนก็ไม่ใช้พอร์ตใหม่) มันจึงไม่ใช่การแช่แข็ง แต่ผมก็ไม่มีความรู้อะไรที่จะเปลี่ยนเชื่อความเชื่อของคุณอยู่ดี ก็ต้องรอดูกันต่อไปครับ
และเรื่องสุดท้าย คุณเชื่อว่าไม่มีบริษัทไหนอีกแล้วที่สามารถพัฒนานวัตกรรมได้นอกจาก Apple (ก็คือถ้าขัดขวาง Apple = ขัดขวางนวัตกรรมของโลกนี้) แต่ผมไม่เชื่อแบบนั้นครับ ผมเชื่อว่านวัตกรรมที่ดีกว่า ไม่จำเป็นต้องมีต้นทุนที่สูงกว่าเสมอไป และเชื่อว่ายังมีบริษัทที่ถ้าได้รับโอกาส ก็จะสามารถสร้างนวัตกรรมออกมาได้อยู่ครับ
เพราะงั้นผมจึงมองว่าระหว่างการขัดขวาง Apple และเปิดโอกาสบริษัทอื่นได้พัฒนา กับการปล่อยให้ Apple พัฒนาอย่างสะดวกสบายเพียงแค่บริษัทเดียว อย่างแรกมันน่าจะส่งผลดีมากกว่าครับ
แต่ก็เช่นเดิม ผมไม่มีความรู้มากพอจะโน้มน้าวคุณครับ ก็ถือว่าเรามาแลกเปลี่ยนความเชื่อและมุมมองกัน และรอดูต่อไปครับว่าจะเป็นอย่างไร
สำหรับ Apple เวลาพูดถึง open source หรือ open standard จะเอาไว้ใช้ในงาน developer เพื่อเชื้อเชิญ developer ให้เข้ามาร่วมพัฒนา ร่วมลงทุน และตั้งต้นในการสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้กับตัวเอง
แต่พอผ่านไปสักระยะ ทุกอย่างไปได้ด้วยดี กลายเป็นต้องพึ่งพา Apple และรอว่า Apple จะตัดสินว่าสิ่งไหนทำได้ หรือทำไม่ได้ในระยะหลังๆ พอมีส่วนแบ่งตลาดในระดับพึ่งพอใจ ก็จะพบว่ามี api หรือ feature ระดับลึกหลายตัวที่ไม่เปิดให้บริษัท partner ใช้งาน พบข้อจำกัดต่างๆ มากมาย เพื่อที่จะสร้างสินค้า-บริการให้สามารถแข่งขันกับสินค้าของ Apple เองได้
สุดท้ายลูกค้าก็ได้รับผลกระทบไป เพราะต้องพึ่งพาสินค้าของ Apple ที่เข้าถึง api ได้มากกมาย ดู just work กว่า ทั้งที่หลายๆ บริษัทที่เป็น partner ก็ทำได้ แค่เปิดให้เข้าถึง api
สรุป นวัตกรรมมันเกิดจากการเปิด หรือปิดกันแน่นะ
บางอย่างของ Apple ก็ควรจะ Open จริงๆ เช่น การส่งไฟล์แบบไร้สาย จะส่งผ่านบลูทูธธรรมดาก็ได้
จะได้เห็น 3rd Party Magsafe ชาร์จได้มากกว่า 15 วัตต์แล้วสินะ (เฉพาะใน EU)
แนวคิดเหมือนที่สั่งให้โซนี่จ่ายค่าปรับ เพราะสินค้าเติร์ดปาร์ตี้ที่โซนี่ก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วยใช้งานไม่ได้ โซนี่ต้องมานั่งดูให้สินค้าคนอื่นใช้งานได้ แค่คิดก็ปวดหัวแล้ว
ระบบภายในสร้างนวัตกรรมง่ายกว่า มีปัญหาก็แค่ปรับปรุงและทดสอบสินค้าของตัวเองให้ใช้งานได้จบ ถ้ามีเจ้าอื่นมาใช้งานด้วย ปรับนิดนึงอาจจะมีปัญหาตามมาเป็นขโยง ต้องไปตามเจ้าต่างๆมาทดสอบ หรือต้องแช่แข็งระบบไว้ อย่าไปทำอะไรมัน
สุดท้ายเป็นการแช่แข็งนวัตกรรม จะทำอะไรสร้างอะไร ต้องให้ทุกคนมาประชุมพร้อมกัน
ทำไมยุโรปตามไม่ทัน แต่เกาหลีใต้และจีนทำได้ มันเกี่ยวกับแนวคิดพวกนี้มั้ย
ผลเสียง ?