หน่วยงานด้านป้องกันการผูกขาดของ EU ซึ่งมีผลงานโดดเด่นมาแล้วในการปรับบริษัทไอทีอเมริกัน ไม่ว่าจะเป็นไมโครซอฟท์หรืออินเทล กำลังผลักดันกฎระเบียบใหม่ที่มีชื่อว่า Digital Agenda ซึ่งปรับนิยามของคำว่า "ผูกขาด" เสียใหม่ จากเดิมที่บอกว่าต้องเป็นเจ้าตลาด (dominant) กลายเป็นมีส่วนแบ่งในระดับที่มีนัยสำคัญ (significant) ก็ถือว่าผูกขาดแล้ว
กฎนี้กำหนดให้ EU เข้าไปแทรกแซงผู้เล่นที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงๆ ให้เพิ่มความเข้ากันได้ (interoperability) สำหรับคู่แข่ง เพื่อสร้างการแข่งขัน
ถ้ากฎนี้สามารถออกได้สำเร็จ รายที่คาดว่าจะโดนแน่ๆ คือแอปเปิล ทั้งในกรณีของ Flash และ iTunes/Palm อันโด่งดัง ที่ผ่านมาทาง EU ไม่สามารถทำอะไรแอปเปิลได้เพราะแอปเปิลยังไม่อยู่ในสถานะที่ dominant แต่ถ้าเป็น significant ก็เข้าข่ายชัวร์ๆ
ที่มา - DailyTech
Comments
ข่าวต่อไป "Apple ฟ้องหน่วยงานป้องกันการผูกขาด ทำตัวผูกขาดการป้องกันการผูกขาดซะเอง"
เหมือนทหารผูกขาดอาวุธสงคราม รัฐสภาผูกขาดการออกกฎหมายป่าวครับ
ลายเซ็นยาวเกินไปครับ
พูดได้น่าคิดมากครับ = =
คราวนี้คำว่า Significant คงมานั่งตีความหมายในศาลกันมันส์
@TonsTweetings
ชอบรูปข่าว โดนแอปเปิลล่ามโซ่ไว้ อิอิ
นี่อาจเป็นเหตุผลว่าทำไม Adobe จึงไม่ถอด iPhone packager ออกจากสายผลิตภัณฑ์ของตัวเองซักที ถ้าดำเนินการเป็นผล Adobe อาจเป็นรายต่อไป เพราะ Flash จะมีคุณสมบัติเป็น significant แทน :P
Flash จะเป็น significant ตรงไหนหรอครับ ผมนึกไม่ออก
เพราะมันจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่เข้าถึงแพลตฟอร์ทส่วนใหญ่ได้มากที่สุดหน่ะครับ การที่ Apple กัน Flash ออกไปก็เหมือนกับเบรค Adobe ไม่ให้กระจายไปอยู่บนระบบปฏิบัติการมือถือใหญ่ๆ ได้ดีที่สุด (ตอนนี้กระจายไปบน Android และกำลังจะไป Windows Phone 7 และ Meego)
ที่ผมแสดงความเห็นว่า Flash จะเข้าข่าย significant คือมันจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่มีข้อได้เปรียบอย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะจะกลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ สำหรับการลงทุนพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือครับ สำหรับด้านผู้ใช้งานทั่วไปคงไม่ได้รู้สึกแตกต่างอะไร
แต่สุดท้ายก็คงต้องเข้าสู่ยุคของ HTML5 หล่ะครับ แต่ Adobe ก็คงทำอะไรสักอย่างเพื่อให้เทคโนโลยีของตัวเองส่งต่อไปยังยุคต่อไปได้
ผมว่านับส่วนแบ่งตลาด RIA (เฉพาะ RIA) นี่ Flash ถือว่าเข้าข่าย dominant เสียด้วยซ้ำนะครับ (95%) เพราะคู่แข่งอย่าง Silverlight หรือ JavaFX (ยังมีใครสนไหมนี่?) แทบไม่มีส่วนแบ่งตลาดเลย
แต่โอเค ถ้านับกว้างกว่า RIA มันก็จะมีคู่แข่งอย่าง HTML5 เข้ามา ซึ่งมีน้ำหนักพอควร อาจลดน้ำหนักของ Flash ลงมาเหลือแค่ significant
เพียงแต่เรื่องการผูกขาดของ Flash มันไม่ค่อยมีปัญหา เพราะ Adobe ไม่ได้เป็น content provider เอง ทำให้ไม่กีดกันตัว Flash เท่าของแอปเปิล
ถ้าจะโดนกรณีนี้จริงๆ (คือตัวเทคโนโลยี Flash) อย่างเก่ง Adobe ก็เปิดซอร์สของ Flash Player ออกมาบางส่วน (โดยอ้างว่าส่วนที่เหลือไม่ใช่ของตัวเอง) น่าจะเอาตัวรอดได้
ส่วนที่ Flash ผูกขาดมากกว่าคือส่วนของ content เช่น (สมมติ) YouTube อาจโดนสั่งว่าต้องให้บริการวิดีโอแบบอื่นนอกจาก Flash ด้วย ซึ่งตรงนี้คนโดนก็ไม่ใช่ Adobe อยู่ดี
JavaFX ดูดีจริงๆนะครับ
แต่มาช้ากว่า flash เยอะไปหน่อย
โดยส่วนตัวผมว่า Flash ง่ายกว่าเยอะครับ
FX นี่ดูแล้วงงๆ
ผมวางแผนจะใช้ JAVAFX เป็น UI ของ Desktop App
น่ะครับ สวยดี ไม่รู้จะดีรึปล่าว
ตอนนี้ทำแต่ DB app แถมใช้ delphi มาตลอด
นึกไม่ออกเหมือนกัน
เห็นด้วยในแง่การเพิ่ม interoperability
ผู้บริโภคจะได้มีทางเลือกที่ไม่ต้องผูกติดกับสินค้าใดสินค้าหนึ่งมากเกินไป
คำสั่งสวรรค์
โอ้ ... +1
งานนี้ Flash ตายก่อนแอปเปิ้ลหรือเปล่า เพราะกินส่วนแบ่งตลาดเยอะกว่า
เหมือนหลายคนยังไม่รู้ว่า มีส่วนแบ่งตลาดเยอะไม่ได้แปลว่าผูกขาด มันขึ้นอยู่การกีดกันคนอื่นต่างหาก
ใช่แล้วการผูกขาด ต้องมีส่วนแบ่งตลาดเยอะและกีดกันคนอื่นไปพร้อม ๆ กัน เพราะถ้ากีดกันคนอื่นแต่ส่วนแบ่งตลาดน้อยก็ผูกขาดไม่ได้
ก็ไม่เชิงครับ คือมันจะมีส่วนที่วัดด้วยส่วนแบ่งตลาดอยู่ด้วยเหมือนกัน
ผูกขาดกับส่วนแบ่ง มันเ้ป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน
โดยส่วนตัวผมว่ามันไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกันนะครับ
สมมุติมีร้านส้มตำ 5 ร้าน แต่มีร้านนึง ที่คนกินมากเป็นพิเศษ แบบนี้ไม่ได้ถือว่าผูกขาด
แต่หากว่าวันนึง ร้านส้มตำบอกว่า ถ้าจะจอดรถบนถนนเส้นนี้ ต้องกินร้านชั้นเท่านั้น แบบนี้ก็เข้าข่ายผูกขาดไม่ใช่หรอครับ
อันนี้ออกตัวก่อนว่าผมก็ไม่แม่นนะครับ
คือตาม common sense แล้ว ตัว "พฤติกรรม" การผูกขาดก็เป็นแบบที่คุณว่ามานั่นล่ะครับ
แต่ในเชิงของกฎหมาย กฎระเบียบ หรือกระบวนการทางกฎหมายที่ต่อต้านการผูกขาด เค้าจะต้องดูส่วนแบ่งตลาดมาประกอบด้วย เช่น ถ้าผู้มีส่วนแบ่งตลาด 10% ทำการผูกขาด ก็จะไม่มีใครทำอะไร แต่ถ้าส่วนแบ่งตลาด "มากพอ" (significant ซึ่งแต่ละประเทศ แต่ละอุตสาหกรรมต้องไปนิยามเลขกันเอง) แล้วทำแบบเดิม กฎหมายต่อต้านการผูกขาดถึงจะสามารถบังคับใช้ได้น่ะครับ
ที Microsoft ยังโดนเรื่องIE ทั้งๆที่ไม่ได้ห้ามลง browser อื่นแท้ๆ
นี่ถ้า Apple ไม่โดนก็แปลก