ถึงแม้อินเทลจะเพิ่งเปิดตัวชิปตระกูล Sandy Bridge ในงาน CES 2011 แต่ล่าสุดอินเทลก็ได้เปิดเผยในงาน CES ว่าชิปรุ่นถัดไปที่จะปรากฏโฉมในปลายปีนี้จะสนับสนุนไมโครซอฟท์ DirectX 11 ด้วย
DirectX 11 เป็นซอฟต์แวร์ที่อยู่เบื้องหลังการประมวลผลภาพและเสียงเมื่อมีการเล่นเกมหรือมีการประมวลผลด้านกราฟิกบน Windows 7 โดยเวอร์ชันล่าสุดนี้มีฟีเจอร์ Tessellation (ฟีเจอร์ใน GPU ที่ช่วยประมวลผลให้พื้นผิวภาพมีความเรียบเนียนยิ่งขึ้น) Multi-Threading (ฟีเจอร์กระจายการประมวลผลลงซีพียูแบบมัลติคอร์) DirectCompute (ฟีเจอร์ที่ให้นักพัฒนาใช้ GPU ประมวลผลทั้งแอพพลิเคชันด้านเกมและมิใช่ด้านเกม)
ชิปตระกูล Fusion ของเอเอ็มดีที่เพิ่งได้รับการเปิดตัวในงาน CES เช่นกันนั้นสนับสนุน DirectX 11 แล้ว แต่ชิปตระกูล Sandy Bridge นั้นสนับสนุนแค่ DirectX 10.1 เท่านั้น
Comments
amd ใหม่ๆรองรับเกือบทุกรุ่นละนะ
ขอชมก่อนอันดับแรก
คุณ nuntawat ครับ
ผมชอบแนวการเขียนข่าวรอบนี้มากเลย ภาษาไทยที่ใช้(พวกคำแปลต่างๆ) เป็นภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายมากกว่าเดิมเยอะครับ
แล้วก็ไม่ใช่คำแปลมากเกินไป คำบางคำใช้ทับศัพท์ไปช่วยให้อ่านแล้วลื่นไหลมากขึ้นเยอะครับ
ชอบมากตรงคำแปล "Multi-Threading"
อ่ะเข้าเนื้อข่าวต่อ ช่วงนี้รู้สึกว่า Intel จะใหญ่เกินแล้วมั้ง พอใหญ่แล้วก็เริ่มอืดอาด หลายๆ ความเห็นในข่าวก่อนๆ บอกว่าอาจหมดยุคของ Intel แล้ว ผมก็เริ่มเห็นอนาคตแบบนั้นแล้วเหมือนกัน
เห็นด้วยครับ มีคำแปลแบบนี้จะได้คนที่ไม่ค่อยรู้เรื่องจะได้รับความรู้ไปด้วย
เดี๋ยวจะมีพวก 'คำแพวกนี้ไม่ต้องแปลก็ได้ครับ ใครๆ ก็รู้กันอยู่แล้ว' 'คนอ่าน BN ไม่ใช่คนธรรมดากันอยู่แล้ว รู้ดีแล้วครับ' ฯลฯ ออกมาอีก
lewcpe.com, @wasonliw
อันนี้ผมขอชี้แจงส่วนของผมนะ
ที่ผมบอกว่าชอบแนวทางการแปลรอบนี้ ไม่ได้หมายความว่าชอบที่เขียนอธิบาย
แต่ผมชอบว่าใช้ภาษาไทยแต่พอเหมาะ ไม่ได้แปลเป็นไทยหมดทุกคำ เพราะบางคำที่เป็น Technical Term ผมชอบให้ละไว้เป็นทับศัพท์มากกว่า
และบางครั้งการแปลของคุณ nuntawat นั้นจะแปลแบบเป็นภาษาไทยหมดเลย ซึ่งผมมองว่าคำแปลที่เป็นไทยบางครั้งมันแทบจะหาความหมายหรือสื่อสารไม่ได้เลยครับ
ซึ่งครั้งนี้แม้จะแปลเป็นไทย แต่ใช้รูปแบบเป็นการอธิบายแทนซึ่งผมว่าดูดีกว่ามาก เพราะมันสื่อความหมายได้มากกว่าครับ :)
+1 ด้วยครับ
ชอบแนวการเขียนข่าวแบบนี้ครับ อ่านง่าย เข้าใจง่าย แถมสั้นๆ กระชับซึ่งแสดงว่าคนเขียนย่อยข่าวมาแล้ว คนอ่านทั่วไปก็เข้าใจไม่ใช่แต่ geek ที่เข้าใจ แนวทางแบบนี้เยี่ยมครับ
ส่วน intel ถึงเรื่องนี้จะช้าตามหลัง amd แต่พอรุ่นใหม่ออกมาก็ขายดีเหมือนเดิมเหมือนตอน x86-64 แต่ยังไงผมว่าคู่แข่งที่น่ากลัวไม่ใช่ amd (รายนี้ก็แพ้ภัยตัวเอง) แต่มันคือ arm ถ้าอินเทลยังทำอะไรมาสู้ตรงนี้ไม่ได้อนาคตน่ากลัวแน่
Snapdragon,Scorpion ของ Qualcom กับ Tegra ของ Nvidia กำลังมาแรงบนอุปกรณ์มือถือต่างๆ ครับ ไม่รู้ตอนนี้ Intel กำลังแอบซุ่มทำอะไรอยู่หรือเปล่า
เห็นด้วยที่อธิบายให้เข้าเพิ่มขึ้น +ร้อย+พัน แถมจุ้บ1 ที^.^
+1 เป็นกำลังใจให้ครับ
3D Now ล่ะ
ผิวภาพนี่ Texture ใช่ไหมครับ
ผมสงสัยเรื่อง "เกม" กับ "เกมส์" จำได้ว่าถ้าทั่วไปน่าจะใช้ "เกม" แต่ถ้าเป็นชื่อเฉพาะเช่นงานแข่งขันกีฬา "บล็อกนั้นเกมส์" ถึงจะใช้ "เกมส์"
รึผมเข้าใจผิดมาตลอด?
แก้แล้วครับ :)
จริง ๆ ต้องใช้เกม เสมอนะครับ เพราะภาษาไทยไม่มีการแบ่งนามเอกพจน์ กับพหูพจน์ หากจะเป็นคำทับศัพท์ก็จะนำรูปเอกพจน์มาใช้ ยกเว้นการตั้งชื่อด้วยภาษาอังกฤษแล้ว (จะถือเป็นคำเฉพาะ หรือชื่อเฉพาะ) จึงเขียนตามการอ่าน เป็น เกมส์
เอาจริง ๆ แล้ว สำหรับ DirectCompute นั้น มันไม่ได้สำคัญที่เป็น "เกม" หรือไม่ใช่ "เกม" ครับ ประเด็นคือมันเป็นการนำ GPU ไปประมวลผลในลักษณะที่ไม่เกี่ยวกับกราฟฟิคครับ
ส่วนการนำ GPU ไปประมวลผลด้านกราฟฟิค ก็คือ DirectGraphic (หรือชื่อเก่าคือ Direct3D) ซึ่งจะเอาไปใช้กับเกมหรือไม่ก็ได้ครับ นึกภาพ 3DS Max เรนเดอร์ภาพบนจอด้วย Direct3D นะครับ (โปรแกรมนี้ปรับไปใช้ D3D หรือ OpenGL ก็ได้น่ะครับ)
เห็นในวิกิพีเดียนานแล้วอะ.. ตั้งแต่ก่อน sandy bridge ออกอีก
แต่สงสัยว่าสุดท้ายแล้วมันจะแทนการ์ดแยกได้จริงๆ หรอ มันจะเอามาใช้ทำงานได้จริงๆ หรอ..
รอดูต่อไป = ='
รีวิวจาก vmodtech วัดกับ HD4290 (Graphic Score)
Sandy Bridge (SB) สามารถแทนการ์ดจอได้ครับผม โดยใน SB มี GPU ตระกูล Intel HD Graphics 3000 แนบมาด้วย (เหมือนจะมีรุ่นที่เป็น 2000 ด้วย) แต่ก็ไม่ได้ออกแบบมาแทนการ์ดจอสำหรับคอเกม ดูรีวิว Intel HD Graphics 3000 ได้ใน notebookcheck.net เขากล่าวไว้ 3 แนวทาง คือ 1) ใช้ GPU ใน SB อย่างเดียว (ไม่พึ่งการ์ดจอ) 2) ใช้การ์ดจอ แล้วปิดฟังก์ชันของ GPU ใน SB 3) ใช้ GPU ใน SB ร่วมกับการ์ดจอของ Nvidia ผ่าน Optimus
ผมคิดว่า GPU ใน SB ออกแบบมาเพื่องานทั่วๆไปหรือที่เรียกว่า general purpose GPU (GPGPU) โดยข้อดีของ SB (รวมถึง AMD Fusion) ที่เหนือกว่าการใช้การ์ดแยกก็คือ GPU กับ CPU มันอยู่บน die เดียวกัน และยังใช้หน่วยความจำบางส่วนสำหรับแชร์ข้อมูลหรือตัวแปรระหว่าง GPU และ CPU (เช่น Cache L3 ใน SB) ซึ่งข้อดีทั้งสองมีส่วนช่วยเพิ่มความเร็วหรือลดคอขวดที่พบเห็นได้ใน GPGPU แบบใช้การ์ดจอแยกครับ
My Blog
ปัญหาคือ SB ไม่รองรับ DirectX11 (นั่นก็รวม DirectCompute ไปด้วย) ดังนั้น GPGPU ก็เป็นอันตกไป ......
ก็ไม่เชิงเพราะมันดันรองรับ OpenCL 1.1 แฮะ แต่ผมไม่ทราบนะว่ามันจะทำงานในคอร์ไหน เกิดมันทำงานบนคอร์ของ CPU ก็จบกัน (แต่ถ้ามันทำงี้จริงคงไม่มีหน้ามาโฆษณาว่ารองรับ OpenCL 1.1 หรอกมั้งครับ ?)
(ว่าแต่ reply นี้มี 1 เยอะแฮะ)
จากงานวิจัย GPGPU ที่ผ่านๆมา มีหลายงานเขาไม่ได้พึ่ง DirectX 11 รวมไปถึง DirectCompute น่ะครับ เรื่องการนำ processor เฉพาะทางมาใช้แบบทั่วไปมีให้เห็นมาแต่ยุค FPGA แต่ตัวการ์ดจอมันมีให้เห็นทั่วไปกว่าและมีประสิทธิภาพพอตัวเลยได้รับความสนใจมากกว่า คือ วิธีการเขียนโปรแกรมคงไม่ตรงไปตรงมาเท่า OpenCL, CUDA และ DirectCompute โดยเฉพาะทาง bioinfo เขาใช้ OpenGL ก็มีเยอะครับ อย่างไรก็ดี ผมคาดว่า Intel เองคงมี SDK หรือ port firmware ที่หาเรื่องให้คนเข้ามาเล่น GPGPU ใน SB จนได้ครับ (แต่เมื่อไหร่ก็อีกเรื่องหนึ่ง)
ผมจำชื่อเปเปอร์ที่พูดถึงแนวทาง GPGPU ที่ใช้กันมาแต่อดีตถึงปัจจุบันไม่เจอครับ แต่ Emerging technology about GPGPU ของ E. Wu และ Y. Liu ก็กล่าวไว้ไม่มากก็น้อย ถ้าสนใจลองอ่านได้ แต่ใน wikpedia ก็กล่าวไว้ระดับนึงอยู่ครับ
My Blog
DX11 คงเป็นช่วงขา Tock ของ Sandy bridge แหงๆ
ถ้ามันยังใส่ GMA ทุกรุ่น ผมคงได้หนีไป Fusion ละ
ผมว่า Intel ก็ช้าแบบนี้ทุกที ตั้งแต่ 815GM แล้วมั้ง ?
cpu i5 750 ของชั้นรับเเค่ dx10 หรอเนี้ย!!???
i5 750 ไม่มีชิปกราฟฟิกในตัวนะครับ ถ้ามีก็มากับเมนบอร์ด
Achievement Unlocked: Being a Blognone's Writer
ผมว่าเอา dx9 เก่าๆ นี่เล่น 3d ให้ลื่นก่อนได้ไหม intel
Ton-Or
กั๊กไม่ว่า แต่เปลี่ยน socket บ่อยเหลือเกิน รอบหน้าจะเปลี่ยนอีกไหม
มันเป็นวิธีดูดเงินน่ะครับ ดูดจากผู้ใช้ไม่พอ แล้วก็ไปดูดค่า Knowhow จากผู้ผลิต Mainboard ด้วย
ตอนที่ socket 1156 ออกใหม่ ๆ ตอนนั้นมีคนเถียงกันแทบตาย
ว่า 1366 กับ 1156 ตัวไหนมีอนาคตดีกว่ากัน..
สุดท้ายก็ดับอนาถทั้งคู่ เหอ ๆ (คือมันไม่มี CPU ให้อัพเลย รุ่นใหม่มันก็เปลี่ยน socket ซะ)
ถ้าออกเฉลี่ย 3 ปี 1 รุ่น ให้ได้อัพเกรด CPU กันบ้างยังพอรับได้
แต่หลัง ๆ นี่อัพ CPU กันทีนึงคือ เปลี่ยนบอร์ดกันเลย..
คิดว่าเพราะส่วนนึง CPU เริ่มมาถึงทางตันด้านอัพความเร็วสัญญาณนาฬิกาด้วย
intel เลยเปลี่ยนแผนจากเดิมที่กั๊กความเร็ว ค่อย ๆ ปล่อยรุ่นช้า ๆ มาก่อน
มาตอนนี้รุ่นนึงเลยไม่มีตัวเลือกมาก เพิ่มความเร็วกันทีก็เปลี่ยนสถาปัตยกรรมกันเลย
จุดสำคัญคือช่วงหลัง MMU (ส่วนควบคุมหน่วยความจำ) ต่อตรงเข้ากับ CPU ครับ ดังนั้นเปลี่ยนรุ่นแรมก็ต้องเปลี่ยน CPU/socket ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่มี north bridge มาคั่นไว้ให้ (CPU รับแรมได้หลายแบบ และแรม ก็รับซีพียูได้หลายรุ่น)
lewcpe.com, @wasonliw
+2 informative
ข้อดีคือบอร์ดถูกลง แต่ต้องเปลี่ยนบอร์ดบ่อยขึ้นใช่ไหมครับ :)
ต่อตรงมีผลต่อความเร็วด้วยครับ