ผลิตภัณฑ์อีกตัวหนึ่งของกูเกิลที่สร้างความขัดแย้งอย่างมากคือ Google Books (เดิมชื่อ Google Book Search และ Google Print) แม้จะได้รับแรงสนับสนุนอย่างดีจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก แต่กลับมีปัญหากับเจ้าของลิขสิทธิ์และสำนักพิมพ์จนเกิดคดีฟ้องร้องโดยสมาคมนักเขียนของสหรัฐ แนวทางแก้ไขของกูเกิลคือ จ่ายเงินให้สำนักพิมพ์เพื่อยุติคดีในสหรัฐ
แต่ความเคลื่อนไหวล่าสุดของคดีนี้คือศาลเขตนิวยอร์กได้สั่งระงับข้อตกลงยอมความของกูเกิลกับสมาคมนักเขียน โดยศาลให้เหตุผลว่าเงื่อนไขในข้อตกลงเอื้อประโยชน์แก่กูเกิลมากเกินไป เพราะเมื่อกระบวนการยอมความเสร็จสิ้น กูเกิลจะกลายเป็นผู้ผูกขาดตลาดอีบุ๊กทันที กีดขวางไม่ให้คู่แข่งสแกนหนังสือแบบเดียวกันได้
การตัดสินของศาลครั้งนี้ทำให้ Google Books ยังมีสถานะเป็นมหากาพย์ต่อไปครับ
ที่มา - CNET
Comments
ผมเพิ่งรู้สึกว่าผลงานส่วนใหญ่ของ google เป็นการหาเงินจากผลงานคนอื่น
ตรงที่มีแสง
Google Books เป็นแผน scan หนังสือทั้งหมดที่มีแล้ว OCR เพื่อทำให้ค้นหาใด้ครับ เมื่อหาแล้วก็จะเช็กว่ามีลิขสิทธ์หรือไม่ ถ้ามีก็พาไปยังร้านขายหนังสือของ Google แล้วโหลดเป็น ebook ครับ
ปัญหาคือตอน scan นั้นโรงพิมพ์ไม่ใด้รับรู้ด้วย มีคนเสียผลประโยชน์หลายคน โดยเฉพาะผลประโยชน์เกี่ยวกับหนังสือที่หมดอายุลิขสิทธ์แล้ว เนื่องจาก Google จะแจกฟรีหนังสือที่หมดลิขสิทธ์ครับ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
โดยมีโฆษณาหนังสือเล่มอื่นด้านขวา ตรงกลาง และข้างล่างของหน้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหน้านั้นๆ และประวัติการอ่านหนังสือเล่มอื่นๆ ของเรา :P
ตรงที่มีแสง
กรณีหนังสือหมดลิขสิทธิ์นี่เข้าใจว่าตัดไปนะครับ เป็น public domain จะใช้อย่างไรก็ได้อยู่แล้ว
แต่หนังสือมีลิขสิทธิ์ กูเกิลอ้างว่ากูเกิลให้ผู้ใช้ดูได้เพียงบางส่วน (ตรงที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่ค้น) จึงน่าจะอยู่ในข่ายของการใช้ที่เป็นธรรม ส่วนนี้นักเขียนไม่เห็นด้วย
จริงๆ แล้วผมค่อนข้างเห็นด้วยว่า Authors Guild ตัวแทนฟ้องตอนนั้น ยอมความกับกูเกิลในรูปแบบที่เป็นประโยชน์กับกูเกิลมากเกินไป คือถ้าได้แค่นี้ สู้ว่าสู้คดีต่อให้รู้ดำรู้แดงน่าจะดีกว่า
lewcpe.com, @wasonliw
เยี่ยม
มองในแง่ผู้บริโภค ได้ประโยชน์ล้วนๆ
แต่ที่เห็นฟ้องร้องกัน เพราะขาใหญ่ในปัจจุบันเสียประโยชน์มากกว่า
ตัวอย่างที่ดีของศาล ที่ใช้ดุลยพินิจ เพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง
ความยุติธรรมยังคงอยู่คู่ศาล