ข่าวต่อเนื่องจาก ITC ตัดสินเบื้องต้นระบุ HTC ละเมิดสิทธิบัตรแอปเปิลจริง มีคนไปค้นข้อมูลของสิทธิบัตร 2 ใบที่เป็นปัญหา พบว่าถูกยื่นจดทะเบียนมาตั้งแต่ปี 1994 และ 1996 หรือ 17 ปีก่อน
สิทธิบัตรใบแรกหมายเลข 6,343,263 ชื่อว่า "Real-time signal processing system for serially transmitted data" เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลระหว่างเครือข่าย โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับเครือข่ายไร้สายโดยตรง (แปลว่าอุปกรณ์ทุกชนิดที่รับ-ส่งข้อมูล ก็มีโอกาสละเมิดสิทธิบัตรชิ้นนี้ ถ้ายึดตามคำตัดสินของ ITC)
สิทธิบัตรใบที่สองหมายเลข 5,946,647 ชื่อว่า "System and method for performing an action on a structure in computer-generated data" เกี่ยวกับการสั่งงานอุปกรณ์ต่างๆ ให้ประมวลผลหรือทำงานกับข้อมูล (เช่น สัมผัสจอโทรศัพท์เพื่อเปิดอีเมล)
Florian Mueller ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรให้ความเห็นว่า สิทธิบัตรเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีของแมคอินทอช และเมื่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์เริ่มหลอมรวมเข้าหากัน ทำให้สิทธิบัตรเหล่านี้สร้างปัญหากับอุตสาหกรรมโทรศัพท์ทันที
เว็บไซต์ LA Times ได้ตั้งคำถามว่า คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนเกือบทุกรุ่นทำงานใต้สิทธบัตรสองชิ้นนี้ การที่ ITC ตัดสินคดีให้เป็นประโยชน์กับแอปเปิล จะมีผลกระทบต่อผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายอื่นๆ นอกจาก HTC ด้วยหรือไม่
ที่มา - LA Times
Comments
เข้าข่าย Patent Troll ไหม XD
ขึ้นกับคนตอบน่ะครับ รอดูได้เลยในคอมเมนต์ของข่าวนี้
คุณ mk ทำงานไม่ครบ!
ปกติต้องมี comment ดัก... ฮา
เท่าที่เห็นใน BN ส่วนใหญ่จะมอง Patent Troll กัน 2 แบบนะครับคือ
ก็แล้วแต่มุมมองครับ
ขอแอบโชว์โง่นิดนึง - -' สงสัยมานานแล้วคำว่า "Patent Troll" มันพอจะนิยามสั้นๆ แปลว่าอะไรหรอครับ
เกรียนลิขสิทธิ์ มั้งครับ
สัมผัสจอเพื่อเปิดอีเมล??? แค่นี้ยังต้องจดสิทธิบัตรกันด้วยเหรอ???
แบบนี้ต่อไปแอปเปิ้ลคงจด สัมผัสจอเพื่อกดเบอร์โทร ละมั้ง ต่อไปยี่ห้ออื่นคงทำมือถือแบบไม่มีจอ
ถ้าแอปเปิลไม่จดแล้วคนอื่นจดล่ะ?
ถ้าระบบมันห่วยขนาดให้จดได้ยังไงมันก็ต้องมีซักคนไปจดครับ ในเมื่อผมอยากรักษาสิทธิ์ผมก็ต้องจดไว้ เรื่องนี้ผมโทษระบบมากกว่าแอปเปิล
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ถ้าจดเพื่อแค่รักษาสิทธิ์ ก็ไม่น่าเอามาไล่ฟ้องคนอื่นนะ ผมว่า
ศาสดาไม่ใช่นักบุญ(ฮา)
เอาจริงผมคงใช้คำผิดไปหน่อย น่าจะเปรียบเป็น ในเมื่อกฎหมายให้สิทธิผมทำ ผมคงใช้กฎหมายเป็นประโยชน์กับตัวเองให้มากที่สุดล่ะ อาจจะมองว่าเห็นแก่ตัว แต่ในโลกแบบนั้น(โลกสงครามสิทธิบัตร) ใครๆ เค้าก็ทำกัน ผมคงไม่นั่งเป็นพระเอก
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ใช่ ระบบ มันห่วย (แล้วบอกว่าประเทศเจริญแล้ว) ผมว่า เรื่องปัญญาอ่อน ก้อให้จด เยอะเรื่องเหลือเกิน
ต่อไป ถ้ามีคนจดใช้ ปากพูดโทรศัพท์เป็นสิทธิบัตร ก้อคงสนุก
Red Ocean ไม่มีอะไรจะแข่งขันละ แข่งฟ้องหาเงินกันไป
ทำแบบไม่มีจอ<< ฮาจ้า
ผมจำได้แบบไม่แน่ใจว่า Patent มันมีอายุ 20 ปี ถ้าเป็นแบบนั้น ตอนนี้ 17 ปีก็ใกล้หมดอายุแล้ว
เมืองไทย สิทธิบัติการประดิษฐ์ คุ้มครอง 20 ปี สิทธิบัตรการออกแบบ 10 ปี ครับ
เห็นเค้าลางว่าจะมีฟองสบู่
ของแบบนี้คิดได้สองแง่ นะ
ผมว่ากฏประเภทนี้ ควรจะ มีกำหนดเวลาไว้สักหน่อยว่าทำได้จริง ไม่ใช่ว่า จดไว้ดักหน้าแล้วอีก สิบปีมาทำ
แต่ก็นั่นแหละ
ระดับเจ้าของเทคโนโลยีที่ สามารถทำเดโมได้ตลอดเวลา ก็คงจะทำชุดเดโมมาสักชุดแล้วจดทะเบียนว่าทำได้จริง
สิทธิบัตรของฝรั่ง ส่วนใหญ่เป็นความลับหรือเปล่าครับ ไม่งั้นก่อนจะทำอะไรสักอย่างต้องไปค้นก่อน
สิทธิบัตรมีการหมดอายุที่เร็วกว่าทรัพย์สินทางปัญญาอื่นครับ เท่าที่เข้าใจคือประมาณ 20 ปี (เทียบกับลิขสิทธิ์ที่ได้ตลอดชีวิตบวกเวลาหลังตายไปอีกหลายสิบปี)
และข้อมูลสิทธิบัตรนั้นไม่เป็นความลับครับ และนี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ธุรกิจบางอย่างไม่นิยมจดสิทธิบัตร แต่เลือกจะเก็บเป็นความลับทางการค้าแทน
สิทธิบัตรมันถูกจดเอาไว้หลายปีไม่แปลกครับ เพราะเวลาฝรั่งมันคิดอะไรได้มันก็รีบจดเอาไว้เพื่อรักษาสิทธิอยู่แล้ว แต่จดไปแล้วจะผลิตออกมาขายหรือเปล่าเป็นอีกเรื่อง ผมเชื่อว่า บริษัทใหญ่ๆ ล้วนแต่มีสิทธิบัตรมากมายที่ดองเอาไว้ในฝ่าย R&D รอวันที่ฝ่ายบริหารจะตัดสินใจเอามาผลิตเชิงพาณิชย์ แล้วก็อยู่ที่เทคโนโลยีตอนนั้นๆ ด้วย
ลองคิดดูว่าถ้าเป็นก่อนหน้านี้สัก 10 ปี ถ้า Samsung จะผลิต GS2 ออกมาขาย คุณคิดว่าจะสามารถทำได้บาง เบา อย่างทุกวันนี้หรือเปล่า? และจะออกมาหน้าตาอย่างตอนนี้หรือเปล่า :)
เสียบปลั้กเพื่อชาร์ตแบท มีสิทธิบัตรยังหว่า
ถ้ามีคงจะฮานะครับ
อิอิ
http://www.google.com/patents?id=lraxAAAAEBAJ&printsec=abstract#v=onepage&q&f=false
Blog | Twitter
มีอยู่ตัวหนึ่ง ที่ไม่ค่อยพูดถึงสักเท่าไหร่ คือ เมื่อมีการเสียบหูฟังแล้วฟังเพลง พอดึงหูฟังออก เพลงจะหยุดเล่นอัตโนมัติ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ iPod iPhone iPad ทุกรุ่นอยู่แล้ว และพักหลัง ๆ นี้ ผมเห็นยี่ห้ออื่นนำคุณสมบัติที่ว่านี้ไปใช้ในผลิตภัณฑ์ของตัวเองเช่นกัน เช่น Nokia เป็นต้นครับ
ไม่ทราบว่าคุณสมบัติตัวนี้ ใครเป็นเจ้าของสิทธิบัตรตัวจริงครับ ???
htc android ผมก็เป็นแบบนี้นะครับ แต่มันขึ้นกับแอพ
ลายเซ็นยาวเกินไปครับ
nokia เป็นเจ้าของสิทธิบัตรตัวนี้ครับ... แต่ตอนนี้ cross license กับ apple แล้่ว...คงคบกันอีกยาว...
ดังนั้น สาวกเลิกทะเลาะกันได้แล้วนะจ๊ะ
โอ้ โครตครอบจักรวาลยิ่งกว่า Sonax ซะอีก
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
555555
หมายความว่า หากไม่อยากโดนฟ้องละเมิดสิทธิบัตร ก็ต้องไปจ่ายเงินแล้วเอาสิทธิบัตรดังกล่าวมาใช้งาน ไม่เช่นนั้นก็โดนฟ้องว่าละเมิดสิทธิบัตร ไม่ต่างอะไรกับคดีที่ Kodak ฟ้อง RIM และ Apple ซึ่งสิทธิบัตรตัวเดียวกันทำให้ Kodak รับเงินก้อนโตจาก Samsung มาแล้ว ยังต้องฟ้องกันอีกเยอะ ยิ่งมีสิทธิบัตรมากก็ต้องยิ่งปกป้องทรัพย์สมบัติ ดูกรณี Kodak ได้เลย บริษัทอยู่ได้ด้วยการรับเงินจากบริษัทต่างๆในการนำสิทธิบัตรไปใช้
ผมสงสัยว่า Apple มีระบบ SEO ในแบบของสิทธิบัตรหรือเปล่าครับ
หรือหน่วยงานใดใด อาจจะกลุ่มของคนทำแนวๆ SEO ในแบบสิทธิบัตร
อธิบายยังไงดี ประมาณว่า การทำให้สิทธิบัตรออกมาในรูปแบบครอบจักรวาลให้มากที่สุด อ่ะครับ
เช่น มีการปั่นสิทธิบัตร
หวังว่า เรื่องสิทธิบัตร ไม่เข้าเรื่องแบบนี้ จะไม่เกิดให้จดง่ายๆในไทยนะครับ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
ถ้ามี จะได้ไปจดสิทธิบัตรการใช้ช้อนตักอาหารบ้าง
สิทธิบัตรท่าการนั่งอึครับ ละเมิดก็ฟ้องทันที ถ้าไม่อยากละเมิดต้องใช้ท่าพิสดาร
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
ผมว่ามันก็ต้องมีข้อยกเว้นบ้างล่ะครับ เช่น วิถีการดำรงชีวิต การเดิน นั่ง กิน ขี้ พวกนี้ไม่ได้เป็น invention นี่ครับ
แต่ผมสามารถจดสายฉีดพลังช้างได้ใช่ไหมครับ น่าจะเป็น invention+innovation XD
เขียนระบุไปในใบประกอบฯ ด้วยว่า
สายฉีดพลังช้างสาร ใช้แทนสายยางดับไฟ หรือแม้จะใช้ไล่ม็อบ
ฉีดทีหูรูดกระจุย เหมือนโดนตุ๋ยมา 10 ปี
รู้ได้ไงครับถ้าโดนตุยมาแล้วจะเปนยังไง หรือว่า.....
เอาเป็นว่าที่สำนักงานใหญ่ของผมมีไอ้สายแบบที่ว่าอยู่อันนึง วันนั้นไม่ทันระวัง...
ประเด็นที่คุณ I3assy บอก ไม่ใช่ว่าสายฉีดมีอยู่จริงรึเปล่า
แต่คุณ (PaPaSEK) บอกว่ามันแรงเท่ากับการโดนตุ๋ยมา 10 ปี สรุปได้ว่า
เค้าจะบอกอย่างนี้ตะหาก
เอาแล้ว แล่ว แล่ว แล้ววว
เย้ย ผมไม่ได้พูดนะ (^3^) แค่สรุปตามหลักตรรกะ (รึเปล่า?) 55
แรง... ประเด็นนี้ต้องย้ายไปหมวดม่วงครับ XD
ผมขอตอบว่าเมื่อกลางวันผมไปกินข้าวที่โรงอาหารมาครับ!
^ ^
55555+ แจงซะเห็นภาพ
ของแสดงความสียใจในวันนั้นด้วยครับ
รู้สึกเหมือนเราพลาดอะไรไป T_T
เจ้าพลาด (โดนตุ๋ย) แล้ว
สรุปผมไปจดได้ไหม T T
555+
ใด้ครับ แต่ต้องบอกว่าทำงานอย่างไรละเอียดระดับหนึ่ง และต้องไม่ไช้ของที่มีอยู่แล้วหรือช้ำกับคนอื่น
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
แอบมาบอกว่า สัจธรรมมีอยู่ว่า คนอ่านเงียบๆ ก็เหมือนแมลงสาป
เห็นคนมาตอบ 1 คน ให้คาดเดาได้ว่า....
ไม่ต้องห่วงเรื่องนี้ครับ เพราะกระทรวง,ทบวง,กรมต่างๆ ของไทยนั้นมีนิสัยชอบคิดแทนประชาชนอยู่เป็นนิจศีล
แต่บทจะใบ้ ก็ใบ้ดื้อๆ บทจะบื้อ ก็บื้อเป็นทอดๆ บทจะบอด ก็บอดแบบง่ายๆ
Welcome to Thailand.
แต่บทจะใบ้ ก็ใบ้ดื้อๆ บทจะบื้อ ก็บื้อเป็นทอดๆ บทจะบอด ก็บอดแบบง่ายๆ
+1 like
สิทธิบัตรนี้มาตอน 1994 และ 1996 ก็คือหลังเปิดตัว MessagePad (Newton) ของแอปเปิลซึ่งเริ่มโครงการปี 1987 และเปิดตัวจริงโมเดลแรกปี 1993
ถ้านับเครื่องคอมที่รับข้อมูลจากการสัมผัส เจ้าแรกน่าจะเป็น HP ช่วงต้นๆ 1980s แต่ถ้านับเครื่องแนวๆพกพา ตัวแรกๆคือ Newton ของ Apple นะครับ พร้อมๆกับโทรศัพท์จอสัมผัสชื่อ Simon ของ IBM ส่วน Palm เข้ามาตอนปี 1996 มั้งครับ
ถ้ามองว่าเป็นของ Newton ซึ่งเป็นอุปกรณ์พกพาชิ้นแรกๆก็ดูน่าเกลียดน้อยลงพอสมควรนะครับ
สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือ 20 ปี สำหรับสิทธิบัตรประเภทนี้มันนานเกินไปครับ 10 ปีก็พอแล้ว - -"
ตกลงกันเรื่อง สิทธิ์ ได้ก็คงไม่เกิดปัญหา เรื่อง Mouse(เมาส์) ยังไม่ถึงขนาดนี้เลย
ผลประโยชน์มากขึ้นก็ฟาดฟันกันมากขึ้น ?
ปัจจุบันนี้ โทรศัพท์จอสัมผัส เห็นกันอยู่เกลื่อนกลาด เราเลยมองเป็นเรื่องปกติที่ใครๆก็ทำกัน
แต่ย้อนไป 17 ปีที่แล้ว ระบบใช้นิ้วสัมผัสจอ เพื่อเปิดอ่าน email เป็นเรื่องมหัสจรรย์มากครับ แล้วมันก็ไม่ใช่เรื่องปกติที่ใครๆเขาทำกัน
ดังนั้นไม่แปลกที่คนคิดเขาจะจดสิทธิบัตรไว้
ที่เป็นปัญหาคือคำมันครอบคุมกว้างมากเกินไป+อายุของสิทธิบัตรมันนานเกินไปด้วย ผมว่าสัก10ปีก็พอแล้ว
สมัยก่อนนี่อาจเป็นสิ่งใหม่ครับ 17 ปีก่อนเขาอาจไม่ได้คิดว่าในอีก 15 ปี การป้อนข้อมูลจากการสัมผัสจะแพร่จนเป็นเรื่องธรรมดาขนาดนี้
และถ้าเขานึกภาพโลกที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์สัมผัสไม่ออก ก็ไม่แปลกที่เขาจะให้สิทธิบัตรนี้ผ่านมาครับ
แนวคิดไม่ใช่ปัญหาครับ ผมเห็นด้วยกับ ความเห็นด้านบนว่า อายุสิทธิบัตรต่างหากที่เป็นปัญหา
เพราะ 20 ปีทำให้ต้นทุนการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่ต่อยอดมาจากของเดิม ก็จะสะดุดไปด้วย
เพราะคุณเอาความคิดของคนในปัจจุบันเป็นฐานไงครับ บางทีอีก 10ปีข้างหน้า เด็กๆ รุ่นใหม่อาจจะบอกว่าสิทธิบัตรกำหนดอายุมาได้ไงตั้ง 10ปี เอาแค่ปีเดียวก็นานเกินไปแล้วก็ได้ ถ้ามองมุมกลับแบบนี้ที่เค้ากำหนดอายุสิทธิบัตรไว้ถึง 20ปีก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะ 20ปีที่แล้ว ไม่มีใครคิดว่าเทคโนโลยีมันจะก้าวกระโดดขนาดนี้ และแพร่หลาย ใช้งานกันจริงจังขนาดนี้
สมัยที่ Apple เริ่มผลิต Apple II ขายใหม่ๆ มีคนวิจารณ์ด้วยซ้ำว่าเป็นไปไม่ได้ที่คอมพิวเตอร์จะแพร่หลายไปทุกครัวเรือน คือสมัยก่อนที่ๆ คอมพิวเตอร์ควรจะอยู่มันคือในห้อง lab ของบริษัทใหญ่ๆ หรือหน่วยงานราชการเท่านั้นน่ะครับ คนสมัยก่อนคิดไม่ออกด้วยซ้ำว่าจะเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ทำอะไรที่บ้าน
ครับผมก็ไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องผิดที่ตอนนั้นเขากำหนดเป็น 20 ปี แต่ว่าปัญหาคือเมื่อไหร่จะเปลี่ยนให้มันน้อยลงเท่านั้นแหละครับ เพราะช่วงห้าปีที่ผ่านมา โลกไปเร็วมาก ถ้ายังปล่อย 20 ปีเอาไว้อนาคตปัญหาสิทธิบัตรจะหนักขึ้นอีกมากๆครับ
มองในมุมกลับ ถ้าอนาคต อีก 3 ปี โลกไม่ได้เปลี่ยนไปไว แบบทุกวันนี้ การมีอายุ สิทธิบัตร 10 ปี มันจะถูกมองว่าเร็วไปไหม
การปรับอะไรประเภทนี้เขาไม่น่าจะปรับกันเยอะอยู่แล้วครับ ถ้ามีการปรับจริงๆ ผมเชื่อว่า 15 ปี เป็นไปได้ แต่ 10 ปี แม้จะยังดูนานสำหรับตอนนี้ แต่มันก็ดูเป็นการปรับตัวที่รุนแรงเกินไปสำหรับอุตสาหกรรมนั้นๆโดยเฉพาะต่อกลุ่มที่เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม
และถ้ามีการพัฒนาที่ช้าลงในอนาคตจริงเราก็ค่อยเพิ่มอายุให้เมื่อแนวโน้วเริ่มชัดเจนครับ เพราะการเติบโตต่างๆมันมีแนวโน้มของมันอยู่แล้วครับว่าอนาคตอุตสาหกรรมนั้นๆจะเติบโตเร็วหรือช้าลงอย่างๆไร ถ้าเขาสนใจจะแก้ตรงนี้จริงๆผมเชื่อว่าเขาทำได้ครับ เว้นแต่ว่าเขายังไม่คิดว่ามันเป็นปัญหาใหญ่โต
ผมเชื่อว่าเราควรต้องปรับมันให้เหมาะสมกับปัจจุบันครับ
อย่างเทคโนโลยีของ X86 ที่ Intel กับ AMD ใช้
ขนาดมีปัญหาเรื่องสิทธิบัตรไม่มาก แค่เทคโนโลยีตามกัน 2-3
อีกเจ้านี่แทบจะ ไม่มีโอกาสกำไรกันเลยทีเดียวสุดท้ายก็จะกลายเป็นการผูกขาดไปนะครับ
การปล่อยให้บริษัทต่างๆ เข้าถึงเทคโนโลยีที่ล้าหลัง บ้างผมว่าน่าจะช่วยให้ต้นทุนการพัฒนาเทคโนโลยี
สำหรับคนระดับอื่นๆลดลงได้ไม่มากก็น้อยครับ
ถ้า ณ วันนี้ 10 ปีคือเหมาะสม ถ้าต่อไป 5 ปีคือเหมาะสมก็ต้องปรับกันไปตามนั้นครับ
เคสสมมุติถ้ามีบริษัทนึงคิดยารักษาโรคเอสด์ขึ้นมาได้ มี Patent ได้ 20 ปีแบบ ณ ตอนนี้
คิดค่ายาเม็ดละ 2000 ต้องกินทุกวันเป็นเวลา 1 ปีการให้ Patent คุ้มครองในเรื่องแบบนี้ยาวเกินไปก็เป็นการฆ่าคนทางอ้อมดีๆ นี่เอง(ในกรณีที่บริษัทสามารถทำกำไรจากยา จนคุ้มค่า R&D ผลิด และได้กำไรมหาศาลแล้ว)
กรณีนี้ถ้าบริษัทได้กำไรสูงมาก ใน 5 ปีจนนำไปพัฒนายาที่ดีกว่าเดิมได้แล้ว สิทธิบัตรเก่า
น่าจะควรถูกบังคับให้ต้องปล่อยให้สาธารณะ เพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยทั่วโลกที่จะได้เข้าถึงการรักษา
(เคสนี้อาจจะ รุนแรงเกินไปเนื่องจากเป็นปัจจัย 4 ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่ถ้าเรามองเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของ คุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้นของคนก็ควรจะควบคุมให้มันดีกว่านี้ด้วยเช่นกัน)
แล้วเค้าต้องลงทุนไปเท่าไหร่ ใช้เวลาไปเท่าไหร่กว่าจะค้นพบยาแบบนั้น ถ้าเวลาสั้น บริษัทอื่นไม่ต้องวิจัย รอสิทธิบัตรหมดค่อยทำขาย แบบนั้นจะพัฒนาเร็วขึ้นมั้ยละครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ก็ต้องปรับให้เหมาะสมไงครับ ถ้าสภาพช่วงแถวๆนั้นเหมาะที่จะเหลือ 5 ปีก็ควรจะปรับลงมา อาจให้เหลือซัก 7-8 ปีตามความเหมาะสม ถ้าปรับแล้วจะทำให้ผู้คิดค้นนวัตกรรมเสียประโยชน์ "มากจนเกินไป" ก็แปลว่าไม่เหมาะสมไงครับ
ซึ่งต่างๆเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของอุตสาหกรรมครับ แต่ละอย่างมีเวลาที่เหมาะสมไม่เหมือนกันครับ
ถ้าสิทธิบัตรหมด บริษัทที่คิดค้นเทคโนโลยีเหล่านั้นก็หมดความสามารถในการแข่งขันทันทีนะครับ
ผมว่ายิ่งต้องมีการเร่งคิดค้นและพัฒนาเพื่อหนีคู่แข่งมากกว่า อีกทั้งคู่แข่งถ้าได้รับสิทธิให้เข้าถึงเทคโนโลยีตัวเก่าๆ ก็อาจจะพอมีฐานที่จะพัฒนาเทคโนโลยีที่เหนือกว่าขึ้นมาได้ด้วย
เอาแบบง่ายๆ ระหว่างมีสิทธิบัตร เจ้าของสิทธิบัตรจะใช้กลยุทธ์สร้างความแตกต่างและกำหนดราคาขายที่กำไรดีได้ แต่พอหมดอายุสิทธิบัตรแล้ว เทคโนโลยีนั้นๆจะกลายเป็นเทคโนโลยีทั่วไปทันที ถ้ายังจะอยู่ตำแหน่งเดิมต่อ จาก blue ocean ก็จะกลายเป็น red ocean ทันทีแข่งกันทุบราคาโอกาสทำกำไรสูงๆก็จะหมดไปทันที
แต่ขั้นตอนอาจจะเป็นคร่าวๆคือ
1.ช่วงคิดค้นได้แรกๆ เป็นระยะเวลาผูกขาดเทคโนโลยี ไม่ต้องให้คนอื่นมาใช้
2.ช่วงกลางโดนบังคับขายสิทธิ คือต้องขายสิทธิให้บริษัทอื่นในราคาที่เหมาะสม(เพื่อเพิ่มการแข่งขันขึ้นทำให้ราคาเทคโนโลยีถูกลงแต่ต้องยังเป็นระดับที่ทำให้มีกำไรพอตัวอยู่)
3.ช่วงปลายหมดอายุสิทธิบัตร เปิดเผยการเข้าถึงเทคโนโลยี
ถ้าอายุสั้นเค้าจะลดการวิจัยมากกว่า เพราะผลประโยชน์ลดลง ธุรกิจเลือกลงทุนสิ่งที่ผลตอบแทนสูงกว่าก่อน
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ส่วนความคิดผม
ผมคิดว่ามันอยู่ที่ว่าสิทธิบัตรที่ถูกจดไว้ในอดีต หากมาถึงในปัจจุบัน มันกลายเป็นเรื่องที่สามัญมากๆ และกลายเป็นการกีดกันทางการค้า หรือขวางการเจริญเติบโต
ถ้าสิทธิบัตรดังกล่าวถูกเพิกถอนได้ ก็น่าจะหมดปัญหาไป 1 เปาะครับ
ปัญหาที่น่าจะตามมาคือ แล้วจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์วัดว่าอันไหนควรจะถูกถอน หรือไม่ควรถูกถอน
คิดไปคิดมา มันก็สมควรแล้วที่แอปเปิลเค้าฟ้อง
ปล.เตรียมตัวโดนยำ
โอ้ย...หากสิทธิบัตรที่จดไว้ในอดีตต่างๆถูกเพิกถอนได้ ก็วุ่นสิครับ อย่างที่บอกไป บริษัท โกดัก อยู่ไม่ได้แน่นอน เพราะมีสิทธิบัตรที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ โดยเฉพาะเรื่อง digital Photo งานนี้ล้มละลายชัวร์
ระบบสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกามีความก้าวหน้า และสามารถจดสิทธิบัตร พืชตัดต่อพันธุกรรมได้ด้วย เช่น บริษัทมอนซานโต้ มีสิทธิบัตรข้าวโพด XXX แล้ว วันดีคืนดี เค้ามาตรวจเจอว่า ที่ไร่ข้าวโพดของคุณ y มีการแพร่พันธ์ุข้าวโพดชนิดนี้ เข้าสามารถดำเนินการทางกฎหมายคือสั่งฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ทันที ถึงแม้ว่าเจ้าของไร่คือคุณ y ข้าวโพดบอกว่า พันธ์ุข้าวโพดที่เขาใช้ในไร่ เป็นพันธ์ุที่เก็บสะสมมานานหลายสิบปี หมุนเวียนใช้อยู่ในไร่ จะเป็นไปได้อย่างไรว่าข้าวโพดในไร่ตนเองเป็นข้าวโพด XXX ของมอนซานโต้ เรื่องเป็นแบบนี้ คือ ในพื้นที่ข้างเคียงคนละฟากถนนมีการปลูกข้าวโพด XXX ในไร่แล้วลมมันพัดพาละอองเกสรมาอีกฝั่งของถนน ทำให้ปนเปื้อนไร่ข้าวโพดของคุณ y จากยีนส์ปกติ กลายเป็นข้าวโพด gmo เรื่องเป็นแบบนี้ ก็โดนฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ ที่เล่ามาคือเรื่องจริงของเกษตรกรในมณฑลหนึ่งของประเทศแคนาดา
สิทธิบัตรใหม่ สามารถต่อยอดจากสิทธิบัตรเดิมได้ ไม่ใช่ว่าระบบสิทธิบัตรจะขัดขวางการพัฒนานวัตกรรม กลับสนับสนุนให้มีการพัฒนาทางความคิด มีการคุ้มครองในการทำการค้า ไม่ใช่ว่าคิดได้ ทำได้ แล้วก็มีคนไล่ตามทำสำเนาขาย แบบนี้คนที่ไล่ทำสำเนา คือ คนที่ไม่ยอมลงทุนอะไรมาก จ้องจะฉวยโอกาสจากความสำเร็จของคนอื่นอย่างเดียว ต้องคิดในมุมมองของคนทำธุรกิจด้วย อย่าคิดในมุมมองของ user เท่านั้น
+1 ประโยคสุดท้าย
เห็นด้วยเลยครับ
ประโยคก่อนสุดท้ายของผมเลยบอกว่า เห็นด้วยแล้วที่แอปเปิลฟ้อง
ผมไม่ค่อยเห็นด้วยแฮะ ผมมองเป็นการกีดกันทางการค้า มากกว่าปกป้องสิทธิของตนเอง
+1 ช่วงสุดท้ายคับ อาจจะคิดได้ทีหลัง แต่ถ้ามีสิทธิบัตรคุ้มครองอยู่แล้วก็ต้องว่ากันไปตามกระบวนการ
Apple เองยังเคยต้องจ่ายเงินค่าสิทธิบัตรของ Cover Flow เหมือนกัน (ทั้ง ๆ ที่อ้างว่าคิดได้เอง)
เห็นด้วยกับประโยคหลัง
แต่กลายเป็นว่าผมไม่กินพืช GMO ที่ตัดต่อยีนส์ แต่ไม่สามารถรับรู้ได้เลยก็แย่สิครับว่ามันปนเปื้อน มุมมองของคนทำธุรกิจน่าจะคิดถึงคนกินบ้าง
แต่มีบางเรื่องอยากทราบเหมือนกัน เช่น นานไหม แล้วสิทธิบัตรของเอดิสัน(Edison)สุดสายปลายทาง หรือขณะนี้เป็นเช่นไร เป็นแค่ตัวเร่งนวัตกรรมแค่ช่วงเวลาหนึ่งไหม หรือว่ามันจะยั่งยืน
มองโดยผิวเผินตามวัตถุประสงค์เดิมของกฏหมายอย่างนั้นก็ใช่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัจจุบัน "เงิน" ส่วนใหญ่แทนที่จะถูกทุ่มไปกับการวิจัยเพื่อสรรค์สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ(จ้างนักวิจัย) แต่กลับถูกใช้ไปกับการฟ้องร้อง สู้คดี ประมูลซื้อสิทธิบัตร(จ้างนักกฏหมาย) พิจารณาก็แล้วกันว่าอเมริกานั้นรายได้ของนักกฏหมายกลับสูงกว่านักวิจัย หรือนักสร้างนวัตกรรม ทำให้คนอยากเรียนกฏหมาย มากกว่าเรียนวิทยาศาสตร์ อย่างนี้ควรเรียกว่ากฏหมายที่ไม่สอดคล้องกับวาระปัจจุบันสร้างปัญหามากกว่าประโยชน์? ได้ผลลัพธ์ที่ไร้สาระมากกว่าหรือไม่?
กว้างเกินไปก็น่าจะเป็นปัญหา
เช่น ถ้า A คิด 1 ได้
แล้ว B เอา 1 ของ A มา + 2 เข้าไป ได้เป็น 3 ขึ้นมา
แล้วตัดสินว่า B ละเมิด A
ถ้าเป็นแบบนี้ การพัฒนาคงจะล่าช้ากันลงไปอีก
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ล่าช้ายังไงครับก็จ่ายเงินค่าใช้งานสิทธิบัตร ?
ถ้าแค่เรียกข้อแค่ค่าสิทธิบัตรก็โอเคแต่นี้เล่นถึงไม่ให้ทำมาหากินเลยน่ะครับ
สุดท้ายเดี๋ยวเขาก็แค่หาสิทธิบัตรมาแลกกันเองแหละครับ ผมยังไม่เคยเห็นเจ้าใหญ่เล่นกันจนห้ามขายเลยครับ แต่ถ้าฟ้องชนะแล้วก็เสมือนเป็นต่อนะครับ อำนาจต่อรองก็เยอะขึ้น ผมมั่นใจว่ายังๆไงๆก็ไม่โดนห้ามขายหรอกคับ
+1 ก็น่าจะเป็นไปตามที่คุณบอกล่ะครับ
ลองคิดว่าหากเป็นสิทธิบัตรของตัวเอง ก็น่าจะได้คำตอบว่า
ควรจะฟ้องใหม
ควรจะเรียกค่าสิทธิบัตรใหม
ควรจะให้จดกี่ปี
กับผลงานทางความคิดที่คุณคิดขึ้นมากแล้วมีคนเอาไปใช้ฟรีๆ ^ ^
แล้วถ้าผลงานทางความคิดที่คุณคิดขึ้นมา เป็นเรื่องพื้นๆ แล้วดันจดได้ขึ้นมาล่ะครับ?
ในขณะเดียวกันก็เป็นความคิดที่คนอื่นก็สามารถคิดได้เช่นกัน แต่โดนชิ่งจดไปก่อน
จะทำอย่างไรดี?
งั้นควรจะทำอย่างไรหล่ะครับ เพราะถ้าเป็นเรื่อง "พื้นๆ" ใน "ปัจจุบัน" ตอนนั้น ก็ผิดที่ผู้อนุมัติครับทำอะไรไม่ได้
เพราะยังไงการให้มอบอำนาจเหนือผลงานที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา 100 ชิ้น แล้วปล่อยผลงานที่ไม่ดีหลุดเข้ามา 1 ชิ้น ย่อมดีกว่าปล่อยให้ผลงานที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา 100 ชิ้นนั้นถูกขโมยไปใช้นะครับ
เรื่องนี้เป็นปัญหาจริงแต่ก็ต้องเลือกทางที่ส่งผลเสียน้อยที่สุดก่อนนะครับค่อยๆแก้ไปโดยต้องให้ผูสร้างสรรค์จริงๆเสียประโยชน์น้อยที่สุดครับ
ใจเย็นครับ ^ ^
อันนี้ผมพูดในกรณีที่หลายๆคนบอกกันว่า ไม่ควรฟ้อง ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน จะผูกขาด ให้จดทำไมได้นานถึง 20 ปี
ผมลองให้นึกแทนเฉยๆครับ ว่าถ้าเป็นตัวคุณเอง คุณจะรักษาสิทธิของคุณใหมครับ
คุณอยากให้จดได้นานๆใหม
ส่วนคำตอบ : ผมคงไปหาวิธีหรือทำอย่างอื่นครับ (พูดถึงการคิดค้นใหม่ๆนะครับ ไม่เอาพวกกินข้าวทางปาก หยิบของด้วยมือ อะไรแบบนี้)
ถ้าเป็น Microsoft คงโดนจัดหนัก XD
เอาเข้าจริงๆแล้ว ผมก็ไม่คิดว่าแอปเปิลจะผิดนะครับ (แต่ผมเป็นสาวกน้องด๋อยนะ เรียกว่าฝักใฝ่รึเปล่า 555)
ถ้าไม่มีความสำคัญและการบังคับใช้ของ สิทธิบัตร และ ลิขสิทธิ์
แผนก R&D จะหมดความสำคัญอย่างแรงเลยครับ ในเมื่อละเมิดกันได้ง่ายๆ แล้วแป๊บเดียวคนอื่นก็ลอกได้สบายๆ
ดูอย่างในไทยสิครับ ที่ระบบไม่ค่อยมีความหมาย บริษัทในไทยเลยแทบจะไม่มี R&D กันเลย การพัฒนาก็จะไปไม่รวดเร็ว
เพราะคนไม่เห็นคุณค่าของการทำเงิน และการรักษาผลประโยชน์จากการคิดค้น นวัตกรรม
รอดูกันว่า Apple จะเก็บค่า Royalty fee จากงานนี้หรือไม่ แล้วเก็บเท่าไหร่ หากเก็บในราคาที่เท่ากับ Microsoft เก็บ Royalty fee จาก HTC Android Phone เครื่องละ 5 USD งานนี้ Apple เตรียมนับเงิน เพราะ ยังมี Motorola กับ Samsung ที่จะต้องเข้าข่ายโดนฟ้องด้วย วิธีแก้ก็คงต้องกลับไปให้ Google แก้ปัญหาว่าทำอย่างไรจะใช้งาน Android โดยไม่ละเมิดสิทธิบัตรของ Apple
ถ้าสิทธิบัตรนี้มีอายุ 20 ปีจริงๆ อย่างที่ความเห็นบนๆบอก ผมว่าก็เป็นการลงทุนที่คุ้มค่านะ
เพราะได้ platform ที่มีมีความนิยมสูงติดตลาด มาในราคาต่ำ (5USD ต่อเครื่อง)
อาจจะฟังดูเป็นจำนวนเงินเยอะ แต่ถ้าเทียบกับการไปตั้งแผนกใหม่เพื่อสร้าง platform ของตัวเองขึ้นมา
คงจะไม่คุ้มทั้ง เงินลงทุนที่เสียไป และ เวลา(อันนี้สำคัญมาก โนเกียถึงยอมมาจับมือกับไมโครซอฟท์ ดีกว่าจะปล่อยทิ้งตลาดให้ขาดช่วง จนคนหมดศรัทธาในแบรนด์) รวมถึงความเสี่ยงที่จะได้รับความนิยมหรือไม่ด้วย ( Bada ก็ดูจะเป็นตัวอย่างที่ดีครับ ไม่ฮิตทำเงิน แทบจะเหมือนกับโยนเงินลงทุนที่ผ่านมาลงน้ำเลยทีเดียว )
อาจจะชะลอการออกรุ่นลงหน่อย จนกว่าจะหมดอายุสิทธิบัตร แล้วขยันออกรุ่นก็ได้ครับ
http://www.cultofmac.com/samsung-certifies-the-most-shameless-smart-cover-rip-off-youll-ever-see/104985
เหอๆๆ สงสัจะลืมจดอันนี้ โดนซะ : )