International Trade Commission
ตามที่ศาลอุทธรณ์สหรัฐได้ปฏิเสธคำร้องของแอปเปิล และให้หยุดการขาย Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 มีผลในสหรัฐอเมริกา ตามคำสั่งของ ITC เนื่องจากประเด็นละเมิดสิทธิบัตรระบบวัดออกซิเจนในเลือดของ Masimo ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ 17:00น. วันที่ 18 มกราคม ตามเวลาตะวันออกของสหรัฐ ล่าสุดมีคำชี้แจงจากแอปเปิลแล้ว
ศาลอุทธรณ์สหรัฐออกคำสั่ง ปฏิเสธคำร้องขอของแอปเปิล ที่ต้องการให้ระงับคำสั่งแบน Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 ซึ่ง ITC สั่งแบนเนื่องจากละเมิดสิทธิบัตรระบบวัดออกซิเจนในเลือดของ Masimo จากก่อนหน้านี้ศาลได้อนุญาตให้แอปเปิลขายสินค้าต่อชั่วคราว เพื่อรับคำร้องข้อมูลเพิ่มเติม
ผลจากคำสั่งนี้ทำให้แอปเปิลต้องหยุดขาย Apple Watch ทั้งสองรุ่นที่มีปัญหาในอเมริกาอีกครั้ง มีผลตั้งแต่ 17:00น. ของวันที่ 18 มกราคม ตามเวลาท้องถิ่น
มีรายงานล่าสุดในประเด็นที่คณะกรรมการการค้าของสหรัฐอเมริกาหรือ ITC สั่งให้หยุดขาย Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 ในอเมริกา เนื่องจากละเมิดสิทธิบัตรเซ็นเซอร์วัดระดับออกซิเจนในเลือดของ Masimo ซึ่งตอนนี้ศาลอุทธรณ์สหรัฐ ได้ระงับคำสั่งแบนชั่วคราว ทำให้แอปเปิลยังขาย Apple Watch สองรุ่นนี้ได้ต่อไป
แอปเปิลประกาศเตรียมกลับมาขาย Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 สองรุ่นที่ถูก ITC สั่งแบนห้ามนำเข้ามาขายในสหรัฐอเมริกาก่อนหน้านี้ โดยเริ่มขายผ่านหน้าร้าน Apple Store ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และเตรียมกลับมาขายผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยเช่นกัน
ประกาศของแอปเปิลนี้เป็นผลจากที่ศาลอุทธรณ์ออกคำสั่งหยุดแบน Apple Watch สองรุ่นนี้ชั่วคราวตามที่แอปเปิลยื่นคำขอ ทำให้แอปเปิลสามารถขายสินค้าต่อไปได้ชั่วคราว
ตามที่ ITC ออกคำสั่งแบนการนำเข้า Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 มาขายในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากประเด็นละเมิดสิทธิบัตรระบบวัดออกซิเจนในเลือดของ Masimo ทำให้แอปเปิลตัดสินใจหยุดขาย Apple Watch สองรุ่นนี้ก่อนคำสั่งมีผลในวันที่ 26 ธันวาคม
อย่างไรก็ตามแอปเปิลก็ได้ยื่นอุทธรณ์ขอให้ระงับคำสั่งนี้ชั่วคราวอีกครั้ง ซึ่งคราวนี้ได้ผล เพราะล่าสุดศาลอุทธรณ์ออกคำสั่งหยุดการแบนสินค้านี้ชั่วคราว โดยให้ ITC ชี้แจงข้อมูลสนับสนุนการออกคำสั่งแบนภายในวันที่ 10 มกราคม 2024 ซึ่งเท่ากับว่าแอปเปิลสามารถขาย Apple Watch สองรุ่นที่มีปัญหานี้ในอเมริกาได้ต่อไปเกือบ 2 สัปดาห์
คณะกรรมการการค้าของสหรัฐอเมริกา หรือ ITC ออกแถลงการณ์ห้ามแอปเปิลนำเข้า Apple Watch รุ่นที่มีปัญหาขายในสหรัฐอเมริกา มีผลตั้งแต่ 26 ธันวาคม 2023 เป็นต้นไป เนื่องจาก ITC พบว่าสินค้าละเมิดสิทธิบัตรของ Masimo สองรายการ ซึ่ง ITC ให้อำนาจรัฐบาลไบเดนเป็นเวลา 60 วัน จนถึง 25 ธันวาคม ในการระงับคำสั่ง แต่ตัวแทนของรัฐบาลไบเดนกล่าวว่าหลังจากปรึกษากับหลายฝ่าย ก็ตัดสินใจไม่ระงับคำสั่งนี้
แอปเปิลได้ตัดสินใจหยุดขาย Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 สองรุ่นที่มีปัญหาในอเมริกาไปแล้ว ไม่กี่วันก่อนที่คำสั่งนี้จะมีผล นอกจากนี้แอปเปิลก็ยื่นอุทธรณ์ขอให้ชะลอคำสั่งแต่ถูกปฏิเสธไป
แอปเปิลเริ่มหยุดขาย Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 ทางออนไลน์มีผลเฉพาะในอเมริกาแล้ว ตามที่บริษัทประกาศก่อนหน้านี้ เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งแบนสินค้าของ ITC จากประเด็นละเมิดสิทธิบัตรของ Masimo อย่างไรก็ตามผลกระทบดูจะไปถึงคนที่ซื้อ Apple Watch มาแล้วด้วย
มีความคืบหน้าล่าสุด จากประเด็นที่คณะกรรมการการค้าของสหรัฐอเมริกา หรือ ITC สั่งแบนการนำเข้า Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra มาขายในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากละเมิดสิทธิบัตรของ Masimo เมื่อเดือนตุลาคม ซึ่งแอปเปิลได้ยื่นขอให้ชะลอการบังคับใช้คำสั่งนี้ทันทีตอนนั้น
ITC แถลงว่าคณะกรรมการได้หารือและลงมติในคำร้องขอของแอปเปิล โดยปฏิเสธคำขอดังกล่าว ฉะนั้นคำสั่งแบนนี้จะยังมีผลตามกำหนดเวลา 26 ธันวาคม เหมือนเดิม เว้นแต่ประธานาธิบดีสหรัฐจะออกคำสั่งยับยั้งภายใน 25 ธันวาคม
ทั้งนี้แอปเปิลได้ประกาศเตรียมหยุดขาย Apple Watch ทั้งสองรุ่นในอเมริกาไปแล้วก่อนหน้านี้
Joe Kiani ซีอีโอ Masimo บริษัทเทคโนโลยีด้านการแพทย์ ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg TV ในประเด็นที่บริษัทฟ้องแอปเปิลว่า Apple Watch ละเมิดสิทธิบัตร ซึ่งต่อมา ITC ออกคำสั่งแบนการนำเข้า Apple Watch มาขายในอเมริกา และแอปเปิลก็ตัดสินใจหยุดขายก่อนที่คำสั่งจะมีผลใช้ตั้งแต่ 25 ธันวาคม
Kiani บอกว่าที่มีข่าวว่าแอปเปิลพยายามแก้ไขซอฟต์แวร์ของ Apple Watch เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องสิทธิบัตร เขามองว่าไม่น่าจะได้ผล เพราะสิทธิบัตรบริษัทไม่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์
ITC (คณะกรรมการการค้าของสหรัฐอเมริกา) ได้เริ่มทำการสืบสวนผู้ผลิตสมาร์ทโฟน 7 ราย ว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าวละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับการเล่นไฟล์สื่อหรือไม่ ซึ่งงานนี้หากผลการสืบสวนออกมาว่าเป็นการละเมิดจริง ITC จะสั่งระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องมาขายในสหรัฐอเมริกา
ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ว่านั้นมีด้วยกัน 8 แบรนด์ (จาก 7 บริษัท) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นแบรนด์อันเป็นที่รู้จักกันดีทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น Samsung, Sony, LG, HTC, ZTE, Lenovo, Motorola และ BlackBerry
สงครามสิทธิบัตรระหว่าง NVIDIA และซัมซุง ที่ทั้งสองฝ่ายฟ้องกันเรื่องสิทธิบัตร GPU และ SoC ผ่านคณะกรรมการการค้านานาชาติของสหรัฐ (ITC) จบลงด้วยชัยชนะของซัมซุง
ผู้พิพากษาของ ITC ตัดสินว่า NVIDIA ละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุง 3 รายการ ส่วนรายละเอียดของคำตัดสินจะเผยแพร่ต่อสาธารณะภายใน 30 วัน และผลการตัดสินต้องรอคณะกรรมการ ITC ชุดใหญ่อนุมัติอีกขั้นตอนหนึ่ง
คดีนี้เริ่มจาก NVIDIA ฟ้องซัมซุงก่อน จากนั้นซัมซุงฟ้องกลับ ผลออกมาว่า ITC ตัดสินว่าซัมซุงไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรของ NVIDIA (คดีแรก) และ NVIDIA ละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุง (คดีที่สอง)
NVIDIA ประกาศว่ายื่นคำฟ้อง Samsung และ Qualcomm ไปยังหน่วยงานสองแห่งคือ คณะกรรมการการค้าระหว่างชาติของสหรัฐ (ITC) และศาลเขตเดลาแวร์ ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรจีพียูจำนวน 7 รายการ (ไม่บอกรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง)
ในคำร้องต่อ ITC มีเนื้อหาขอให้หยุดการนำเข้าอุปกรณ์แบรนด์ Galaxy ที่ใช้จีพียู Qualcomm Ardreno, ARM Mali, Imagination PowerVR ส่วนคำฟ้องต่อศาลเดลาแวร์คือชดเชยค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิบัตร
สินค้าของซัมซุงที่เข้าข่ายมีตั้งแต่ Galaxy S4 ไล่มาจนถึง Note 4 และ Note Edge ส่วนอุปกรณ์สายแท็บเล็ตมีหลายตัว เช่น Galaxy Tab S, Note Pro, Tab 2 โดยส่วนใหญ่ใช้หน่วยประมวลผล Snapdragon กับ Exynos
เช่นเดียวกับกรณีที่แอปเปิลโดนมาก่อนหน้านี้ ล่าสุด ITC ได้ตัดสินแล้วว่ามือถือของซัมซุงบางรุ่น ได้ละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิล พร้อมกับออกคำสั่งแบนสินค้าเหล่านี้จากการนำเข้ามาจำหน่ายในเขตแดนของสหรัฐอเมริกา
สิทธิบัตรที่ ITC เห็นว่าซัมซุงได้ละเมิดแอปเปิลในครั้งนี้ คือสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับหน้าจอสัมผัส ที่หลายคนเรียกว่า "สิทธิบัตรสตีฟ จ็อบส์" ส่วนอีกฉบับมีเนื้อหาเกี่ยวกับการตรวจสอบเมื่อมีการเสียบอุปกรณ์อื่นเข้ามาในตัวเครื่อง
หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐ ภายใต้การนำของนายโอบาม่า ได้ออกมายับยั้งคำสั่งแบนสินค้าของแอปเปิล ล่าสุด Wall Street Journal รายงานว่ามูลค่าในตลาดของซัมซุงได้ร่วงไปแล้ว 1 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณสามหมื่นล้านบาท ในขณะเดียวกันรัฐบาลเกาหลีใต้ก็ได้ออกมาแสดงความเห็นว่าการตัดสินใจในครั้งนี้จะส่งผลไม่ดีต่อสิทธิในสิทธิบัตรอื่น ๆ ของบริษัท Samsung Electronics
หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐ ภายใต้การนำของนายบารัค โอบามา ได้ออกมายับยั้งการแบนนำเข้า iPhone 4 และ iPad 2 บางรุ่น แอปเปิลได้ประกาศว่าพวกเขาดีใจกับการตัดสินใจดังกล่าวแล้ว
แอปเปิล: "เราขอสรรเสริญรัฐบาลสหรัฐ ที่ได้ยืนหยัดสนับสนุนฝั่งนวัตกรรมในคดีนี้ ซัมซุงผิดตั้งแต่แรกที่เอาระบบสิทธิบัตรมาใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง"
ในขณะที่ซัมซุงได้ออกมาแสดงความผิดหวังต่อการตัดสินใจในครั้งนี้
หลังจากที่ ITC ตัดสินว่า iPhone 4 และ iPad 2 บางรุ่นมีเทคโนโลยีที่ละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุง และจะต้องถูกแบนไม่ให้สามารถนำเข้ามาจำหน่ายในสหรัฐได้ ทีมกฎหมายของ Verizon ก็ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึก ให้โอบาม่ายับยั้งคำสั่งแบนนี้ เพราะจะเกิดผลเสียต่ออุตสาหกรรมไอทีและการแข่งขัน
ล่าสุดเมื่อสักครู่นี้ โอโบม่าได้มีคำสั่งยับยั้ง (veto) ไม่ให้ ITC แบนสินค้าที่เกี่ยวข้องของแอปเปิลแล้ว โดยสินค้าที่เกี่ยวข้องได้แก่ iPhone 4, iPhone 3GS, iPad 2 รุ่น 3G และ iPad รุ่นแรกที่รองรับการเชื่อมต่อเข้าเครือข่าย 3G
สำหรับประกาศจากรัฐบาลสหรัฐฯ กดเข้ามาอ่านต่อได้เลยครับ
ในเร็ว ๆ นี้ คำตัดสินของ ITC ที่ออกมาก่อนหน้านี้ว่าแอปเปิลได้ละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุง และสินค้าหลายตัวของแอปเปิลจะโดนแบนไม่ให้นำเข้ามาจำหน่ายในสหรัฐฯ ล่าสุดทีมกฎหมายของค่ายมือถือ Verizon ในสหรัฐ ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกให้แก่ออฟฟิศประธานาธิบดี ว่าให้ออกมายับยั้งคำสั่งแบนนี้
ในจดหมายเปิดผนึก ระบุไว้ว่าสินค้าไอทียุคนี้ จะต้องใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรหลายใบมาก และถ้ามีสินค้าใดละเมิดสิทธิบัตรเพียงแค่ใบเดียวจากหลายพันใบนี้ ITC มีสิทธิในการแบนการนำเข้าสินค้านั้นได้ เพราะนั่นคือวิธีในการลงโทษผู้ผลิตที่ละเมิดสิทธิบัตรวิธีเดียวที่ ITC สามารถทำได้ตามอำนาจที่มี สุดท้ายแล้ว ผู้บริโภคจะได้รับความเสียหายมากกว่าใคร
คงไม่ต้องเล่าความยาวสาวความยืดกับมหากาพย์การต่อสู้ด้วยสิทธิบัตรของสองบริษัทนี้นะครับ
ความคืบหน้าล่าสุดหลังจากที่แอปเปิลโดนศาลอังกฤษซัดครั้งใหญ่ไป ก็คือแอปเปิลเตรียมที่จะยื่นขอแบนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตระกูล Galaxy ของซัมซุงในสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง โดยให้เหตุผลเดิมๆ ครับว่า ผลิตภัณฑ์ Galaxy ของซัมซุงนั้นละเมิดสิทธิบัตรของตัวเอง และได้อิงคำตัดสินของศาลเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วด้วย ที่ศาลตัดสินว่าซัมซุงเป็นฝ่ายผิด และสั่งปรับไปเป็นจำนวนเงิน 1.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ไม่ได้มีคำสั่งออกมาว่าให้แบนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นี้แต่อย่างใด ซึ่งการฟ้องร้องในครั้งนี้แอปเปิลต้องการให้ศาลกลับคำตัดสินของคดีนี้ใหม่ครับ
เพื่อแก้ปัญหาการใช้สิทธิบัตรไล่ฟ้องกันอย่างโดยไม่จำเป็นในปัจจุบัน คณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ (ITC) จึงเตรียมออกมาตรการใหม่เพื่อมาแก้ปัญหานี้แล้ว
โดยผู้ถือสิทธิบัตรที่ต้องการจะร้องเรียนการละเมิดสิทธิบัตรดังกล่าวจำเป็นต้องแสดงเอกสารยืนยันการใช้งานสิทธิบัตรนั้นจริง และมากพอเสียก่อน อ้างอิงจากโครงการนำร่องของ ITC บางกรณีอาจใช้เวลาตรวจสอบสูงถึง 100 วัน จากเดิมที่หากเป็นบริษัทที่ผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรมภายในสหรัฐฯ ก็สามารถยื่นร้องเรียนได้แล้ว
International Trade Commission ในสหรัฐอเมริกา ได้ตัดสินแล้วว่าแอปเปิลได้ละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุง โดยสิทธิบัตรดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการขนส่งข้อมูลหลายชนิดผ่านเครือข่าย 3G พร้อม ๆ กัน โดยสินค้าของแอปเปิลที่ละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุงได้แก่ iPhone 4, 3GS, 3G และ iPad 3G, iPad 2 เฉพาะรุ่นของ AT&T จะต้องถูกเลิกจำหน่าย
สินค้าแอปเปิลเหล่านี้ แม้ว่าจะเป็นสินค้าที่มีอายุมากกว่า 1 ปีแล้ว แต่ก็ถือว่าเป็นสินค้าที่ถือว่ายัง "ขายดี" อยู่ ในขณะที่สินค้าอื่น ๆ ที่ใหม่กว่าของแอปเปิล ได้มีการเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีอื่นแทนแล้ว จึงไม่เกี่ยวข้องกับคดีนี้
คณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ (ITC) มีคำตัดสินเป็นที่สิ้นสุดว่าคดีที่ Motorola ฟ้องไมโครซอฟท์ว่า Xbox ละเมิดสิทธิบัตรหลายชิ้น (ด้านการบีบอัดวิดีโอและเครือข่ายไร้สาย) จบลงว่าไมโครซอฟท์ไม่มีความผิด
คดีนี้ Motorola ยื่นฟ้อง ITC มาตั้งแต่ปี 2010 ก่อนถูกกูเกิลซื้อกิจการในปี 2011 โดยช่วงแรกผู้พิพากษาของ ITC ตัดสินว่าไมโครซอฟท์ละเมิดสิทธิบัตร 4 ชิ้น (จากทั้งหมด 5 ชิ้นที่ยื่นฟ้อง) แต่เมื่อเรื่องเดินมาถึงคณะกรรมการ ITC ที่มีอำนาจฟันธง คณะกรรมการก็กลับคำตัดสินในที่สุด
ก่อนหน้านี้ Motorola ก็เคยพยายามฟ้อง Xbox เรื่องสิทธิบัตรในอีกคดีหนึ่งที่แยกจากคดีนี้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน
ศึกยักษ์ชนกันในคดีเกี่ยวกับสิทธิบัตรระหว่าง Apple และ Motorola ได้บทสรุปมาอีกหนึ่งตอน เมื่อ ITC ตัดสินว่า Apple ไม่มีความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับการใช้เซ็นเซอร์ proximity ใน iPhone ตามที่ Motorola ฟ้องร้อง
คดีนี้เกิดขึ้นเมื่อ Motorola ยื่นคำร้องว่าถูก Apple ละเมิดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งในเบื้องต้นผู้พิพากษามีความเห็นว่า Apple ผิดจริงดังคำร้อง ทว่าล่าสุดคณะกรรมาธิการของ ITC ก็ได้กลับคำตัดสินนั้นในที่สุด โดยให้ความเห็นที่น่าสนใจประเด็นหนึ่งว่าแนวคิดหลักในสิทธิบัตรของ Motorola นั้นเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในวงการจนไม่เห็นควรจะได้รับการคุ้มครองในฐานะนวัตกรรม (the concept was too obvious to merit patent protection)
คณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า ITC มีคำตัดสินเกี่ยวกับประเด็นการละเมิดสิทธิบัตรระหว่าง Samsung และ Apple ออกมาเพิ่มเติม โดยประเด็นสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ITC พิจารณาแล้วว่า Samsung มีความผิดจริงฐานละเมิดสิทธิบัตรฟีเจอร์การเลือกข้อความ ซึ่งเป็นสิทธิบัตรที่ครอบครองโดย Apple
สงครามสิทธิบัตรระหว่างโมโตโรลากับไมโครซอฟท์ (ที่สืบต่อมาจนถึงยุคของกูเกิล) เริ่มมีสัญญาณของสันติภาพ เมื่อกูเกิลยื่นเอกสารต่อ ITC ขอ "ถอนคำฟ้อง" สิทธิบัตรบางรายการที่เคยฟ้องไมโครซอฟท์เอาไว้
สิทธิบัตรที่ว่าเกี่ยวข้องกับ H.264 ซึ่งมีส่วนหนึ่งที่ถือเป็น "สิทธิบัตรพื้นฐาน" (standards-essential patents) ที่จำเป็นต่อการใช้งานของทุกบริษัทในวงการ และตามมารยาทแล้วไม่ควรนำมาใช้กลั่นแกล้งหรือต่อรองกันในทางธุรกิจ (ในข้อตกลงที่กูเกิลยอมความกับ FTC ก็มีเรื่องนี้ คือจะอนุญาตให้คู่แข่งใช้งานสิทธิบัตรพื้นฐานเหล่านี้ได้)
Motorola Mobility ถอนฟ้องสิทธิบัตรแอปเปิล ที่เคยยื่นต่อคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ (ITC) โดยไม่ระบุเหตุผล
ในเอกสารของโมโตโรลาระบุแค่ว่าต้องการหยุดคดีนี้ (โมโตโรลาฟ้องแอปเปิลต่อ ITC สองคดี ที่ถอนนี้เฉพาะคดีหลัง) และบอกว่าบริษัทก็ยังไม่บรรลุข้อตกลงใดๆ กับแอปเปิล ซึ่งแอปเปิลเองก็ยืนยันว่าไม่ขัดขวางการถอนฟ้องครั้งนี้
ตามปกติแล้วการถอนฟ้องมักเกิดขึ้นเมื่อคู่กรณีตกลงกันนอกศาลได้ แต่กรณีนี้โมโตโรลาก็ระบุชัดเจนว่ายังไม่บรรลุข้อตกลงใดๆ กับแอปเปิล ที่เหลือก็คงต้องเดากันต่อไปว่าเกิดจากอะไรครับ (เป็นไปได้ทั้งปัญหาเรื่องเอกสาร หรือไม่ก็ตกลงกันได้แล้วแต่ยังไม่เซ็นสัญญาเป็นทางการ)