การเปิดตัว Galaxy S III ก็เป็นไปตามคาดหมายของหลายๆ คนทั้งชื่อรุ่นและสเปคที่ไม่ได้หลุดโผไปไกลนัก ถึงตอนนี้ที่ทุกคนรอคอยคงเป็นราคาในประเทศไทย จากการพูดคุยกับคนในซัมซุงบ้างคาดกันว่าราคา "คงจะ" แพงกว่าตอนเปิดตัว S II ดังนั้นเราคงต้องมองกันกว่าราคาไปหยุดอยู่ที่เท่าใด
แต่ประเด็นที่ผมอยากจะเขียนถึงโทรศัพท์ตัวนี้อีกครั้งไม่ได้เกี่ยวกับ S III เสียทีเดียว แต่เป็นเรื่องของงานเปิดตัวที่ผ่านมา
งานเปิดตัวครั้งนี้จัดงานอย่างยิ่งใหญ่ เชิญสื่อจำนวนมากจากทั่วโลก จนแทบจะพูดได้ว่าเป็นการเปิดตัวที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่ซัมซุงเคยจัดมา ในแง่ของแบรนด์แล้วครั้งนี้คงเป็นครั้งแรกๆ ที่โทรศัพท์ซัมซุงจะได้รับความสนใจมากเท่านี้ ข่าวหลุดไม่ขาดสาย ความพยายามคาดเดาของนักข่าวหลายสำนักอย่างต่อเนื่องว่าโทรศัพท์รุ่นใหม่นี้จะมีอะไร
แต่เมื่อได้จับตัวโทรศัพท์แล้ว คำถามอย่างหนึ่งที่เข้ามาในหัวก็ คือ "กูเกิลหายไปไหน" และนึกขึ้นได้ว่าแทบตลอดทั้งงานนั้น ซัมซุงพูดถึงทุกฟีเจอร์ในฐานะฟีเจอร์ของ Galaxy S III โดยแทบไม่พูดถึงแอนดรอยด์เลยว่าเป็นรุ่นไหน และฟีเจอร์ใดเป็นส่วนที่ทำเพิ่มเข้ามา
งานเปิดตัว Galaxy S ที่ซูริค
งานเปิดตัว Galaxy S II ในสหรัฐฯ
ขณะที่โทรศัพท์จากแบรนด์ใหม่ๆ ที่เพิ่งเข้ามายังตลาดสมาร์ทโฟนไม่นานนักพยายามอย่างมากที่จะบอกว่าตัวเองเป็น "โทรศัพท์แอนดรอยด์" แต่หากลองสังเกตการเปิดตัวของ Galaxy S สามรุ่นที่ผ่านมา เราจะพบว่า Galaxy S เป็น "รุ่นสุดท้าย" ที่ซัมซุงประกาศว่ามันใช้ "แอนดรอยด์รุ่นล่าสุด" ส่วนวิดีโอไฮไลท์ของงานใน Galaxy S II นั้นก็ลดลงไปอีกโดยพูดถึงเพียงเมื่อถูกถามในฟีเจอร์ด้านองค์กรว่าเป็นโทรศัพท์แอนดรอยด์ที่รองรับความต้องการขององค์กรได้ดีที่สุด
ขณะที่กูเกิลอาศัยความกลัวไอโฟนที่กำลังก้าวเข้ามาในตลาดอย่างรวดเร็ว ความล้มเหลวของไมโครซอฟท์ที่ไม่สามารถพัฒนา Windows Phone ได้รวดเร็วพอ ขณะที่โนเกียในขณะนั้นก็ไม่สามารถผลักดันซิมเบียนให้ขึ้นมาเป็นคู่แข่งได้ (ซัมซุงเคยผลิตโทรศัพท์ซิมเบียนมาก่อน) กูเกิลจึงเป็นทางเลือกเดียวที่ผู้ผลิตหลายรายต้องเลือก
แม้แอนดรอยด์จะสร้างผลกำไรให้ผู้ผลิตหลายรายมหาศาล แต่สิ่งที่ผู้ผลิตเหล่านี้ไม่ต้องการที่สุดคือการเป็นเพียง "ผู้ผลิตแอนดรอยด์" ไปตลอด ทั้งในแง่ของศักดิ์ศรีที่บริษัทเหล่านี้ทำโทรศัพท์มาก่อน ขนาดบริษัทที่ใหญ่กว่า และแง่ของความมั่นคงทางธุรกิจที่ไม่ต้องการอยู่เป็นเพียงคนรอใช้งานเทคโนโลยีจากกูเกิลเท่านั้น
ความพยายามแตกต่างในเบื้องต้นนั้นคือการสร้างเพียง UI ครอบลงไปบนหน้าจอของกูเกิล พร้อมกับการเพิ่มฟีเจอร์ไม่กี่อย่าง ปีที่ผ่านมาเรายังเห็นความแตกต่างกันของฟีเจอร์ไม่มากนัก
แต่ใน Galaxy S III เราเริ่มเห็นความพยายามของซัมซุงที่จะประกาศเอกราช ให้กับแพลตฟอร์มของตัวเอง คำว่า "แอนดรอยด์" แทบไม่มีอยู่ในงานทั้งงานของการเปิดตัว Galaxy S III ที่น่าสนใจกว่านั้นคือซัมซุงเริ่มดึงพัฒนาให้พัฒนา "เพื่อทำงานบนซัมซุง" อย่างเงียบๆ ด้วย API ของ AllShare และ S Health ที่มี API เป็นของตัวเอง แม้จะเปิดตัวมาในฐานะฟีเจอร์ของซัมซุงก็ตาม นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ในส่วนขององค์กรที่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง
ความไม่ต้องการอยู่ใต้เงาของกูเกิลนี้เข้าใจได้กับผู้ผลิตโทรศัพท์แอนดรอยด์ทุกราย จนตอนนี้กูเกิลเท่านั้นที่เป็นผู้เลือกว่าใครจะได้เป็นผู้ผลิตโทรศัพท์ Nexus ซึ่งทำให้มีสิทธิพัฒนาฮาร์ดแวร์ได้เข้ากับแอนดรอยด์รุ่นใหม่ก่อน ส่วนผู้ผลิตรายอื่นๆ ที่พัฒนาฮาร์ดแวร์ของตัวเองไปแล้วและไม่สามารถหยุดรอกูเกิลได้กลับต้องรอโค้ดที่เสร็จแล้ว จึงนำมาพัฒนาซอฟต์แวร์ตามหลัง
ความเหลื่อมล้ำนี้แม้ในช่วงหลังซัมซุงจะเป็นผู้ได้ประโยชน์อย่างมากจากการได้ผลิตโทรศัพท์ Nexus ติดต่อกันถึงสองรุ่น แต่ความไม่ไว้ใจว่าวันหนึ่งกูเกิลอาจจะไม่เลือกให้ซัมซุงเป็นผู้ผลิตที่ได้โอกาสพัฒนาฮาร์ดแวร์ก่อนอีกต่อไป เช่นเดียวกับที่เคยเปลี่ยนจาก HTC มาเป็นซัมซุงก่อนหน้านี้แล้วก็ทำให้ซัมซุงยังต้องกังวลกับความไม่เท่าเทียมกันของผู้ผลิตในตอนนี้เหมือนกัน
การเปิด API ใหม่ๆ ของผู้ผลิตนั้นยังไม่มีรุ่นใดที่ประสบความสำเร็จนัก จากการที่กูเกิลมักไม่ยอมรวม API เหล่านี้เข้าไปใน SDK รุ่นมาตรฐาน ยกเว้นฟีเจอร์ของ Galaxy Tab ในสมัยที่กูเกิลยังพัฒนา Honeycomb ไม่ทันเท่านั้น แต่ภายใต้ส่วนแบ่งและฐานผู้ใช้ที่มากขึ้นเรื่อยๆ ก็ไม่แน่ว่าวันหนึ่งอาจจะมีผู้ผลิตยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งสามารถผลักดันให้นักพัฒนาสามารถใช้งานฟีเจอร์ของตัวเองเป็นการเฉพาะได้จริงๆ จนกระทั่งกลายเป็นการแยกโครงการ (fork) จากแอนดรอยด์ออกไปกลายๆ
กูเกิลนั้นมีทางเลือกที่จะหยุดความพยายามเหล่านี้ได้ ด้วยการเปิดให้มีฟีเจอร์ตัวเลือก (optional) ที่เปิดให้แบรนด์ต่างๆ ส่งฟีเจอร์บางส่วนเข้าไปเป็นส่วนเสริมกับแอนดรอยด์รุ่นมาตรฐาน ฟีเจอร์ใหม่ๆ เหล่านี้จะมีโอกาสได้รับการยอมรับเป็นวงกว้างมากขึ้น แบรนด์อื่นๆ จะมีโอกาสที่จะรับฟีเจอร์แบบเดียวกัน พร้อมๆ กันนั้นก็เปิดโอกาสให้แบรนด์ที่เปิดฟีเจอร์ใหม่ๆ นี้สามารถพัฒนาฟีเจอร์นำหน้าคนอื่นไปขั้นหนึ่งได้ หรือทางออกที่ไกลกว่านั้นคือการเปิดให้แอนดรอยด์เป็นโครงการเปิดอย่างแท้จริงเช่นเดียวกับ Chrome ที่มี Chromium
การเปิด Chromium จะเปิดให้ผู้ผลิตทุกรายสามารถเข้าถึงฟีเจอร์ล่าสุดของโครงการได้ในทันทีที่นักพัฒนาในกูเกิลเริ่มพัฒนา กระบวนการนี้ทำให้นักพัฒนาสามารถเตรียมการได้ว่ากูเกิลกำลังผลักดันฟีเจอร์อะไรออกมาในแต่ละรุ่นบ้าง ในกรณีของแอนดรอยด์นั้นการเปิดโค้ดเช่นนี้จะทำให้กูเกิลควบคุมโครงการได้น้อยลงเพราะการตัดฟีเจอร์หรือเพิ่มเข้ามาจะถูกวิจารณ์จากสังคมนักพัฒนาภายนอก กระบวนการปล่อยแต่ละรุ่นจะตื่นเต้นน้อยลงเพราะข่าวฟีเจอร์ใหม่ๆ จะถูกปล่อยออกมาตลอดเวลา จากซอร์สโค้ดที่มองเห็นได้จากภายนอก
ความสำเร็จของกูเกิลตลอดมาที่สามารถนับรวมจำนวนแอนดรอยด์ที่ขายได้ทั้งหมดเป็นความสำเร็จของตัวเองยังคงทำให้กูเกิลยากจะปล่อยการควบคุมแอนดรอยด์ออกมาอย่างที่ผมเขียนถึงข้างต้น แต่ความพยายามของผู้ผลิตโทรศัพท์ก็จะแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะกดดันให้วันหนึ่งที่กูเกิลต้องปล่อยการควบคุมให้มากกว่านี้
การควบคุมของกูเกิลทุกวันนี้ควบคุมผ่านแบรนด์แอนดรอยด์ที่ไม่มีผู้ผลิตรายใดสามารถอ้างได้ว่าใช้แอนดรอยด์หากไม่ได้รับการรับรองจากกูเกิล จะเกิดอะไรขึ้นถ้ากูเกิลยังคงทำให้ผู้ผลิตยังรู้สึกว่าถูกควบคุมไว้ตลอดเวลา และวันหนึ่งที่ผู้ผลิตอาจจะไม่สนใจที่จะอิงอยู่กับการควบคุมของกูเกิลอีกต่อไป กรณี Amazon Kindle นั้นพิสูจน์แล้วว่าการแยกตัวออกไปนั้นเป็นไปได้หากมีฐานผู้ใช้ที่ใหญ่พอ
ความเปลี่ยนแปลงที่ว่ายังไม่น่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ที่รอบของการพัฒนายังคงเหมือนเดิม แต่ในเมื่อตลาดเริ่มนิ่ง และกูเกิลจะออกรุ่นใหม่ให้ถี่น้อยลงกว่าเดิม เราอาจจะเริ่มเห็นการปรับโครงสร้างกันอีกครั้ง
Comments
คิดว่าทาง Google หรือจะพูดให้ถูกคือทาง Andy Rubin น่าจะรู้ดีถึงธรรมชาติข้อนี้ และทางออกก็คือ Motorola กับดีลมหาศาลที่คงไม่ใช่แค่ต้องการซื้อสิทธิบัตร อันนี้น่าจะเป็นเกมส์ที่ Larry Page คาดการ์ณได้ ซึ่งเป็นเหตุผลให้ Android ถูกพัฒนาแบบเปิดภายใต้ข้อจำกัดแบบปิดๆ มาตลอดรวมทั้งทิศทางการพัฒนา App ที่จำเป็นสำหรับระบบในลักษณะของ Ecosystem ที่ต้องโยงมาพึ่งพา Google มากขึ้น (โดยเฉพาะจังหวะของ Google Drive)
สำหรับ Samsung ความสัมพันธ์ก็คงเป็นน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า และก็คงอ่านเกมส์ของ Google ออกเหมือนกัน (แน่ละ สัญญานที่ส่งออกมาชัดที่สุดก็คงไม่พ้นดีล Motorola) เลยทำให้ต้องหันไปทำ Software และชิงผูกมันไปกับ Hardware ตัดช่อง Google และสร้าง Tizen ร่วมกับ Intel เพราะลำพัง Bada แม้จะพร้อมใช้งานได้แล้ว ความที่มันคลอดมาจาก Samsung ก็คงยากจะหาใครนำไปเลี้ยงต่อ แต่ถ้า Tizen ที่ได้แม่เป็น Intel อย่างน้อยก็ยังเป็นลูกครึ่ง และทันทีที่ Intel พร้อม ความเข้ากันได้กับชิปเช็ตของ Intel ก็สร้างความได้เปรียบในตลาดได้อยู่แล้ว และที่สำคัญคือ Huawei จากจีนก็เข้าร่วมกับ Intel ถ้าเกิดจุดติดขึ้นมาโดยที่มี Huawei ร่วมพัฒนาคิดว่ารัฐบาลจีนที่ไม่ค่อยถูกกับ Google อยู่แล้วจะสนับสนุนแนวทางไหนกว่ากัน ... งานนี้ ต้องดูยาวๆ เกมส์นี้ไม่ใช่แค่ฉากเทคโนโลยี แต่เป็นกลยุทธ์ธุรกิจที่สนุกทีเดียว ;)
my blog
Nokia wouldn't understand this...
มันมีกรณีอย่าง android 3 ที่ไม่มีการเปิด source code ถ้า google ต้องการเข้าควบคุมทุกอย่างจริงๆ google อาจเลือกทำแบบ wp7 คือกำหนด hardware ที่เข้ากันใด้กับ software ที่จะให้ แน่นอน google สามารถ update os ทีเดียวใด้ทุกเครื่องด้วย
ui ที่ครอบทับ ราคา และ รูปร่างภายนอก ก็ยังอยู่สร้างความแตกต่างใด้
... ส่วน bada tizen ยังเจอกับกำแพง app และ wp7 ก็ปิดมากกว่า
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ซัมซุงทำให้สำเร็จยากนะ แยกตัวเนี่ย...
เพราะตัวเองก็ไม่ได้มีฝีมือในการเกลี่ยซอฟท์แวร์ให้เข้าท่า
สิ่งที่เก่งจริงๆ คือ ทำของราคาถูกกว่าคนอื่น...
ทำอย่างงี้เดี๋ยวจะกลายเป็น แยกกันไปตายซะปล่าว...
คนไม่กล้าซัมซุง เพราะ...อัพเดตได้มั่ง ไม่ได้มั่ง ถ้ากูเกิ้ลแก้บัคใหญ่ เพิ่มฟีเจอร์เจ๋งๆ คนใช้ซัมซุงดันอัพตามไม่ได้
กูเกิ้ลก็เสียผลประโยชน์ เพราะแอนดรอยด์ หลักๆ ก็ขายไปกับซัมซุงเนี่ยแหละ...ซัมซุงไม่อัพ แอพก็ขายยาก
กูเกิ้ลทำถูกแล้วแหละ ที่ไปซื้อโมโตมา...ถ้าปั้นได้ ปั้นขึ้น ก็เสร็จเค้าเลยล่ะ...
ถ้าซัมซุงแยกออกมาได้สำเร็จ การ update อาจจะเป็นไปได้มากขึ้นก็ได้ใครจะรู้
ปัจจุบัน ไม่ใช่แค่ซัมซุงที่ update ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่เป็นเกือบทุกเจ้า ขนาด Sony ที่สัญญาเป็นมั่นเป็นเหมาะ และทำเร็วกว่าเจ้าอื่นๆ ยัง update ไม่ได้ครบทุกรุ่นตามที่สัญญาไว้เลย
ดังนั้นปัญหาจึงไม่น่าจะมาจากซัมซุง แต่น่าจะมาจากกูเกิ้ลมากกว่า
แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้มีอะไรการันตี ว่าซัมซุงแยกออกมาทำเองแล้วจะ update ให้ตลอด
สุดท้าย ผมว่าจะแยกสำเร็จหรือไม่ น่าจะอยู่ที่ app store มากกว่า อย่าง amazon นั้น ทำเครื่องราคาถูก กับมีตลาดขายหนังสือเป็นจุดดึงดูดอยู่แล้ว ส่วน app นั้นก็จะตามมาเอง เมื่อ platform มันจุดติดแล้ว แต่ดู samsung app แล้ว ยังห่างไกลกันมากนัก
ผมคิดว่า ถ้าซัมซุงแยกตัวออกมาจริงๆ จะไม่มีการ update อะไรเลย
ถามผมว่า ผมเอาความคิดนี้มาจากไหน?
ถามคนใช้ "BADA" สิ?
ผมคิดว่า ลึกๆแล้ว แน่นอนที่ว่าผู้ผลิตหลายๆ รายไม่อยาก พึ่ง google มากนัก แต่ ในทางกลับกัน ก็คงยากที่จะ หาทีมพัฒนา os บนมือถือที่ดีกว่า android ได้ยากไม่แพ้กัน (แถมยังมีความเสียงที่ ผู้ใช้หลายๆราย ซึ่งคุ้นกับ android แล้ว อาจเปลี่ยนใจไปซื้อ brand อื่นๆด้วย)
แต่สำหรับ samsung คงเป็นข้อยกเว้น เพราะ samsung มีทีมนักพัฒนา, brand และ เงินทุน ที่แข็งแรงมากอยู่แล้ว สามารถเจียดทุนไปแทงกั๊กได้ ด้วยการลองออก มือถือสัก 2-3 รุ่นที่ใช้ os ของตัวเอง (ก็ไม่แน่นะ ถ้าทำสำเร็จ อนาจักร adroid อาจสั่นคลอนก็ได้)
อ่านย่อหน้าสุดท้ายแล้วนึกถึง Wave ขึ้นมาทันที :D
แบบนี้แสดงว่าซัมซุงเดินเกมส์ตามย่อหน้าสุดท้ายไปแล้วจริง และผลก็คือ....
ล่ม XD
อ้าว ล่ม เลยเหรอครับ 555
ทำ bada ไปแล้วไงครับ
ความเสี่ยงของธุรกิจ
ผมว่า เจ้าใหญ่ๆหลายเจ้ายังไงเสียก็ยังต้องแอบเป็นนกสองหัว
samsung มีทีมพัฒนากับ brand ที่แข็งแรง? คิดเป็น nokia ไปได้
แบรนด์ที่แข็งแกร่ง? ถ้าเรื่องทุนหนาหรือมีทีมพัฒนา ผมเชื่อนะครับ แต่ถ้ามองในมุมมองคนซื้อทั่วไปที่ไม่ใช่ Geek แบรนด์ Samsung ผมว่ายังไม่แข็งแกร่งพอ
อ่านแล้วมันจริงๆครับ แต่ทว่าในยุคนี้แล้วถ้า Samsung ขาด Google ต่อให้ระบบดูดีแค่ไหนก็เสี่ยงไม่รอดอยู่ดี
Tizen อาจจะเป็นอนาคตที่ดีของ Samsung ก็เป็นได้
Coder | Designer | Thinker | Blogger
จาก v.dev ปัจจุบัน ผมยังมองไม่เห็นอนาคต Tizen เลย
ถ้า Samsung ยันดัน Tizen แบบเดียวกับที่ทำกับ bada ก็เจ๊งเหมือนเดิมครับ ผมคิดว่างั้นนะ
เพราะว่ามี Intel ความเชื่อว่า Tizen จะเด่นดังขึ้นมาได้ก็ต่ำแล้วครับ (ในความคิดผม)
กรณีแย่ที่สุดเลยคือ Google แยกไปผลิต Android บน Motorola คนเดียว โลกของมือถือจะเปลี่ยนไปในทันที ที่อยู่รอดจะเหลือเพียงแค่ 3 ตัวหลักเท่านั้น Google(with Motorola), Apple, และตัวสุดท้ายก็คือการรวมตัวกันแบบตาลีตาเหลือก(ที่น่าจะสำเร็จแน่ๆ 1 กลุ่ม)
กลุ่มสุดท้ายนี้ฮาครับ "รวมตัวกันแบบตาลีตาเหลือก"
sumsung+(nokia+m$)+intel+เจ้าอื่นๆ แล้วก็ บูม! กลายเป็นโกโก้ครั้นซ์
55555
ผมชอบ 555+
พออ่านๆไปชักเริ่มเข้าใจแล้วว่าทำไม nokia ถึงไปรวมกับ Windows ก็เพราะว่ามันไม่เหลือใครแล้วไง จะไปเข้ากับ Android ก็เอาดียากเพราะมีผู้ยิ่งใหญ่แห่ง android เยอะอยู่แล้ว ต้องไปเป็นน้องๆเขา สู้พี่ๆเขาไม่ได้ ก็เหลือแค่ตัวเลือกเดียวก็คือ Windows นั่นแหละ โลกเราตอนนี้มันบีบตัวขึ้นเรื่อยๆ ปีหน้า RIM อาจะหายไปแล้วก็ได้ใครจะรู้
เค้าก็บอกมาประมาณนั้นล่ะครับ ซึ่งผมก็ดีใจที่เค้าคิดแบบนั้น เพราะเครื่อง Nokia สวยมากกกกก เสีย Xperia ให้ Android ไปแล้วถ้าเสีย Nokia ไปอีกนี่จืดเลย
คิดเหมือนกันเลยครับ ที่จริงผมอยากให้ มือถือมันเป็นเหมือนคอมที่จะขายเครื่องเปล่ามาแล้วมาซื้อ OS แยกนะครับ เผลอๆ อาจจะมีอะไรแปลกๆออกมาอีกเพียบ
สงสัยอนาคตท่าจะเป็นอย่างงั้น :P
^
^
that's just my two cents.
ช่วยหาครับ
แนว เกินมาครับ
อ่านตรงนี้แล้วงงๆ เหมือนประโยคมันขาดอ่ะครับ
ว่าแต่ Google อุตส่าห์เลือก Samsung เป็นคนผลิต Nexus แต่ Samsung พยายามหนีออกมาจาก Google ซะงั้น แบบนี้ตัวหน้าคงได้เห็นผู้ผลิตรายอื่นๆ ทำซีรี่ย์นี้กันบ้างละนะ
Dream high, work hard.
ขออนุญาตครับ ตรงนี้ไม่รู้ว่าพิมพ์ตกรึเปล่า อ่านแล้วขัดๆ
ที่น่าสนใจกว่านั้นคือซัมซุงเริ่มดึงพัฒนาให้พัฒนา "เพื่อทำงานบนซัมซุง"
น่าจะหมายถึง เริ่มดึงนักพัฒนา รึเปล่าครับ?
ปล.ขอบคุณสำหรับบทวิเคราะห์ดีๆครับ
เป็น เบื้องลึก เบื้องหลัง ที่ช่างซํบซ้อนเยี่ยงนี้ -- Android จะเป็นยังไง ต่อไป หึหึ
แต่ ปัญหาคือ Google เปิดให้ Android เป็นระบบเปิดแบบปิดๆ
และ การเข้าซื้อ Motorola ของ Google แม้จะเป็นกลยุทธ์ที่ชาญฉลาด
แต่การไม่เข้าไปยุ่งกับ Motorola นี่มันช่าง ..... แบบว่า Motorola อินดี้อะ
อยากอัพ รุ่นไหนก็อัพ ไม่อยากอัพแม่งก็ไม่อัพ ยิ่งกว่า SS อีก --
ความรู้สึกของ Samsung ตอนนี้คงประมาณว่า ตนเองเป็นผู้ที่ทำให้แอนดรอยด์ติดลมบนได้ขนาดนี้ แต่จะทำอะไรก็ยังต้องรอกูเกิลจนรู้สึกว่าถูกควบคุมไว้ไม่ต่างจากเจ้าอื่นๆ
+1
คิดๆแล้วก็งง
ถ้าเทียบกับ PC แล้วก็ชักสงสัยว่าทำไม windows + dell, asus, acer, hp ..... อยู่มาถึงทุกวันนี้ได้
แล้วก็ไม่มีใครทำ UI ตัวเองไปทับ windows ด้วยนะ - -'
เอ่อ อันนั้นมันแบบว่า มันเสถียรอยู่แล้วละมั้งครับ อีกอย่างจะไปสร้างครอบให้วุ่นวาย ทำไม เพราะยังไงมันก็คือ com ที่เป็นระบบปฎิบัติการ วินโดส์ นิ (เออ แล้วถ้าปรับแต่งครอบ UI ทับมันก็ไม่ต่างอะไรกับ Window เถื่อนนิ -*-) ลืมบอกไปนิดนึง Window มันไม่ใช่ Opensource นะครับ 555+ [กว่าจะหาเหตุผลมาตอบได้ ...]
ใช่เลยครับ windows ไม่ใช่ open source คิดได้หลังโพสไปเมื่อเช้าเหมือนกัน
Windows Mobile ก็ไม่ Opensource นะครับ ครอบกันกระจุย
ผมว่าเคยมีสมัยวินโดว์ 3.0 มาเลยนะครับ แต่เข้าใจว่าไม่ประสบความสำเร็จกันพอเป็นวินโดว์ 95 เป็นต้นมาก็ไม่เคยเห็นายไหนทำอีกเลย (รึว่ามีแต่ผมไม่เจอเอง)
ตั้งแต่ WIndows 95 มา MicroSoft ไม่เปิดโอกาสให้ใช้ UI อื่น
อย่างมาก็เปลี่ยน Theme หรือแปลงรูปแบบเล็ก ๆ น้อยอย่าง ของ StarDock
ไม่เหมือนสมัย 3.11 ที่แปลงกันสนุก ทั้ง NDW,PcTools
แต่สมัย 95 ก็เคยมี่ตัวครอบ GUI ของ Microsoft เองอย่าง Microsoft BOB
แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
ก็มีพวก bloatware ต่างๆ ที่ยัดเข้ามาไงครับ (ตัวจัดการ wifi, bluetooth ฯลฯ)
fork เลย!
fork เลย!!
fork เลย!!!
fork เลย!!!!
ด้วยเหตุนี่ Samsung จึงเปิดตัว Focus S เพื่อบอก Google ว่าฉันยังมีตัวเลือกอื่นอีกนะ ทั้งที่เคยให้สัมภาาษณ์ว่าจะไม่ทำ WP ในเร็ววันนี้ แต่ก็เปิดตัวเร็วเกินคาด
ข่าวนี้เป็นเชิงความคิดเห็นของผู้เขียนมากเกินไปครับ ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ต้องฟังหูไว้หู (ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นนี้) เพราะ อย่างแรกเลย ยังไงมันก็ยังเป็น android ครับไม่มีทางที่ SS จะบอกว่านี่คืออย่างอื่นแล้วจะขายได้ (ลองเปรียบเทียบในกรณี symbian ของ โนเกีย ตอนขายโทรศัพท์ก็ไม่มีใครประกาศว่าใช้ symbian) และเหตุผลที่ SS ต้องทำอะไรมากมายในระดับของ api (ถ้ามองอย่างคนที่ต้องการสร้างความแตกแยก คงมองอย่างในเนื้อข่าวที่เห็นว่า SS ต้องการประกาศเอกราช) ยังมีอีกเหตุผลคือ สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งเพื่อใช้เป็นจุดขายเหนือคู่แข่ง android ด้วยกัน และ code ส่วนนี้ ไม่มีทางที่จะส่งกลับไปที่กูเกิลแน่ครับ เพราะมันคือความแตกต่าง (อย่าลืมว่า android ไม่เหมือน ios เพราะมีคนใช้ร่วมกันเป็น 10 เจ้า ถ้าของคุณไม่ต่างจะขายยังไง การใช้ เพิ่ม spec ลดราคา ซอยรุ่น มันใช้ไม่ได้ตลอดไป)
ทำไมถึงคิดว่าเป็นข่าวล่ะครับ -_-'
my blog
บทวิเคราะห์ครับ
เราสงสัยมากว่า อย่าง FlymeOS (Meizu) และ MiUI (Xiaomi Phone) และ/หรือ CyanogenMod มันต่างกับ Android OS ของค่ายมือถือที่ใช้กันมากน้อยแค่ไหน?
FlymeOS นี้ของ Meizu ทำขึ้นเองคล้าย ๆ กับ Touchwiz ที่ Samsung ทำเอง
แต่ MiUI, CyanogenMod ชุมชนนักแต่งเขาพัฒนากันเองครับ เป็นอีกทางเลือกของคนที่ไม่ชอบ UI ของแต่ละค่ายมือถือ
มันเป็น ROM ที่ Developer เขาทำมาพิเศษเมื่อ Android ไม่สามารถทำตาม Need ที่พวกเขาต้องการได้ หรือที่เรียกว่า ปรุงรอม ครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
คิดเอาเองทั้งนั้น
แจ้งก่อกวนต้องโพสท์ตรงไหนครับ
เห็นหลายเม้นแล้ว
บทวิเคราะห์ไหนไม่คิดเอาเองบ้างล่ะครับ มันก็คิดเอาเองกันทั้งนั้นแหละ
ต่อให้มีหลักฐานดีขนาดไหน มันก็เป็นการคิดเอาเองว่าหลักฐานนั้นใช่ล่ะครับ
..เข้าใจคำว่าวิเคราะห์ไหม ?
แต่ว่า .... จะไปไหนรอดเหรอ .... มีแต่เครื่อง มีแต่ระบบแอนดรอยด์ที่ถ้าไม่คอมแพท ก็ไม่มีแอพ
ไม่มีแอพ ก็ไร้ความหมาย เว้นแต่คนซื้อเอาไปแค่ฟังเพลงกะถ่ายรูป
ไอโฟน ขายดี ไม่ใช่เพราะ iOS แต่เพราะว่า แอพ บน iOS ต่างหาก แน่นอน การออกแบบฮาร์ดแวร์ และความเนียนสวย กะไร้ปัญหาของ iOS เป็นส่วนสำคัญ ... เหมือนรถสปอร์ตสุดหรู ที่เครื่องยนต์ไม่มีปัญหา ... แต่มันเริดมาก ๆ เมื่อมีหนุ่มหล่อ กะสาวสวย มานั่งขับมัน
คิดดูว่า ถ้าไอโฟน มีแต่ iOS กะแอพที่มากับมัน คงจะจ๋อยไปในเวลาอันรวดเร็ว กลายเป็นโทรศัพท์ธรรมดา ๆ เหมือนซิมเบียน ... แต่เพราะมันมีแอพราคาแค่ 30 บาท และอัพเดทอัพเกรดฟรีตลอดชีพคนทำแอพ มันถึงได้ไปได้แจ๋ว
ซัมซุง ถ้ายังคิดจะขายแอนดรอย ยังไงก็ยังต้องอยู่ใต้ปีก กูเกิ้ล เพราะแอพแอนดรอย ยังใช้เอพีไอของกูเกิ้ลอยู่ ... จะมีนักพัฒนาแอพซักกี่คน จะยอมลงทุน มากกว่า 2 เท่า เพื่อพัฒนาแอพให้เข้ากับซัมซุง ตอนนี้ แค่แฟรกเม้นท์ของแอนดรอย ก็แย่แล้ว หน้าตาก็สู้ iOS ไม่ได้ คุณภาพก็ยังงั้น ๆ
คินเดิ้ล มันเวิร์ค เพราะมันใช้งานแค่อ่านหนังสือ อย่างอื่นไม่ได้เรื่องก็ยังไม่เป็นไร เพราะคนทำเขาทำไว้ให้อ่านหนังสือ มันทำได้ดีเฉพาะอ่านหนังสือ ก็ถือว่าถึงเป้าแล้ว
คาดว่า คนทำแอนดรอย ยังไง ๆ ก็ต้องง้อ กูเกิ้ล แหละ เว้นแต่จะไปเต๊าะ แอปเปิ้ล ขอให้พอร์ท iOS ออกเป็น โอเพ่นฮาร์ดแวร์ ซึ่งแอปเปิ้ลคงจะบอกว่า ฝันไปเถอะ
ไม่งั้น ก็ต้องรวมหัวกัน เป็นขบถกะกูเกิ้ล ทำโอเอสในกลุ่มของตัวเอง อุดหนุนนักพัฒนาให้พอร์ทแอพให้ ... ซึ่งเป็นไปได้น้อยมาก เพราะไม่ได้ทำให้เกิดข้อได้เปรียบในเชิงการค้า แล้วใครจะมาเป็นคนจัดระเบียบเรื่องแอพ
สรุปแล้ว สุดท้าย ซัมซุงก็ยังคงต้องอยู่ใต้ปีก กูเกิ้ล ต่อไป ไม่งั้น ก็ไปสยบไมโครซอฟ์ทซะ
หรือ ถล่มกูเกิ้ลซะเลย รวมหัวกัน เลิกทำแอนดรอย ปล่อยให้กูเกิ้ลทำไปคนเดียว กะโมโตโรล่า ... มันจะไปได้ถึงไหนกัน เพราะโมโตโรล่า ก็พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า ไปไม่รอด ไม่นาน ก็จะขาดทุนเหมือนชาวบ้าน ส่วนกูเกิ้ล ที่หากำไรเอาจากข้อมูลของผู้ใช้อย่างพวกเรา ที่แอบเอาไปฟรี ๆ ก็จะขาดแหล่งฉกฉวยข้อมูล ขาดพอร์ทที่จะโฆษณา เดี๋ยวก็ตายไปเองแหละ แล้วก็จะหันมากราบกรานผู้ผลิตใหม่ ช่วยเอาของผมไปใช้ที ได้โปรดเถอะ
ถึงตอนนั้น ค่อยบีบเอ้ก กูเกิ้ล ตั้งเงื่อนไขว่า หากจะให้ผลิต ก็ต้องทำอะไร ๆ ดีกว่านี้ ซึ่งกูเกิ้ลคงยอมไม่ยาก เพราะยอมแล้ว ได้กำไรกลับมาเป็นหมื่น ๆ ล้าน ใครจะไม่ยอมหละ
จริงๆครับ แอพ ยังไงก็สำคัญ ถ้า SS จะเปิด OS ใหม่ แต่ แอพมีน้อย แล้วคนจะใช้หรอ นั่นละปัญหา -*-
Kindle Fire นี่ไม่ได้มีไว้อ่าหนังสือเป็นหลักนะ เอาไว้ชนกับ iTunes ของ Apple เลยตะหาก วิดิโอ(มีทั้งซื้อและเช่า) เพลง หนังสือ แอพ เขากินรวบหมดเลยต่างหาก
Kindle Fire นั้นเค้ามี market ของตัวเอง และตัวอเมซอนยังมีการคัดเลือกก่อนขึ้นอีกด้วย จะว่าด้วยเพราะว่าเครื่องมันมีแค่โมเดลเดียว ทำให้ไม่เกิดแฟรคเมนต์ให้นักพัฒนาปวดหัว (ก็นั่งออปติไมซ์กันให้มันไปเลย จะฮาร์ดโค้ดด้วยก็ยังได้ เพราะว่ามันมีแค่ซีพียูแบบเดียว,จอความละเอียดเดียว,แรมก็แค่นี้แหล่ะ) ทำให้คุณภาพของแอพที่เข้าตลาดของอเมซอนถึงดีพอสมควร
เห็นด้วยกับหลายๆข้อ
ผมว่าในที่สุด Android คงเละน่าดู เจ้าของค่ายมือถือไม่อยากโปรโมท ต่างคนต่างเอา UI ตัวเองไปทับ
ในตลาดก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสุดท้ายที่ผูกขาดจริงๆคือระบบปิดแบบ Apple
หรือไม่ก็แยกให้ชัดไปเลยระหว่างคนขาย OS กับคนทำ Hardware เช่น windows + dell, compaq, hp
บริษัทผู้ผลิตคงต้องสร้างอำนาจต่อรอง หรือมีแผนสำรองความเสี่ยงจากกูเกิลอยู่แล้ว
แต่การเอา API ของซัมซุงไปใส่ Android จะยิ่งทำให้ซัมซุงไม่ต่างจากผู้ผลิตรายอื่น ไม่มีจุดขายมากขึ้น อย่างนี้ผู้ผลิตไม่น่าจะต้องการเอา API ไปใส่ใน Android กระมัง
ไม่ว่าจะยังไงข้างในมันก็เป็น Android อยู่ดีเป็นความจริงที่หนีไม่พ้น ยิ่งซัมซุงขายดีเท่าไหร่ Android ก็แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น
ผมว่ายุทธศาสตร์ของค่ายมือถือ เขาคงเน้นประสบการณ์ในการใช้งาน ในแต่ละ OS ให้เหมือนๆ กัน มากกว่า เพื่อวันหนึงเกิดเหตุฉุกเฉิน ผู้ใช้ก็จะไม่ยึดติดกับ OS แต่เคยชินกับกับ Brand ที่เขาเลือกใช้ ก็สามารถเปลี่ยนถ่ายไปใช้งาน OS อื่นได้โดยไม่รู้สึกเขอะเขิน ผมว่าคนกลุ่มใหญ่เขาใช้มือถือที่ตอบ Life Style ของตัวเองมากกว่า ที่จะมายึดติดกับ OS
ถ้าจะให้เดา Samsung คงยังไม่ได้แตกหักอะไรกับ Google เพียงแต่เผื่อช่องถอยให้ตัวเอง ในกรณีที่ Android ถึงช่วงขาลง ในการทำธุรกิจ ถ้าเส้นโค้งการเจริญเติบโตมันถึงจุดสูงสุดมันก็จะลง ก็ต้องหานวัตกรรมใหม่ๆ ช้อนเส้นโค้งขึ้นไปใหม่ เพื่อให้ผู้ลงทุนไม่ปลด CEO ออก ซึ่งผมว่า CEO คนไหนคิดแบบนี้แสดงว่าเป็นมีวิสัยทัศน์ดีใช้ได้ทีเดียว
วิธีการที่ทำเตรียมตัวไม่ให้เจ็บตัวมากเหมือน Nokia ก็คงต้องเริ่มให้ผู้ใช้ไม่คิดว่ามือถือที่คุณใช้เป็น Android แต่เป็นมือถือจาก Samsung ซึ่งมันก็คือวิธีสร้าง Brand ตามวิถีทางการตลาด ถ้า WP เกิด Boom ขึ้นมา Samsung ก็พร้อมที่จะเป็นอันดับหนึ่งต่อไป เพียงแต่ย้ายไปเน้นที่ WP ก็แค่นั้น คนที่ใช้ Samsung แล้วมี Loyalty กับ Brand ก็จะเฮมาใช้ WP โดยไม่รู้ตัว เพราะเขารู้สึกว่ามันก็ Samsung ประสบการณ์การใช้งานก็ไม่ได้ต่างกัน
ค่ายอื่นๆ ก็เหมือนกัน ทั้ง Sony , HTC ผมว่าเขาเตรียมการไว้ดีพอสมควร ในกรณีที่ Android เป็นขาลง (ยกเว้น Nokia เจ้านั้นรู้สึกจะไม่ค่อยชอบจะกระจายความเสี่ยง พังก็ดับ ถ้าดังก็ ดังสุดกู่)
ประเด็นนี้ เข้าท่าแฮะ
ผมมองว่าต่อไป smartphone มีรูปแบบเหมือนพีซีพกพามากกว่า คือสามารถเลือก OS ลงได้ตามใจชอบโดยจะมี OS ติดเครื่องมาเป็น OS ของแต่ละค่าย ซึ่งจะเหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ส่วนคนที่ต้องการระบบที่ทำงานได้มากขึ้นก็ต้องลง OS อื่นๆ android,wp หรืออนาคตอาจมี BB OS
อาจจะเป็นเพราะความเป็นระบบเปิดของ Android ก็เป็นได้ ระบบเปิดที่มีตั้งไม่รู้เท่าไรที่ถูกปิดไว้ ผู้ผลิตแต่ละเจ้าก็เลือกทำ Custom UI ขึ้นมาใช้เองเพื่อสร้างความแตกต่าง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว เราพบว่าผู้ใช้จำนวนไม่น้อยหนีไปพึ่ง Custom Rom เจ้าอื่นด้วยซ้ำ เอาเข้าจริงๆ ไม่ค่อยมีใครใช้ Launcher เดิมๆของผู้ผลิต โดยเฉพาะซัมซุงซึ่งทำออกมาได้ช้าและกินหน่วยความจำอย่างน่าเหลือเชื่อในแทบทุกๆรุ่น
ของที่ปิดจำนวนมหาศาลในระบบของ Android น่าจะเป็นตัวการันตีได้ค่อนข้างดีว่า ในอนาคตอันใกล้ โปรเจคพวกนี้จะถูก Fork ออกไป โดยเหลือแต่ Close API ไว้ แล้วค่อยมาดูกันอีกทีว่ามันจะ Collapse กลับมาได้หรือเปล่า
ChatOn น่ะจะรอดไหม
คุยว่าเครื่องรุ่นเล็กๆ ตัวเองคุยได้กับทุกเครื่องที่ลง ..แต่ต้องลง ChatON
ก็ไม่ได้ว่าอะไรนะ ของแบบนี้มันต้องลอง Line ยังดังมานำ whatsapp ได้ ไม่ได้ดูถูก
แต่กระแส ChatON นะได้ซักครึ่งของ Line ไหม
คนส่วนนึงเลย พูดจริงๆ เวลาเขาบอกว่า ทำไม่ไม่ใช้ iPhone เขาพูดไปงั้นล่ะเขาไม่ได้คิดมากอะไรจริงจังเหมือนพวกเราหรอก
คนส่วนใหญ่เขาแค่สนว่าเขาซื้อเครื่องนึงมาแล้ว ใช้แอพกับเพื่อนๆ คุยกันได้แค่นั้น
สรุปคือถ้าจะทำ ระบบเอง
แต่ไม่พึ่งแอพ จะทำเองให้ได้
ณ ตอนนี้ ยังไม่รอดง่ายๆ แถมพาลจะเสียชื่อเหมือน Bada อีก
wave 1 ผมยังลง ChatOn ไม่ได้เลย เพราะมันต้องเป็น Bada 2.0! ที่เลื่อนมา 3 ชาติแล้ว...
update! มันมาแล้ว....
ถ้าทำ OS เอง ระบบ App ต่างๆนี่ต้องให้น่าใช้กว่าของ Android นะ
ตราบเท่าที่ยังใช้ playstore, google contacts, gmail และ google search
ผมว่าอากู๋โอเค อากู๋คงอยากได้ environment ที่ทำให้คนอยู่บน ecosystem ของอากู๋มากกว่า
ต้องรอลุ้น Vita OS ของ sony อีกตัว
เชียร์ให้มันเกิดด้วยคน
Vita OS แจ่มเจ๋งดีครับ อยากให้เกิดจริงๆ
รอลุ้นอยู่เช่นกัน แต่เห็นสตาฟเว็บ SonyRumors.net บอกว่า "Seems to be the insider consensus that it will happen in 2 years time"
samsung อาจจะ คุยกับทิมคุกก็ได้ครับ อาจจะเอา ios ลง samsung ก็ได้ ถึงตอนนั่น ซัมซุงเมิน แอนดรอยเลย ฮาาา คิดไปเองนะเนีย
Fragment กระจ๊ายยยยยย //ทำเสียงแบบดาวกระจาย
Dream high, work hard.
ไม่มั้ง Samsung อาจกลายเป็น 3.5 นิ้วหมดก็ได้ (คิดเล่น ๆ)
ขี่หลังเสือเสร็จถึงเวลาถอนหนวดเสือ
กระทู้นี้คุณภาพคับแก้วจริงๆ ครับ ทั้งตัวกระทู้และคอมเม้นท์
ผมว่าถ้าซัมซุงแยกออกมาจริงๆ นะ ยี่ห้ออื่นก็จะพากันแยกออกมาทีละนิด ทีละนิด ผมว่ามันอาจจะทำให้แอนดรอยที่เป็นหนึ่งเดียวกันเสียสมดุลย์จนล่มไปเลยก็เป็นไป(ประเมินนะครับ..)
ผมมองว่าตระกูล Galaxy ไม่สามารถแยกว่าตัวเองไม่ใช่ Android ออกหรอกครับ ส่วนการสร้างฐานจาก Android ผมมองว่า เป็นไปไม่ได้
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ถ้า samsung แยกตัวออกไปจริงจริง samsung อ่าละครับ คนที่จะเจ๊บหนัก
google อาจจะมีเสียหายบ้างแต่ก็ยั่งมีเจ้าอื่นที่ยินดีที่จะทำ anidroid ต่อไป
ข่าคุณภาพก็มาพร้อมคอมเม้นต์คุณภาพ :)
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
เอาขิงด้วยมั้ยครับ :P
= =
งงอยู่ 20 วินาที - -'
อิอิอิ
อ่านสนุกจัง
ส่วนตัวเดาเล่นๆว่า ios, android, wp จะเป็น 3 os หลักในตลาดในช่วง 1-5 ปีนี้ ...
เทคโนโลยีมันหมุนไปเรื่อยๆ พอถึงจุดนึง hardware บนมือถือจะพัฒนาไปจนถึงระดับการตอบสนองความต้องของคนได้หมด บน hardware ที่ใช้การสัมผัสจากหน้าจอ เหมือนที่ pc หรือ notebook ทำได้กับการป้อนข้อมูลด้วยคีย์บอร์ด
ก็เหมือนกระทู้ก่อนนู้น ..ที่การพัฒนาจุดขายจะมาอยู่บน software ซึ่งปัจุบัน ก็คือฟีเจอร์ต่างๆที่มากับโทรศัพท์แล้วก็ app บนตลาดในแต่ละ platform
จนกระท้ั้งมี hw แบบใหม่ๆ เทคโนโลยีแบบใหม่เข้ามา ... บริษัทมือถือก็จะวนกลับมาแข่งกันที่ hw อีกรอบ เป็นแบบนี้เรื่อยไป
ถ้าจะมี os ใหม่ขึ้นมา ดีหรือไม่ ... กับตลาดของ smartphone ตอนนี้ ส่วนตัวมองว่า ... อาจจะเป็นผลเสียต่อคนทำ os ใหม่มากกว่า เพราะกว่าจะเข็นผู้ผลิต app เข้ามาทำใน os ของตัวเองได้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ขนาด Microsoft ยังเหนื่อย
ถ้าค่ายมือถือจะพัฒนา os ของตัวเอง อาจจะเป็นการพัฒนาคู่ขนาน เผื่อเทคโนโลยีข้างหน้าซะมากกว่า
..: เรื่อยไป
พอเริ่มสู้ได้หน่อย ก็อยากจะตีจากไปเด่นไปดัง มันเป็นเรื่องธรรมดาเวลาคนหมู่มากอยู่ด้วยกัน
จากการใช้เองมาหลายปี ทั้ง htc และ samsung ตัว samsung เอง กระจอกงอกง่อยมากทางด้าน software
เห็นได้จาก samsung app store และ samsung TW launcher
เมือคิดว่าถ้าใครจะแยกออกจาก google ได้แบบสวยงามไม่ล่ม ผมว่า HTC เจ๋งกว่าเยอะมากๆ เครื่อง htc โดยส่วนมาก firmware โดนปรับแต่งมา ดูดี และ เสถียร กว่า samsung ในทุกๆรุ่น
samsung ผมว่า software ดีที่สุดแล้วนะ ของ htc เวลาเล่นเวปยังไงมันก็กระตุกๆไม่เหมือน samsung ที่เรนเดอร์เพจได้ลื่น
มาก ถึงเวปจะหนักแค่ไหนก็ยังลื่นๆแต่ของเจ้าอื่นนี่ไปหมดแล้ว เรื่องความเสถียรตอนนี้ใช้ iphone อยู่เด้งบ่อยกว่า galaxy s2 อีก ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าที่เค้าพูดนี่เคยใช้จริงๆหรือป่าว หรือแค่ตามน้ำเพราะมีคนพูดทำนองนี้เยอะมากแต่ผมเป็นคนที่เคยใช้มาหลายรุ่นมันขัดกันมาก
สงครามแย่งนักพัฒนา กำลังเริ่มขึ้น...
4s ใช้ไปนานๆอืดโครตๆ
ปิดแอพยังครับ หรือลอง Soft Reset เครื่องดู รับรองหายอืด
Coder | Designer | Thinker | Blogger
คนแถวๆ นี้แอพเยอะมากครับ 4 - 5 หน้าได้ ใครบอกอะไรดีพี่โหลดมาหมด ใช้จริงแค่โทรฯ กับ WhatsApp
แล้วก็บ่นว่าเครื่องช้า
เพื่อนผมใช้ 3GS พอมีปัญหา Reset เลย (เจลด้วยครับ)
Coder | Designer | Thinker | Blogger