Intel Xeon Phi เปิดตัวมานาน แม้เราจะรู้ว่ามันเป็นชิปในตระกูล MIC แต่ก็ไม่เคยมีรายละเอียดออกมาจริงจังว่าสถาปัตยกรรมภายในเป็นอย่างไร แต่หลังจากงาน Hotchips ปีนี้อินเทลก็เริ่มเปิดเผยรายละเอียดภายในของ Phi แล้ว
George Chrysos หัวหน้าฝ่ายสถาปัตยกรรมของ Phi ระบุว่าการออกแบบทำเพื่อจุดมุ่งหมายสามประการ คือ
จุดที่น่าสนใจคือ Phi นั้นจะเหมือนเป็นเครื่องแยกออกไปต่างหากที่รันระบบปฎิบัติการของตัวเอง สามารถ telnet เข้าไปทำงานภายในได้ และการสื่อสารจากคอร์หลัก ต้องทำผ่าน socket เท่านั้น แต่เป็น socket ที่คุยผ่าน PCIe ดังนั้นความเร็วจะสูงมาก สำหรับคอมไพล์เลอร์นั้นใช้คอมไพล์เลอร์ของทางอินเทลที่มีให้ รองรับทั้ง C/C++, และ Fortran
บนตัวการ์ดนั้นมีแรมแบบ GDDR5 ในตัว 8GB และ แต่ละคอร์จะมีชุดประมวลผลแบบเวคเตอร์ความกว้างถึง 512 บิต แบ่งได้สองแบบคือ 32 บิต 16 ชุด หรือ 64 บิต 8 ชุด แต่ละคอร์เชื่อมต่อกันด้วยบัสที่เชื่อมต่อเป็นวงกลมสองทางที่ได้รับมาจาก Larrabee ตั้งแต่ปี 2008 (สมัยนั้นยังเปิดตัวในฐานะการ์ดกราฟิก)
อินเทลระบุว่า Phi เข้าไปอยู่ใน TOP500 เรียบร้อยแล้วในอันดับ 150 และถ้ามองจากรายการ Green 500 อินเทลจะอยู่อันดับที่ 21 ด้วยประสิทธิภาพ 1380.67 MFLOPS/W เฉือนชนะ Radeon ที่ทำได้ 1379.79 MFLOPS/W และ NVIDIA ที่ทำได้ 1266 MFLOPS/W ส่วน 20 อันดับแรกเป็นของ IBM Power BQC 16C 1.6GHz ทั้งหมดเกิน 2000MFLOPS/W
ถ้ามหาวิทยาลัยไหนได้รับการ์ดมาใช้งาน เขียนมาเล่าประสบการณ์การใช้งานแบ่งปันกันได้นะครับ
ที่มา - Intel
Comments
เจ๋งแฮะ แค่การ์ดใบเดียว (ใช่มั้ย?)
คนไม่มีความรู้งง
สรุปคือมันใช้แทน CPU ได้เลยปะ
หรือมันเฉพาะเจาะจงบางฟังก์ชั่นเหมือน GPU
มันเป็น X86 ใช่เปล่าครับ
มันคือ คอมฟิวเตอร์ 1 เครื่อง ที่มี CPU RAM และ LAN
มันอาศัย Slot PCIex เป็นที่วางการ์ด แล้วใช้ไฟ จาก Slot นี้ (ปกติ Server จะใช้ตู้ Rack)
สื่อสารกับเครื่อง Host ด้วย socket ผ่าน PCIe ( ปกติ จะเป็น LAN ถ้่ามองแบบ VM Ware )
จ๊อด...
อีกหน่อยพวกแข่ง TOP500 จัดการ์ดนี้เข้าไป...