อินเทลเดินหน้าบุกตลาดซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องจากการ์ด Xeon Phi ในงาน SC14 อินเทลก็เปิดตัวการ์ดรุ่นต่อไปชื่อรหัสว่า Knight Hill ที่ยังไม่มีรายละเอียดอย่างอื่นนอกจากมันจะผลิตด้วยเทคโนโลยี 10 นาโนเมตร และรองรับการเชื่อมต่อภายนอก Omni-Path
Omni-Path เป็นการเชื่อมต่อแบบใหม่ที่รองรับแบนวิดท์ได้สูงสุด 100 Gbps และทำ latency ต่ำกว่า Infiniband ลง 56% ตัวสวิตช์ของ Omni-Path จะมีพอร์ตถึง 48 พอร์ตต่อสวิตช์ทำให้เครื่องมีความหนาแน่นกว่าเดิม
ความได้เปรียบสำคัญอีกอย่างหนึ่งของ Omni-Path คือการที่ Xeon Phi จะมีอินเทอร์เฟซโดยตรง ทำให้หน่วยประมวลผลสามารถสื่อสารข้ามเครื่องกันได้โดยตรง
การ์ด Intel Phi เป็นการ์ดคำนวณประสิทธิภาพสูง กระบวนการทำงานออกแบบสำหรับการคำนวณกับข้อมูลขนาดใหญ่ๆ ที่มีกระบวนการคำนวณเป็นแบบเดียวกันเป็นชุดๆ ตัว Intel Phi เองแม้จะราคาไม่แพงเกินไป (ต่ำกว่าแสน) แต่ก็ไม่ใช่ของที่เราจะเห็นกันได้ทั่วไปเหมือนการ์ดกราฟิก แนวทางของอินเทลจึงเป็นอาศัยการตั้งศูนย์ทดสอบเพื่อให้นักพัฒนาเข้าไปลองใช้งานการ์ดนี้กัน และตอนนี้การ์ดใบนี้ก็มาตั้งเป็นศูนย์ทดสอบในเมืองไทยแล้วที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศูนย์ทดสอบนี้เพิ่งจัดสัมมนาไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยส่วนมากผู้เข้าร่วมจะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆ แต่ศูนย์นี้ก็เปิดให้คนภายนอกเข้าไปทดลองใช้งานได้โดยเขียนข้อเสนอโครงการคร่าวๆ ว่าจะใช้ Phi เพื่อทำอะไรแล้วอีเมลเข้าไปยังโครงการ
การ์ด Phi เพิ่งทำให้เครื่อง Tianhe-2 ขึ้นที่หนึ่งซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกไป อินเทลก็อาศัยโอกาสนี้เปิดตัวการ์ด Phi รุ่นใหม่อีกส่ามรุ่น คือ 7120, 3120, และ 5120D
Phi 7120 จะเป็นรุ่นใหญ่สุดในบรรดการ์ด Phi ที่อินเทลขายอยู่ตอนนี้ จุดเด่นของมันคือการเพิ่มแรมบนการ์ดเป็น 16GB ทำให้มีแรมสำหรับแต่ละคอร์เพิ่มขึ้นมาก ความเร็วในการคำนวณเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.2 TFLOP สำหรับการคำนวณตัวเลข double precision (DP) แต่ในการใช้งานจริงก็จะใช้งานง่ายขึ้นมาก แยกสองรุ่นคือรุ่น P จะมีพัดลมระบายความร้อนมาด้วย ส่วนรุ่น X ไม่มีให้
Intel Xeon Phi เปิดตัวมานาน แม้เราจะรู้ว่ามันเป็นชิปในตระกูล MIC แต่ก็ไม่เคยมีรายละเอียดออกมาจริงจังว่าสถาปัตยกรรมภายในเป็นอย่างไร แต่หลังจากงาน Hotchips ปีนี้อินเทลก็เริ่มเปิดเผยรายละเอียดภายในของ Phi แล้ว
George Chrysos หัวหน้าฝ่ายสถาปัตยกรรมของ Phi ระบุว่าการออกแบบทำเพื่อจุดมุ่งหมายสามประการ คือ