งาน ISSCC ปีนี้อินเทลนำเสนองานวิจัยใหม่แสดงเทคนิคการออกแบบชิปขนาดใหญ่ที่มีขนาดถึง 256 คอร์ ทำให้ต้องส่งข้อมูลไปมาระหว่างคอร์จำนวนมหาศาล ข้อจำกัดสำคัญคือการรักษาสัญญาณนาฬิกาให้ตรงกันทุกคอร์ กลายเป็นข้อจำกัดสำคัญ อินเทลจึงเสนอแนวทางออกแบบใหม่ ให้มีเครือข่ายบนชิป (Network-on-Chip) ทำให้แต่ละคอร์มีช่องทางสื่อสารระหว่างกันโดยไม่ต้องมีสัญญาณนาฬิกาตรงกัน หรือกระทั่งมีไฟเลี้ยงต่างกันได้
อินเทลนำเสนอชิปที่เชื่อมต่อคอร์ภายในเป็นตาราง 16 x 16 รวม 256 คอร์ แต่ละคอร์มีสัญญาณนาฬิกาและไฟเลี้ยงแยกออกจากกัน โดยใช้สัญญาณนาฬิกาในการสื่อสารจากต้นทางข้อมูล (source synchronous) และเชื่อมต่อระหว่างคอร์แบบผสมระหว่าง packet switching และ circuit switching โดยแต่ละคอร์จะสามารถขอเปิดเส้นทางเชื่อมต่อด้วยการส่งคำขอแบบ packet switching แล้วจากนั้นช่องทางสื่อสารจะเปิดถึงกันเป็น circuit switching
อินเทลแสดงให้เห็นว่ากระบวนการแบบนี้สามารถให้ประสิทธิภาพสูงถึง 20 เทราบิตต่อวินาที ขณะที่ให้ประสิทธิภาพพลังงานถึง 18.3 เทราบิตต่อวินาทีต่อวัตต์ และส่วนเชื่อมต่อนั้นทำงานที่แรงดันไฟฟ้า 340 มิลลิโวลต์เท่านั้น
งานวิจัยนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ
ที่มา - The Register
Comments
เห็นความประหยัดไฟแล้วแบบว่า o_O
Dream high, work hard.
แรก ๆ สงสัยเรื่องประสิทธิภาพ และกำลังไฟ แต่อ่านถึงวรรครองสุดท้าย โดนดักได้หมดเลย Orz
Jusci - Google Plus - Twitter
ติดตั้ง firewall ระหว่าง core ด้วยไหมครับ
อ่านต้นฉบับตัวชิปรันด้วย Near threshold voltage (NTV) เลยประหยัดพลังงานครับ
อยากรู้การใช้พลังงานของปัจจุบันด้วย
แจ่ม
มันจะเป็นเรื่องขี้คุยเหมือนสมัย 80 Core ไหมล่ะ? หวังว่าเงินลงทุนคงไม่ละลายเหมือนตอนนั้นหรอกนะ
ตัว 80 core มันละลายเงินยังไง.. ตอนนี้ก้อยังต่อยอดงาน R&D อยู่ ?
กระแสตอบรับ xeon phi ก้อออกมาดี.. แม้ตอนนี้จะยังใช้ NoC แบบ ring อยู่ แต่ถ้าจะเพิ่ม core เปนหลายๆ ร้อย รวมถึงการรองรับโหลดแบบ heterogeneous และมีการติดต่อกันระหว่างโหลดที่ซับซ้อน ท้ายสุดคงเลี่ยง NoC แบบ mesh ไม่พ้น?
แนวโน้มเหมือนจะไม่ใช่แค่อินเทลด้วยที่ศึกษาเรื่องทำนองนี้อยู่.. ช่วงนี้มีงานวิจัย NoC แบบ mesh ทั้ง 2d/3d เยอะแยะ?