ข่าวใหญ่ในรอบสัปดาห์คงหนีไม่พ้นการเข้าตรวจสอบ Android ใน EU ที่แต่ละประเทศเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติของแพลตฟอร์ม Android ที่ประกาศตนว่าเป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดตั้งแต่เริ่ม แต่พักหลังๆ มีท่าทีที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด และล่าสุดก็มีการหลุดเอกสารสัญญาฉบับหนึ่งที่กูเกิลเรียกมันว่า "Mobile Application Distribution Agreenment" หรือ MADA ซึ่งเป็นสัญญาฉบับสำคัญระหว่างกูเกิลและผู้ผลิตออกมา และนี่ก็สามารถเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่อาจจะบ่งชี้ได้ว่ากูเกิลเริ่มพา Android กลับเป็นระบบปฏิบัติการแบบปิดเสียแล้ว
โดยข้อตกลงในฉบับนี้มีใจความสำคัญที่สามารถพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ครับ
* ผู้ผลิตจะต้องเลือกว่าจะใส่ซอฟต์แวร์ของตัวเองผสมกับของกูเกิล หรือจะเลือกใช้เฉพาะของกูเกิลเท่านั้น หรือสรุปสั้นๆ ก็คือไม่ว่าผู้ผลิตจะทำซอฟต์แวร์ครอบเองหรือไม่ ยังไงก็ต้องใส่บริการของกูเกิลเข้ามาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Chrome, Hangout, Google Search เป็นต้น
* กูเกิลจะมีสิทธิ์และอำนาจเด็ดขาดในการควบคุมการอัพเดตซอฟต์แวร์และบริการของกูเกิลแต่ละตัว ให้กับแต่ละประเทศแต่เพียงผู้เดียว (คือกูเกิลจะมีอำนาจในการควบคุมซอฟต์แวร์ในเครื่องส่วนใหญ่เหนือกว่าผู้ผลิต)
* ผู้ผลิตไม่มีสิทธิ์ในการแจกจ่ายซอฟต์แวร์และบริการของกูเกิลโดยพลการ (น่าจะหมายถึงการแจก GMS ให้มาแฟลชกันเองเหมือนกับ CyanogenMod อันนี้ "ห้าม" ให้ผู้ผลิตทำครับ)
* จะต้องมีวิดเจ็ต Google Search Bar ในหน้าใดหน้าหนึ่งของพื้นที่ในหน้าโฮมสกรีน
* จะต้องไม่มีแอพพลิเคชันควบคุมที่อยู่เหนือกว่าหน้าโฮมสกรีน
* ผู้ผลิตไม่มีสิทธิ์ในการแบ่งพาร์ทิชันในการจัดเก็บแอพพลิเคชันและบริการของกูเกิลทั้งหมด แต่มีสิทธิ์ในการรวบรวมแอพพลิเคชันของกูเกิลทั้งหมดไว้ในโฟลเดอร์เดียวกันที่หน้า Launcher ได้ (เหมือนกับที่ HTC และ LG ทำ)
* ผู้ผลิตจะต้องใช้ Google Search เป็นบริการค้นหาหลักเท่านั้น
* ผู้ผลิตจะต้องส่งยอดขายอุปกรณ์ Android แต่ละชิ้นคืนให้แก่กูเกิล โดยจะต้องแยกเป็นจำนวนรุ่นย่อยตามประเทศที่จำหน่าย และข้อมูลการจำหน่ายในแต่ละประเทศที่มีเครื่องวางขาย (สมมติ Xperia Z1 มีรุ่นย่อยทั้งหมดแปดรุ่น เวลาส่งเอกสาร จะต้องส่งทั้งแปดรุ่น และส่งตามจำนวนประเทศที่วางขาย สมมติว่าจนถึงปัจจุบันวางขายไป 50 ประเทศ ก็จะต้องส่งเอกสารทั้งหมดกว่า 400 ชุดให้แก่กูเกิล)
* ผู้ผลิตจะไม่มีสิทธิ์ในส่วนแบ่งรายได้ทั้งหมดของกูเกิล ซึ่งนั่นก็คือรายได้ที่เกิดขึ้นจากบริการต่างๆ ของกูเกิล รวมถึงส่วนต่าง 30% ที่กูเกิลหักจากนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ส่งแอพพลิเคชันขึ้นไปวางขายอยู่บน Google Play Store ด้วย
* ในการส่งอุปกรณ์มาตรวจสอบแต่ละครั้ง ผู้ผลิตจะต้องส่งอุปกรณ์รุ่นเดียวกันมาให้ทดสอบทั้งหมด 4 ชิ้น และในระยะเวลาการตรวจสอบ ผู้ผลิตไม่มีสิทธิ์ในการเปิดเผยอุปกรณ์รุ่นดังกล่าวแก่สาธารณชน
* ผู้ผลิต "ไม่มีสิทธิ์ในการพัฒนาโครงสร้างหรือนำโครงสร้างของ Android ไปพัฒนาต่อได้ด้วยตัวเอง" (หมายถึงการ forking) ตลอดระยะเวลาที่ทำข้อตกลงในฉบับนี้ไว้ (ข้อนี้ คือเหตุการณ์ศึกชิงนาง (Acer) ระหว่าง Google และ Alibaba และยังเป็นสิ่งที่กูเกิลกลัวซัมซุงทำมากที่สุด)
นอกจากนี้กูเกิลยังระบุแนบท้ายสัญญาว่า สัญญา MADA ฉบับนี้มีอายุสองปีนับจากวันที่เซ็นต์สัญญาในข้อตกลง ซึ่งผู้ผลิตทุกรายจะต้องรับทราบเงื่อนไขนี้ทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามถ้าผู้ผลิตรายใดตัดสินใจที่จะยุติบทบาทในการผลิตอุปกรณ์ Android ก็สามารถบอกเลิกสัญญานี้กับกูเกิลได้ตลอดเวลา และจะต้องจ่ายค่าใช้เทคโนโลยีแก่กูเกิลจำนวนหนึ่งในวันบอกเลิกสัญญาด้วย อย่างไรก็ดีสัญญานี้เป็นสัญญาที่ผู้ผลิตสามารถลงนามได้ตามความสมัครใจตั้งแต่ต้นครับ
ทั้งนี้ Android Community ยังบอกต่อว่า ข้อตกลง MADA ของกูเกิลนั้นมีจุดที่น่าสงสัยหลายจุด โดยเฉพาะข้อตกลงแนบท้ายที่ระบุว่าจะต้องจ่ายค่าใช้เทคโนโลยีแก่กูเกิล ซึ่ง AC ให้ความเห็นว่าท้ายสุดแล้ว Android เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดแน่หรือไม่ เพราะถ้าเปิดจริงๆ มันจะต้องไม่มีค่าใช้เทคโนโลยีในส่วนนี้มาเกี่ยวข้อง
ส่วนอีกจุดที่ AC ตั้งข้อสงสัยก็คือสัญญาฉบับนี้ น่าจะเป็นสัญญาใจจากกูเกิลที่มอบให้แก่ผู้ผลิตว่า "จะอยู่ข้างเรา" หรือ "จะเป็นศัตรูกับเรา" มากกว่าข้อตกลงในการใช้งานเทคโนโลยี ซึ่งเมื่อดูจากเหตุการณ์ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ผลิตแทบไม่มีทางเลือกในการตอบรับสัญญานี้เลยแม้แต่น้อยครับ
ที่มา - Android Community
Comments
ถ้าเป็นแบบนี้ผมว่า Android ต้องเสียให้ Windows Phone แน่ๆ เพราะจุดเด่นของ Android ก็คือความเป็น open source ที่ให้อิสระแก่ user developer และผู้ผลิตมากกว่า closed source
ถ้าคุณเป็นนักพัฒนานะ คุณจะรู้ว่ามันเปิดไม่สุดซอยหรอก จริงๆ
สุดซอยแล้ว มากกว่าทุกวันนี้ก็ทะลุซอยละ
ทำไมอ่านเสร็จแล้วขนลุก สงสัยแอร์จะเย็นเกิน
เหมือนปัญหาจะอยู่ที่ user เสพติดบริการของ google กันมากกว่า ทำให้ไม่มีทางเลือกที่จะยัดแอพของ google เข้ามาไม่งั้นคนก็ไม่ซ์้อ
ถ้าสมมุติ microsoft เอา android ไปทำแล้วเปลี่ยนเป็น bing + outlook + skydrive เสร็จแล้วยัด microsoft store ขายแอพเข้ามา คนที่ชอบใช้ของ microsoft ก็ยังคงใช้อยู่ดีนะ
+1 AOSP มันเปิดอยู่แล้วครับ แต่ถ้าคุณอยากจะมี Google Service ในเครื่องของคุณก็ต้องทำตามข้อตกลงเท่านั้นเอง เรื่องนี้ผมว่าไม่ใช่เรื่องใหม่เพียงแต่เอาเรื่องเก่ามาพูดให้ดูน่ากลัวขึ้น (ซึ่งมันก็น่ากลัวจริงๆ)
มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ Samsung พยายามจะออก Services มาและเข็นอย่างเต็มที่ ซึ่งน่าจะเผื่อการ fork สู่ ecosystem ของตัวเอง เพียงแต่เข็นไม่ไป เนื่องจากผู้ใข้ติด ecosystem ของ Google กันมากกว่า
เรื่องนี้จะว่าน่ากลัวก็น่ากลัว(ผู้ผลิตไม่สามารถ fork เองได้ ซึ่งเป็นการห้ามไม่ให้เกิด fragmentation? และต้องทำตามข้อตกลง) จะว่าไม่น่ากลัวก็ไม่น่ากลัว(นักพัฒนาก็ยังเข้าถึง AOSP ได้อยู่)
อ่าน comment ใน Android Police มีแต่ comment เชิงบวกแฮะ -0-;
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ที่จริง ก็มีตัวอย่างเช่น Amazon ทำ kindle fire อยู่นิครับ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ส่วนตัว อยากเห็น ms fork android ้เพราะมันเป็นทางที่เร็วที่สุด ที่จะสู้กับ android ได้ทำลายการผูกขาด ทำให้ตลาดเกิดการแข่งขันขึ้นอีกครั้ง เพราะตอนนี้บอกได้เลยว่า os android ผูกขาดไปแล้ว และถ้ามีคนทำ market แข่ง ค่าธรรมเนียม 30% น่าจะลดลง
แอปจำนวนมากผูกอยู่กับ API และเซอร์วิสของ Google Play นะครับ ใช่ว่า fork ออกไปแล้วจะทำอะไรๆ ได้เท่าๆ กัน ยิ่งตอนนี้ Google ย้าย API ออกไปไว้กับ Google Play เรื่อยๆ แบบนี้ยิ่งเป็นปัญหาสำหรับคนที่ fork ออกไป แล้วยิ่งเป็น Microsoft ด้วย fork ออกมาทีนี่คงแทบไม่เหลืออะไรคล้ายเดิมเลยก็เป็นได้นะครับ
ต้องมองว่า google แก้ปัญหาการถูก fork ได้ดีไงครับ คือมาสร้าง api อีกชั้น ส่วน ms สิ่งที่ได้จาก android คือ app ทั้งหมด ที่เหลือคือการแย่งชิง service กับ api งานมันก็น่าจะน้อยลง ถ้าอีกสักพัก wp ทำ marketshare ไม่ได้ ทางเลือกที่เห็นก็มีแค่ 2 ทาง ออกจากตลาดไปเงียบ ๆ หรือทางนี้
ทำไมไมโครซอฟท์ถึงจะได้ app ทั้งหมดจาก android ล่ะครับ? ในเมื่อ API หลายๆ ตัวที่ app หลายๆ ตัวใช้นี่แอนดรอยด์ไมโครซอฟท์ไม่มีให้
ดีแล้วที่โลกนี้มี IOS
นึกไม่ออกถ้าวันดีคืนดี Apple ทำ iphone Android
อ่านแล้วไม่เห็นจะรู้สึกอะไรเลย มันก็เป็นแบบนี้มานานแล้ว
แต่จุดที่สำคัญคือ
ผู้ผลิต "ไม่มีสิทธิ์ในการพัฒนาโครงสร้างหรือนำโครงสร้างของ Android ไปพัฒนาต่อได้ด้วยตัวเอง
อันนี้ละสำคัญ ต่อคำว่าผูกขาด
+1 น่าจะเป็นแบบนี้มาแต่ต้นแล้ว ไม่มีอะไรใหม่ ส่วนการ fork อยากจะทำก็ทำได้ แค่ไม่ลง service google เลยแบบที่ amazon เป็น และก็เหมือนจะมี os จีน เริ่ม fork (ส่วนตัวคิดว่าจีนทำได้แน่ เพราะบริการต่าง ๆ ของ google จีนมีเกือบหมด)
และปฏิกริยาแบบนี้ ไม่ใช่พึ่งมีครั้งแรก ตอนที่ google ซื้อ moto ใหม่ ๆ ก็ออกมาด่ากันใหญ่ถ้าจำได้
ถ้ามองในแง่ผูกขาด คือ google คิดที่จะผูกขาดในระดับ service อยู่แล้วโดยเฉพาะ search ที่เป็นธุรกิจหลัก คิดดูง่าย ๆ ถ้า samsung ทำ search แข่ง โดย set default search ไปที่ samsung ตั้งแต่ออกจากโรงงาน อะไรจะเกิดขึ้น ? ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติ ที่ google ต้องปกป้องธุรกิจหลัก
เห็นด้วยว่ามันก็เป็นแบบนี้แต่ไหนแต่ไร ใครอยากเป็น partner กัับ Google ก็ต้องยอม แต่ก็ได้บริการทดสอบเครื่องให้ ใครไม่อยากเป็น partner ก็เอา code ไป fork ได้
ถ้าเลิกปล่อย code Android สิถึงจะเรียกว่าระบบปิด และถ้าจำไม่ผิด Google ก็จะปล่อย code สู่สาธารณะหลังพัฒนาแต่ละรุ่นเสร็จไปได้พักใหญ่ๆ เลย (คงกั๊กไว้ให้ partner ก่อนสาธารณะ)
คงไม่ได้กำลังจะ ฆ่าตัวตาย นะ GOOGLE
เซ็นต์สัญญา => เซ็นสัญญา
=> เซ็นสัญญา | เซ็นข้อตกลง
=> Agreement
=> ~ สามารถ | พอ
=> การ fork | forking
=> ที่มาใช้ breakdown, parse น่าจะหมายถึง "แจกแจง" ไม่ใช่ "แยก" ครับ ตามตัวอย่างที่สมมติ ส่งชุดเดียวแจกแจงให้ครบก็ได้ ไม่ใช่ต้องส่งกว่า 400 ชุด
น่าจะเป็นมือถือประเภท Google play edition
สำหรับผมแล้วคิดว่ากูเกิลตั้งใจจะแบ่งเป็น 2 สายนะคือ สายลง Google Service กับสาย AOSP เปล่า ๆ (สายหลังยังคงมีความเป็น open source อยู่ คือยังแจก source ให้)
แต่ในประเด็นเรื่องการบังคับไม่ให้ fork กับส่งยอดทุกเดือนอันนี้ผมว่าเกินไปนะ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
น่าจะน้อยกว่า wp/ios เยอะครับ เพราะ wp เป็น close source ดังนั้นการ fork เป็นไปไม่ใด้ ยอดขายก็รู้อยู่จากรายรับ ส่วน ios ก็...นะ
ถ้าโดนบีบผมคิดว่า Google ก็อาจขู่ที่จะ close android ไปเลย ... แม้ตอนที่ซื้อ moto สัญญาว่าจะ open ไว้กับจีน แต่ตอนนี้ก็ขาย moto ไปแล้ว
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
Don't be EVIL.
SATAN ในคราบนักบุญเลยล่ะ
เอาน่า ตอนนี้มี SATAN ในคราบ SATAN กับ SATAN ในคราบนักบุญ
คุณจะเอาแบบใหนหละ ?
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
อ๊ะ ก็จริงครับ
ซาตานในคราบซาตานดีกว่าครับ ไม่เชื่ออ่านข่าวนี้ http://jusci.net/node/3198
ก็จริงครับ อย่างน้อยเห็นว่าเป็นซาตานจะได้ระแวงไว้บ้าง เห็นเป็นนักบุญแล้วหลงเชื่อนี่ก็โดนเล่นเอาง่ายๆ
ผมเลือกซาตานเพราะรู้ว่าเขาเป็นซาตาน ดีกว่าเลือกนักบุญโดยที่มารู้ในภายหลังว่าเขาเป็นซาตานแปลงกายมาครับ
EVIL อย่างไรอะครับ รบกวนอธิบายด้วยสิครับ ผมอยากจะเข้าใจด้วย ขอบคุณครับ
นี่ครับ
ขอบคุณครับ
ลิ้งค์จากหน้าที่คุณให้มาไปต่อที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Criticism_of_Google มีอีกเพียบเลยแฮะ
ก็ยังไม่เป็น EVIL นะ
ผมมองว่า ข้อดีบางส่วนคือ แอนดรอย์จะได้มีมาตรฐานที่แน่ชัดสักที บางเจ้า ครอบเสียจนห่วยไปเลย
ผมนึกถึงเพลงนี้เลย
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
ต้องรอดูละครในฉากต่อๆไป จะเป็นอย่างไร google จะสวมบทจับ CyanogenMod เหมือน iOS ไล่ Jailbreak ในที่แรกหรือไม่ หุหุ
ฉี่กำลังจะรดกางเกงตัวเอง
ผมว่า Google กำลัง Regulate ประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ แล้วก็พยายามไม่ให้ผู้ผลิตใส่ Gimmick ของตัวเองมากเกินไป เพื่อให้เวลาอัพเดทเวอร์ชันแอนดรอยด์ ก็ไม่ต้องมาทดสอบกันหลายรอบ และส่งผลให้การออกอัพเดทในแต่ละรุ่นล่าช้าออกไปอีก หรือก็ลอยแพไปเลย เพราะขี้เกียจแก้ปัญหาเรื่องความเข้ากันของซอฟต์แวร์ Gimmick
อ่านแล้วก็ธรรมดานะ
..: เรื่อยไป
มันก็เป็นแบบนี้มาตั้งแต่แรกแล้วนะ แต่จะยังไงผมก็สนับสนุน Google เพราะมีผลิตภัณฑ์ดีๆ ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตคนบนโลก แค่ google maps อีันเดียวก็สุดๆ แล้ว
ผมรู้จัก fr.mappy.com ก่อน google maps อีกนะ ไม่รู้ใครทำก่อนกัน
ผมกลับมองว่ามีหัวเรือใหญ่ควบคุมบ้างอย่างนี้ล่ะดีแล้ว ไม่อย่างนั้นแนวทางของแอนดรอยจะสะเปะสะปะ
ผมว่ากูเกิ้ลกำลังจนตรอก เพราะไม่สามารถพัฒนาระบบให้ไปไปในทิศทางได้กันได้จากความพร้อมของผู้ผลิตที่ไม่เท่ากัน ถ้าตอนนี้จะบังคับทำ 64bit fingerprint เป็นฟีเจอร์หลักของระบบ ก็ต้องมีผู้ผลิตที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยแน่นอน ครั้นจะแยกทำทั้งหมดก็ยิ่งเพิ่มภาระให้ตัวเองสำหรับการเทส ยิ่งอัพเกรดเวอร์ชั่นได้ช้าขึ้นไปอีก เลยต้องออกกฎห้ามผู้ผลิตมั่วพัฒนาsw กันตามใจฉันออกมา
ที่เป็นอยู่ในตอนนี้คือ Google เปิด Open source ให้ผู้ผลิต ผู้ผลิตจะใส่ device อะไรเข้ามาก็ใด้ fingerprint บน Android มีมาก่อน apple เสียอีก ของแปลกๆ อย่าง tuoch หลังเครื่องของ moto หรือปุ่มอเนกประสงค์อย่าง o-click ของ oppo ก็มี
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ก็เพราะอย่างนั้นแหละครับมันถึงเป็นปัญหากับกูเกิล
ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ[1] (อังกฤษ: Open source software; ตัวย่อ: OSS) คือ ซอฟต์แวร์ที่เปิดแผยหลักการหรือแหล่งที่มาของเทคโนโลยีของซอฟต์แวร์นั้นให้บุคคลภายนอกได้ใช้ ภายใต้เงื่อนไขบางประการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทำการแก้ไข ดัดแปลงและเผยแพร่ซอร์สโค้ดได้ ภายใต้เงื่อนไขทางข้อตกลงทางกฎหมาย
---ผมว่า Google ก็ทำถูกต้องนะครับ
ผมว่าควรเป็นตั้งแต่แรกละ จะหนีไป ios เพราะแอพไม่ได้มาตรฐาน บางตัวหน้าตาเก่าแก่ก็ยังไม่ปรับปรุง แทนที่จะถูกเอาออกเหมือน apple ทำ แต่กลับปล่อยลอยหน้าลอยตา ไม่มีคุณภาพให้โหลดเสียอารมณ์
อ่านแล้วเฉยๆ มันก็เป็นแบบนี้มาตั้งนานแล้ว เอาเรื่องที่เป็นปกติตั้งแต่แรกอยู่แล้ว มาพูดใหม่ให้ดูน่ากลัว
อ่านแล้ว ก็ไม่รู้สึกอะไร มันก็เป็นแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไร
เพียงแต่ตอนนี้ แค่เขียนให้ชัดเจนขึ้น
ข้อดีอีกอย่าง OS จะได้เป็นมาตรฐาน และการลอยแพจะได้ลดลงซะที
อ่านแล้วก็ธรรมดานะ เหมือนๆเดิม
เริ่มเห็นข้อดีของระบบปิดที่สามารถควบคุมประสบการณ์ของผู้ใช้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ กับตอบโต้ปัญหาเรื่อง fragmentation ที่แท้จริงของแอนดรอยด์ (ที่ไม่ใช่แค่เรื่องขนาดหน้าจอ) แต่น่าสนใจว่าตรงนี้จะขัดขวางให้ผู้ผลิตผลิตนวัตกรรมใหม่ๆออกมาหรือไม่.
กูเกิ้ลต้องการผูกขาดการขายเซอร์วิสและแอปทั้งหมดเหมือน ios มาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว
ต่างกันแค่ไม่ต้องการทำฮาร์ดแวร์เอง
ตอนนี้ก็แค่พยายามควบคุมให้รัดกุมขึ้น