บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทรู รายงานผลประกอบการประจำปี 2556 มีรายได้รวม 96,214 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.6% เมื่อเทียบกับปี 2555 โดยขาดทุนจากการดำเนินงานปกติ 13,209 ล้านบาท มีสาเหตุหลักจากค่าเสื่อมราคา กับดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้น และขาดทุนสุทธิ 9,063 ล้านบาท แม้มีการบันทึกด้อยค่าสินทรัพย์โครงข่าย 2G เข้ามา 2,056 ล้านบาท แต่บริษัทก็ได้กำไรจากการขายสินทรัพย์และสิทธิรายได้จากกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท 6,335 ล้านบาท
สำหรับผลการดำเนินงานแยกตาม 3 ส่วนธุรกิจหลักของทรูเป็นดังนี้
- กลุ่มทรูโมบาย มีรายได้เพิ่มขึ้น 11.8% แต่ขาดทุนจากการดำเนินงานปกติ 11,711 ล้านบาท จากค่าเสื่อมราคาและดอกเบี้ยจ่าย ทั้งนี้กลุ่มทรูโมบายมีลูกค้ารวม 22.9 ล้านเลขหมายในปี 2556 โดยบริษัทจะทำการโอนย้ายลูกค้าจากทรูมูฟมายังทรูมูฟเอชให้ทันเดือนกันยายนปีนี้
- กลุ่มทรูออนไลน์ มีรายได้เพิ่มขึ้น 1.9% และมีผู้ใช้เพิ่มขึ้น 240,000 ราย รวม 1.8 ล้านราย และมีกำไรจากการดำเนินงานปกติ 931 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 26.1%
- กลุ่มทรูวิชั่นส์ มีรายได้เพิ่มขึ้น 2.5% เนื่องจากรายได้จากค่าสมาชิกค่อนข้างคงที่ และได้ประโยชน์จากค่าโฆษณาในรายการ The Voice Thailand แต่ขาดทุนจากการดำเนินงานปกติ 1,081 ล้านบาท เนื่องจากค่าเสื่อมราคาที่เพิ่มขึ้น โดยปี 2556 ทรูวิชั่นส์มีสมาชิกเพิ่มขึ้น 4 แสนรายรวมเป็น 2.4 ล้านราย และมีรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการต่อเดือน 895 บาท
ในปี 2557 กลุ่มทรูตั้งเป้าหมายการเติบโตโดยรวม 7-9% และมีเงินลงทุนสำหรับกลุ่มทรูโมบายปีนี้ 10,000 ล้านบาท
ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Comments
บริษัทอะไร ขาดทุนตลอดการ แต่ก็ยังไม่ล้มละลาย
อยู่ได้ยังไงนะครับ ใครนักลงทุน ช่วยบอกหน่อย
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ข้อมูล ณ วันที่ 6 มกราคม 2556)
1 บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด 5,061,420,075 (34.90%)
2 บริษัท ยูนีค เน็ตเวิร์ค จำกัด 1,353,635,829 (9.33%)
3 บริษัท ไวด์ บรอด คาสท์ จำกัด 1,285,810,000 (8.87%)
4 บริษัท ซี.พี.อินเตอร์ฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด 598,700,259 (4.13%)
5 UBS AG LONDON BRANCH 465,285,057 (3.21%)
เครือเจริญโภคภัณฑ์ = CP ครับ ตอนนี้ทำ 7-Eleven อยู่อีกมือ
ตอนแรกทำมือถือกับ Orange (ตอนนั้นมี ad ดังมากๆ ไช้เพลง Wall in your heart ของ Shelby Lynne) หลังๆ Orange อยู่ไม่ใหวถอนทุน cp เลยขาย โลตัส ให้ เทสโก้ เอามาเงินโปะ Orange แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น TRUE
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
เพราะ CP คำเดียวครับ
ปกติก็คิดว่าเป็นเพราะ cp ... แต่เขาเอาเงินไปยัดไม่ให้ทรูเจ๊งตรงไหนน่อ (ในบัญชีไม่ได้ดู)
ไม่รู้ว่าในงบ ยัดอะไรมาให้ดู .. ถ้าขาดทุนจริง เอาเงินที่ไหนมาจ่ายพนักงานที่โคตะระเยอะขนาดนั้น
ใครแกะงบเก่งๆ ช่วยดูทีครับว่า เอาเงินจากไหนมาทำให้บริษัทเดินได้
ขาดทุนจากการตัดค่าเสื่อมอุปกรณ์ครับครับ ถ้าเฉพาะแค่ส่วนปฏิบัติงานก็กำไร
CP อาจจะช่วยหนุนด้วยการใช้คำว่า "เพิ่มเงินลงทุน"
ขาดทุนค่าเสื่อมราคา เป็นการขาดทุนทางบัญชี เอาภาษาคน คือ ไม่ได้ขาดทุนเป็นตัวเงินจริงๆ
เช่น
ซื้อตึก 1 หลัง ราคา 10 ล้าน (จ่ายเงินไปแล้ว) ตีอายุการใช้งาน 10 ปี ตกปีละ 1 ล้าน 1 ล้านนี่เรียกค่าเสื่อมราคา ซึ่งในทางบัญชี บันทึกเป็น ค่าใช้จ่าย
ปีนี้ทำมาหากิน ได้กำไร เป็น เงิน (จริงๆ แบงค์ 500 แบงค์ 1000) 9 แสนบาท แต่เมื่อ นำมาหักค่าเสื่อม 1 ล้าน กลายเป็นขาดทุน 1 แสนบาท
ถามว่าเขาทำธุรกิจ 10 ปี แบบเดิมๆ เขาจะขาดทุนทุกปี ปีละ 1 แสนบาท (ในงบการเงิน) แต่ถามว่า เขาขาดทุนจริงไหม?
ไม่...
ถ้าดูในรูปตัวเงินเขาจะมีกำไรเป็นตัวเงิน 9 แสน x 10 ปี หรือ 9 ล้านบาท
แล้วเขาจะมีกำไรตอนไหน เมื่อตึกครบ 10 ปี ค่าเสื่อมราคา = 0 หรือในทางบัญชี ตึกนี้จะมีมูลค่า 1 บาท ซึ่งนำไปหักค่าเสื่อมไม่ได้ ตอนนี้แหละ เราจะเห็นกำไรที่เป็นเม็ดเงินจริงๆ
ุถามว่าธุรกิจเขาทำไปเพืออะไร? ธุรกิจขาดทุน ไม่เสียภาษีนะฮ๊าฟ ฉลาดสุดๆ
การคิดค่าเสื่อมราคา เป็นมาตรฐานทางบัญชีไม่ใช่หรือครับ?
บางทีของเสื่อมเร็วกว่าบัญชีอีกครับ ของทาง IT คิดค่าเสื่อมในบัญชีแบบนึง พอจะขายทอดตลาดจริงๆ ก็ขายไม่ได้ตามราคานั้น
lewcpe.com, @wasonliw
ธุรกิจขาดทุนไม่เสียภาษี ทำให้มีคนแต่งตัวเลขจริงครับ......แต่ไม่ใช่ในกรณีนี้
ที่ผ่านมา True ขาดทุนกระจายมาตลอดทุกปีนะครับ และขาดทุนสะสมมาเรื่อยๆ สาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่บริษัทมี "หนี้สิน" เยอะมาก เมื่อมีหนี้ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ย เมื่อมีดอกเบี้ยก็เป็นค่าใช้จ่ายทำให้กำไรหด ขาดทุนมาก ลองเปรียบเทียบงบสามค่ายดังดูก็ได้ครับ
AIS รายได้ 142,782.88 ลบ. ดอกเบี้ยจ่าย 1,002.28 ลบ. (คิดเป็น 0.7% ของรายได้)
DTAC รายได้ 94,616.99 ลบ. ดอกเบี้ยจ่าย 2,154.11 ลบ. (คิดเป็น 2.277% ของรายได้)
TRUE รายได้ 96,213.70 ลบ. ดอกเบี้ยจ่าย 8,401.65 ลบ. (คิดเป็น 8.732% ของรายได้)
ถึงจะบอกว่าธุรกิจพวก Infra ต้องดูกันไปยาวยาวววววว รอวันค่าเสื่อมหมดถึงค่อยเห็นกำไรในงบ แต่อย่าลืมว่าถ้าเป็นด้าน Telecom เทคโนโลยีมันเปลี่ยนตลอด ต้องลงทุนใหม่ตลอดนะครับ ของเก่าตัดค่าเสื่อมยังไม่หมดก็ต้องอัพเกรดระบบใหม่แล้ว ถ้าเริ่มต้นไม่ดีมีหนี้ท่วมหัว กำไรที่ได้ก็ต้องเอาไปเทจ่ายดอกเยอะ เหลือเงินเก็บไว้ลงทุนต่อน้อย ก็ต้องกู้เพิ่ม ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ย เหมือนคนมีหนี้บัตรเครดิตท่วมหัวนั่นแหละครับ
ส่วนเรื่อง "ล้มละลาย" จริงๆ บริษัทจะล้มละลายไม่ใช่เมื่อ "ขาดทุน" แต่เป็นเมื่อ "จ่ายหนี้ไม่ได้" แล้วโดนฟ้องนั่นแหละถึงจะล้ม ซึ่งสาเหตุที่มันไม่โดนฟ้องก็เพราะ
1. มันจ่ายดอกเบี้ยได้ ดูจากกำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย และค่าเสื่อม (EBITDA) ที่สูงกว่าดอกเบี้ยจ่าย แปลว่ามันยังจ่ายส่วนนี้ได้อยู่
2. มันมีเครดิตดีพอที่จะขอกู้เงินก้อนใหม่มาช่วยจ่ายชำระเงินต้นก้อนเก่าได้ และมีแม่ที่ช่วยเทเงินมาให้เพื่อช่วยให้มันจ่ายหนี้ได้ ถ้าไปดูในงบดุลปีก่อนจะเห็นว่าเมื่อปี 2554 มีการเพิ่มทุน (ออกหุ้นสามัญไปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น) ประมาณ 13,114 ล้านบาทครับ จนถึง ณ สิ้นปี 2555 ทรูมีเงินจากผู้ถือหุ้นลงไปแล้วประมาณเจ็ดหมื่นล้านบาท เทียบกับ AIS และ DTAC ที่ลงไปประมาณสองหมื่นกว่าล้านครับ
True เสียภาษีนะครับ หนักด้วย
ไปอ่านใหม่ให้ดีๆ
/>o</
ขอบคุณมากครับ เปิดโลกผมจริงๆ ธุรกิจมันสนุกจริงๆ
ขอบคุณทุกท่านครับ ช่วยให้กระจ่างขึ้นมาอีกเยอะเลยครับๆ
มันขาดทุนทางบัญชี หากดูดีๆ มันขาดทุนจากการตัดค่าเสื่อมเป็นหลักครับ หากกระแสเงินสดยังเป็นบวกก็อยู่ได้ครับ
http://www.jitta.com/stock/bkk:true
ขออ่านจากงบการเงินอย่างเดียวนะครับ ไม่พูดถึงอนาคต แผนการลงทุนของบริษัท เพราะงบการเงินสะท้อนภาพกิจการ ณ ปัจจุบันได้ดีที่สุด
บริษัทในด้านระบบเครือข่ายมือถือ ดังนั้นจะต้องใช้เงินลงทุนในกิจการเยอะทั้งโครงสร้างหรืออะไรต่ออะไร จะเห็นว่ารายรับเพิ่มขึ้นจริง แต่ก็ขาดทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จากหนี้สิน 8หมื่นล้านในปี 2006 และมีลดลงบ้าง แต่ในปีปัจจุบันมีหนี้อยู่ที่ 86,000 ล้านบาท
Revenue and Earning: ขาดทุนเพิ่มขึ้น
Operating Margin: อัตราการกำไรลดลง 14% มาเป็น 0.34%
Debt Level: มีหนี้สินเพิ่มขึ้นทุกๆปี
Recent Business Performance: กำไรสุทธิในไตรมาสล่าสุดนั้น ขาดทุนเพิ่มขึ้น
New Share Issued: มีการเพิ่มจำนวนหุ้นมากกว่า 50% ใน 5ปีที่ผ่านมา
CapEx: มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง
ได้ความรู้จากคอนเมนท์เลยครับ
ขาดทุน แต่มูลค่าของหุ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ สินทรัพย์รวมสูงขึ้นๆ คนที่เป็นเจ้าของก็ Happy นะ
โมเดลทางธุรกิจกลุ่ม cp ค่อนข้างซับซ้อนมาก
เหมือนเรื่องจริงของอะไรซักอย่างผมจำชื่อไม่ได้ ที่นายทุน มีโรงงานตั้งอยู่ไกลๆ และนายทุนคนนั้น ได้สร้างที่พัก ร้านค้าเอง มาบริการลูกจ้างตัวเองอีกที เงินเดือนที่จ่ายให้พนักงาน ก็หมุนวนกลับมาหานายทุนอยู่ดี เพราะโรงงานอยู่ไกล พนักงานจึงเลือกที่จะพักอยู่ที่ตึกที่นายทุนสร้างให้เช่า
ฉลาดโคตรๆๆ
อันนี้จริง บางครั้งธุรกิจหลักไม่ได้กำไร แต่ธุรกิจรองกำไรกันกระจาย โดยเฉพาะรายที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นของตัวเอง ธุรกิจขนาดใหญ่มักทำกันแบบนี้แหล่ะ ที่เคยเห็นก็ของโลตัส (โลตัสเป็นเจ้าของที่เอง แต่ให้บริษัทลูกถือ แล้วทำเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์เนี่ยแหล่ะ ให้บริษัทแม่กู้กลับอีกที)
คนเรียนบัญชีมา คงเก็ต
แต่ผมอ่าน คงมึนต่อไป