อินเทลเพิ่งเปิดตัว Atom รุ่นใหม่ Merrifield และ Moorefield ที่รองรับ 64 บิตทั้งคู่ และได้รับการคาดหมายว่าน่าจะมาเจาะตลาด Android ได้เพิ่มขึ้นมาก
อย่างไรก็ตาม คนที่หวังจะซื้อสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตที่ใช้ Atom สองรุ่นนี้แล้วมาลงรอมเอง อาจต้องระวังสักหน่อยครับ เพราะตัวแทนของอินเทลออกมาให้ข้อมูลว่า Atom Merrifield (ไม่ได้บอกว่ารวมถึง Moorefield ด้วยหรือเปล่า) มีฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า "hooks" ที่สามารถตรวจสอบการติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ของเครื่องได้ ถ้าผู้ใช้ลงระบบปฏิบัติการที่ไม่ผ่านการตรวจสอบและรับรองโดยอินเทล ตัวชิปอาจปิดความสามารถบางอย่าง เช่น LTE/3G ไม่ให้ระบบปฏิบัติการใหม่เข้าถึงได้
อินเทลบอกว่าเหตุผลที่ Atom มีความสามารถนี้เป็นเรื่องความปลอดภัย แต่ยังไม่บอกแผนการว่าจะรองรับระบบปฏิบัติการตัวไหนหรือเวอร์ชันใดบ้าง
ที่มา - Softpedia
Comments
แล้วจะซื้อมาทำเผือกไร
มองอีกมุม กลัว user เอาไปลง OS สำหรับการ Hack ละมั้ง
ตอนแรก Windows ก็จะล็อก คราวนี้เล่นกันถึง CPU เลยทีเดียว
ข่าวต่อมา.
บรรดาผู้ต้องการลงรอมโมตัดปัญหา โดยการไม่ซื้อมือถือที่ใช้ CPU สองรุ่นนี้
แล้วขายรุ่น Unlock ในราคาแพงกว่า
จริงๆ rom โมนี่ไว้ใจได้แค่ไหนครับ ของ android เห็นแจกกันพรึบเลย ไม่กลัวว่าเขาจะแอบฝังอะไรมามั่งหรือครับ ผมว่ามองอีกมุมมันก็เสี่ยงอยู่นะ
นั้นสิครับ บางทีก้อเสี่ยงเหมือนกัน
สำหรับคนที่อยากลอง เขาก็คงยอมรับความเสี่ยงได้แหล่ะครับ
เสี่ยงแน่นอนอยู่แล้วครับ. บรรดาคนที่ลงรอมโมต้องแบกรับความเสี่ยงนี้เอาเอง แม้กระทั่งคนทำคอมโมเองก็ไม่รับประกันหากเราแฟลชพลาดหรือรอมที่เขาทำมาเกิดมีปัญหา ซึ่งตรงนี้ส่วนตัวผมรับได้ครับ
android เป็น open source เมื่อนำไปไช้แล้ว ส่วนใหญ่จะเปิด source กลับสู่คอมมูนิตี้
open community นั้นมักจะปลอดภัยกว่า close community เพราะการ open source ทำให้มี "หลายตา" มองดูการทำงานของโปรแกรมทำให้การแอบใส่อะไรลงมาโดนจับใด้ง่าย
ถ้ายังจำใด้ ช่วงปี 2009 ผู้ให้บริการมือถือ usa บังคับค่ายมือถือให้ติดตั้ง tracking software ลงบนมือถือเกือบทุกรุ่นทั้ง Android และ iphone ในชื่อ Carrier IQ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
พวกที่ไม่ใช่รอมใหญ่ๆนี่เขาเปิด src กลับด้วยเหรอคับ ผมเห็นมีรอมโมเต็มไปหมด แต่เห็นมีเปิด src แค่ไม่กี่เจ้า
รอมโมบางตัวไม่เปิดซอร์ส เพราะมันเป็นรอมที่โมมา ไม่มีซอร์สให้คอมไพล์แต่แรกครับ
ใช่เลยอันนี้จำได้ เอาเข้าจริงๆ ซื้อเครื่องจากผู้ให้บริการเองยังโดน track เลย สุดท้ายคงไม่รอด
ผมมีคำถามว่า หน้าที่แบบนี้เป็นของ cpu หรือ ทำไมต้องพยายามใส่ฟังชั่นประหลาด ประหลาดด้วย ไม่เข้าใจว่า intel คิดอะไรอยู่ และเหมือนแบบนี้เคยทำมาก่อนแล้ว คุ้น ๆ แล้วก็เงียบไป ผมละงงจริง ๆ ล๊อค os แล้วจะเกิดประโยชน์อะไรชึ้นมา นึกไม่ออกจริง ๆ
ถ้าถามว่าเป็นหน้าที่ของซีพียูไหม ในแนวคิดว่าซอฟต์แวร์ทุกตัวที่จะรันได้ต้องได้รับการยืนยันก่อน (จากใครและยืนยันอย่างไรอีกเรื่อง) ใช้ซีพียูกันเสมอมาครับ หลักๆ คือรันซอฟต์แวร์ loader ที่สามารถยืนยันซอฟต์แวร์ตัวต่อๆ ไป เช่น OS ว่าโค้ดได้รับการรับรอง แล้วค่อยเรียกชึ้นมารัน
ไม่ใช่เหมือนเคยทำครับ ทำซีพียูจำนวนมากในโลกทำงานแบบนี้ พวกคอนโซลทั้งหมดก็แนวๆ นี้ทั้งนั้น
lewcpe.com, @wasonliw
ไม่ได้กวนนะครับ แต่ผมว่าลักษณะที่ intel ทำไม่เหมือนกับที่คุณหลิวพยายามจะอธิบาย ไม่อย่างงั้น arm ก็คงมีข่าวในกรณีเดียวกัน ถูกมั้ย ลักษณะคือ intel ต้องการจะบังคับให้ os มาลงทะเบียนกับ intel ก่อนเพื่ออะไรก็ไม่ทราบได้ ก่อนที่จะให้ใช้ cpu ของ intel ได้ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับ arm ไม่มีกรณีแบบนี้ ใครจะเขียนใครจะ fork ก็ตามสบาย ถ้าถามว่า secure มั้ยมันก็ต้องปลอดภัยกว่า ปล่อยให้ลง os อะไรก็ได้อยู่แล้วละครับ มันคือการที่ cpu ไม่ไว้ใจ os กลัวว่าจะใช้ os ที่อันตราย (ซึ่งในทางปฏิบัติจริง ๆ มันมีปัญหาสำหรับคนที่ต้องการลง custom rom และปัญหานั้นจะกลับเป็นของ intel เองคือ ผู้ใช้จะบ่นว่าล๊อกทำไมฟะ สุดท้ายก็ต้องปลดล๊อกอยู่ดี)
ทำแบบนี้ทำไมเนี่ย ฆ่าตัวเองชัดๆ
Get ready to work from now on.
ทำแบบล็อกไม่ได้
ทำแบบล็อกได้