Mathias Döpfner ซีอีโอของบริษัท Axel Springer สื่อยักษ์ใหญ่ในยุโรป เขียนจดหมายเปิดผนึกถึง Eric Schmidt ประธานบริหารของกูเกิล เปิดเผยว่าบริษัทเขา "เกรงกลัว" กูเกิลเพราะการผูกขาด รวมไปถึงกังวลว่ากูเกิลจะพยายามทำตัวลอยอยู่เหนือกฎหมายจากช่องว่างทางกฎหมาย
Döpfner กล่าวว่าถึงแม้บริษัทเค้าจะฟ้องร้องเรื่องการผูกขาดของกูเกิลต่อคณะกรรมการยุโรป (European Commission) แต่บริษัทเขาจำเป็นต้องพึ่งพากูเกิลอยู่ดี จากทั้งทราฟฟิกของกูเกิลและการโฆษณา นั่นก็เพราะเขาไม่มีทางเลือกอื่นที่สามารถสร้างรายได้ได้เท่ากับที่เขาพึ่งพากูเกิล รวมไปถึงได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน อย่างบริษัทลูกของ Axel Springer ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัลกอริธึมในการค้นหาของกูเกิล ทำให้ทราฟฟิกหายไปกว่า 70%
เขากล่าวถึงการหาผลประโยชน์จากการผูกขาดตลาดเสิร์ชเอ็นจินของกูเกิล ด้วยส่วนแบ่งกว่า 90% ทำให้กูเกิลปรับแสดงผลการค้นหาให้บริการของตัวเองแสดงผลก่อนเว็บไซต์คู่แข่งอื่นๆ แน่นอนว่าเว็บไซต์ไหนหากอยากอยู่ในแถวแรกๆ ของผลการค้นหา ก็ต้องจ่ายค่าโฆษณาให้กับกูเกิล
นอกจากนั้น Döpfner ยังพูดถึง Larry Page ผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิลว่า เขาฝันถึงสถานที่ที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และไม่จำเป็นต้องแสดงความรับผิดชอบใดๆ Page เคยบอกว่ากูเกิลอยากทำอะไรอีกหลายๆ อย่าง แต่ติดปัญหาด้านกฎหมาย ทำให้ Döpfner กังวลว่ากูเกิลกำลังพยายามหาช่องว่าง ลอยตัวอยู่เหนือกฎหมาย ไม่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งใดๆ ที่บริษัทจะทำลงไป รวมไปถึงกังวลว่าบริษัทต่างๆ และผู้บริโภคในยุโรปจะเป็นอย่างไร หากกูเกิลยังขยายอำนาจการผูกขาดต่อไป
Döpfner ปิดท้ายด้วยว่า เขายังคงหวังว่ากูเกิลจะเริ่มเป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างความโปร่งใส เปิดเผยการเปลี่ยนแปลงของอัลกอริธึ่มการค้นหา และให้การแสดงผลเป็นไปตามเกณฑ์เชิงปริมาณที่ชัดเจน (clear quantitative criteria) ในการค้นหา
ที่มา - Ars Technica, หนังสือพิมพ์ Frankfurter Allgemeine Zeitung ของเยอรมัน
Comments
และทีที่ => และที่ที่
หาช่องวาง => หาช่องว่าง
ขอบคุณครับ
ส่วนเรื่องเนื้อข่าว ผมอ่านแล้วออกความเห็นจากใจ ผมรู้สึกออกแนวสมเพชกับคำพูดที่ Döpfner สื่อออกมานะ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
He dreams of a place without data-protection laws and without democratic accountability. "There’s many, many exciting and important things you could do that you just can’t do because they’re illegal", Page said back in 2013, continuing " ...we should have some safe places where we can try out some new things and figure out what is the effect on society, what’s the effect on people, without having to deploy kind of into the normal world."
จริงๆแล้ว Page ไม่ได้พูดครับประโยคนั้นครับ แต่เป็นคนเขียนบทความสรุปเองครับ ซึ่งแปลงสารไปพอสมควร
สถานที่ที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูล = ละเมิดลิขสิทธิ์ได้อย่างเสรี ヽ(*・ω・)ノ
แต่คิดๆ ไปแล้วมันก็น่ากลัวอย่างที่จดหมายนะ ด้วยนโยบายของกูเกิ้ลตอนนี้อาจจะไม่มีปัญหาอะไร ใครๆก็แฮ๊ปปี้ แต่เมื่อไรที่ทำตัวเป็นแบดบอย ด้วยการผูกขาด และอิทธิพลตอนนี้ ใครจะคานอำนาจ?
การผูกขาดเป็นเรื่องน่ากลัว แต่การที่หวังพึ่งอะไรเพียงอย่างเดียวเป็นเรื่องที่น่ากลัวกว่ามาก ถ้ายกตัวอย่างก็เปาบริษัทตัวเองผูกกับ google มากเกินไป ถ้าเว็บไทยเนี้ย ต่อให้โดย google deindex เว็บเค้าก็อยู่ได้ นั้นคือ pantip.com
เห็นด้วยครับ
auto complete จาก google มักจะเจอตามหลังด้วย pantip บ่อยมากๆ
เรื่องกลัวการผูกขาดก็น่ากลัวจริงตามที่ว่ามานั่นแหละนะ เพราะถ้าเราขาดตัวเลือกที่เข้มแข็งพอแล้ว เราก็มีตัวเลือกไม่มากนัก เว้นแต่ว่าจะทำระบบของตัวเองอย่าง จีน หรือรัสเซีย
แต่เหตุผลที่ให้มา ถ้าตามข่าวมา ส่วนมาก Google ปรับเพื่อดัดหลังพวกทำ SEO แบบ Blackhat หมดเลยนะ ตัวเองเดือดร้อน ก็เพราะไปทำอย่างนั้นรึเปล่า ถ้าใช่ก็สมควรล่ะนะ
ผมมองมานานแล้วครับ เรื่องนี้คล้ายๆกับสมัยที่xpครอบงำตลาด PC แต่ก็ไม่มีผลอะไรกับชีวิตเพราะคนยังไม่อะไร แต่ตอนนี้ยุคมัน internet of thing การผูกขาดบริการ ลักษณะครอบงำทุกอย่างผมมองแล้ว จินตนาการถึง wall-E ประธานาธิปดีเป็น CEO BnL ที่ครอบงำทุกอย่างตั้งแต่เกิดยันตาย
Google จะใหญ่ไปไหนนี่ -_-
บางประโยค อย่าง ผู้ก่อตั้งฝันถึงสถานที่ไม่มีกฏหมายฯลฯ ออกจะแนวหยิบคำพูดคนอื่นพูดไว้ ตีความใส่ไข่ให้ร้ายอยู่ฝ่ายเดียวโดยที่อีกฝ่ายไม่มีโอกาสแก้ต่าง บางประโยคฟังเผินๆ เหมือนปรับอัลกอริทึ่มเพื่อกลั่นแกล้งกันผลลัพธ์จากบริษัทเค้า นี่ก็พูดลอยๆ ไม่มีที่มาอ้างอิงอีก เว็บใช้วิธี Black Hat หรือเปล่าก็ไม่ทราบ เหมือนพยายามยามให้ข่าวแนวทำตัวเป็นเหยื่อนะ
รายงานพิเศษ "Google ใหญ่เกินไปหรือเปล่า"
Google ปรับ อัลกอรึทึมเพื่อจัดการกับพวกที่พยายามดัน keyword อย่างน่าเกลียด มันก็สมควรอยู่แล้ว เมื่อก่อนบาง key search ไป ก็ไร้ประโยชน์ เนื้อหาไม่ได้เรื่อง เดี๋ยวนี้ดีขึ้นหน่อย เค้าปรับอัลกอริทึมเพื่อผู้ใช้ ไม่ได้ปรับเพื่อผู้ทำ