การปฎิวัติวงการอิเล็กทรอนิกส์ของโลกด้วยซิลิกอนมีมาตั้งแต่ยุคทรานซิสเตอร์ในปี 1954 และเทคโนโลยี CMOS ในปี 1963 หกสิบปีผ่านไปคอมพิวเตอร์ยังคงอยู่บนพื้นฐานเทคโนโลยีเดิมที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น มีขนาดเล็กลง และกินไฟน้อยลง แต่นักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มเชื่อมว่าเทคโนโลยีซิลิกอนจะสามารถพัฒนาไปจนถึงระดับ 7 นาโนเมตรเท่านั้น
ไอบีเอ็มประกาศว่าจะลงทุน 3 พันล้านดอลลาร์หรือแสนล้านบาทภายในห้าปีข้างหน้า เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่ช่วยให้การผลิตลายวงจรซิลิกอนระดับ 7 นาโนเมตร และเทคโนโลยีในยุคต่อไป
เทคโนโลยีการผลิตชิปทุกวันนี้ที่มีกำลังผลิตขนาดใหญ่อยู่ที่ 22 นาโนเมตรของอินเทล ขณะที่ผู้ผลิตรายอื่นๆ อยู่ที่ 32 หรือ 28 นาโนเมตร ในปีหน้าอินเทลจะเดินสายการผลิตชิป 14 นาโนเมตร แต่เมื่อเล็กลงถึงขนาดหนึ่งแล้วเราจะไม่สามารถสร้างลายวงจรที่ทำงานได้เสถียรอีกต่อไป
ไอบีเอ็มจะสำรวจเทคโนโลยียุคต่อไปอีกหลายอย่างเพื่อหาสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นไปได้ในอนาคต นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์ควันตัม, ระบบคอมพิวเตอร์แบบ Neurosynaptic ที่ทำงานเลียนแบบสมองมนุษย์, สร้างซีพียูจาก carbon nanotube หรือ graphene
ที่มา - eWeek
Comments
ปฎิวัติ => ปฏิวัติ
เชื่อมว่า => เชื่อว่า
ส่งคุณ panurat2000 ไปวิจัยด้วยมั้ยครับ :3
>_<
Bot spell checker
น่าจะอยู่ฝ่ายจัดทำรายงานการวิจัยครับ คำแม่นเป๊ะทุกตัว
ห้าปีข้างหน้าขอ 1nm เลยได้มะ
มันจะตันมั้ย ถ้าตันอยากรู้ว่าจะตันที่ขนาดเท่าไหร่
ไม่ตันหรอกเหอะฯ มันก็เล็กลงเรื่อยฯนั้นแหละ ถามทำไมเนีย
สักวันก็ตันครับ มันมีจุดที่เล็กกว่านั้นไม่ได้อีกอยู่ อาจจะต้องเปลี่ยนเทคโนโลยีอีกที
มีโอกาสตันครับ พอมันเล็กมาก ๆ มันจะมีผลต่อประจุ ตัว ซิลิกอนเอง มันมีขนาดโมเลกุลของมัน ซึ่งก็น่าจะใหญ่อยู่
แล้วจำนวนโมเลกุลขั้นต่ำที่จะทำให้มันทำงานเสถียรได้ ก็จะเป็นลิมิตของขนาดที่ใช้ได้
อย่างที่ IBM คาดการณ์ไว้ที่ 7 nm
ถ้าผมจำไม่ผิดตอนที่ Intel ลดมาเป็น Nahalem เนี่ยมันมีปัญหากระแสย้อนกลับ จนต้องเปลี่ยนเทคโนโลยีบางอย่างหรือยังไงเนี่ยแหละครับ เลยทำให้มันลดขนาดลงไปได้อีกจนทุกวันนี้
เสริมข่าวครับ IBM pledges nanotube transistor by 2020 or bust
ซิลิกอนนี่จะสุดที่เท่าไหร่ แล้ว คาร์บอนมันจะมาทันไหมครับ
อยากได้แบบneurosynapticจริงๆ เพราะมันเป็นการทำงานที่สุดยอดมาก
นึกถึงเรื่อง Transcendent นาโนเทคก้าวไปไกล