แอปเปิลประกาศนโยบายใหม่สำหรับนักพัฒนา ระบุว่าแอพพลิเคชั่นทั้งหมดที่ส่งขึ้น App Store ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ปีหน้า จะต้องคอมไพล์แบบ 64 บิตมาด้วยเสมอ
กระบวนการคอมไพล์แบบ 64 บิตเป็นค่าเริ่มต้นของ Xcode 6 อยู่แล้ว โดยในค่าตั้งต้น "Standard architectures" จะคอมไพล์ทั้งแบบ 32 บิตและ 64 บิตในไฟล์เดียว
ที่มา - Apple Developer
Comments
ยังไม่เห็นประโยชน์ของระบบ 64บิต ของไอโอเอสหากแรมยังมีไม่ถึง 4GB
ประโยชน์ของ 64 บิต ไม่ได้มีแค่รองรับแรมเพิ่มขึ้นครับ
ถึงจริงๆ แล้วมันควรจะเพิ่มแรมอุปกรณ์ตระกูล iOS แล้วก็ตาม orz
Dream high, work hard.
Nexus 9 ก็ 64 bit ram ก็ไม่ถึง 4GB เหมือนกันนะครับ 64 bit มีประโยชน์เฉพาะเรื่อง RAM?
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
64 bit หมายถึง ข้อมูลในระบบทุกอย่างจะถูกส่งด้วยขนาด 64 bit ต่อครั้งครับ
ซึ่งมันไม่ได้มีผลแค่ RAM อย่างเดียวเท่านั้น แต่มีผลกับส่วนอื่นๆด้วย
การที่ 64bit ทำให้เห็นแรมเพิ่มขึ้นได้ ( เทียบกับคอมตั้งโต๊ะ ) เป็นผลพลอยได้ จากการที่ส่งข้อมูลได้มากขึ้น
จึงทำให้สามารถส่ง address ของ memory ได้กว้างขึ้นครับ
ลองนึกภาพ ( แบบสมมุติ ไม่ใช่ตัวเลขจริงๆในคอมนะ ) ว่าถ้าคุณสามารถส่งตัวอักษรได้ 2 หลัก
คุณสามารถอ้างอิงหน่วยความจำได้ตั้งแต่ 00 ไปจนถึง 99 แต่ถ้ามีมากกว่านั้น ก็จะอ้างอิงไม่ได้ เพราะว่าส่งได้แค่ 2 หลัก
แต่ถ้าส่งได้ 4 หลัก ทำให้สามารถอ้างอิง address ได้ตั้งแต่ 0000 ไปจนถึง 9999 ทำให้ระบบมองเห็นแรมเพิ่มขึ้นโดยปริยาย
ขอบคุณครับ
นึกว่าข้อดีคือ ระบบ 64 บิตสามารถประมวลผลข้อมูลได้มากเป็น 2 เท่าของระบบ 32 บิต เสียอีก
ลองนึกภาพนะครับ 32 บิท คือสายไฟ 32 เส้น เวลายิงข้อมูล ก็จะยิ่งพร้อมกันทั้ง 32 เส้น
แต่ละเส้นก็เป็น 0 หรือ 1 รวมๆกัน 32 หลัก ก็คือได้เลขฐานสอง 32 ตัวหรือ 32 บิท ในการยิงข้อมูลแต่ละครั้ง
( คำว่ายิงข้อมูล ก็ประมาณว่า แรม ส่งข้อมูลให้ CPU คำนวน ก็ยิงออกไป 1 ครั้ง 32 หลัก แล้วยิงรัวๆ ตามสัญญาณ clock ต่อเนื่องกันไป )
คราวนี้ถ้าเป็น 64 บิทก็คือสายไฟ 64 เส้น ยิงข้อมูลได้ครั้งละ 64 หลัก
ทำให้ข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้น ถึงแม้เราจะใช้ข้อมูลขนาดเล็ก แต่ก็ถูกบังคับให้ยิง 64 หลักอยุ่ดี ( หลักแรกๆ จะเป็น 0 หมด )
ถ้าข้อมูลเล็ก ก็แทบไม่มีผลกระทบอะไร แถมเราเปลืองค่าไฟมากขึ้นอีกต่างหาก เพราะยิง bit ฟรีในหลักแรกๆ เป็น 0 หมด
แต่ถ้าช้อมูลใหญ่ก็สามารถยิงได้ทีเดียว 64 หลัก ก็ช่วยให้ CPU ได้รับข้อมูลมากขึ้น
ง่ามีคนตอบไวกว่า ฮ่าๆๆ
เดี๋ยวรอบหน้า ผมต่อให้ 2 นาทีครับ
อย่าเลยครับ ของคุณความหมายก็เข้าใจง่ายดีออกครับ ช่วยๆกันตอนแหละดีแล้วครับ
มันไม่เชิงครับ แต่ผมจะบอกเอาที่เห็นชัดๆ ก็การคำนวนทางคณิตศาสตร์ ถ้ามีการคำนวนเอาความละเอียดมากๆ พวก 32bit ถ้าจำนวน bit ที่ใส่ค่าตัวตั้ง หรือตัวกระทำไม่พอเก็บค่า เขาต้องทำการแบ่งรอบให้มากขึ้นครับ
เช่น มีการคำนวนเลขชุดหนึ่ง ถ้าใช้ระบบ 32bit คำนวน ก็อาจต้องใช้รอบการทำงานของ CPU สัก 2 รอบขึ้นไป(รวมการบริหารจัดการในขั้นตอนการแยกและรวมข้อมูลในการคำนวนด้วย มันไม่ง่ายครับถ้าจะทำให้มีประสิทธิภาพที่สุดก็ต้องทำให้มีรอบการทำงานน้อยที่สุดและห้ามให้ผลลัพธ์ที่ออกมาผิดพลาดจากที่ควรจะเป็นด้วย) ส่วนถ้าเป็น 64bit อาจใช้การทำงานแค่รอบเดียวเลยจบ การทำงานมันจะไวขึ้นครับ
เพราะฉะนั้น 64bit ไม่ได้เร็วกว่า 32bit เสมอไปครับ ขึ้นอยู่กับว่าต้องทำอะไรกับข้อมูลบ้าง ถ้ายิ่งมีการคำนวนที่ต้องใช้ bit เยอะเกิน 32bit มากๆ ถึงจะได้เปรียบครับ
การทำงานทุกขั้นตอนของพวกอุปกรณ์ iT พวกนี้ มีการคำนวนผสมอยู่ทุกขั้นตอนครับไม่ว่าจะเป็นการแสดงผล ย้ายข้อมูล หรืออื่นๆ การมองเห็นและใช้ หน่วยความจำหลัก แค่เป็นเศษเสี้ยวเล็กๆในความสามารถมันครับ แต่เป็นส่วนที่ผู้ใช้ทั่วไปเห็นภาพมากที่สุด เข้าใจและยอมรับง่ายสุด เท่านั้นครับ ส่วนที่เหลือมันการทำงานเบื้องหลังทั้งนั้น
เอาแค่ใน Computer ก็ ภาษา Assembly ครับเวลาเขียนคำสั่งคุณจะรู้เลยว่าต่างกันมากแค่ใหน ข้อดีคือมันช่วยให้งานง่ายขึ้นนะ แต่ข้อเสียคือต้องมาเขียน Code ใหม่ทั้งหมด ส่วนภาษาระดับกลางก็ต้องแก้ตัวแปลให้เป็น 64bit พื้นฐานเบื้องหลังมันก็ทำงานเหมือนกันหมดแหละครับ เพียงแต่ภาษาระดับสูงจะแทบไม่ต้องแตะตรงส่วนนั้น ให้ Compiler มันจัดการให้ได้ครับ
นอกจากเรื่องแรม (ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญสุด) การใช้ชุดคำสั่ง 64 บิตก็จะเข้าถึงคำสั่งใหม่ๆ ได้อีกเยอะครับ ถ้าไลบรารีปรับแต่งมาดีประสิทธิภาพที่จะได้มาน่าจะรีดได้อีกหลาย %
lewcpe.com, @wasonliw
ขอบคุณครับ :)
16GB ไม่พอจริง ๆ ก็งานนี้แหละ
ถึงเวลาซื้อ ตอนนี้ใช้ iPad 4 อยู่ เก็บเงินรอปีหน้า จัด iPad Air 3 128 GB พอดีเลยสินะ
ส่วน โทรศัพท์ ขอคบ Android ต่อไป เนื่องจากถูกกว่า
ทำไมผมรู้สึกเหมือนเคยอ่านข่าวนี้แล้วใน blognone
แหล่มอ่ะ
เหมือนจะบังคับให้ คนมี iPhone รุ่นก่อนๆ 4s ลงไป
ต้องซื้อ iPhone รุ่นใหม่ 555+
โดยในค่าตั้งต้น "Standard architectures" จะคอมไพล์ทั้งแบบ 32 บิตและ 64 บิตในไฟล์เดียว
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ไม่ใช่แค่ก่อน 4S ครับ 5 กะ iPad 4 ก็โดน
บังคับให้แอพรับ 64 บิต ไม่ได้หมายความว่าแอพจะต้องไม่รับ 32 บิตนะครับ
คือมันคอมไพล์ได้ทั้ง 2 แบบครับทั้งแบบ 32 และ 64 บิต
ทีนี้ ถ้าพูดประมาณว่าให้ซื้อรุ่นใหม่ ก็ยังไม่เชิงนัก ถ้าหากเทียบกับประสิทธิภาพของระบบยังพอว่า แต่เรื่องแอพไม่น่าเกี่ยวกับการซื้อเครื่องใหม่เท่าไรนัก (ยกเว้นบางเจ้าที่ fix ไว้แค่นั้น)
ถ้าหากคอมไพล์แล้วรันได้แค่ 64 บิต ก็แปลว่า iPhone 5 และ 5c ก็ใช้ไม่ได้ด้วยสิครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
การรองรับ 64-bit ไม่มีผลเสียอะไรกับ iPhone รุ่นก่อนๆที่เป็น 32-bit ครับ
เพราะมันเป็น Universal Binary คือ รองรับทั้ง 32 และ 64-bit
แต่มันจะเป็นผลดี(มากๆ) กับเครื่องใหม่ๆ ที่ใช้ CPU 64-bit ครับ
เพราะจะทำให้ App ทำงานได้เร็วขึ้นและใช้ RAM น้อยลง
(เนื่องจากไม่ต้องโหลด 32-bit runtime)
เอา 32bit ไปขุดเหรียญ นับว่าเสียของ เลยเผด็จการสั่ง dev ทั่วโลกไปเลย ไม่ upgrade โดนถอดจาก store
เคยลองเขียน CUDA คอมไพล์ 32bit สามารถใช้แรมของการ์ดจอได้แค่กิ๊กกว่าๆ จากสามกิ๊ก
64 บิต ใช้คำสั่งใหญ่ขึ้นแต่แรม iphone เหลือแรมแค่ 26mb ปีหน้า ios9 อัพ...ไม่ได้ทั้งหมด ไม่ก็แทบไม่ได้ทำไรใหม่ แลคฯฯฯฯฯฯชัว