นานมาแล้วสมัยที่ iPod คือผลิตภัณฑ์ตัวเด่นที่สุดของ Apple ในช่วงปี 2007 - 2009 มีผู้ใช้พบว่าระบบของ Apple แอบลบเพลงที่ผู้ใช้ลงไว้ในเครื่อง iPod โดยไม่บอกกล่าว (แน่นอนว่ารู้ตัวภายหลังจากที่โดนลบเพลงไปแล้ว) จึงเป็นที่มาของการรวมตัวกันฟ้องร้อง Apple ว่าเข้าข่ายกระทำผิดฐานกีดกันทางการค้า โดยมีการฟ้องร้องกันมานานหลายปีในศาลแขวง Oakland ของรัฐ California
รายละเอียดสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้ iPod นั้นก็คือ เมื่อผู้ใช้สั่งซิงก์ iPod กับระบบของ Apple จะมีข้อความเตือนปรากฏขึ้นมาบนหน้าจอ iPod ว่าอุปกรณ์มีปัญหา และแจ้งให้ผู้ใช้ทำการคืนค่าอุปกรณ์ไปเป็นค่าตั้งต้นจากโรงงาน ซึ่งเมื่อผู้ใช้กดยืนยันทำการคืนค่าแล้ว Apple ก็จะลบไฟล์เพลงของผู้ใช้ออกไปจากเครื่องด้วย โดยเลือกลบเฉพาะไฟล์เพลงที่ไม่ได้ถูกซื้อมาจาก iTunes เท่านั้น ซึ่งกระบวนการกำจัดไฟล์เหล่านี้เป็นการแอบทำโดยไม่แจ้งผู้ใช้ให้ทราบทั้งในช่วงก่อน, หลัง หรือในขณะที่อุปกรณ์กำลังทำการลบไฟล์แต่อย่างใด
อัยการ Patrick Coughlin ตัวแทนกลุ่มผู้ใช้ที่ร่วมกันฟ้องร้อง Apple ระบุว่ากระบวนการดังกล่าวของ Apple นั้นเป็นการละเมิดผู้ใช้ และยังเป็นการขัดขวางการทำธุรกิจของคู่แข่งอย่างไม่ถูกต้องด้วย (เพราะไม่ว่าจะเป็นเพลงที่ผู้ใช้ซื้อมาจากสโตร์ไหน หากไม่ใช่ iTunes เป็นโดนลบเกลี้ยง)
Apple แก้ต่างว่ากระบวนการดังกล่าวนั้นไม่ใช่เรื่องการเตะตัดขาคู่แข่ง หากแต่เป็น "ฟีเจอร์" ที่ Apple ตั้งใจใส่มาในระบบเพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยในการใช้งาน iPod ของผู้ใช้
Apple อ้างว่าการเอาไฟล์ที่ Apple ไม่รู้แหล่งที่มาที่ชัดเจนมาใส่ในอุปกรณ์นั้นก่อให้เกิดความเสี่ยงว่าอาจทำให้มีมัลแวร์แฝงเข้าสู่ iPod ได้ ดังนั้นไฟล์ที่ Apple ไม่รู้ที่มาแน่ชัด (ซึ่งก็หมายถึงที่ใดๆ ก็ตามที่ไม่ใช่ iTunes) จึงถือเป็นไฟล์ที่พึงระวังและควรกำจัดทิ้งทั้งหมด
ต่อข้อสงสัยที่ว่า เหตุใด Apple ไม่จัดให้อุปกรณ์สอบถามผู้ใช้เพื่อขออนุญาตทำการลบไฟล์ที่ Apple สงสัยว่าไม่ปลอดภัยเหล่านั้น ก็มีคำตอบจาก Apple ว่าการแสดงข้อความแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยงเกี่ยวกับมัลแวร์นั้นรังแต่จะสร้างความสับสนและไม่สบายใจให้แก่ผู้ใช้เปล่าๆ (มีการอ้างว่าระบบปฏิบัติการ Windows ที่มีการแจ้งเตือนเรื่องไฟล์สุ่มเสี่ยงก่อนขออนุญาตลบทิ้งนั้นสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ไม่ดีให้แก่ผู้ใช้ ซึ่ง Apple ไม่อยากให้ผลิตภัณฑ์ของตนเองเป็นแบบนั้น) ดังนั้นการกำจัดมันทิ้งไปเงียบๆ จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด
งานนี้เดิมพันในการสู้คดีของ Apple นั้นเป็นค่าปรับไม่ต่ำกว่า 350 ล้านดอลลาร์ (และในฐานะที่เป็นคดีเกี่ยวกับการกีดกันทางการค้าก็มีสิทธิ์พุ่งกระฉูดเป็น 3 เท่า) ยังไม่นับเรื่องเสียภาพลักษณ์อีกด้วย
Comments
มันคือ "ฟีเจอร์"
เป็น ฟีเจอร์ ที่ โหดเหี้ยมมาก... ไม่แจ้งบอกอะไรเลย ถ้าแจ้งแล้ว กลัวผู้ใช้รู้สึกไม่ดีอีก.... แต่เพลงหาย ลูกค้าคงรู้สึกดีมาก...
อย่าเล่นมุกล่มสลายนะครับ เดี่ยวผมงง
คำแก้ต่างนี่มันคุ้นๆ จากไหนสักแห่งหว่า... //ผมได้กลิ่นยางไหม้...
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ผมว่าสีข้างถลอก
A smooth sea never made a skillful sailor.
เชียร์ให้ฝั่งลูกค้าชนะแล้วกันครับ ลูกค้าซื้อไอพอดมาใช้ เงินก็จ่ายไปแล้ว ไม่ได้เอาไอพอดมาใช้ฟรี โดนกีดกันแบบนี้ก็ไม่ไหวนะครับ
+128
+1 เห็นด้วยครับ
Get ready to work from now on.
เหตุผลแบบนี้จ่ายเงินไปเลยดีไหมครับ รวยจากสาวกมาเยอะแล้วกลัวอะไร
ขาลงอีกแล้ว...
เอาขาลงไปในศาล...
เอออออ ข้อมูล กรูววว์ จะหาย รบกวนแจ้งซะนิดได้มั้ยครับ - -" ลบไม่ผิด แต่ควรให้รู้ตัว ไม่ก็แจ้ง Backup ไรก็ว่าไป
แถซ้อนแถเลยทีเดียว งานนี้เชียร์ฝั่งผู้ฟ้องเต็มที่
ข้ออ้างฟังไม่ขึ้น
That is the way things are.
นี่แหละ นิสัยของ apple
สมควรโดนครับ!
ดังนั้นการกำจัดมันทิ่้งไปเงียบๆ
ทิ้ง มีไม้เอก ปนมาด้วยครับ
ฟีเจอร์ !!!!! แถจนแอปเปิ้ลแหว่งอีกข้างก็เชื่อยาก
มาอีกละ การแก้ต่างที่พูดให้ตัวเองดี - -"
ดริฟต์ครับ งานนี้แอปเปิลแพ้ชัวร์เพราะฟังไม่ขึ้นเลย =_=
Coder | Designer | Thinker | Blogger
เรื่องกลั่นแกล้งทางธุรกิจนี้ Apple ถนัดเป็นที่สุด
คืนค่าอุปกรณ์ไปเป็นค่าตั้งต้นจากโรงงาน = ลบทุกไฟล์?
แล้วทำไมไม่ลบเพลงจาก iTunes?
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
คำว่ามันคือ ฟีเจอร์ คุ้นมากๆ มันเป็นคำที่ผมใช้แถกับ QA ตั้งแต่เริ่มทำงานเลย คำแถ noob มากๆ
ผมเพิ่งเจอไปกับไอโฟนเหมือนกันนะ หลังอัพเดต iOS ตอนแรกก็งงว่าขึ้นชื่อเพลงแต่กดฟังแล้วเพลงไม่เล่น ต้องเอาเครื่องมาซิงค์ใหม่ นี่แสดงว่าฟีเจอร์นี้ยังอยู่!?
my blog
ถ้ากลัวขนาดนั้นก็อย่าให้ใส่ได้แต่แรกซิ
ก็ไหนว่าระบบ iOS ปลอดภัยจาก malware ไม่ใช่รึ แล้วจะมากลัวอะไรกับแค่ไฟล์เพลงของผู้ใช้
ทุกวันนี้ก็ยังลบเพลงอื่นที่ไม่ได้มาจาก itunes อยู่เวลา reset แต่เหมือนจะมีข้อความแจ้งเตือนแล้วนะ (เอ๊ะ ไหนว่าใส่มาแล้วมันเสีย ux)
:-)