เมื่อพูดถึงความปลอดภัยในการขับขี่รถยนต์ หลายคนน่าจะนึกถึงถุงลมนิรภัยที่ช่วยลดแรงกระแทกให้ผู้โดยสารภายในรถยนต์กันเป็นอย่างแรก แต่ในสิทธิบัตรล่าสุดของกูเกิลอ้างอิงถึงแผนการพัฒนาถุงลมนิรภัยภายนอกตัวรถสำหรับวัตถุ (หรือคน) ที่ถูกชนกันแล้ว
ตัวสิทธิบัตรดังกล่าวออกแบบมาสำหรับใช้งานกับรถยนต์ไร้คนขับโดยเฉพาะ โดยทำงานร่วมกับเซนเซอร์ด้านนอกตัวรถ เมื่อตรวจจับว่ากำลังจะเกิดอุบัติเหตุ ถุงลมนิรภัยจะทำงานเพื่อลดแรงกระแทก แต่วัสดุที่ใช้จะต่างจากถุงลมนิรภัยภายในรถยนต์ โดยจะเป็นวัสดุประเภทของแข็งที่ยืดหยุ่นได้ (viscoelastic) เช่นยาง หรือพลาสติกโพลีเมอร์ เป็นต้น (ในรายละเอียดไม่ได้ระบุว่าจะเป็นอะไร)
แม้ว่าจะดูล้ำสมัย แต่กูเกิลไม่ใช่เจ้าเดียวที่คิดเรื่องนี้ เพราะมีผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อย่าง Volvo พัฒนา และเริ่มทดลองในบางโมเดลไปบ้างแล้ว แนวคิดของทั้งสองบริษัทนี้ออกมาค่อนข้างใกล้เคียงกัน ดูวิดีโอประกอบได้ท้ายข่าวครับ
ที่มา - Quartz
Comments
เด้งดึ๋งไปหัวกระแทกฟุตบาทตาย:P
ทำไมผมขำ 55555555555
Mekokung's Story บล็อกส่วนตัวที่ย้ายไป Blogger แล้วนะ
กันหัวได้ แต่ขาหักอยู่ดี ฮ่าๆ
กันชนรถ น่าจะทำจากยางนิ่มๆ แบบรถบั้มไปเลยเนาะ
iPAtS
มันมีปัญหาเรื่องความทนทานน่ะสิครับเพราะวัสดุพวกยางไม่ค่อยถูกโรคกับแดดถ้าเอามาทำตัวถังรถที่ต้องเจอแดดหนักๆนี่คิดว่าแค่ปีเดียวก็เสื่อมแล้วครับ คงไม่มีใครอยากได้รถที่ต้องซ่อมใหญ่ภายในเวลาสั้นๆแบบนี้หรอก
เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีครับอนาคตคงทั้งคัน
รถอัตโนมัติ... มันจะเบรกไม่ทันใช่มะ...
แต่น่าสนใจดีจัง คงต้องทดลองอีกเยอะ