หลังจากเปิดตัวแพลตฟอร์ม ResearchKit ไปเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา วันนี้ทาง Apple ได้เปิดให้นักวิจัยทางการแพทย์ สามารถเข้าใช้งาน ResearchKit ได้อย่างเป็นทางการแล้ว โดยนักวิจัยสามารถสร้างแอพหรือโปรแกรม เพื่อนำข้อมูลจากแพลตฟอร์มดังกล่าว มาใช้ประกอบการวิจัยได้แล้ว
ทั้งนี้ Apple ยังเปิดเผยตัวเลขว่าสำหรับแอพชุดแรก ที่เปิดตัวไปพร้อมๆ กับการเปิดตัว ResearchKit มีการใช้งานกับ iPhone แล้วกว่า 60,000 เครื่องทั่วโลก
อนึ่ง สำหรับคนที่สนใจ ResearchKit และต้องการจะนำมาพัฒนาหรือสร้างแอพ ลองอ่านบทความ "5 เหตุผลที่ ResearchKit ยังคงเป็นเพียงของเล่นไว้เพิ่มมูลค่าไอโฟน" ของคุณ pawinpawin หนึ่งในสมาชิกของ Blognone ที่ทำงานด้านการแพทย์ เพื่อประกอบการตัดสินใจครับ
Comments
เดือนที่แล้วผมอ่านข่าว เห็นผู้อำนวยการศูนย์หัวใจของมหาวิทยาลัย Stanford ออกมาให้ข่าวว่ามีคนสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยผ่าน ResearchKit 11,000 คนภายในหนึ่งวัน ซึ่งตามปกติแล้วจำนวนเท่านี้ต้องใช้เวลารับสมัครหนึ่งปีผ่านศูนย์สุขภาพ 50 แห่งทั่วประเทศ
ResearchKit ย่นเวลาหนึ่งปีให้เหลือเพียงหนึ่งวัน (แต่หลังจากนั้นกระบวนการเก็บข้อมูลผ่านไอโฟนโอเคไหมก็อีกเรื่องหนึ่งนะครับ)
เมื่อวันที่ 12 เมษาที่ผ่านมา ที่งาน HIMSS 2015 (Healthcare Information and Management Systems Society) จัดที่ชิคาโก ก็มีบริษัทเปิดตัวแอพดูแลสุขภาพบน Apple Watch เป็นสิบแอพเลยครับ (เร็วมาก - -")
ผมอ่านบทความของคุณ pawinpawin แล้วเห็นด้วยในหลายๆอย่าง และลองอ่านความเห็นของนักวิจัยอเมริกาก็พบว่ามีความเป็นห่วงในมุมที่คล้ายกัน
อย่างไรก็ดี ผมมองว่า ResearchKit เป็นแค่ "เครื่องมือ" ชิ้นหนึ่ง ที่จะมีประสิทธิภาพหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับนักวิจัยจะเอาไปใช้อย่างไรนะครับ เป็นแค่อีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือไปจากวิธีเดิมที่มีอยู่แล้ว
ในฐานะนักวิจัย ถ้าคิดว่าวิธีเก็บข้อมูลผ่านโทรศัพท์/นาฬิกาจะไม่แม่นยำหรือมีประสิทธิภาพมากพอ เราก็สามารถ "เลือกที่จะไม่ใช้" ช่องทางนี้ได้
แต่ถ้าหาก "เลือกที่จะใช้" เมื่อไร ก็เป็นหน้าที่ที่ต้องคัดกรองและจัดการว่าจะทำอย่างไรให้ข้อมูลที่ได้มานั้นจะสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ
ซึ่งหมายถึงการช่วย "พัฒนา" แพลตฟอร์มนี้ให้มันดีขึ้นด้วย เพราะเราคงไม่สามารถคาดหวังให้แอปเปิลสร้างอะไรแบบนี้ขึ้นมาแล้วสมบูรณ์ได้เลยในทันที
ตอนนี้มหาวิทยาลัยใหญ่ๆของโลกเริ่มเอาไปใช้แล้ว (ทั้ง Stanford และ Oxford) องค์กรเอกชนชั้นนำอีกหลายแห่งด้วยเช่นกัน แต่มันยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ความไม่สมบูรณ์ยังมีอยู่อีกมาก เช่นเดียวกับที่ความเป็นไปได้ของมันก็มีอยู่มากเช่นกัน ซึ่งการมีนักวิจัยเข้าร่วมเยอะๆคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาให้มันดีขึ้นได้นะครับ
ผมมองว่าเป็นเครื่องมือคัดกรองสมมติฐานก็พอได้นะ เวลามีสมมติฐานแล้วกว่าจะทำ clinical test มันกินเวลาและเงินทุน ก็ลองใช้ research kit มาเล่นดูก่อน bias เยอะแน่ (อาจจะน้อยลงในประเทศที่คนใช้เยอะๆ อย่างสหรัฐฯ) แต่ในเมื่อค่าทดลองมันถูกมากๆ ก็ให้ผลเบื้องต้นได้
เรื่องใช้ประกอบผลตีพิมพ์หรือกระทั่งเอาไปผลจาก research kit ไปทำ guideline ทางการแพทย์คงลำบาก แต่บอกว่ามีสมมติฐานแล้วควรทำวิจัยต่อไหมก็คงน่าสนใจดี
lewcpe.com, @wasonliw
ผมกลัวบริษัทประกันชีวิตจะมาเอาไปด้วยสิ