ตามธรรมเนียมแล้ว Larry Page และ Sergey Brin จะเขียนจดหมายจากผู้ก่อตั้ง (Founders' Letter) เพื่อบอกกล่าววิสัยทัศน์ของกูเกิลเป็นประจำทุกปี แต่ปีนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพราะการตั้ง Alphabet ทำให้หน้าที่การเขียนจดหมายของกูเกิลกลายเป็นงานของซีอีโอ Sundar Pichai แทน
จดหมายของ Sundar ไม่ได้เล่าอะไรใหม่ แต่จุดที่น่าสนใจคือการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์อันมากมายของกูเกิล ซึ่งเราจะพอทำความเข้าใจจากจดหมายฉบับนี้ได้ว่ากูเกิลมองผลิตภัณฑ์ของตัวเองอย่างไร
Sundar ย้อนกลับไปที่ภารกิจดั้งเดิมของกูเกิลว่า "making information and knowledge available for everyone"
ผลิตภัณฑ์ตัวหลักคือ Search แต่มันก็พัฒนาขึ้นจากการค้นเว็บในอดีตมาก กูเกิลเพิ่มข้อมูลและบริบทเข้ามาช่วยตอบโจทย์ผู้ใช้ อีกทั้งยังมี Google Now ที่ช่วย "ตอบคำถาม" โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องเริ่มถาม
ประเด็นเรื่อง Search ยังครอบคลุมถึงฟีเจอร์การค้นหาในบริการตัวอื่น เช่น การค้นรูปภาพใน Google Photos หรือการค้นหาเส้นทางใน Google Maps และในอนาคตกูเกิลยังมองไปถึงคำว่า Smart Assistance ที่เข้าใจว่าเราต้องการอะไรในตอนนั้นด้วย
Sundar บอกว่ากูเกิลทุ่มทรัพยากรกับเรื่อง AI มาก ทั้งเรื่องการสั่งงานด้วยเสียง การแปลภาษา การกรองสแปม การค้นหารูปภาพ ฯลฯ กูเกิลมั่นใจว่าทีมงาน AI ดีมาก และความสำเร็จของ AlphaGo ก็ถือเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งของวงการ AI ที่จะยิ่งใหญ่กว่านี้มากในอนาคต
Sundar เอ่ยถึงบริการที่เกี่ยวกับ "เนื้อหา" สองตัวคือ YouTube และ Google Play ที่มีผู้ใช้งานเกิน 1 พันล้านคนทั้งคู่ ในมุมของ YouTube จะเน้นขยายบริการเฉพาะด้าน เช่น YouTube Kids, YouTube Red, YouTube Music ให้ตรงความต้องการของผู้ใช้แต่ละกลุ่มมากขึ้น
ในส่วนของเว็บ กูเกิลมุ่งไปที่ mobile web โดยลงทุนพัฒนา Chrome Mobile ซึ่งมีผู้ใช้งานเกิน 1 พันล้านคนแล้ว, โครงการ AMP และโครงการ Progressive Web Apps (PWA) ที่ผลักดันให้เว็บแอพมีความสามารถใกล้เคียงแอพแบบเนทีฟมากขึ้น
Sundar พูดถึง "คอมพิวเตอร์" แขนงใหม่ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ (Android มีผู้ใช้ต่อเดือน 1.4 พันล้านอุปกรณ์) รวมถึง Android Auto, Android Wear, Google Cardboard แต่ในอนาคต แนวคิดของ "อุปกรณ์" (device) จะค่อยๆ หายไป เราจะไม่สนใจว่าคอมพิวเตอร์อยู่ที่ไหนหรือคืออะไร แต่เราจะเรียกใช้มันได้ตลอดเวลา
เขาบอกว่าโลกจะเปลี่ยนจาก mobile first กลายเป็น AI first
สำหรับลูกค้าตลาดองค์กร กูเกิลมีผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น Google Cloud Platform (GCP), Google Apps, Chromebooks, Android และบริการแปลงภาพ แปลงเสียง แผนที่ ฯลฯ ปัจจุบันมีองค์กรใหญ่ๆ จำนวนมากใช้บริการสำคัญทั้ง Google Apps และ Google Cloud Platform
ในภาพรวมแล้ว กูเกิลจะผลักดันผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้เก่งขึ้นด้วย machine learning และ AI ต่อไป
หัวข้อสุดท้ายเป็นมุมมองของกูเกิลที่ต้องการให้ทุกคนเข้าถึงบริการของกูเกิลได้ ทั้งในแง่ราคา (บริการฟรีเพราะใช้โฆษณาช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่าย, Android/Chromebook มีราคาถูก) ในแง่การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (บริการหลายตัวทำงานออฟไลน์ได้ หรือทำงานได้แม้เน็ตช้า) ในแง่การใช้ง่าย (อาจไม่ต้องมีความรู้คอมพิวเตอร์เยอะ สั่งงานด้วยเสียงได้)
ที่มา - Google Blog
Comments
รอ YouTube Kids อยู่
รอ RedTube อยู่่
เดี๋ยวๆ
YouTube Red
youporn หละ
เฮ้ย ใช่หรา
อยากให้ช่วยดู เรื่องที่ Sony Entertainment
แบน Clip มั่วซั่วไปหมดทั้ง YouTube มากๆเลยครับ
ระบบ Content ID ของ YouTube มีปัญหาครับ
ตอนนั้นผมอัดวิดีโอแนะนำ Windows 10 Anniversary Update ไปโดยไม่ทำเป็นการหารายได้
ปรากฎว่าพอโพสต์ไปแล้ว YouTube แจ้งว่ามีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ โดยบอกว่า เจ้าของลิขสิทธิ์เป็น CBS Interactive เจ้าของ CNET ที่ถ่ายทอดสด live stream งาน Build 2016 โดยสตรีมอีกทอดจาก Channel 9 ของไมโครซอฟท์
ประเด็นคือระบบการยืนยันพวกนี้อิงจาก channel พาร์ตเนอร์มากกว่าเจ้าของลิขสิทธิ์ที่อยู่ที่อื่น ๆ
ผมคงเรียกร้องอะไรไม่ได้หรอก เพราะว่าถึงร้องเรียนไป เขาก็อ้างอิงจากทาง CNET อยู่ดี
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ระบบการกรอง content ของ youtube มั่วมากจริงๆครับ เคยแบนคลิปที่ผมทำหลายเดือนแล้วค่อยมาปลดแบนทีหลัง report ไปก็ไร้การตอบสนอง
愛 First
藍 First
"Building for Everyone" -
หันหน้ามาอง Windows Users...No Apps for you!
//แซวเล่นครับ 55
ສະບາຍດີ :)
ได้ข่าวว่ากระทั่งรุ่นเว็บก็ยังสอดไส้เรื่อยๆ
ล่าสุดผมก็เพิ่งโดนเรื่องยัดใส้ใน Microsoft Edge เนี่ยแหละครับ ดูได้จากคลิปด้านล่าง
ป.ล. เฮียสุนทราแกก็เคยบอกไปว่า web app ของตัวเองเลิศเลอประเสริฐศรีนะครับ อย่าว่าเขาเชียว...
ส่วนฝั่ง developer เองก็บ่นกันระนาวว่า HTML5 API กากสิ้นดี
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ไมผมเข้าได้ปกตินะ =0=
ສະບາຍດີ :)
ของผมต้อง IE ครับถึงรันได้
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ผมก็เข้าได้ปกติ...
ทุกวันนี้ใช้ผลิตภัณฑ์ของ google ใน Edge อย่างปกติสุขดี
บริษัทแห่งนวัตกรรมจริงๆ
Google+ ล่ะ
ผมสนใจความคิดคนนี้มากกว่า. รู้สึก apple จะไม่มีคนแบบนี้อยู่นะ
Apple ก็มี Tim Cook นี่ครับ
Cook ออกแนวพ่อค้ามากกว่าครับ
คงเป็นเพราะวิสัยทัศน์ต่างกัน ปรัชญาก็ต่างกันครับ
Apple : ทำยังไงสินค้าถึงจะขายได้
Google : ทำยังไงถึงจะครองโลกได้ (อุ๊ปส์)