ภาษา COBOL เริ่มพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองไม่นาน และใช้เรื่อยมาจนบูมในยุคเมนเฟรมช่วงปี 1960-1980 แม้ว่าจะเสื่อมความนิยมไปนานแล้ว แต่ตอนนี้ก็ยังมีองค์กรขนาดใหญ่มากกว่า 5,000 บริษัทมีระบบสำคัญรันอยู่บนเมนเฟรมโดยไม่สามารถหยุดใช้งานได้ ตอนนี้ LzLabs สตาร์ตอัพจากสวิสเซอร์แลนด์ ออก LzLabs Software Defined Mainframe (SDM) ทำให้สามารถย้ายแอปจากเมนเฟรมขึ้นไปรันบน Red Hat Enterprise Linux ได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดใหม่
ปัญหาสำคัญของแอปเก่าๆ เหล่านี้คือเครื่องเมนเฟรมเหล่านี้หาผู้ดูแลระบบมาดูแลยาก SDM ทำตัวเป็นคอนเทนเนอร์สำหรับรันแอป COBOL เหล่านี้ พร้อมชุดเครื่องมือสำหรับการย้ายแอปจากเครื่องเมนเฟรม
แม้ว่าจะมีเครื่องมือต่างๆ แล้วแต่กระบวนการย้ายไม่ได้ง่ายในระดับย้ายได้ในทันที LzLabs ระบุว่ากำลังหา system integrator ที่เข้าไปช่วยลูกค้าย้ายข้อมูลเพื่อให้กระบวนการย้ายทั้งหมดสำเร็จ
ที่มา - TechCrunch, LzLabs
ภาพ IBM type 704
Comments
ข่าวใหญ่เลย ผมเคยพยายามจะศึกษาพักใหญ่แต่หาสภาพแวดล้อมยากมาก
เดี๋ยวนี้มีโปรแกรมที่ Compile COBOL ลงเครื่องคอมปกติไหมเนี่ยนอกจากตัวนี้ เหมือนกับภาษาโปรแกรมอื่นๆ
Get ready to work from now on.
เจ๋งเลยอ่ะ
..: เรื่อยไป
มันยากตรงย้าย ทุกอย่างออกจาก Main Frame ให้เหมือนเดิมเด๊ะ
ภายในช่วงเวลาที่สามารถ ยอมรับ Business Down Time มากกว่าครับ
เช่น move ไปเครื่องใหม่ ให้เสร็จภายใน 6 โมงเย็น ถึง 6 โมงเช้า
หรือ 6 โมงเย็นวัน ศุกร์ ถึงก่อน 6 โมงเช้า วันจันทร์
แต่ต้องไม่ลืมว่า ทุกอย่างที่อยู่บนฝั่ง Main Frame ที่ทำงานมานานเป็น 20-30 ปี
ต่อให้โครตทันสมัยแค่ใหนในยุคนั้น ผมว่าอยู่หลัก <100 Mbit/sec
หรือช้ากว่า SD Card Class 4 อ่ะ
ระบบพวกนี้จริงๆ ตอนเอาขึ้นเขาน่าจะรันขนานกันเป็นเดือนอยู่แล้วนะครับ เขียนสคริปต์มาย้ายข้อมูลจากระบบเก่าแล้วขึ้นไปรันระบบใหม่ทุกๆ วัน จนกระทั่งแน่ใจแล้วค่อย cut-off ปิดระบบเก่าแล้วใช้ output จากระบบใหม่
lewcpe.com, @wasonliw
MF รุ่นอายุราว 10 ปี z10 นี่ FICON800 ตัวปัจจุบัน z13 น่าจะ FICON1600 แล้ว speed นี่ระดับ 8/16 Gbps ต่อ channel แต่ละเครื่องต่อได้หลักร้อย channel นะครับ
แถมด้วยสถาปัตยกรรมของ MF เองมันออกแบบมาเพื่อการันตี response time มันสามารถบอกได้เลยว่าจะได้ output ออกมาภายในกี่วินาที ไม่เป็นเครื่อง cisc/risc ที่ไม่สามารถการันตีได้
แต่เรื่องการย้ายออกจาก MF เนี่ย คุยกันมานานแล้ว แต่ไม่รอดซักที เพราะว่าเจ้าของไม่กล้าเสี่ยงเรื่อง response time ที่ระบบอื่นๆ มันไม่สามารถมั่นใจได้ว่าจะได้คำตอบภายในเวลาเท่านั้น เท่านี่วินาที แล้วระบบบางประเภทมันต้องได้ตามนั้น ไม่งั้นธุรกิจเสียหายครับ
ผมว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ HW คือมันจะเป็นเครื่องอะไรก็รันไปเถอะ ปัญหาน่าจะอยู่ที่ SW มากกว่า อย่าง COBOL เนี่ยตอนนี้เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะไปแล้ว
ปล. บ.ข้าง ๆ ผมเปิดรับ COBOL อยู่นะครับ ใครเขียนไม่เป็นมีเปิดสอนให้ด้วย
ระบบเก่าๆ พวกนี้ H/W นี่เปลี่ยนตามยุคด้วยเปล่าหว่า ใช้มายาวนานน่าจะมีเสียกันบ้าง หรือว่ามันทนสุดขั่วเลยหว่า