Tags:
Node Thumbnail

ทีมนักฟิสิกส์จาก CERN สามารถทดลองตรวจวัดปฏิสสาร (antimatter) ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยทำการผลิต antihydrogen ซึ่งเป็นปฏิสสารของไฮโดรเจนขึ้นหลังจากใช้ความพยายามในการสร้างเป็นเวลานานเนื่องจาก antihydrogen สลายไปได้อย่างรวดเร็วเมื่อเจอกับสสารปกติ ทีมวิจัยได้ออกแบบสนามแม่เหล็กแรงสูงที่สามารถจับอนุภาคนี้ไว้หลังจากนั้นจึงใช้เลเซอร์ความเข้มสูงยิงไปยังอนุภาคดังกล่าวเพื่อตรวจดูช่วงสเปกตรัมของพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในรูปของแสงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงชั้นพลังงานของโพสิตรอน (positron)

โดยหากเป็นไปตามหลักฟิสิกส์อนุภาค antihydrogen ควรดูดกลืนหรือปล่อยแสงที่ช่วงความยาวเดียวกับไฮโดรเจน จากการทดลองครั้งนี้นักฟิสิกส์พบว่า antihydrogen ให้ผลใกล้เคียงกับไฮโดรเจน ซึ่งการค้นพบดังกล่าวอาจช่วยอธิบายโมเดลทางฟิสิกส์ของอนุภาคได้ชัดเจนขึ้นและตอบคำถามที่ว่าทำไมในเอกภพถึงยังมีแค่สสารเกือบทั้งหมด ในอนาคตทีมนักฟิสิกส์มีแผนที่จะทดลองเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและศึกษารายละเอียดในส่วนอื่นเพิ่มเติม

ที่มา - NewScientist, Engadget

Get latest news from Blognone

Comments

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 27 December 2016 - 06:18 #961230
tekkasit's picture

ปัญหาเดิมคือ Standard Model อธิบายไม่ได้ว่าทำไมหลังเกิดบิ๊กแบงยังคงเหลือสสารอยู่ เพราะตามแบบจำลองแล้ว สสารกับปฏิสสารคือสมมาตรกัน สสารจะเกิดมาเท่าไรต้องมีปฏิสสารเกิดมาในปริมาณที่เท่ากัน และจะ annihilate กันไปหมด ควรจะเหลือแค่โฟตอนเท่านั้น

แต่ถ้าต้องบอกว่าถ้าปฏิสสารไฮไดรเจนมีสเปคตรัมต่างกับไฮโดรเจน (ถ้าไม่สมมาตรกันจริง) จะอธิบายได้ง่ายว่าทำไมยังเหลือสสารอยู่หลังเกิดบิ๊กแบงแทนที่จะ'ประลัย'กันไปเสียสิ้น

By: knott on 28 December 2016 - 07:43 #961410 Reply to:961230

อธิบายเสริมความเข้าใจเนื้อข่าวได้ดีมากครับ

By: AK
iPhoneAndroid
on 27 December 2016 - 09:33 #961254

แค่อ่านหัวข้อข่าว ชื่อ ศ.แลงดอน ก็แวบเข้ามาในหัว

By: srps
iPhoneWindows
on 27 December 2016 - 09:47 #961257 Reply to:961254
srps's picture

เทวากับซาตานสินะครับ

By: isk on 27 December 2016 - 11:21 #961276 Reply to:961254

555 ชอบหนังเรื่องนี้ ตื่นเต้นดี

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 27 December 2016 - 09:37 #961256
Holy's picture

หัวข้อข่าวน่าจะเขียนว่า "นักฟิสิกส์สามารถทดลองตรวจวัด(สี/สเปรคตรัมแสงของ)ปฏิสสารได้สำเร็จเป็นครั้งแรก" นะครับ เพราะถ้าแค่ตรวจวัด(ว่ามี)ปฏิสสารนี่น่าจะทำสำเร็จมานานแล้วครับ

By: ikkyu
Windows PhoneAndroid
on 28 December 2016 - 05:13 #961400 Reply to:961256

เห็นด้วยครับ

By: mkcd_toy
AndroidRed HatUbuntu
on 27 December 2016 - 15:58 #961321
mkcd_toy's picture

สมมุติ 1 & 2 = 3

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 28 December 2016 - 08:57 #961422 Reply to:961375
tekkasit's picture

สสารและปฏิสสารทุกชนิดแม้ไม่มีประจุแต่มีความไวต่อสนามแม่เหล็กอยู่บ้างครับ (magnetic susceptibility) อันเนื่องมาจากความไม่สมบูรณ์ของสนามอิเล็กตรอน แต่อาจจะน้อยมาก เช่น น้ำ (ประมาณพันล้านเท่าเมื่อเทียบกับเหล็ก) หรือแม้แต่ He (พันล้านล้านเท่าเมื่อเทียบกับเหล็ก)

ถ้าเคยได้ยิน มีการทดลอง เอากบเป็นตัวเล็กๆ (ไม่กี่เซนติเมตร) มาแขวนลอยกลางอากาศภายใต้สนามแม่เหล็กระดับ 16 Tesla (ล้านเท่าสนามแม่เหล็กโลก) ที่ได้รางวัล Ig Nobel ไป

เนื่องจาก anti-hydrogen ไม่มีประจุ ดังนั้นวิธีเดียวที่จะกักไว้ได้คือต้องอัดสนามแม่เหล็กความเข้มสูง เพื่อให้มันลอยตัวอยู่ได้โดยไม่สัมผัสกับภาชนะ แบบนี้ล่ะครับ

By: indyend
AndroidUbuntu
on 28 December 2016 - 12:01 #961471
indyend's picture

หรือมนุษย์จะคิดโมเดลยานข้ามกาแล็คซี่ได้ในช่วงชีวิตนี้?