อินเทลเปิดตัว Xeon ตัวใหม่ที่แรงที่สุดในตอนนี้ E7-8894 v4 ที่มาพร้อมสมรรถนะจัดเต็ม มีทั้งหมด 24 คอร์ 48 เธร็ด, สัญญาณนาฬิกา 3.4GHz, แคช 60MB, ใช้งานได้สูงสุดแบบ 8 ซ็อคเก็ต และรองรับแรมสูงสุด 24TB
อินเทลระบุว่าประสิทธิภาพของ Xeon E7-8894 v4 สูงกว่า Xeon รุ่นก่อนหน้า 33% และเซิร์ฟเวอร์จากผู้ผลิตรายต่างๆ ที่ใช้ซีพียูตัวนี้ก็ทำลายสถิติโลกของเบนช์มาร์คหลายตัว เช่น SPEC หรือ LINPACK ด้วย
ราคาของ Xeon E7-8894 v4 ขายตัวละ 8,898 ดอลลาร์ (ประมาณ 3.1 แสนบาท) ทำให้มันกลายเป็นซีพียูที่แพงที่สุดของอินเทลในตอนนี้ (แชมป์เก่าคือ Xeon Phi 7290F ตัวละ 6,401 ดอลลาร์)
Comments
ราคาสมกับคุณภาพ
จริงปล่าวเคยอ่านมาว่า i3 i5 i7 นี่ผลิตเหมือนกันหมด แต่มาคัดแยกกันที่หลัง
กากสุด i3 กลางๆ i5 ดีสุด i7 แบบนี้แปลว่าการผลิตยังไม่สามารถ
ให้ผล 100% ทุกตัวเหรอ ถ้าจริงไม่น่าเชื่อ
เป็นเรื่องปกติครับ ที่เขาออก i7 รุ่นใหญ่มาก่อนจากนั้นลดสเปกนั่นนี่ออกจนได้ i5 และ i3 ตามมา
ก็เหมือนรถยนต์ที่เอาตัวจัดเต็มมาประกาศในงานก่อน พอวางขายจริงในแต่ละประเทศก็ตัดนุ่นนี่ออก เป็นรุ่นต่างๆ
ไม่ใช่ ลดเสปกครับ แต่ สินค้าที่ผลิดไม่ผ่าน เสปก i7 เลยต้องนำมาขายเป็น i5 i3 นี่จริงมั้ย สงสัยกระบวนการผลิตแบบนี้จริงเหรอ ไม่ได้ตั้งใจจะผลิต i3 i5 แต่แรก ถถถถถ
ผลิตบนเวเฟอร์เดียวกันนั่นละครับ คอร์เปิดไม่ครบก็แปะป้าย i3 ประมาณนั้น
แสดงว่า ทำให้กระบวนการผลิต 100% ไมได้ สินะครับ งี้นี่เอง
ในการผลิต CPU GPU เป็นแบบนี้เหมือนกันหมดครับ
ของที่ไม่สมบูรณ์เขาก็ไม่ทิ้งครับปิดบางส่วนขาย
ในโลกความเป็นจริงไม่ต้องรอ "ไม่ผ่าน" ครับ ถ้าความต้องการรุ่นล่างสูงกว่าแต่ผลิตได้คุณภาพดี ก็สามารถปิดวงจรบางส่วนเพื่อให้เป็นรุ่นล่างได้อยู่ดี
lewcpe.com, @wasonliw
ตามความเห็นแรกในกระทู้นี้ครับ
จะว่าคร่าว ๆ ก็ใช่ครับ เรียกว่าวิธี binning
การผลิต semiconductor ระดับนี้ ผลที่ได้ส่วนใหญ่จะไม่ 100% อยู่แล้วครับเพราะเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ต้องการความแม่นยำมาก การผลิตหนึ่งครั้งชิปที่ใช้งานได้จริง ๆ จะเหลือไม่มาก ถ้า yield ต่ำ ชิปที่ออกสู่ตลาดก็มีน้อยลงและอาจต้องขายราคาแพงขึ้นหรือไม่ก็ขาดตลาดไปเลยก็มี
เล่นเกมยิงไข่กระตุกไหมครับตัวนี้
The Last Wizard Of Century.
เอาไปทำVMสบายๆครับ
ใส่เต็ม 8 ตัวนี่ เอาไปใช้ทำอะไรถึงจะดี และคุ้ม ครับ...
(ขอคำตอบจริงจังนะครับ แบบยิงไข่อะไรนี่ไม่เอา)
Hypervisor ครับ
ส่วนใหญ่เน้นการจำลองระบบ พวกVMเพื่อลดต้นทุนเครื่องServerประมาณนี้ครับ
ทำเครื่อง Host VM ครับ
นอกจากทำ Hypervisor แล้ว มีการใช้งานอะไรอย่างอื่นบ้างมั๊ยครับ
อย่างเช่น Application ประเภทไหนที่ต้องใช้งานเรื่องแบบนี้ (ใช้แบบเต็มๆ)
งานที่ต้องใช้และรองรับ general computing scalability สูงๆก็มีเยอะนะครับ พวกงาน Java, Database(OracleDB, DB2) และลูกหลานของมันเช่น Essbase เป็นต้น ซึ่งโดยปกติบางส่วนก็แบ่งไปทำ VM ส่วนนั้นนี้บ้างตามปกติครับ
เรื่อง 8 sockets นี่คุณอาจคิดว่ามันเยอะเกิน(จากตัวอย่างที่เป็น CPU 24 core) แต่จริงๆแล้วมันเป็น scalability ของ LGA2011 หน่ะครับ ซึ่งตัว LGA2011 นั้นรองรับ CPU หลากหลาย configuration มาก เช่น E7-8893v4 ที่เป็นตัวท็อป 60MB cache ก็มี core แค่ 4 core เองครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ไม่ได้คิดว่าเยอะเกินครับ แค่อยากรู้ว่า 24 Core ถ้าใส่เต็มๆ x 8 เข้าไปเนี่ย รวม 192 Core
ราคารวมๆ ทั้งเครื่องน่าจะไม่ต่ำกว่า 5 ล้าน (รวมส่วนอื่นๆ ด้วย)
เลยอยากรู้ว่า ระหว่างการใส่ CPU ระดับนี้เข้าไป กับการทำ Cluster Server (ไม่ทราบผมเข้าใจถูกไหม ถ้าไม่ถูกช่วยแก้ให้ด้วยนะครับ) มันต่างกันยังไง
แล้วถ้าราคามันต่างกันมากๆ ทำไม Configuration แบบนี้จะไปตอบโจทย์งานได้ไหนได้บ้างถึงจะคุ้ม
(ตรงนี้คือส่วนที่ผมอยากรู้ และไม่ทราบจริงๆ ครับ)
แต่ก็งงว่าทำไม E7-8893v4 ถึงมีแค่ 4 Core
ถ้ามีแหล่งข้อมูลหรือช่วยไกด์ไลน์ให้ผม ก็อยากขอขอบคุณมากๆ ครับ
อยากรู้จริงๆ เค้าลงทุนไปใช้กับอะไร หรืองานประเภทไหนบ้าง ที่มันดูสมเหตุสมผล
งานหลายๆงานเช่น analytics ต้องการ high computational perfermance, data bandwidth, memory bandwidth ที่สูงกว่าปกติครับ จึงต้องทำ'งานหลัก'เหล่านั้นในเครื่องๆเดียว ไม่สามารถทำบน cluster(ที่มีข้อจำกัดด้าน data latency, bandwidth)ได้ครับ กรณีนี้ผมขอยก Essbase เป็นตัวอย่างนะ
การใช้งาน cluster ในงานแบบนี้ จะใช้เพื่อเพิ่ม availability(round robin load balancing--duplicated processing ซึ่งเป็น performance ทางอ้อม) มากกว่าเพื่อเพิ่ม performance ทางตรง(ยกตัวอย่างเช่น active-active cluster ของ Essbase ครับ) อย่างไรก็ตามการแบ่งงานบางอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานหลักไปแยกกันทำ ก็ยังสามารถเป็นไปได้อยู่ แต่ก็ไม่สามารถแบ่งงานแบบ equal load 50:50,33:33:30 ได้ครับ
ส่วนเรื่องทำไมถึงมีพวก 4 core 60MB cache ก็คือในงานบางงานหรือการประมวลผลบางอย่างเราไม่สามารถประมวลแบบ pararellism ได้ดีพอครับ(หรือก็คืองานที่ data dependency เยอะ) ซึ่งในงานแบบนี้การใช้ CPU ที่มีคอร์ประสิทธิภาพสูง(ในที่นี้คือความถี่ MHz) จะให้ผลดีกว่าที่มีจำนวนคอร์มากครับ และตัว cache ก็ช่วยลด data latency ซึ่งยิ่งเยอะยิ่งดีอยู่แล้วครับ อย่างตัว Essbase หลายๆครั้งนั้นออกแบบ model/cube/formula มาไม่ดี ทำให้เกิด data dependency ขึ้นบ่อยๆครับ ก็ต้องมาทำการ tuning กันหรือไม่ก็เพิ่มประสิทธิภาพของ CPU ซึ่งหลายๆครั้งนั้นวิธีแรกมันเป็นไปไม่ได้หรือได้ยากครับ(เช่นคนทำรีบปิดจ๊อบหนีแล้วหายไปเลย)
ส่วนที่ว่าทำไมต้องใช้ CPU แบบนี้หรือระดับนี้ จริงๆก็คืองานแบบนี้มันแข่งขันกับเวลาหน่ะครับ เช่นเริ่มงานเที่ยงคืนต้องทำให้เสร็จก่อน 7 โมงเช้าเป็นต้น ซึ่งถ้านำมาทำงานนี้ ราคา 8 ตัว 5M นี่น่าจะถือเป็นขึ้นต่ำแล้วครับเพราะปกติจะขายมาเป็น full solution ครับ
อย่างไรก็ตามงานแบบนี้ได้ถูกเปลี่ยนโอนไปให้ GPU มากขึ้นบ้างแล้วครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
งานประเภท data dependency สูงๆ นี่ GPU สู้ CPU ได้หรือยังครับเดี๋ยวนี้ พวกประเภทที่ใช้ Xeon 4 คอร์แล้วเร็วกว่าที่ว่านี่
อันนี้ไม่มีข้อมูลเลยครับ แต่คาดว่ายังไม่ได้นะครับ อันนี้รอท่านอื่นมาตอบดีกว่า
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
โอ้ ขอบคุณมากๆ ครับ เมื่อคืนได้เข้าไปลองอ่านใน Reddit ว่าใครให้ความเห็นยังไงบ้าง
ทำให้เข้าใจเพิ่มขึ้น ประกอบกับคอนเม้นต์นี้ เลยทำให้เห็นภาพชัดขึ้นมากเลยครับ
ข้อควรใช้มีตั้งแต่
การเพิ่มประสิทธิภาพต่อข้อจำกัดด้านพื้นที่ ซึ่งถือว่าถูกกว่ามากๆ เมื่อเทียบกับการวางระบบใหม่
เช่น
- การวาง Server ในพื้นที่ที่มีราคาแพง เช่นในมหานครใหญ่ๆ ที่ประสิทธิภาพต่อเครื่อง คุ้มค่ากว่าขยายจำนวนเครื่อง
- การวางเครื่องที่มีแผนจะ Upgrade ระยะยาวอยู่แล้ว และต้องการ Performance สูง ในแบบที่ E5 หรือ E7-4xxx ก็ตอบโจทย์ไม่ได้
- และงานที่มีความสำคัญสูง หรือเป็น Data ก้อนใหญ่ และต้องการ Latency ต่ำ จึงต้องการในการใช้เครื่องที่มี Memory สูงๆ ตอบโจทย์ประสิทธิภาพ ต่อเวลา เช่นใส่ Ram หลัก Terabyte ขึ้นไป (แค่ค่า Ram แถวละ 128GB ก็ 6 พันเหรียญแล้ว ใส่รวมๆ จึงถือว่าสูงกว่าราคา CPU มาก) การใช้ CPU ที่รองรับได้จึงจำเป็น
แม้จะคำนวนประสิทธิภาพที่ได้มา ต่อราคาที่จ่ายแล้วถือว่าสูง แต่เมื่อตอบโจทย์ได้ และทำกำไรได้ จึงทำให้คุ้มค่ากว่าในระยะยาว
- ส่วนตัว E7-8893v4 ที่มี 4 Core ได้คำตอบมาคล้ายกันเลยครับ คืองานบางชิ้นต้องการ Performance ต่อ คอร์ที่สูงกว่า (ความถี่สูงกว่า) ในแบบที่ต้องมี Cache ปริมาณมาก และ Memory ที่เยอะ จึงทำให้มันตอบโจทย์ได้ (ฝรั่งก็พูดคุยเรื่องนี้กันเยอะพอสมควรครับ)
ผมสรุปแบบนี้ถูกต้องไหมครับ ถ้าไม่ถูกตรงไหน รบกวนขอคำชี้แนะเพิ่มเติมด้วยนะครับ (อ่านมายังไม่เข้าใจมากเท่าไหร่)
อีกอันคือ เครื่องราคา 5M นั้นผมคำนวนเองจริงๆ ครับ เห็นเค้าพูดกันว่า ถ้าทั้งโซลูชั้น มีสิทธิราคาถึง 1M USD ได้ไม่ยากเลย
ขอบคุณล่วงหน้าครับ :)
ประมาณนั้นแหละครับ เรื่องแบบนี้ไม่มีคำตอบตายตัวหรอกครับ ยังมีหลายๆอย่างที่เรายังไม่รู้อีกมากครับ
ยกตัวอย่างเช่น อาจมีบริษัททำเกม MMORPG บางราย รวม database, map server ที่ปกติมักเป็น cluster, char server, etc. เข้าใน server เดียวกันแล้วยัด network bandwidth สูงๆเอาเพราะขี้เกียจ manage ก็'อาจเป็นไปได้'ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ขอบคุณอีกรอบ สำหรับความรู้และประสบการณ์ครับ
ได้ความรู้มากมายเลย :)
เอาไว้เล่น MineCraft :P
แล้ว notebook เมื่อไรจะมี ชิป 6 Core ลงตลาดมาบ้าง
และ ชิป Quad core ที่ TDP ต่ำกว่า 45 W
แต่ ประสิทธิภาพ อยู่ระหว่าง i7 XXXXU กับ i7 XXXXHQ
ลงตลาดมาบ้าง เพราะช่วงนี้สงเกตูดู เทรน Ultrabook ก็เบาบาง เป็น U ก็แรงไม่พอที่ต้องการ พอเป็น HQ แรงพอ แรงเกินความจำเป็นด้วย แต่ก็แลกมาด้วยน้ำหนัก