ชาติในอาเซียนที่สนับสนุนแอปเรียกรถรับจ้างที่ใช้รถส่วนบุคคลมาให้บริการ นอกจากสิงคโปร์แล้ว มาเลเซียก็เป็นอีกชาติหนึ่งที่มีท่าทีต่อแอปเหล่านี้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในปี 2016 ที่ผ่านมา หลังจากที่ช่วงปี 2015 ขนส่งทางบกมาเลเซีย (Suruhanjaya Pengangkutan Awam Darat - SPAD) ไล่กวาดล้างทั้ง Uber และ GrabCar อย่างแข็งขัน การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2016 กลับเปลี่ยนท่าทีเป็นการหาทางอยู่ร่วมกันระหว่าง Uber, Grab และแท็กซี่ดั้งเดิม
ลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ แสดงท่าทีแบบเดียวกันหลังมติคณะรัฐมนตรีของมาเลเซียประมาณสิบวัน (พูดวันที่ 22 สิงหาคม 2016)
แนวทางของมาเลเซียตรงกับแนวทางของสิงค์โปร์ คือ แม้จะเปิดให้คนทั่วไปมาประกอบอาชีพได้บางเวลา แต่ก็เพิ่มมาตรการควบคุมในบางระดับ ได้แก่ คนขับต้องใช้ใบขับขี่สาธารณะ (public service vehicle licence - PSV), ทำประกันรถให้ครอบคลุม, รถที่นำมาขับต้องมีการลงทะเบียนและตรวจสภาพ ต่างจากสิงคโปร์เพียงการติดป้ายแสดงตัวบนรถที่มาเลเซียไม่มีกฎข้อนี้
ภาพ Nazri Aziz ในการแถลงข่าวปี 2013 โดย Bernama tv 2013
โต้โผใหญ่ในการเปลี่ยนท่าทีของคณะรัฐมนตรีมาเลเซียคือรัฐมนตรีการท่องเที่ยว Nazri Aziz ที่ระบุว่าชื่อเสียงของแท็กซี่ในมาเลเซียที่มักโกงผู้โดยสารกำลังทำร้ายการท่องเที่ยวมาเลเซีย ขณะที่แอปเรียกรถเหล่านี้กลับได้รับความนิยมไปทั่วโลก นักท่องเที่ยวสามารถเรียกรถจากแอปได้โดยตรง และเมื่อนักท่องเที่ยวสามารถเรียกรถผ่านแอปเหล่านี้ได้ก็ไม่ต้องกลัวการมาเที่ยวมาเลเซียอีกต่อไป เขาระบุว่าหากมาเลเซียไม่สนับสนุนแอปเหล่านี้ เมืองใหญ่ๆ ของมาเลเซียก็จะถูกเมืองอื่นในโลกแซงไป
การปรับกฎเพื่อรองรับ Uber และ GrabCar มาพร้อมกับการผ่อนปรนกฎเกณฑ์สำหรับแท็กซี่เดิม ผ่อนปรนกฎให้มีรถแท็กซี่ราคาประหยัด, มีกองทุนสนับสนุนสำหรับรถแท็กซี่ใหม่, และเปิดทางให้คนขับเดิมเป็นเจ้าของรถเองได้จากเดิมที่ต้องสังกัดบริษัท
ตอนนี้มีแท็กซี่ทั่วมาเลเซีย 77,000 คันในระบบ คาดว่าระบบใหม่จะทำให้ทั้งรถแท็กซี่, Grab, และ Uber เพิ่มเข้ามาในระบบอีก 150,000 คันในสามปีข้างหน้า
Nazri Aziz ระบุว่าคนขับแท็กซี่เดิมก็ควรเรียนรู้ที่จะปรับตัว รัฐบาลเองก็สนับสนุนให้บริษัทแท็กซี่ท้องถิ่นทำแอปของตัวเอง แต่หากตามไม่ทันก็ไม่ใช่ความผิดของรัฐบาล
ที่มา - The Star, Free Malaysia Today (1), Free Malaysia Today (2)
ภาพ SPAD ยึดรถที่นำมาขับ GrabCar และ Uber เมื่อปี 2015
Comments
บางที ผมอ่านพันทิปแล้วคนเอาแต่ตั้งกระทู้เปรียบเทียบประเทศไทยกับเวียดนามบ้าง พม่าบ้าง ผมว่าบางทีมันก็เศร้านะครับ
เศร้าตรงที่ ลีกๆ "เหมือน" เราเริ่มไม่กล้าแข่งกับ สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน อีกต่อไปแล้ว
เหมือนลึกๆ เรายอมแพ้ สิ้นหวังกันไปแล้ว ได้แต่ทำใจ ในทุกๆด้าน
ก็เลยได้แต่ปลอบใจตัวเองด้วยการเปรียบเทียบกับประเทศที่ด้อยกว่าไปวันๆซึ่ง นับวันประเทศที่ด้อยกว่าก็น้อยลงเรื่อยๆ
เขียนอย่างนี้เดี๋ยวก็โดนหาว่าไม่รักชาติอีกหรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ
สมัยก่อนไทยแข่งกับเกาหลีใต้เลยครับ เจริญพอกัน มีการลุกฮือต่อต้านเผด็จการทหารเหมือนกัน
แต่ในไทยกลับไปวนลูปเหมือนเดิม ทุกวันนี้เหมือนจะแข่งกับเกาหลีเหนือยังไงก็ไม่รู้ ยิ่งได้เป็นบ้านพี่เมืองน้องกันอยู่
ผมเคยอ่านในหนังสือ ตอนนั้นเกาหลีใต้มีการระดมสมองและเห็นพ้องต้องกันว่าปัจจัยที่จะฉุดรั้งการพัฒนาประเทศคือปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น จึงได้กำหนดไว้เป็น priority แรกในแผนพัฒนาประเทศแล้วก็ดำเนินการกวาดล้างสะสางปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจัง นี่จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เกาหลีใต้ก้าวกระโดดมาถึงทุกวันนี้ น่าเสียดายที่ประเทศเราไม่ได้ทำมันอย่างจริงจังแถมการทุจริตคอรัปชั่นมีแต่จะเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ ประเทศชาติจึงย่ำอยู่กับที่มานาน
+100
โฟกัสถูกจุดครับ
ก็อย่างว่าจริงๆนะครับ มีคนคอรัปชั่นนี่มันเป็นเคราะห์กรรมของประเทศที่หนักหนาฉุดรั้งความเจริญยิ่งกว่าภัยธรรมชาติอะไรทั้งปวง
รู้สึกเศร้าใจลึกๆเลยครับ เริ่งแย่มาตั้งแต่ต้มยำกุ้ง ปี 2540
ผมว่าการวิจารณ์ทุกเรื่องมันมีวิธีการมองอยู่ครับ ถ้ามองบวกก็พัฒนากันไป ถ้ามองลบก็ได้แต่โกรธหรือเศร้ากันไป
เค้าอาจต้องการเปรียบเทียบว่าเพื่อนบ้านที่เราเคยมองว่าด้อย แต่ตอนนี้กำลังแซงหน้าเราแล้ว เราควรพัฒนาตัวเองอะไรแบบนี้
หนักที่สุดคงมองว่าคนวิจารณ์เป็นศัตรูนี่แหละครับ
ที่เวียดนาม Uber/GrabCar นี่ร้อนแรง มอไซต์รับจ้างเดิมๆ เขาก็ปรับตัวกันนะ ไปสมัครซะเลย บางคนที่ทำนี่แบบว่างๆ ขับเล่นๆ ก็มี แฟนเคยเจอบิ๊กไบค์มารับครั้งหนึ่ง พวก Taxi ปกติขึ้นที่หลายเจ้าขึ้นชื่อว่าโกง ก็ยังไม่เห็นออกมาร้องเรียนอะไรนะ
ท่าน รมต. ของไทยจะทราบเมื่อไหร่ว่าแท็กซี่ไทยก็ฉาวโฉ่
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ผมว่า Uber กับ Grab มองตลาด Asia ผิดครับ
ถ้าวิ่งเข้าหารัฐบาล แล้ว เสนอแผนปรับปรุงระบบขนส่งแบบ การันตีคุณภาพนะ
คือ ใครมาจดทะเบียนเป็น Taxi ก็พ่วงระบบ Uber หรือ Grab ลงไป
คราวนี้ ใครอยากโบกรถแล้ว จ่ายเงินสดแบบเก่า ก็จ่ายไป แต่ถ้าเรียกจาก app
จะตัดจากบัตรเครดิต แล้วถ้ามีปัญหาร้องเรียนผ่าน app ก็ให้ขนส่ง ทำประวัติ
ตัดแต้ม ยึดใบขับขี่ online ไปเลย
ทำแบบนี้ อาจจะแก้ปัญหา taxi ห่วยไม่ท้ังหมด แต่ก็น่าจะแก้ปัญหาได้ ระดับนึงเลยนะครับ
คือ มีระบบที่ตรวจสอบได้ feed back ได้ ถ้าเลว จะกลับมาขับ taxi อีกไม่ได้ไปเลย
ไม่ใช่ให้ ใครที่ใหน รถอะไรก็ได้เอามาขับ แล้วมองว่าเป็นระบบ share รถครับ
ผมว่าตรงข้ามครับ Uber/GrabCar มันดูดีราคาถูกได้ เพราะ "คนทั่วไป" สามารถมาบริการแท็กซี่ได้นี่ล่ะครับ
บริการแอปเหล่านี้มันไม่ใช่แค่ "แอปเรียกแท็กซี่" แต่มันคือการนำคนที่อยู่นอกระบบ มารับประกันคุณภาพด้วยวิธีการอื่นนอกจากกลไกของรัฐ (คะแนนรีวิวในแอป) นี่ล่ะครับ
สิ่งที่มาเลเซียกับสิงคโปร์ทำคือยอมให้แอปเหล่านี้ทำงานได้ โดยยังขอกำกับดูแลเองบางส่วน เบาบางกว่าแท็กซี่ปกติ (ไม่กำหนดสีรถ ไม่ต้องจดทะเบียนเฉพาะ แต่ต้องนำรถไปแสดงตัว ฯลฯ)
lewcpe.com, @wasonliw
ผมกลับไม่ต้องการให้เป็นแบบนั้นเลยครับ จุดเด่นของ uber ข้อหนึ่งคือการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า
ถ้าเป็นที่นิยมมากๆ เข้า แทกซี่บนถนนก็ค่อยๆ หายไป ช่วยลดรถติดได้ด้วยครับ
มุมมองผมนะครับ ต้องถามว่าเคยดีลงานกับรัฐบาลไหมครับ กระทรวงไหนก็ได้ เคยไปคุยกับคนมีอำนาจในระดับสูงๆไหม
ถ้าเคย ผมว่าน่าจะเข้าใจว่าทำไมเขาไม่ทำแบบนั้น
คุณ TheOne รัฐบาลปัจจุบันก็ประกาศล้างบาง corruption ครับ หวังว่าต่อจากนี้ประเทศไทยจะเจริญทัดเทียมเกาหลีใต้ไม่มากก็น้อยครับ
ดูจากพฤติกรรมแล้วเหมือนว่าจะไม่กำจัดความทุจริตฝั่งตัวเองเท่าไรครับ
ผมว่าเห็นแต่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นะ :)
ตอนนี้เราไม่มีนักการเมืองมา 3 ปีแล้ว
คงเห็นชัดแล้วนะครับ ว่าหน่วยงานราชการ คือหน่วยงานที่มีการคอรับชันฝังรากลึกมากที่สุด
ผมว่า Uber / Grab นี่จำเป็นต่อโลกยุคหน้านะ น่าเสียดายที่ประเทศเรากลับมองว่าเป็นตัวปัญหา เข้าใจว่าผิดกฎหมายอยู่ ณ ปัจจุบัน แต่ท่านก็ควรจะพิจารณาว่ากฎหมายที่บังคับใช้อยู่ทุกวันนี้มันเหมาะสมต่อสังคมโลกขณะนี้บ้างไหม ถ้ามันล้าหลังก็ควรแก้ไขเสีย กฎหมายเริ่มต้นสร้างโดยคนทำไมจะแก้โดยคนไม่ได้
ปัญหาหลัก ๆ ของ Uber / Grab ที่ถูกหยิบยกขึ้นมามากที่สุดคือเรื่องความปลอดภัย จุดนี้ถ้ารัฐออกมาตรการมาควบคุม เช่น ต้องมีใบขับขี่สาธารณะ ต้องลงทะเบียน ต้องตรวจสภาพรถ เหมือนอย่างในข่าวนี้ ผมว่าปัญหาเหล่านี้ก็จะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป
That is the way things are.
สำหรับประเทศไทย ผมว่าปัญหามันอยู่ตรงคับขับรถเดิมๆ ไม่ยอมรับ
แล้วระบบวิน หรือท่ารถที่มีคนมีสีได้ผลประโยชน์เค้าไม่ยอมมากกว่า
อย่างเชียงใหม่ ให้คนที่ขับรถแดงอยู่แล้วเข้าระบบ grab หรือ uber ก็ได้
แต่เค้าไม่ทำ เพราะโกงค่าโดยสารไม่ได้ แล้วคนที่เค้าเก็บเงินคนขับรถแดงอยู่ก็คงไม่ยอม
เรื่องคนขับแท็กซี่ไม่ยอมรับนี่น่าจะทุกชาติเลยนะครับ ส่วนว่าท่าทีของรัฐบาลแต่ละรัฐ (อย่างสหรัฐฯ นี่แต่ละเมืองต่างกันด้วย) ก็ต่างกันไป
lewcpe.com, @wasonliw
รู็สึกว่า @lew จะอินกับเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ เพราะอะไรครับ? (อันนี้ถามแนวสัมภาษณ์นะครับ อยากฟังความเห็น)
ถ้าเป็นเรื่องการนำความเห็นชาติอื่นมาเขียน ผมเชื่อมาตลอดอยู่แล้วครับว่าคนไทยอ่านข่าวต่างชาติน้อยเกินไป เราชอบเชื่อกันเอาเองว่าชาติ X ต่างจากเรามากๆ และชาติของเราต่างจากคนอื่นมากจนเราทำต่างออกไปแค่ไหนก็ยังสมเหตุสมผล เคสนี้เป็นกึ่งเทคโนโลยี กึ่งนโยบาย ในแง่นี้การตัดสินใจควรมีข้อมูล บทเรียน ฯลฯ จากชาติอื่นๆ ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ อันนี้ถ้าท่านอื่นเขียนบทเรียนการตัดสินใจจากชาติที่สู้เต็มที่กับ Uber ผมก็เชื่อว่าควรนำเสนอนะครับ อย่าง Blognone เองก็นำเสนอเคสของไต้หวันที่สู้เต็มที่
ในแง่ของการควบคุมขนส่ง ผมมองว่ากรณีนี้ (ขนส่งทางบก) เป็นตัวอย่างของความพยายามควบคุมจนเกินไป จนกระทั่งให้บริการไม่ดี และเป็นอีกอย่างที่รัฐควรปล่อยออกไปควบคุมระดับที่ควบคุมไหว เช่นเดียวกับ ธนาคาร, ช่องโทรทัศน์ (ที่ทุกวันนี้ผมก็ยังมองว่าควบคุมมากเกินไป), โทรศัพท์, ธุรกิจการสื่อสาร
อย่างสองเคสที่ผมเสนอสองวันนี้ผมเน้นมากว่าการปล่อย ride-sharing แบบนี้ไม่ใช่การปล่อยไปเลย (แต่ผมเข้าใจว่าทั้งสองชาติ แกล้งมองไม่เห็นเสีย ระหว่างที่กฎหมายยังออกไม่เสร็จนะครับ อันนี้เริ่มไม่แน่ใจ) แต่เราสามารถออกระบบการควบคุมใหม่ที่เปิดทางได้
lewcpe.com, @wasonliw
ขอบคุณครับ แล้วไม่ทราบว่าได้เตรียมคำตอบสำหรับคนที่คิดว่ากฎหมายไม่ควรถูกแก้ไขไว้บ้างหรือยังไง
ตอบยังไงหรือครับ?? (ผมไม่ใช่คนตัดสินใจอ่ะนะ)
คือคนที่คิดว่าไม่ควรถูกแก้ก็สามารถยกเหตุผลมาได้อยู่แล้วครับ อย่างที่บอก มันก็มีชาติอื่นที่แก้เพื่อแก้เพื่อสู้กับ Uber เหมือนกัน ถ้าคิดว่าทางเลือกเหล่านั้นมีน้ำหนักก็บอกได้ว่าเชื่ออย่างไหน เพราะอะไร
lewcpe.com, @wasonliw
แบบว่า เราควรตอบยังไงกับคนที่คิดว่ากฎหมายไม่ควรถูกแก้ หรือไม่ควรแก้กฎหมายเพื่อรองรับอูเบอร์น่ะครับ
อย่างผม ผมมองว่ากฎหมายพวกคมนาคมสาธารณะมันออกมาเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของทั้งผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการ แล้วตอนนี้กลายเป็นว่าเอารถยนต์ส่วนบุคคลมาวิ่งรับผู้โดยสาร ถ้าเกิดอุบัติเหตุ ประกันก็ไม่คุ้มครองผู้ใช้บริการเพราะใช้รถผิดประเภท เราก็ควรแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มันรองรับ และสอดคล้องกับธุรกิจโมเดลใหม่ๆ นี้ ให้มันเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
ก็ทำให้มัน "ใกล้เคียงกัน" ครับ ลดส่วนที่ไม่เป็นจริงออกไปเสีย ผมเขียนสองบทความก็แสดงให้เห็นว่ามันทีแนวทางพวกนี้อยู่
อย่างกฎหมายแท็กซี่ที่ไม่ให้ใช้รถเล็กมารับจ้าง ถ้าจะอ้างความปลอดภัยสมัยนี้มันไม่จริงแล้ว รถใหม่ๆ ตัวถัง GOA กันหมดแล้ว เข็มขัดนิรภัยด้านหลังก็มีทุกคันแล้ว หรือโรค "บ้าอบรม" ที่สอบใบขับขี่อะไรก็เน้นอบรมไปสักวันสองวัน (แท็กซี่นี่เห็นว่าเจอไปสามวัน) ก็เลิกๆ เสีย สอบก็สอบ จะสอบโหด สอบแน่น สอบการขับภาวะขับขัน ฯลฯ เอาให้มันมีสาระและได้ประโชน์จริงจัง
ของพวกนี้หลักคิดมันมีแค่ว่า แต่เดิมเรามีรถหนึ่งคัน เราต้องคิดทันทีว่าจะใช้ส่วนตัวหรือจะใช้ทำงานรับจ้าง แล้วอยู่อย่างนั้นแทบจะตลอดอายุขัยรถ พวก app เหล่านี้มันทำให้เราตั้งคำถามว่าถ้าเราสามารถเปลี่ยนโหมดไปมาได้กันรายชั่วโมงได้หรือไม่ ถ้าได้เราจะไม่ต้องทนรถไม่พอ รถขาดแคลน รถเรื่องมาก (แบบเดียวกับที่พัก, โรงแรม และอนาคตคงมีอย่างอื่นอีกมาก) ข้อจำกัดทุกอย่างมันแก้ไขได้เพราะรถมันก็คือรถ ที่พักมันก็คือที่พัก แนวคิดการแบ่งประเภทมันมาทีหลังนี่เอง
lewcpe.com, @wasonliw
+1 กระจ่างมากเลยครับ เปิดมุมมองได้ดีมาก
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ขอบคุณครับ ตอบเป็นจริงเป็นจังนี่ยาวมากนะครับ อยากได้แบบสั้นๆ สำหรับพวกอ่านน้อย ด่าตามกระแส พอจะมีไหม
หรือเราไม่ควรสนใจคนพวกนี้อยู่แล้ว? แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ประเทศเราเข้าวิกฤติมาหลายรอบก็เพราะพวกคิดน้อยนี่แหละครับ เลยอยากจะพาออกมาจากจุดนั้น
ผมว่ามีญี่ปุ่นเว้นได้ชาตินึงมั้งครับ ผมเคยนั่งแท็กซี่ญี่ปุ่นสิบกว่าครั้งไม่เคยโดนปฏิเสธแบบไม่อยากขับเลย มีสองครั้งที่โดนคือเค้าบอกเดินไปใกล้กว่าขึ้นแท๊กซี่ไม่คุ้มหรอก
ประกับ => ประกัน
ปัญหาแท๊กซี่บ้านเราน่าจะเกิดจากการ "กระจายตัว" ของคนขับแท๊กซี่ แต่ละคนทำงานเป็นอาชีพอิสระ อู่แท๊กซี่ก็มีแค่ให้เช่ารถ ขนส่งก็ทำได้แค่ให้ใบอนุญาต เรียกได้ว่ามีการกำกับดูแลตัวคนขับแท๊กซี่เองน้อยมาก
มองอีกแง่คือ แท๊กซี่เป็นเจ้านายตัวเอง ดังนั้นทุกคนจะมีอำนาจต่อรองพอ ๆ กัน และพอเอามาคูณกันมันก็เยอะอยู่
ปัญหาหนึ่งที่เราน่าจะเห็นได้ชัดคือแท็กซี่สนามบิน แท๊กซี่ที่จะรับคนจากสนามบินได้จะต้องมีตราของสนามบิน แต่เรากลับเห็นว่าทุกครั้งที่มีปัญหาสนามบินไม่เคยจัดการแท๊กซี่สนามบินได้อย่างเด็ดขาด เพราะการต่อรองต่อ "เจ้าของแท๊กซี่" (ที่เป็นตัวคนขับเองนั่นแหละ) จำนวนมากนั้นเป็นไปได้ยาก
(ผมคิดเล่น ๆ เหมือนกันว่าถ้าเรายกเลิกสหกรณ์แท๊กซี่สนามบิน แล้วใช้วิธีตั้งบริษัทขึ้นมาบริหารโดยตรง คนขับกินเงินเดือนแทนที่จะเป็นค่าบริการโดยตรง ก็น่าจะทำให้กวดขันได้ดีขึ้น แต่ได้ยินว่า All Thai Taxi ที่ใช้วิธีเดียวกันก็ขาดทุนอยู่ ณ.จุดนี้)
ที่เขียน ๆ มาคือคิดว่าระบบ Taxi บ้านเราต้องจัดการเป็นรูปแบบมากกว่านี้ รวมทั้งมอเตอร์ไซค์รับจ้างด้วย ทุกอย่างต้องเป็นองค์กร แต่นั่นจะมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น คนไทยจะรับได้ไหมผมเองก็ไม่รู้เหมือนกัน :)
ทั้งนี้ก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับข่าวนี้เท่าไหร่มั้ง 555
All Thai Taxi ขาดทุนเหรอครับ เพราะอะไรพอจะทราบไหมครับ
ไหนๆก็ดักจับ Uber หรือ Grab ช่วยดักจับแท๊กซี่ไม่รับผู้โดยสารก็ดี
เคยใช้บริการ Grab Taxi ค่ะ เราว่ามันคือทางแก้ปัญหาปฏิเสธผู้โดยสารนะ เพราะคนขับเห็นตั้งแต่แรกว่าจะไปไหน ถ้าจะไปเค้าก็กดรับ มันก็หมดปัญหาเรียกแล้วไม่ไป ไหนๆก็จะ 4.0 แล้ว ลองรับไว้พิจารณานะคะ
ปัญหาหลักของ Grab Taxi คือเรียกแล้วไม่ไปเพราะเห็นปลายทางก่อนนี่แหละครับ