อินเทลเริ่มวางขายซีพียู Itanium 9700 รุ่นใหม่รหัส Kittson ตามที่เคยประกาศไว้ พร้อมคำยืนยันว่านี่คือ Itanium รุ่นสุดท้าย ปิดตำนานซีพียู 64 บิตที่วางแผนเอาไว้อย่างยิ่งใหญ่เมื่อปี 2001
Itanium เป็นความร่วมมือระหว่างอินเทลกับเอชพี เพื่อออกแบบซีพียู 64 บิทสมรรถนะสูงภายใต้สถาปัตยกรรมใหม่ IA-64 เพื่อยึดตลาดเซิร์ฟเวอร์แบบเบ็ดเสร็จ
แต่เมื่อโลกกลับหมุนไปทางสถาปัตยกรรม AMD64 (ปัจจุบันเรียกกันในชื่อ x86-64) ที่เป็นส่วนต่อขยายของ x86 แบบ 32 บิต แทนที่จะเป็น IA-64 ที่เป็นสถาปัตยกรรมใหม่ทั้งหมด ก็ส่งผลให้อินเทลต้องปรับตัว ใช้สถาปัตยกรรม AMD64 สำหรับซีพียูฝั่งเดสก์ท็อปตามไปด้วย (และออก Xeon เป็นซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น AMD64) ทิ้งให้ Itanium สู้ต่อไปเพียงลำพังในโลก IA-64
ความสนใจใน Itanium ลดลงมากในช่วงหลัง แต่อินเทลก็ไม่สามารถทิ้ง Itanium ได้เพราะมีสัญญากับ HP อยู่ (HP เองก็มีสัญญากับลูกค้าที่ซื้อ Itanium ไปแล้ว) เมื่อสัญญาจะสิ้นสุดในปี 2017 ทำให้อินเทลเตรียมปลดแอกภาระนี้ โดยจะออก Itanium 9700 เป็นรุ่นสุดท้าย
คาดว่าไม่น่าจะมีลูกค้ารายอื่นนอกจาก HP (ปัจจุบันคือ HPE) ที่ซื้อ Itanium ไปทำเป็นเซิร์ฟเวอร์แล้ว ฝั่งของ HPE ก็สัญญาว่าจะซัพพอร์ต Itanium ไปจนถึงปี 2025
ที่มา - Intel,
PCWorld, Ars Technica
Comments
สุดท้าย Itanium ก็หายไป เพราะห่วยกว่า Xeon มากที่สุด จริงๆ ด้วยครับ
ตอนออกมาดีกว่า Xeon ครับ แต่ตลาดไม่มีคนเอามันก็เลยไม่ไปไหนจนห่วยกว่า Xeon ในที่สุด
ถูกต้องนะครับบบบบบบบบบบ
จริงๆ คนเอาด้วยเยอะนะครับ คนอาจจะลืมกันว่าเรามี Windows XP Itanium ก่อน AMD64 (เวอร์ชั่น Itanium ออกปี 2002 ส่วน AMD64 ออกปี 2005)
แต่โดยตัวสถาปัตยกรรมเองการล้างบางเป็นเรื่องใหญ่เกินไป คนเอาด้วยไม่ไหวจำนวนมาก ตัว AMD64 เองแม้จะไม่ได้ใช้ 64 บิตแต่ประสิทธิภาพหลายอย่างก็ดีขึ้นมากๆ (ALU มันขยาย)
lewcpe.com, @wasonliw
แนวคิดล้ำเกินไปตอนนั้น ทำแบบออกแบบใหม่หมดไม่ compatible กับ x86 เก่าๆ คนก็กล้าเสี่ยงน้อยกว่า AMD64 ที่ทำใช้ร่วมกับ x86 ได้
แต่กลับกัน ณ วันนี้ software จำนวนมาก รองรับแต่ 64bit ไม่มี version 32bitให้ใช้แล้วด้วยซ้ำ
Intel ทำเร็วเกินไป17ปีก็ว่าได้
MS Office ที่ลง Windows Store เห็นว่าจะมีแต่ 32bit นะครับ :p
IA-64 มันไม่ใช่แค่ x86 64bit หน่ะครับตัวมันเองเป็นสถาปัตยกรรมใหม่หมดเลย แถมเป็น VLIW/EPIC ด้วย ตัวมันเองในทางทฤษฎีดูดี แต่ในทางปฏิบัติสู้ queued decode-dispatch แบบ CISC/RISC ปกติไม่ได้ แถมยังยากต่อการพัฒนา compiler ด้วย พูดง่ายๆคือมันแพง ช้า ร้อน แถมโปรแกรมซัพพอร์ตน้อยอีก
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
โห เห็นภาพเลยครับ
ภาพ windowsphone ลอยมา...
The Last Wizard Of Century.
+1 ภาพลอยเข้ามา
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
อันที่จริง ถึงlow levelอาจจะยาก แต่ถ้าให้เวลาและการสนับสนุน ก็น่าจะไปได้ ที่ IA64 ตายจริงๆน่าจะเพราะไม่มี software support สักเท่าไรนี่แหละ การบังคับให้เปลี่ยนรูปแบบโดยสิ้นเชิงมันเสี่ยงตรงนี้ ถ้ามันมี compatibility mode x86 ใช้ร่วมกันได้ แบบสมัย x86/AMD64 ก็น่าจะทำให้ไปได้ไกลกว่า
ถ้ายกตัวอย่างใกล้ๆ Intel SOC ที่จะไปลงตลาด mobile แข่งกับ ARM ก็ขายไม่ออกจนต้องถอนตัว ทั้งๆที่ขายราคาต่ำมากๆ เพราะมีคนเขียนsoftware ให้รองรับน้อย คนก็ไม่นิยมกัน
see you next ..... ไม่รู้เมื่อไร แต่คิดว่าคงกลับมาแน่ในอนาคต
The Dream hacker..