เมื่อโจทย์ของ Google ในการก้าวเข้ามาเป็นบริษัทฮาร์ดแวร์ คือการควบคุม ecosystem ทั้งหมด รวมไปถึงให้ฮาร์ดแวร์ตอบสนองซอฟต์แวร์อย่างเต็มที่ การออกแบบฮาร์ดแวร์ Made by Google อย่างเดียวดูเหมือนจะไม่สามารถตอบโจทย์ข้างต้นได้อย่างเต็มที่นัก Google จึงตัดสินใจจะทำชิปเซ็ตของตัวเองขึ้นมาด้วย
หลังจากนี้เราอาจไม่ได้เห็นชิปเซ็ต Snapdragon บน Pixel อีกแล้ว เมื่อ Google ดึงตัวเอา Manu Gulati สถาปนิกฮาร์ดแวร์ที่รับผิดชอบการพัฒนาชิปเซ็ตตระกูล A จากแอปเปิลมานั่งตำแหน่งหัวน้าสถาปนิกชิปเซ็ตที่ตั้งขึ้นใหม่ของบริษัท เพื่อให้สมาร์ทโฟน Pixel สามารถดึงศักยภาพของแอนดรอยด์ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เหมือนกับที่เราสัมผัสกันจาก iPhone
ทั้งนี้ในการพัฒนาชิปเซ็ต A ของแอปเปิล บริษัทได้ซื้อไลเซนส์จาก ARM มาปรับแต่งเอง ซึ่งก็ไม่แน่ว่า Google จะตามรอยเดียวกัน
ที่มา - Android Police
Comments
คราวนี้ cpu หลากหลายกว่า PC ซะอีก อยากทราบว่าผลเสียที่ตามมาจะมีอะไรบ้าง
ที่เคยเจอคือแอพบางแอพมีปัญหา ใช้งานไม่ได้ในบางชิปเซต
ชิปเซตของ google ก็จะกลายเป็นลูกเมียหลวงมีปัญหาก็แก้ก่อนใคร ตอนออก os ก็ออกแบบบนฐานของชิปเซตตัวเองก่อนแล้วค่อยไปปรับให้เข้ากับชิปเซตค่ายอื่นต่อไป
partner จะน้อยใจแน่นอน
ถ้าเป็นเจ้าใหญ่อย่งกูเกิล App developer อาจจะกระตือรือร้นในการอัพเดทแอปให้ซัพพอร์ตมากกว่าเจ้าอื่นครับ
เคยเจอปัญหาลักษณะนี้ คือเกมเดียวกัน ซีพียูเดียวกัน แต่คนละค่าย ยังลื่นไม่เท่ากันเลย
แอพที่มีปัญหาคือแอพที่ใช้โค๊ดสำหรับซีพียูบางตัวโดยเฉพาะ เช่น ARM, X86
ส่วนระบบของ Android เองพยายามที่จะรันบนซีพียูหลาย ๆ ตัวอยู่แล้ว ดังนั้นปัญหามันก็อยู่ที่ตัว Dev เองมากกว่าว่าเลือกที่จะทำให้รองรับตรงนี้หรือว่ายอมที่จะเสียลูกค้าไปเอง
ดีครับ ไม่ต้องมัวแต่คอยง้อพาร์ตเนอร์เหมือนแต่ก่อน
ซื้อตัวกันเลยทีเดียว
That is the way things are.