Red Hat เปิดตัว Lightspeed ฟีเจอร์ด้าน Generative AI สำหรับใช้จัดการระบบ OpenShift (Kubernetes) และ Red Hat Enterprise Linux
Red Hat มีบริการ Lightspeed มาตั้งแต่ปี 2023 โดยเป็นการนำเอาโมเดลเขียนโปรแกรม IBM Watson Code Assistant มาใช้กับโค้ด YAML ของ Ansible ระบบจัดการคอนฟิกอัตโนมัติ
ข่าวนี้คือการขยาย Lightspeed มาใช้กับ OpenShift และ RHEL ซึ่งเป็นสองบริการหลักของ Red Hat ด้วย ถือเป็นตัวช่วยจัดการคลัสเตอร์ใน OpenShift ให้ทำงานอัตโนมัติมากขึ้น ขยายขนาดคลัสเตอร์หรือเพิ่มคลัสเตอร์เมื่อมีปริมาณใช้งานสูง และปรับจำนวนลงมาเมื่อผู้ใช้ลดลง ฝั่งของ RHEL เน้นไปที่การจัดการแพตช์ความปลอดภัย ปิดระบบที่มีช่องโหว่ชั่วคราว เป็นต้น
IBM Storage Fusion ช่วยทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายในการทำ Cloud-Native Infrastructure ได้เร็วขึ้น และทำให้เกิดความคล่องตัวในการใช้งาน Application นอกจากนั้นยังลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการใช้งาน Application โดย IBM Storage Fusion มาพร้อมกับเทคโนโลยีการปกป้องข้อมูลและการทำ Enterprise Data Service ต่างๆ ดังนี้
โลกธุรกิจในทุกวันนี้ ให้ความสำคัญกับความเร็วเป็นอันดับหนึ่ง องค์กรต้องการลดเวลาที่บริการแต่ละตัวใช้ในการพัฒนา จนถึงนำออกมาให้บริการ (time to value) เพื่อให้ลูกค้าใช้ประโยชน์จากบริการใหม่ๆ ได้ทันที
แนวทางเช่นนี้ทำให้บริการคลาวด์เข้ามาช่วยองค์กรได้มากขึ้น เพราะนักพัฒนาสามารถเข้าถึงเครื่องมือที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องรอให้ใครมาเซ็ตอัพเครื่องมือต่างๆ ให้เหมือนระบบไอทียุคก่อน
ไมโครซอฟท์ในอดีตเป็นศัตรูกับโลกโอเพนซอร์สมายาวนาน แต่ท่าทีของไมโครซอฟท์ช่วงหลังก็เปลี่ยนไปมาก ในปี 2019 เราเห็นข้อตกลงช็อกโลกอย่าง ไมโครซอฟท์ช่วย Red Hat ขาย OpenShift บน Azure รวมถึงการออก SQL Server บนลินุกซ์ เป็นต้น
สัปดาห์ที่ผ่านมา Red Hat ออกมาเล่าตัวอย่างความสำเร็จของความร่วมมือนี้ โดยลูกค้าคือบริษัทลอจิสติกส์ Andreani Logistics Group จากอเมริกาใต้ ที่เจอปัญหาดีมานด์พุ่งสูงขึ้นมาจาก COVID-19 จึงหาวิธีสเกลระบบไอทีของตัวเอง และลงเอยด้วยการเลือกใช้ Red Hat OpenShift รันบน Microsoft Azure
Red Hat จัดชุด OpenShift ใหม่เพิ่มบริการด้านความปลอดภัยและการจัดการเข้ามา โดยเพิ่มจากการซื้อ OpenShift ปกติ 3 ฟีเจอร์ได้แก่
แนวทางการพัฒนาแอปยุคใหม่ย้ายไปอยู่บนคอนเทนเนอร์ หรือแพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์อย่าง Kubernetes แล้วแทบทั้งหมด แต่ในการใช้งานจริง องค์กรก็มักจะติดตั้ง Kubernetes ลงบนเครื่องที่จัดการโดยแพลตฟอร์ม virtualization อีกต่อหนึ่ง เพื่อให้สามารถจัดการเซิร์ฟเวอร์ในคลัสเตอร์ผ่านเครื่องมือต่างๆ นับจากการติดตั้ง, คอนฟิกค่าต่างๆ บนเครื่อง, ไปจนถึงการจัดการเครื่องในตลอดอายุการใช้งาน
Red Hat OpenShift Service on AWS (ROSA) บริการ Kubernetes ระดับองค์กรที่ AWS และ Red Hat ให้บริการร่วมกัน เปิดตัวให้ลูกค้าทดสอบตั้งแต่ปีที่แล้ว ตอนนี้บริการก็เข้าสู่สถานะ GA พร้อมใช้งานทั่วไปเรียบร้อยแล้ว
ลูกค้า AWS ที่ต้องการใช้ ROSA จะต้องเปิดการใช้งานบนหน้าเว็บก่อน หลังจากนั้นจะจัดการคลัสเตอร์ ROSA ได้ทางคำสั่ง ROSA CLI
ROSA คิดค่าบริการแยกเป็นราคาต่อคลัสเตอร์ปีละ 263 ดอลลาร์หรือ ประมาณ 8,000 บาท และราคาต่อ worker ขนาด 4 vCPU ปีละ 1,498 ดอลลาร์หรือประมาณ 45,000 บาท หากใช้แบบสัญญารายปีค่า worker จะลดเหลือ 998 ดอลลาร์ต่อปีหรือ 30,000 บาท
OpenShift ดิสโทร Kubernetes ของ Red Hat ประกาศอัพเดตเวอร์ชั่นเป็น 4.7 สร้างขึ้นบนฐานของ Kubernetes 1.20 รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มเติมเข้ามาเป็น Technology Preview ได้แก่
Red Hat ประกาศรองรับ Quarkus เฟรมเวิร์คจาวาสำหรับการใช้งานแบบคอนเทนเนอร์ บนแพลตฟอร์ม OpenShift ของตัวเองแล้ว
Red Hat เปิดตัว Quarkus ในปี 2019 เพื่อแก้ปัญหาสำคัญของ Java ที่ "โหลดช้า-กินแรมเยอะ" ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของการรันงานในคอนเทนเนอร์ (Quarkus โฆษณาตัวเองว่าเป็น Supersonic Subatomic Java) เมื่อบวกกับการที่ Quarkus เองก็ออกแบบมาสำหรับคอนเทนเนอร์อยู่แล้ว จึงทำงานร่วมกับ OpenShift ได้อย่างแนบเนียน
Red Hat ยังออกเครื่องมือช่วยย้ายแอพพลิเคชันที่เขียนด้วย Spring Boot บนเซิร์ฟเวอร์แบบดั้งเดิม มารันบน Quarkus/OpenShift ด้วย
Red Hat ประกาศอัพเดตเวอร์ชัน OpenShift 4.6 เข้าสู่สถานะ GA อย่างเป็นทางการ โดย OpenShift เวอร์ชันนี้จะใช้ Kubernetes 1.19 เป็นแกน
สำหรับของใหม่ในเวอร์ชัน 4.6 คือระบบติดตั้ง OpenShift บน bare metal ที่เป็นระบบติดตั้งอัตโนมัติแบบ full-stack เข้าสู่สถานะ GA แล้ว หมายความว่าผู้ใช้ OpenShift สามารถติดตั้งบนโฮสต์แพลตฟอร์มใดก็ได้ ไม่ต้องใช้ cloud provisioning, VM hosting หรือเทคโนโลยีตัวกลางอื่น ๆ
ตัว Bare Metal Operator ใหม่จะทำการ expose ตัวโหนดที่เป็น physical ไปยังตัวติดตั้ง OpenShift เพื่อให้ตัวติดตั้งสามารถจัดการตัวโหนดต่อไปได้ ซึ่ง Red Hat ระบุว่าฟีเจอร์นี้ใช้ Metal3 เป็นแกนในการจัดการโฮสต์แบบ base metal
ส่วนฟีเจอร์อื่น ๆ เช่น
Red Hat ถือเป็นผู้บุกเบิกตลาด Kubernetes สำหรับองค์กรมาก่อนใครเพื่อนด้วย OpenShift แต่ช่วงหลังเราเห็นผู้เล่นใหม่ๆ ในวงการ Kubernetes เริ่มเข้าสู่ตลาด (เช่น VMware Tanzu รวมถึงเจ้าเก่าอย่าง Rancher) ส่งผลให้ล่าสุด Red Hat ออกมาหั่นราคา OpenShift ลงเฉลี่ย 75% และเพิ่ม service-level agreenment (SLA) เป็น 99.95% เพื่อดึงดูดลูกค้า
Red Hat มี OpenShift ขายหลายเวอร์ชัน แต่หลักๆ แบ่งได้เป็น Self-Managed (ใช้เครื่องหรือคลาวด์ของลูกค้าเอง), Online (ทุกอย่างอยู่บนระบบ Red Hat), Managed (ผู้บริการคลาวด์อย่าง AWS, IBM, Azure บริหารให้) และ Dedicated (ลูกค้าเช่าเครื่อง AWS หรือ GCP แล้ว Red Hat บริหารให้)
OKD Working Group ประกาศว่าตอนนี้ OKD4 ซึ่งเป็น OpenShift Container Platform (OCP) เจเนอเรชั่นที่ 4 เวอร์ชันคอมมูนิตี้ได้เข้าสู่สถานะ GA อย่างเป็นทางการแล้ว
จุดสำคัญของ OKD4 จะเปลี่ยนไปในลักษณะเดียวกับ OCP4 คือตัว OS ที่ใช้เป็นฐานในการรันแพลตฟอร์มจะใช้ Fedora CoreOS หรือ FCOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ Linux ที่ออกแบบมาเพื่อการรันคอนเทนเนอร์ (Fedora CoreOS เป็นเวอร์ชันคอมมูนิตี้ของ Red Hat Enterprise Linux CoreOS) รวมถึงรองรับระบบ Operator ที่ใช้สำหรับ maintain resource ภายใต้คลัสเตอร์
สงคราม Kubernetes สำหรับตลาดไฮบริดคลาวด์เริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมที่มี Red Hat OpenShift เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกตลาด ก็เริ่มมีคู่แข่งรายใหญ่คือ VMware Tanzu เข้ามาแข่งขัน ซึ่ง[ซีอีโอของ Red Hat เองก็ยอมรับว่า VMware เป็นคู่แข่งโดยตรงในตลาดนี้
ล่าสุด Sanjay Poonen ซีโอโอของ VMware ออกมาให้สัมภาษณ์ในประเด็นนี้ และพูดถึงการแข่งขันกับ Red Hat เช่นกัน เขายอมรับว่า VMware บุกมาในตลาดนี้ช้ากว่า แต่ก็มั่นใจว่าจะสามารถแซงหน้า OpenShift ได้ในแง่จำนวนลูกค้าองค์กร ด้วยปัจจัยว่าผลิตภัณฑ์ดีกว่า (VMware ซื้อกิจการ Pivotal และ Heptio ของผู้ก่อตั้ง Kubernetes) และปัจจัยว่า VMware มีฐานลูกค้า virtualization มากถึง 500,000 องค์กร ที่พร้อมจะขยับมาใช้ Tanzu ได้ไม่ยาก
Red Hat ประกาศความร่วมมือกับ AWS เปิดตัว Amazon Red Hat OpenShift ซึ่งเป็นการนำแพลตฟอร์ม OpenShift สำหรับจัดการ Kubernetes เชิงพาณิชย์ของ Red Hat ไปรันบน AWS โดยทั้งสองบริษัทร่วมกันบริหารและซัพพอร์ตให้ (ก่อนหน้านี้ AWS รัน OpenShift ได้อยู่แล้ว แต่ผู้ใช้ต้องจัดการระบบเอง)
ในแง่ฟีเจอร์ซอฟต์แวร์คงไม่มีอะไรต่างจาก OpenShift เวอร์ชันปกติของ Red Hat แต่จุดขายหลักคือการทำงานร่วมกับระบบของ AWS เช่น การเรียกใช้งาน Auto Scaling เพื่อขยายจำนวนโหนดในระบบ และช่วยเปิดทางให้ลูกค้าองค์กรสามารถย้ายโหลดงานจาก OpenShift แบบ on-premise มารันบนเครื่องของ AWS ได้ด้วย
Red Hat ระบุว่าเริ่มเปิดทดสอบ Amazon Red Hat OpenShift แบบ early access ในเร็วๆ นี้ โดยยังไม่ระบุราคา
IBM ร่วมกับ Red Hat เปิดตัวโซลูชันสำหรับ Edge Computing ที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นในยุค 5G จากปัจจัยเรื่อง latency ของเครือข่ายที่ลดลง
โซลูชันของ IBM ใช้เทคโนโลยีจากฝั่ง Red Hat คือ OpenStack และ OpenShift (Kubernetes) เป็นแกนกลาง แล้วปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นความถนัดของ IBM (และเป็นตัวอย่างที่ดีว่า IBM ซื้อ Red Hat ไปทำไม)
เราเห็นไมโครซอฟท์ขยายระยะเวลาซัพพอร์ต Windows 10 ให้เป็นกรณีพิเศษ ในช่วงวิกฤต COVID-19 เพื่อให้แอดมินองค์กรมีระยะเวลาเตรียมตัวกันนานขึ้น
วันนี้ Red Hat ประกาศขยายระยะเวลาซัพพอร์ตผลิตภัณฑ์หลายตัวในลักษณะเดียวกัน
ที่มา - Red Hat
OpenShift อัพเดตรุ่น 4.4 ตามรอบ โดยแกนกลางคือการอัพเดต Kuberntes เป็นรุ่น 1.17 ตามโครงการหลักที่ออกเวอร์ชั่นนี้เมื่อ 10 ธันวาคมปีที่แล้ว โดยนอกจากตัว k8s เองแล้ว ยังอัพเดตชิ้นส่วนอื่นๆ อีกหลายตัว
Red Hat ประกาศเตรียมเพิ่มฟีเจอร์ OpenShift virtualization ที่ใช้สำหรับการจัดการ virtual machine (VM) ผ่านทาง API ของ Kubernetes สำหรับแอปพลิเคชั่นที่ไม่สามารถย้ายมาเป็นคอนเทนเนอร์ได้โดยง่าย แต่องค์กรต้องการรวบโครงสร้างทั้งหมดให้จัดการจากที่เดียวกัน
ฟีเจอร์นี้ใช้โครงการ KubeVirt เป็นฐาน
แนวทางการควบคุมทั้ง Kubernetes และ VM ด้วยอินเทอร์เฟซเดียวกัน ดูจะเป็นแนวทางที่ชัดเจนของการจัดการโครงสร้างพื้นฐานในยุคต่อไป โดยก่อนหน้านี้ VMware vSphere 7 ก็เพิ่มฟีเจอร์ Kubernetes API สำหรับการควบคุม VM เหมือนกัน
Red Hat เปิดตัวระบบจัดการคลัสเตอร์ Kubernetes ใหม่ในชื่อ Advanced Cluster Management สำหรับการจัดการคลัสเตอร์ Kubernetes ทั้งบนคลาวด์และ on-premise ในที่เดียว
ฟีเจอร์หลักของ Advanced Cluster Management คือการสร้างคลัสเตอร์, อัพเดต, และทำลาย คลัสเตอร์ในหน้าจอเดียว ควบคุมนโยบายความปลอดภัยตามกฎระเบียบของอุตสาหกรรม
ตัวซอฟต์แวร์รองรับ OpenShift ทั้ง on-premise และบนคลาวด์ หรือจะใช้คลัสเตอร์ของผู้ให้บริการคลาวด์อย่าง AWS, Google Cloud Platform, IBM Cloud, หรือ Azure ก็ได้
รุ่น Technology Preview จะเปิดตัวกลางเดือนพฤษภาคมนี้ ส่วนตัวจริงน่าจะเปิดตัวภายในหน้าร้อนปีนี้
Red Hat อัพเดต OpenShift แพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์ที่พัฒนาจาก Kubernetes 1.16 เป็นรุ่น 4.3 เน้นเพิ่มมาตรการความปลอดภัยและการเข้ารหัสเพิ่มเติมตามมาตรฐาน FIPS เช่น
สำหรับผู้ใช้แบบไฮบริดคลาวด์ สามารถใช้งาน OpenShift แล้วเชื่อมต่อกับคลาวด์ผ่าน VPN/VPC โดยเรียก LoadBalancer ผ่านทางไอพีภายใน (private facing endpoint)
Red Hat ออก OpenShift 4.2 ดิสโทรของ Kubernetes เป็นการอัพเดตอัพเดตรุ่นย่อยตามรอบ โดยหันมาเน้นฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องกับนักพัฒนาโดยตรง ได้แก่
เหตุผลสำคัญที่ IBM ต้องทุ่มเงินมหาศาลซื้อ Red Hat เป็นเพราะยุทธศาสตร์คลาวด์ก่อนหน้านี้ของ IBM ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก และบริการ IBM Cloud ในฐานะ public cloud ก็มีส่วนแบ่งตลาดตามหลังผู้นำตลาดอยู่ไกล
การซื้อ Red Hat เพื่อครองซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานชิ้นสำคัญๆ ทั้งระบบปฏิบัติการ RHEL และดิสโทร OpenShift (ที่ข้างในเป็น Kubernetes) จึงเป็นก้าวสำคัญของการปรับยุทธศาสตร์มาเป็น hybrid cloud (อ่านบทวิเคราะห์ที่นี้)
ไม่นานหลัง IBM ซื้อ Red Hat เสร็จสมบูรณ์ วันนี้ IBM ก็ประกาศข่าวสำคัญคือ บริษัทปรับปรุงซอฟต์แวร์ของตัวเองกว่า 100 ตัวให้รันบน Red Hat OpenShift ได้เป็นอย่างดี และลูกค้าองค์กรสามารถนำซอฟต์แวร์เหล่านี้ไปรันบนคลาวด์ยี่ห้อใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ IBM Cloud (ที่ระบุชื่อคือ AWS, Azure, Google, Alibaba รวมถึง private cloud ในองค์กร)
Red Hat เปิดตัว OpenShift 4 แพลตฟอร์ม Kubernetes สำหรับองค์กรรุ่นต่อไป พร้อมกับระบุว่าตอนนี้มีลูกค้าระดับองค์กรแล้วกว่า 1,000 ราย ประมาณ 50 รายเป็นองค์กรใน Fortune 100
ฟีเจอร์ของ OpenShift 4 เพิ่มมาหลายอย่างเช่น
ไมโครซอฟท์และเรตแฮตประกาศความร่วมมือ ให้บริการ Azure Red Hat OpenShift ให้บริการ Kubernetes ระดับองค์กร โดยทั้งสองบริษัทจะเป็นผู้ดูแลคลัสเตอร์และแพตช์ช่องโหว่ต่างๆ ให้เอง และบิลค่าใช้จ่ายต่างๆ จะออกผ่าน Azure รายเดียว
บริการเริ่มให้บริการแล้ววันนี้ ราคาเริ่มต้นสำหรับเครื่อง 4 ซีพียู แรม 16GB อยู่ที่ 0.761 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงต่อเครื่อง หรือประมาณเดือนละ 17,500 บาท (รวมค่าเซิร์ฟเวอร์ 0.953 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง)
ทั้งสองบริษัทยังมีความร่วมมือกันอีกหลายอย่าง เช่นนำ RHEL8, Ansible 2.8, และโมดูล Ansible ไปให้บริการบน Azure ที่สำคัญคือกำลังอยู่ระหว่างการปรับแต่งประสิทธิภาพ SQL Server 2019 ให้ทำงานบน RHEL8 ได้ดีขึ้น
Red Hat เปิดตัว CodeReady Workspaces 1.0.0 เข้าสู่สถานะ GA สำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดยวางตัวเป็น IDE สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์บน Kubernetes โดยเฉพาะ (Kubernetes-native)
ตัว IDE ทำงานบนเว็บทั้งหมด และตัวเซิร์ฟเวอร์เองก็รันอยู่บน Kubernetes เอง ทำให้ลดระยะเวลาการเซ็ตอัพสภาพแวดล้อมสำหรับนักพัฒนาเมื่อมีคนใหม่เข้ามาร่วมทีมงาน และทำให้สะดวกในการควบคุมไม่ให้ทีมงานนำโค้ดออกไปภายนอก
โครงการพัฒนามาจาก Eclipse Che เพิ่มชุด stack ที่ Red Hat เตรียมไว้ให้สำหรับการพัฒนาโครงการด้วยภาษาต่างๆ