Red Hat เปิดตัว Lightspeed ฟีเจอร์ด้าน Generative AI สำหรับใช้จัดการระบบ OpenShift (Kubernetes) และ Red Hat Enterprise Linux
Red Hat มีบริการ Lightspeed มาตั้งแต่ปี 2023 โดยเป็นการนำเอาโมเดลเขียนโปรแกรม IBM Watson Code Assistant มาใช้กับโค้ด YAML ของ Ansible ระบบจัดการคอนฟิกอัตโนมัติ
ข่าวนี้คือการขยาย Lightspeed มาใช้กับ OpenShift และ RHEL ซึ่งเป็นสองบริการหลักของ Red Hat ด้วย ถือเป็นตัวช่วยจัดการคลัสเตอร์ใน OpenShift ให้ทำงานอัตโนมัติมากขึ้น ขยายขนาดคลัสเตอร์หรือเพิ่มคลัสเตอร์เมื่อมีปริมาณใช้งานสูง และปรับจำนวนลงมาเมื่อผู้ใช้ลดลง ฝั่งของ RHEL เน้นไปที่การจัดการแพตช์ความปลอดภัย ปิดระบบที่มีช่องโหว่ชั่วคราว เป็นต้น
Red Hat ประกาศอัพเกรด Ansible Automation Platform (APP) เป็นเวอร์ชั่น 2 โดยจัดรูปแบบเพ็กเกจใหม่ ตามแนวทางโครงการ Ansible ฝั่งโอนเพนซอรส์ที่แยกสคริปต์ต่างๆ ออกเป็นโครงการต่างหากออกจากตัวโครงการ Ansible
ใน AAP ทาง Red Hat จะแยก Ansible Tower ออกเป็นสองส่วน คือ automation controller และ automation execution environments และสองส่วนนี้แยกกันรันคนละโหนดได้ ในเวอร์ชั่นต่อๆ ไปจะเพิ่ม automation mesh เพื่อรองรับการรันในเครื่องบน edge หรือบนคลาวด์
ตอนนี้ AAP 2 ยังอยู่ในสถานะ Early Access ให้ลูกค้าของ Red Hat เข้าไปโหลดมาทดสอบเตรียมย้ายระบบ และภายในปีนี้คาดว่าจะออก AAP 2.1 ในสถานะ GA
Red Hat เปิดตัว Ansible Automation Platform ตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว โดยเป็นแพลตฟอร์มรวบรวมสคริปต์สำหรับการแปลงงานให้เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น ปีนี้ Ansible Automation Platform เพิ่มฟีเจอร์อีกสองรายการหลัก
อย่างแรกคือ automation services catalog ตรวจสอบการใช้งานทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์, virtual machine, คลาวด์, หรือคอนเทนเนอร์ ว่ามีการรันสคริปต์ใดไปแล้วบ้าง ควบคุมการทำตามนโยบายองค์กร อย่างที่สองคือ Automation Analytics แสดงสถิติและสถานะของการรัน automation เช่น ระยะเวลาที่รัน, อัตราความสำเร็จและล้มเหลว
นอกจากการอัพเดตฟีเจอร์ สคริปต์ automation ใน Ansible Content Collections ก็เพิ่มขึ้น มีสคริปต์จากพันธมิตร 26 ราย และโมดูลรวมกว่า 1,200 โมดูล
Ansible ระบบคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับความนิยมสูงถูก Red Hat ซื้อไปตั้งแต่ปี 2015 โดยสินค้าทำเงินของ Ansible คือ Ansible Tower ระบบจัดการระดับองค์กรที่สามารถจัดการสิทธิ์ควบคุมเซิร์ฟเวอร์ สร้างกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ และมีหน้าเว็บสำหรับการจัดการระบบ เมื่อเดือนที่แล้วทาง Red Hat ก็ปล่อย Ansible Tower ออกมาเป็นโครงการโอเพนซอร์สโดยใช้ชื่อว่า AWX
ตัว AWX จะใช้สัญญาอนุญาตแบบ Apache 2.0 ทำให้ใช้งานได้แทบทุกกรณี แต่ระบบการออกเวอร์ชั่นของ AWX จะถี่กว่ามาก (คาดว่าจะถี่ถึง 2 สัปดาห์ครั้ง แต่รอบล่าสุดเวอร์ชั่น 1.0.1 ใช้เวลาเกือบสองเดือน) แม้ว่าจะมีเวอร์ชั่น stable ออกมาเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะมีการซัพพอร์ตระยะยาวใดๆ รวมถึงไม่ได้เข้าโครงการ Red Hat Open Source Assurance ด้วย
Red Hat เปิดตัวโครงการ Ansible Container สำหรับการสร้างอิมเมจ Docker โดยใช้ไฟล์ Ansible playbook แทนที่ Dockerfile
ทาง Ansible ระบุว่าไฟล์ playbook นั้นได้เปรียบกว่า Dockerfile หลายอย่าง เพราะตัว Dockerfile นั้นจริงๆ แล้วเหมือนกับ shellscript เท่านั้น ขณะที่ playbook สามารถจัดการได้มากกว่า เช่นการสร้างโครงการ Django หลายครั้งต้องใส่ไฟล์เข้าไปในอิมเมจด้วย กระบวนการเช่นนี้ทำใน playbook ได้โดยง่าย และกระบวนการจัดการคอนเทนเนอร์หลายครั้งก็ใช้ Ansible อยู่แล้ว การใช้ playbook อย่างเดียวช่วยลดความซ้ำซ้อน
Ansible Container สามารถสร้างอิมเมจได้โดยไม่ต้องติดตั้ง SSH ในคอนเทนเทอร์ หรือมีเอเจนต์ของ Ansible อยู่ในอิมเมจแต่อย่างใด
Ansible ซอฟต์แวร์สำหรับคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ประกาศในงาน Ansiblefest London ระบุว่าในอนาคต Ansible จะสามารถคอนฟิกอุปกรณ์เน็ตเวิร์คได้ โดยรายชื่อแบรนด์ที่จะซัพพอร์ตระบุว่า Arista, Cisco, Juniper, Cumulus Networks, และ OpenSwitch
Peter Sprygada วิศวกรอาวุโสของ Ansible ระบุว่าการใช้ Ansible เข้าคอนฟิกเน็ตเวิร์คจะมีกระบวนการคล้ายกับการคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ เช่น การคอนฟิกอัตโนมัติ, การทดสอบผลหลังคอนฟิก, และการตรวจสอบสถานะก่อนคอนฟิก รวมไปถึงความสามารถในการตรวจสอบสถานะปัจจุบัน
ใครจะทำงาน DevOps ในอนาคตอาจจะได้เวลาไปอ่านเน็ตเวิร์คเพิ่มเติมครับ
ที่มา - The Register
Red Hat ประกาศเข้าซื้อ Ansible Inc. บริษัทผู้ดูแลการพัฒนาโครงการ Ansible ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา โดยไม่เปิดเผยมูลค่าการซื้อขายแต่อย่างใด
ทาง Red Hat ระบุว่า Ansible จะเข้ามาช่วยให้ลูกค้าของ Red Hat สามารถควบคุมคลาวด์ได้ง่ายขึ้น ทั้งคลาวด์สาธารณะและคลาวด์ส่วนตัวในองค์กร, สามารถส่งมอบบริการใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น, ควบคุมการติดตั้งและอัพเกรด OpenStack ได้ง่ายขึ้น, และช่วยอำนวยความสะดวกในการปรับไปใช้ container