Amir Golestan ซีอีโอบริษัท Micfo ถูกศาลสั่งจำคุก 5 ปีฐานฉ้อโกง (defrauding) จากการเปิดบริษัทปลอม เพื่อไปยื่นขอหมายเลขไอพีจาก ARIN หน่วยงานแจกจ่ายหมายเลขไอพีในภูมิภาคอเมริกาเหนือ
อัยการสหรัฐฯ ระบุว่า Golestan ปลอมแปลงเอกสารเพื่อขอหมายเลขไอพีจาก ARIN และตั้งข้อหารวม 20 ข้อหาในปี 2019 หลังจากสู้คดีมาระยะหนึ่ง Golestan ตัดสินใจรับสารภาพในปี 2021 และหลังจากนั้นคดีก็อยู่ระหว่างการรอกำหนดโทษแต่ถูกเลื่อนมาหลายครั้งจนมีการกำหนดโทษเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
หมายเลขไอพีที่ Golestan ขอไปทั้งหมด 757,760 หมายเลข มูลค่ารวม 10-15 ล้านดอลลาร์ Golestan เคยระบุว่าเขาเป็นผู้จัดหาหมายเลขไอพีให้กับผู้ให้บริการ VPN หลายราย
AWS ประกาศคิดค่าใช้ IPv4 จากเดิมที่ให้ฟรีรวมกับการใช้งานเซิร์ฟเวอร์หรือทรัพยากรอื่นๆ มาเป็นการคิดค่าใช้จ่ายเท่ากันทุกกรณี ชั่วโมงละ 0.005 ดอลลาร์ (เดือนละ 3.6 ดอลลาร์ หรือประมาณ 120 บาท) โดยเริ่มต้นคิดค่าใช้งานวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2024
ทาง AWS ให้เหตุผลว่าค่าใช้จ่ายในการจัดหา IPv4 แพงขึ้นมาก การคิดค่าใช้งานสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงพร้อมกับสนับสนุนให้ไปใช้ IPv6 ที่ยังใช้งานได้ฟรีอยู่
นอกจากการคิดค่าใช้งานเพิ่มเติม AWS ยังเปิดเครื่องมือ Public IP Insights แสดงข้อมูลว่ามี IPv4 ใช้งานอยู่กับอะไรบ้าง
ที่มา - AWS Blog
เหตุการณ์ IPv4 หมดโลกไปตั้งแต่ช่วงปี 2017-2019 แต่ความต้องการตั้งเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้บริการยังคงมีต่อเนื่องทำให้เกิดตลาดซื้อขาย IPv4 องค์กรที่ร่วมก่อตั้งอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ยุคแรกๆ สามารถตัดแบ่งไอพีออกขายได้เงินเป็นกอบเป็นกำ และราคาไอพีก็พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในปี 2022 ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าราคาไอพีจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว
RIPE Network Control Centre หน่วยงานจัดสรรหมายเลขไอพีในภูมิภาคยุโรป, เอเชียกลาง, รัสเซีย, และเอเชียตะวันตก ประกาศจัดสรรหมายเลขไอพีในระบบ IPv4 วงสุดท้ายขนาด /22 ออกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้หลังจากนี้ผู้ให้บริการอื่นที่ต้องการหมายเลขไอพีต้องเข้าคิวรอเท่านั้น
หน่วยงานจัดสรรหมายเลขไอพีอื่นมีนโยบายการจัดสรรไอพีในช่วงท้ายที่แตกต่างกันไป เช่น APNIC อนุญาตให้แต่ละองค์กรขอวง /22 (1,024 ไอพี) ได้วงเดียวต่อองค์กร
RIPE คาดว่าจะมีหมายเลขไอพีโอนกลับมาจากองค์กรที่เลิกใช้งานหรือปิดกิจการระดับแสนหมายเลขต่อปี แต่ความต้องการก่อนหน้านี้อยู่ที่ระดับหลายล้านหมายเลขต่อปี โดย RIPE กำหนดให้สมาชิกใหม่สามารถขอรอหมายเลขส่งคืนได้หน่วยงานละ 1 วงขนาด /24 เท่านั้น
RIPE องค์กรแจกจ่ายไอพีระดับภูมิภาคที่ดูแลยุโรปและตะวันออกกลางจ่ายไอพีขนาด /22 วงสุดท้ายจากไอพี 185.0.0.0/8 ออกไปเรียบร้อยแล้ว นับเป็นไอพีใหม่วงสุดท้ายที่จะมีการแจกจ่ายในภูมิภาคนี้
ตอนนี้ RIPE ยังมีไอพีนอกวง 185/8 อีกประมาณ 9 ล้านเลขหมาย โดยเป็นไอพีที่ได้คืนมาจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตท้องถิ่น หรือไอพีที่เคยกันไว้สำหรับงานเฉพาะทางบางอย่าง
หน่วยงานเดียวที่ยังเหลือไอพีวง /8 เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต คือ AFRINIC ที่ยังเหลือวง 102/8 อยู่ โดยใช้งานไปแล้ว 27.26%
อินเทอร์เน็ตยุคแรกๆ มีการแจกจ่ายไอพีกันค่อนข้างง่ายดาย บริษัทที่ร่วมทดสอบไอพีมักได้วง /8 หรือ /16กันได้โดยง่าย แต่เมื่อการเปลี่ยนไปยัง IPv6 ไม่สามารถทำได้รวดเร็วอย่างที่หวังกันไว้ ตอนนี้ไอพีก็กลายเป็นของมีค่า ทำให้ MIT ตัดสินใจตัดแบ่งไอพีวง 18.0.0.0/8 ออกขายแล้ว
การตัดสินใจนี้ทำให้ตัววง 18.0.0.0/8 ถูกโอนกลับไปยัง ARIN ที่บริหารไอพีในอเมริกาเหนือ และเริ่มแบ่งขายบางวงให้กับบริษัทต่างๆ เช่น 18.145.0.0/16 กลายเป็นของอเมซอน ขณะที่ 18.146.0.0/16 ยังอยู่กับ MIT เอง
IPv4 กำลังหมดโลกอย่างต่อเนื่อง โซนเอเชียแปซิฟิกหมดไปตั้งแต่ปี 2011 ตอนนี้โซนอเมริกาใต้ คือ LACNIC ก็เข้าสู่ช่วงที่สามของการหยุดจ่ายไอพี หลังไอพีเหลือสี่ล้านเลขหมายสุดท้าย
นโยบายของ LACNIC หลังจากนี้จะจ่ายไอพีวงใหญ่สุดไม่เกิน 1024 ไอพี (/22) และจะจ่ายให้กับองค์กรที่ไม่เคยได้รับไอพีเท่านั้น โดยหลังจากนี้ LACNIC สนับสนุนให้องค์กรต่างๆ หันไปใช้ IPv6 แทน
ตอนนี้ NIC ที่ยังไม่เข้าสู่ช่วง IPv4 หมดมีโซนเดียวคือแอฟริกา โดยคาดว่าจะหมดภายในปี 2019 นี้เท่านั้น ก่อนหน้านี้โซนที่หมดไปก่อนหน้าคือโซนอเมริกาเหนือเมื่อปี 2015
ARIN ประกาศเตือนไอพีใกล้หมดมาสองเดือน วันนี้ IPv4 ทั้งหมดไม่ว่าวงเล็กหรือใหญ่ก็หมดไปจาก ARIN โดยสมบูรณ์ ตอนนี้จะขอไอพีเพิ่มได้ต้องใช้ IPv6 อย่างเดียว
Vint Cerf ประธานของ ARIN และหัวหน้าทีมออกแบบ IPv4 ระบุว่าเหตุที่ IPv4 ถูกออกแบบไว้ให้รองรับอุปกรณ์ได้ไม่มากนักเพราะ 40 ปีก่อนทุกคนยังคิดว่ามันเป็นการทดลอง แต่การทดลองหลุดออกจากห้องแลป ตอนนี้อินเทอร์เน็ตไม่ใช่การทดลองอีกต่อไป การเติบโตในอนาคตต้องอาศัย IPv6
นโยบายของ ARIN เปิดให้ขอไอพีได้เรื่อยๆ จนกระทั่งไอพีหมด ขณะที่ APNIC มีนโยบายประหยัดไอพีที่เข้มงวดกว่าทำให้ไอพีลดลงอย่างช้าๆ
สองเดือนก่อน ARIN ออกประกาศเตือนว่าหมายเลขไอพีสำหรับ IPv4 กำลังหมดไปจากโซนอเมริกาเหนือ ตอนนี้ทาง ARIN ก็ประกาศใช้นโยบายการแจกจ่ายไอพีในช่วงหลังไอพีหมดคลัง โดยต้องรอหมายเลขไอพีที่ไม่ได้จ่ายค่าธรรมเนียมจนโดนเรียกคืน หรือไอพีใหม่ที่ได้รับเพิ่มมาจาก IANA
ที่จริงแล้วไอพีของ ARIN ไม่ได้หมดเกลี้ยงไปเสียทีเดียว แต่วงที่เหลืออยู่เป็นวงขนาดเล็ก /23 จำนวน 55 วง และ /24 จำนวน 433 วง ซึ่งก็น่าจะหมดตามกันไปในไม่ช้า
ARIN ให้ทางเลือกสองทางสำหรับการรอไอพี คือ การรอไปเรื่อยๆ เมื่อได้รับไอพีแล้วจะไม่มีสิทธิ์ขอไปอีกสามเดือน หรือจะเข้าไปซื้อในตลาดซื้อขายไอพีก็ได้เหมือนกัน
ARIN หน่วยงานจัดการหมายเลขไอพีโซนอเมริกาเหนือประกาศเตือนว่าหมายเลขไอพีบล็อคขนาดใหญ่กำลังจะหมดลงในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า และหลังจากหมดลงแล้วคำร้องทั้งหมดจะถูกเข้าคิวรอจนกว่าจะมีการส่งหมายเลขไอพีคืนกลับมาเท่านั้น
หน่วยงานแจกจ่ายหมายเลขไอพีอื่นๆ เช่น APNIC ใช้มาตรการจำกัดขนาดบล็อคไอพีที่ขอได้ไม่เกิน /22 ทำให้เหลือหมายเลขไอพีพอแจกจ่ายได้เรื่อยๆ แต่ทาง ARIN เลือกที่จะแจกไอพีบล็อคใหญ่สุดเป็น /11 ซึ่งตอนนี้เหลือเพียงบล็อคเดียว คาดว่าจะมีคำร้องขอซึ่งผ่านเกณฑ์การขอใช้งานในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า จำนวนเครือข่ายที่ขอใช้ไอพีได้ของ ARIN ในตอนนี้เหลือไม่ถึงหนึ่งพันวง ทำให้น่าจะหมดเกลี้ยงในเร็วๆ นี้
หลายวันมานี้หลายคนอาจสงสัยว่าทำไม internet ทรูถึงดูเอ๋อๆ ไป วันนี้เราได้พบกับคำตอบแล้ว ถ้าคนช่างสังเกตหน่อยจะพบว่า IP address ที่ทรูแจกออกมาไม่ใช่ public IP address อีกต่อไปแล้ว ยกตัวอย่างที่ๆ ผู้เขียนอยู่ในขณะนี้ ได้รับแจก IP address 100.66.1.xxx มาจากทรู ซึ่ง IP address นี้อยู่ใน block private IP address 100.64.0.0/10 ที่ IANA assign ให้ใช้ใน Large Scale NAT นั่นเอง (ที่ internet เอ๋อๆ ไปสงสัยว่าจะเตรียม deploy LSN นี่แหละครับ)
หลัง RIPE NCC แจกไอพีจนหมด ก็ถึงช่วงเวลาตามหาว่าใครเป็นคนถือหมายเลขไอพีอย่างสิ้นเปลืองอยู่บ้าง และมีบล็อกเกอร์ชื่อว่า John Graham-Cumming พบว่ากระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมของอังกฤษนั้น ถือหมายเลขไอพีวง 51.0.0.0/8 อยู่ทั้งวงโดยไม่มีการใช้งานที่มองเห็นจากอินเทอร์เน็ต
มูลค่าของหมายเลขไอพีในพื้นที่ที่ไม่มีบล็อค /8 เหลือแล้วจะมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ประมาณกันว่ามูลค่าหมายเลขไอพีของทั้งบล็อค /8 ประมาณ 16 ล้านหมายเลขนั้นมีมูลค่ารวม 500-1,500 ล้านดอลลาร์
ตอนนี้มีผู้นำเรื่องนี้เสนอไปยังเว็บเข้าชื่อเรียกร้องต่อทางรัฐบาลอังกฤษ ให้ปล่อยหมายเลขไอพีเหล่านี้ให้เอกชนได้ใช้งานกันต่อไป
Réseaux IP Européens Network Coordination Centre (RIPE NCC) หน่วยงานจัดสรรหมายเลขไอพียุโรปและตะวันออกกลางได้แจกจ่ายหมายเลขไอพีมาจนถึงบล็อกสุดท้ายแล้ว ซึ่งจะทำให้เข้าสู่โหมดประหยัดหมายเลขไอพีแบบเดียวกับที่ APNIC เข้าโหมดนี้ไปเมื่อปีที่แล้ว
Vint Cerf คือผู้ออกแบบโพรโตคอล TCP/IP ซึ่งเขาถูกยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งอินเทอร์เน็ต" ปัจจุบันเขาทำงานกับกูเกิลในตำแหน่งรองประธาน และล่าสุดเขาไปพูดที่งานนิทรรศการ Life Online โดยมีเรื่องน่าสนใจสองประเด็น
อย่างแรก เขาบอกว่าถึงแม้กูเกิลจะเป็นเจ้าแห่งการค้นหาในวันนี้ แต่ก็มีโอกาสถูกโค่นได้เสมอ ไม่ต่างอะไรจากที่กูเกิลเคยโค่น Alta Vista และยาฮูมาก่อน ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องดี เพราะจะบีบให้กูเกิลกลัว และพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยความเร็วสูงสุดตลอดเวลาเพื่อรักษาระดับการนำอยู่เสมอ ทุกคนในกูเกิลรู้ดีว่าอาจมีนักศึกษาแบบ Larry Page และ Sergey Brin มีไอเดียบางอย่างที่กูเกิลไม่มี และอาจโผล่ขึ้นมาแย่งตลาดของกูเกิลไปในทันที
APNIC ประกาศว่าวันนี้ (15 เมษายน พ.ศ.2554) APNIC เหลือ IPv4 ขนาด /8 ช่วงสุดท้ายแล้ว ซึ่งทำให้เข้าสู่ช่วงที่สามของการหมดลงของ IPv4 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งนโยบายสำหรับการแจกจ่าย IPv4 ในช่วงที่สามนี้คือ
ข่าวหมายเลข IPv4 หมดโลกอาจจะสร้างความตกใจให้กับหลายๆ คนว่าวันพรุ่งนี้เราจะใช้งานอินเทอร์เน็ตกันไม่ได้หรืออย่างไร เรามาดูกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้
วันนี้ลองพยายามจัดกลุ่มของช่วงไอพีที่ APNIC จัดสรรให้แก่ประเทศไทยดูทำให้พอรู้คร่าวๆ ว่าใครถือไอพีอยู่เท่าไหร่บ้าง ต้องออกตัวก่อนว่าข้อมูลนี้ใช้อ้างอิงไม่ได้เพราะเป็นการจัดด้วยมือ โอกาสพลาดสูง ถือว่าเล่าสู่กันฟังนะครับ
ผู้ครอบครอง IPv4 อันดับหนึ่งของไทยคือ True ที่มีไอพีอยู่ประมาณ 1.36 ล้านไอพี (รวมทั้งกลุ่มนะครับ ไม่ว่าจะ Dial-up, ADSL, Mobile) ตามมาติดๆ ด้วย TOT ที่มี 1.02 ล้านไอพี อันดับสามได้แก่ Tripple T มี 786,944 ไอพี ซึ่งในกลุ่มเหล่านี้มีไอพีหลายช่วงมาก เช่น True มีอยู่ถึง 42 ช่วงด้วยกัน
ลำดับถัดลงมาเป็น AIS มี 428,032 ไอพี TTT Maxnet มี 419,840 ไอพี และ CAT 299,008 ไอพี
เราลองมาดูกันว่าในโค้งสุดท้ายก่อนที่ IPv4 จะถูกจัดสรรไปจนหมดนั้น แต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้รับการจัดสรร IPv4 กันไปประเทศละเท่าไหร่
จากข้อมูลของเมื่อวานนี้ (1 ก.พ. 54) APNIC ซึ่งเป็นนายทะเบียนของภูมิภาคนี้ได้จัดสรรไอพีไปแล้วทั้งหมด 17,610 ช่วง คิดเป็น 769,631,744 ไอพี โดยขนาดที่จัดสรรในแต่ละช่วงมีตั้งแต่ /24 (256 ไอพี) ไปจนถึง /8 (16,777,216 ไอพี) แน่นอนว่าประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกอย่างจีนได้ครองตำแหน่งประเทศที่ได้รับการจัดสรร IPv4 ไปมากที่สุดถึงประมาณ 293 ล้านไอพีใน 1,875 ช่วง คิดเป็น 38% ของไอพีที่ได้รับการจัดสรรในภูมิภาคนี้เลยทีเดียว
จากที่ผ่านมา 2-3 เดือนนี้จะพบว่ามีข่าวเกี่ยวกับ IPv4 ออกมาเป็นระยะๆ ดังเช่น ทำเนียบขาวขีดเส้น หน่วยงานรัฐของอเมริกาต้องใช้ IPv6 ภายในปี 2012 และ จำนวน IPv4 เหลือใช้ได้อีกไม่ถึงปี แต่ทว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของอินเทอร์เน็ตของจริงกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว เพราะ หน่วยงานที่จัดสรรหมายเลขเหล่านี้ได้ออกมาระบุแล้วว่า IPv4 ล็อตสุดท้ายกำลังจะถูกปล่อยในต้นปีหน้า
Blognone นำเสนอความเปลี่ยนแปลงของ IPv4 มาแล้วหลายครั้ง เป็นที่รู้กันว่าภายในปีนี้หรือปีหน้า ผู้จ่ายไอพีอย่าง ARIN จะไม่มีหมายเลขไอพีให้กับผู้ให้บริการอีกต่อไป และผู้เชี่ยวชาญอย่าง R. Kevin Oberman ก็เริ่มออกมาแสดงความกังวลว่าภาวะเช่นนี้อาจจะสร้างตลาดมืดสำหรับไอพีขึ้นมาได้ ส่งผลให้ราคาไอพีจะพุ่งขึ้นไปไม่หยุดตราบเท่าที่ผู้ซื้อ (ซึ่งมักเป็นธุรกิจที่ต้องการใช้ IPv4) จะยินดีจ่าย
Oberman เชื่อว่าตลาดมืดสำหรับไอพีนั้นเริ่มก่อตัวแล้วในทุกวันนี้ แต่ราคายังไม่สูงนักเนื่องจาก ARIN ยังมีไอพีป้อนตลาดอยู่เรื่อยๆ
ปัญหา IPv4 กำลังไม่พอใช้งานนั้นกำลังชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยก่อนนี้มีการทำนายกันว่าด้วยอัตราการใช้งานเช่นนี้ IPv4 จะหมดโลกในสี่ถึงห้าปี แต่ปัญหานี้กลับร้ายแรงกว่าที่คาดไว้มาก เมื่อประเทศที่อัตราผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นจีน กำลังประสบปัญหาก่อนหน้าชาติอื่นภายในเวลาสองปีข้างหน้า
ผู้ใช้ข่าวนี้คือนาย Li Kai ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจของ CNNIC ผู้จัดสรรหมายเลขไอพีในจีน และเขาระบุถึงปัญหาของการย้ายไปใช้งาน IPv6 ว่าปัจจุบัน IPv6 มีการใช้งานเฉพาะในหน่วยงานการศึกษาเท่านั้น และโลกธุรกิจไม่ต้องการลงทุนเพิ่มในส่วนนี้เท่าใดนัก
ที่มา - China Tech News