Google App Engine
กูเกิลเพิ่งประกาศ App Engine รองรับรันไทม์ Java 11 LTS ไปหมาด ๆ ล่าสุด App Engine ประกาศรองรับภาษาโปรแกรมเวอร์ชันใหม่ๆ อีกชุดใหญ่ดังนี้
Google App Engine รองรับรันไทม์ Java 11 อย่างเป็นทางการ หลังเปิดทดสอบรุ่นเบต้ามาตั้งแต่เดือน มิ.ย.
Java 11 ถือเป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว (LTS) ที่มีระยะเวลาซัพพอร์ตนาน 8 ปี (นานจนลืมไปถึงปี 2026) และเป็นรุ่นที่ Oracle แนะนำให้ย้ายจาก Java 8 ซึ่งถือเป็นรุ่น LTS ก่อนหน้า
Google App Engine ประกาศรองรับภาษา Ruby ในสภาพแวดล้อมแบบ Standard Environment แล้ว หลังเปิดใช้งานแบบ Flexible Environment มาตั้งแต่ปี 2016 นับเป็นภาษาที่ 7 ของ Standard Environment
Standard Environment เป็นการรันแอพพลิเคชันใน sandbox ของกูเกิลเอง โดยใช้ได้เฉพาะภาษาและเวอร์ชันที่กูเกิลกำหนดให้เท่านั้น ข้อดีคือราคาถูกกว่า ขยายเครื่องได้เร็วกว่า ส่วน Flexible Environment เป็นการรันใน Docker/VM ที่ยืดหยุ่นกว่าในเรื่องภาษา แต่ราคาก็แพงกว่า (เปรียบเทียบความแตกต่าง)
Google ประกาศอัพเดต App Engine ใหม่ โดยเพิ่มเมมโมรี่ให้ App Engine ยุคที่สองเป็น 2 เท่าของเดิม, ประกาศให้ Go 1.12 และ PHP 7.3 เข้าสู่สถานะ GA และรองรับ Java 11 ในสถานะเบต้า
เรื่องแรก คือการเพิ่มเมมโมรี่ให้ App Engine สองเท่าจากเดิม คือผู้ใช้จะสามารถโหลดไลบรารีเข้าไปใน App Engine ได้เยอะกว่าเดิม และการเพิ่มเมมโมรี่นี้ Google เพิ่มให้อัตโนมัติ ฝั่งผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไร และไม่เก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมด้วย
ส่วนถัดไปคือ Google ประกาศให้รันไทม์สองภาษาบน App Engine คือ Go 1.12 และ PHP 7.3 เข้าสู่สถานะ GA อย่างเป็นทางการ
Google ได้ทดสอบ Python 3.7 พร้อมกับ PHP 7.2 เป็น standard environment บน App Engine มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ซึ่งตอนนี้ Google ก็ได้ประกาศว่า Python 3.7 บน Google App Engine เข้าสู่สถานะ GA พร้อมให้บริการลูกค้าโดยทั่วไปแล้ว
Google ระบุว่า Python 3.7 นี้จะเป็นรันไทม์ในยุคที่สองของ App Engine เหมือนกับ Node.js 8 และ PHP 7.2 โดยรันไทม์เหล่านี้จะทำงานบน gVisor เทคนิคการแยกคอนเทนเนอร์ให้ขาดจากกันเหมือน VM ที่ทำให้ใช้เวลาในการดีพลอยน้อยลง
ฟีเจอร์หนึ่งของ Chrome ที่คนไม่รู้จักกันมากนักคือ Headless หรือการรัน Chrome โดยไม่ต้องแสดงหน้าต่างของ Chrome มาให้เราเห็น ตัวอย่างการใช้งาน Headless Chrome มักเป็นงานฝั่งนักพัฒนา เช่น เปิด Chrome มาเพื่อบันทึกภาพหน้าจอหรือบันทึกเว็บเพจเป็น PDF รวมไปถึงงานพวก automate testing ทดสอบการเรนเดอร์เว็บ
การเรียกใช้งาน Headless Chrome สามารถทำได้โดยเรียกผ่านคอมมานด์ไลน์แล้วใส่พารามิเตอร์ chrome --headless ตามมา (รายละเอียด) แต่ล่าสุดกูเกิลเปิดให้เรารัน Headless Chrome บนคลาวด์ได้แล้ว ทำให้เราสามารถเรียกใช้ Chrome ทำงานจากฝั่งเซิร์ฟเวอร์ได้สะดวกมากขึ้น
Google App Engine ประกาศรองรับภาษาโปรแกรมแบบ standard environment เพิ่มเติมอีก 2 เวอร์ชันคือ Python 3.7 และ PHP 7.2
ปกติแล้ว App Engine มีสภาพแวดล้อมการทำงาน 2 แบบคือ standard environment ที่ใช้รันไทม์จากกูเกิลโดยตรง ราคาถูกกว่า กับ flexible environment ที่ผู้ใช้ติดตั้งรันไทม์เอง ราคาแพงกว่า
Google App Engine รองรับภาษา Node.js มาตั้งแต่ปี 2016 แต่อยู่ในรูป flexible environment คือรันแอพใน Docker อีกทีหนึ่ง (นำรันไทม์มาเอง)
เวลาผ่านไปสองปี ในที่สุดกูเกิลก็ประกาศรองรับ Node.js แบบ standard environment แล้ว สามารถเรียกใช้รันไทม์จากกูเกิลได้โดยตรง ข้อดีคือราคาของ standard environment ถูกกว่า flexible environment มาก (แถมบางครั้งก็ฟรีด้วยซ้ำ) และไม่ต้องเสียเวลากับการ deploy/scale ด้วยตัวเอง เพราะระบบของ App Engine ช่วยจัดการให้เราเกือบหมด
กูเกิลยังบอกว่าปรับแต่งไลบรารี Node.js ให้เชื่อมต่อกับบริการอื่นๆ ของตัวเอง เช่น Cloud Datastore รวมถึงการทำ debugging/tracing ด้วย
แม้โลกไอทีองค์กรย้ายมาสู่ยุคคลาวด์เรียบร้อยแล้ว แต่โลกของคลาวด์เองก็ยังมีตัวเลือกมากมาย (แม้ในค่ายเดียวกันเอง) ผู้ใช้อาจสับสนระหว่างการเช่า VM ทั้งตัวหรือรันใน Container รวมถึงบริการแนวคิดใหม่ๆ อย่าง Serverless ที่ไม่ต้องเปิดเครื่องรันค้างไว้ตลอดเวลา
กูเกิลเขียนบล็อกอธิบายข้อแตกต่างเหล่านี้ของบริการในเครือ Google Cloud Platform (GCP) ทั้งหมด 4 ตัว ได้แก่
Google App Engine เพิ่มฟีเจอร์ firewall เพื่อช่วยให้นักพัฒนาและผู้ดูแลระบบสามารถใช้เพื่อจำกัดการเข้าถึงโดยใช้ไอพีแอดเดรสได้
ฟีเจอร์ดังกล่าวเปิดให้ทดสอบแบบเบต้าแล้ว นักพัฒนาสามารถเข้าไปเพิ่มกฎอนุญาตหรือปิดกั้นเฉพาะไอพีแอดเดรสได้ผ่าน App Engine Admin API, Google Cloud Console หรือใช้คำสั่ง gcloud ในคอมมานด์ไลน์ก็ได้ โดยหากผู้ที่ต้องการเข้าใช้งานอยู่ในไอพีแอดเดรสที่ถูกบล็อก จะพบกับหน้าตอบรับ HTTP 403 กลับมา ซึ่งข้อมูลความพยายามเข้าใช้งานของผู้ใช้ที่ถูกจำกัดนี้จะไม่ถูกนับเป็นทราฟฟิกหรือโหลดในระบบคลาวด์
เนื่องจากฟีเจอร์นี้ยังคงอยู่ในช่วงทดสอบ ดังนั้น Google จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ฟีเจอร์นี้ในสภาวะการใช้งานจริง
Google App Engine บริการคลาวด์แบบ PaaS ของกูเกิล ประกาศรองรับ Java 8 แล้ว ช่วยให้แอพพลิเคชันสาย Java สามารถเรียกใช้ฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ Java 8 ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถเรียกใช้ฟีเจอร์ของ Google Cloud Client Library for Java (ที่เป็น Java 8 อยู่แล้ว) ได้ทุกฟีเจอร์ด้วย
กูเกิลบอกว่า Java 8 เป็นฟีเจอร์ที่ลูกค้า App Engine เรียกร้องเข้ามาเป็นอันดับต้นๆ (อีกอันคือ Python 3 ที่ยังไม่มี) หลังจากรอกันมานาน ตอนนี้ App Engine ก็รองรับ Java 8 สักที (ยังมีสถานะเป็น Beta) โดยนักพัฒนายังสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ standard environment เป็น Java 7 หรือ Java 8
ในงาน Google Cloud Next 2017 กูเกิลประกาศของใหม่ให้บริการคลาวด์ของตัวเองหลายอย่าง สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ App Engine บริการคลาวด์แบบ PaaS สำหรับรันแอพ
เดิมที App Engine รองรับการรันแอพเพียงไม่กี่ภาษาเท่านั้น โดยเริ่มจาก Python แล้วตามด้วย Java และ Go แต่ช่วงหลังก็รองรับภาษาโปรแกรมเพิ่มขึ้นหลายตัว เช่น PHP, Node.js, Ruby และ .NET Core (C#) รวมทั้งหมด 7 ภาษา
Google Cloud Platform (GCP) อำนวยความสะดวกให้นักพัฒนามากขึ้น โดยออกปลั๊กอิน Cloud Tools for Eclipse เพื่อให้คนใช้ Eclipse สามารถเชื่อมต่อกับ App Engine ได้โดยตรง
ในอดีต กูเกิลเคยออก Google Plugin for Eclipse ที่ใช้เขียนโค้ดด้วย GWT บน App Engine มาก่อน แต่ปลั๊กอินตัวนี้ล้าสมัย ไม่อัพเดตแล้ว ใช้กับ Eclipse 4.6 Neon ไม่ได้ กูเกิลจึงแนะนำให้ย้ายมาใช้ Cloud Tools for Eclipse แทน
Cloud Tools for Eclipse ใช้ได้กับทั้ง Eclipse 4.5 (Mars) และ Eclipse 4.6 (Neon) รายละเอียดการติดตั้งและใช้งาน อ่านได้จากที่มา
Google App Engine เริ่มรองรับการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา Ruby แล้ว สถานะตอนนี้ยังเป็นขั้น Beta แต่นักพัฒนาก็สามารถใช้เฟรมเวิร์คยอดนิยมอย่าง Rails หรือ Sinatra ได้แล้ว
การใช้งาน Ruby บน App Engine ยังสามารถใช้แพ็กเกจ gcloud เพื่อเข้าถึงฟีเจอร์ต่างๆ ของ Google Cloud Platform (เช่น BigQuery หรือ Cloud Datastore) ได้ทันที นอกจากนี้กูเกิลยังเปิดซอร์สตัวซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ใช้รัน Ruby บน App Engine ต่อสาธารณะด้วย
ก่อนหน้านี้ App Engine รองรับการพัฒนาด้วยภาษา Python, Java, Go ตามด้วย PHP และ Node.js รวมทั้งหมด 5 ภาษา ส่วน Ruby นับเป็นภาษาที่หกครับ
Google App Engine แพลตฟอร์มพัฒนาแอพบนกลุ่มเมฆของกูเกิล รองรับการพัฒนาด้วยเฟรมเวิร์คจาวาสคริปต์ยอดฮิต Node.js แล้ว จากเดิมที่รองรับ Python, PHP, Java, Go
ตอนนี้สถานะการใช้งาน Node.js บน App Engine ยังอยู่ในระดับเบต้า ผู้สนใจสามารถดูเอกสารของ Google Cloud Platform
บริษัทความปลอดภัย Security Explorations จากประเทศโปแลนด์ เผยช่องโหว่ของบริการแอพบนกลุ่มเมฆ Google App Engine ทั้งหมด 7 จุด หลังจากติดต่อไปยังกูเกิลแล้วไม่ยอมแก้ไข และไม่สื่อสารกลับมาว่าจะดำเนินการอย่างไร
ช่องโหว่เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการรันแอพ Java บน App Engine โดยระบบ sandbox ของกูเกิลเองเปิดช่องให้ถูกโจมตีได้ ทาง Security Explorations ส่งข้อมูลให้กูเกิลแต่ไม่ได้รับการติดต่อกลับ เมื่อรอเป็นเวลา 3 สัปดาห์ บริษัทจึงตัดสินใจเปิดเผยช่องโหว่นี้ต่อสาธารณะ
หลังข่าวนี้ออกมา โฆษกของกูเกิลออกมาแถลงว่าบริษัทรับทราบปัญหานี้แล้ว และกำลังเร่งแก้ไขอยู่
ข่าวสั้นครับ สำหรับใครที่ใช้ App Engine ฝากแอพที่เป็น PHP ทางทีม App Engine จะอัพเกรดตัวรันไทม์ให้เป็นรุ่น 5.5 ภายใน 2 สัปดาห์นี้ครับ
เท่าที่ผมเช็คดู PHP 5.5 มีความเข้ากันได้กับรุ่นก่อนหน้าค่อนข้างสูงมาก หากเขียนแอพที่ใช้ได้บน 5.4 อยู่แล้วก็แทบไม่ต้องเปลี่ยนอะไรเลย แต่ถ้ายังต้องการใช้ 5.4 ต่อไป ก็สามารถยื่นแบบฟอร์มขอต่ออายุการใช้งานได้ครับ
ที่มา: จดหมายข่าว Google App Engine
Dear App Engine developer,
กูเกิลเปิดเครื่องมือ Google Cloud Security Scanner ที่สามารถสแกนเว็บหาช่องโหว่หลักคือ cross-site scripting (XSS) และ mixed content scripting ความพิเศษของเครื่องมือนี้คือมันสามารถสแกนได้แม้แต่เว็บที่ใช้จาวาสคริปต์อย่างหนัก
กระบวนการสแกน XSS จะส่งข้อมูลที่ยิงกลับไปยัง Chrome DevTools หากตัวสแกนสามารถโพสข้อความใดๆ ที่กระตุ้นให้ DevTools ทำงานได้ก็แสดงว่ามีช่องโหว่ XSS
ตัวสแกนอัตโนมัติเช่นนี้คงไม่ได้ช่วยกวาดล้างช่องโหว่ให้หมดไป แต่ช่องโหว่ง่ายๆ ที่รู้จักกันดีก็น่าจะช่วยแจ้งเตือนล่วงหน้าได้มาก
ใช้ได้เฉพาะ URL ที่เป็น App Engine เท่านั้น
ผ่านมาหลายเดือนหลังงาน Google I/O ที่ Google เองเคยบอกว่าจะปรับปรุง App Engine รองรับการรันแอพทุกภาษา ซึ่งรวมถึงภาษา Dart ที่ Google สร้างขึ้นมาเองด้วย มาตอนนี้เดือนพฤศจิกายนก็ได้เวลาที่นักพัฒนาแอพด้วย Dart จะสามารถใช้งาน App Engine ตามที่ Google เคยบอกไว้เสียที
บริการ App Engine สำหรับซอฟต์แวร์ภาษา Dart นี้ยังอยู่ในขั้นการทดสอบแบบเปิด ผู้ที่สนใจใช้งานศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
ในงาน Google I/O ช่วงการพูดถึงภาษา Dart ผู้บรรยายคือ Kevin Moore ระบุว่ากูเกิลกำลังทดสอบฟีเจอร์ BYO Runtime หรือ Bring Your Own Runtime เปิดให้นักพัฒนาสามารถใช้รันไทม์ของตัวเองได้
แนวทางนี้ทำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาภาษาอะไรก็ได้บน App Engine โดยยังคงปล่อยให้ทางกูเกิลจัดการขยายระบบอัตโนมัติให้อยู่ เรียกชื่อรวมว่า App Engine Hosting Environment
แอพมือถือรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จำเป็นต้องต่อเชื่อมกับเซิร์ฟเวอร์จึงจะใช้งานได้ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วการตั้งเซิร์ฟเวอร์เพื่อรองรับผู้ใช้แอพจำนวนมากๆ ด้วยตัวเองไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไรนัก นี่จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ให้บริการกลุ่มเมฆที่จับตลาด "คนทำแอพ" อีกทีหนึ่ง
ไมโครซอฟท์เป็นรายแรกๆ ที่เข้ามาจับตลาดนี้ด้วย Azure Mobile Services (Tutorial สอนการใช้งานฉบับ Blognone) ฝั่งของกูเกิลก็เปิดตัวฟีเจอร์แบบเดียวกันบ้างในชื่อ Mobile Backend Starter โดยเป็นส่วนหนึ่งของ App Engine และเบื้องต้นยังรองรับแค่ Android
กูเกิลประกาศในงาน Google I/O 2013 ว่าบริการ App Engine รองรับภาษา PHP แบบพรีวิว-จำกัดกลุ่มทดสอบ (ข่าวเก่า)
วันนี้กูเกิลปลดป้ายพรีวิวออก และเปิดให้ผู้ใช้ App Engine ทุกคนสามารถพัฒนาแอพบนกลุ่มเมฆด้วย PHP เรียบร้อยแล้ว โดยฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาจากรุ่นพรีวิวได้แก่ รองรับส่วนขยายยอดฮิตอย่าง mbstring/mcrypt, ปรับปรุงให้ PHP เขียน/อ่านไฟล์บน App Engine ได้ง่ายขึ้น, ออกปลั๊กอินให้ WordPress รันบน App Engine ได้ เป็นต้น
บริการสำคัญตัวหนึ่งของกูเกิลคือ App Engine ก่อนหน้านี้การพัฒนาจะต้องดาวน์โหลด SDK มาพัฒนาบนเครื่องก่อนจะอัพโหลดทั้งชุดขึ้นไปรันบน App Engine แต่ตอนนี้กูเกิลก็เปิดให้ทดสอบการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนเว็บแล้ว
การพัฒนาบนเว็บจะมีโครงการตัวอย่างให้ผู้ใช้สามารถทำสำเนาโครงการไปรัน หรือกระทั่งตัวอย่างบนเอกสารก็สามารถกดรัน หรือแก้ไขโค้ดได้เองทันที
ในงาน Google I/O ปีนี้ Google App Engine ก็มีการเพิ่มการรองรับ PHP เป็นอีกภาษาหนึ่งในการพัฒนา เพราะ 75 เปอร์เซ็นต์ของเว็บทั้งหมดนั้นใช้ PHP ตามสถิติของ Google ถึงขนาด Andi Gutmans CEO ของ Zend ยังแปลกใจ เพราะเขาเองยังได้ข้อมูลมาแค่ 39 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง
Java 6 จะหมดระยะสนับสนุนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ (ประกาศของออราเคิล) แต่ยังมีหน่วยงานอีกมากที่ยังอยู่กับ Java 6 และยังไม่ยอมอัพเกรดไปยัง Java 7
หนึ่งในองค์กรที่ยังใช้ Java 6 คือกูเกิล ซึ่งก็เริ่มขยับตัวบ้างแล้ว เมื่อสัปดาห์ก่อนกูเกิลออก App Engine 1.7.5 ที่ของใหม่คือการรองรับ Java 7 เป็นฟีเจอร์ทดสอบ (experimental) แล้ว
ฟีเจอร์อย่างอื่นได้แก่ รองรับ Google Cloud Endpoints สำหรับสร้างจุดเชื่อมต่อระหว่างแอพมือถือกับเอนจินที่สร้างบนกลุ่มเมฆ, รองรับเครื่องเสมือนแบบ High-Memory Instances และการแจ้งเตือน Mail Bounce Notifications