Nokia Solutions and Networks
หลายคนอาจสงสัยว่าโนเกียขายกิจการมือถือให้ไมโครซอฟท์แล้วไปทำอะไรต่อ คำตอบก็คือหันไปขาย "ของใหญ่" มูลค่าเป็นหลักเกือบพันล้านดอลลาร์แบบในข่าวนี้
Nokia Networks (ชื่อใหม่ของ NSN) ประกาศเซ็นสัญญาอุปกรณ์เครือข่ายให้ China Mobile โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลก สัญญานี้มีมูลค่า 970 ล้านดอลลาร์ โดย Nokia Networks จะลงไปทำระบบเครือข่าย 4G TD-LTE ส่วนที่ China Mobile จะขยายเพิ่มในปี 2014-2015
สำหรับคนที่อาจไม่คุ้นเคย TD-LTE หรือ LTE TDD เป็นมาตรฐานย่อยของเทคโนโลยี LTE ที่พัฒนาโดย China Mobile และบริษัทอุปกรณ์เครือข่ายบางราย เช่น Huawei/NSN ปัจจุบันนิยมใช้ในจีนและโอเปอเรเตอร์บางรายของอินเดีย
โนเกียประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/2014 ซึ่งเป็นไตรมาสแรกหลังจากขายธุรกิจมือถือและบริการให้ไมโครซอฟท์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผลคือกำไรเติบโตขึ้นกว่าไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว 20%
รายได้หลักของโนเกียยุคใหม่ยังมาจากหน่วยธุรกิจอุปกรณ์เครือข่าย NSN ซึ่งถือเป็น 90% ของรายได้ทั้งหมด (ส่วนที่เหลือมาจากหน่วยธุรกิจแผนที่ HERE และหน่วยธุรกิจวิจัย-สิทธิบัตร) สำหรับไตรมาสนี้ NSN มียอดขายลดลงจากปีก่อนด้วยเหตุผลด้านอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน (แต่มีกำไรเพิ่มขึ้น) และบริษัทตั้งเป้าว่าผลประกอบการรวมตลอดทั้งปี 2014 เพิ่มขึ้น
หลังจากที่โนเกียขายกิจการมือถือและบริการให้ไมโครซอฟท์เสร็จเรียบร้อย ก็ได้เวลาปรับโครงสร้างกิจการส่วนที่เหลือ โดยบอร์ดของโนเกียก็แต่งตั้ง Rajeev Suri ซีอีโอของ Nokia Solutions and Networks (NSN) ในฐานะบริษัทลูกที่ใหญ่ที่สุด เป็นซีอีโอของ Nokia Corporation ตามความคาดหมาย
Rajeev Suri จะขึ้นเป็นซีอีโอของโนเกียอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ ประวัติของเขาคือทำงานกับโนเกียมาตั้งแต่ปี 1995 และได้เป็นซีอีโอของ NSN ในปี 2009 (เขาจะยังควบตำแหน่งซีอีโอของ NSN ต่อไปด้วย)
Helsingin Sanomat หนังสือพิมพ์สัญชาติฟินแลนด์รายงานว่า มีความเป็นไปได้สูงที่โนเกียจะแต่งตั้ง Rajeev Suri ซีอีโอของ Nokia Solutions and Networks (NSN) เป็นซีอีโอคนถัดไปของโนเกียหลังดีลขายธุรกิจมือถือเสร็จสิ้น (ซึ่งคาดว่าดีลจะเสร็จสิ้นภายในเดือนนี้)
Suri เป็นชาวอินเดีย เขาอยู่เบื้องหลังการฟื้นฟูกลุ่มธุรกิจอุปกรณ์เครือข่าย NSN ตั้งแต่ปี 2009 ให้กลับมามีกำไรอีกครั้งหลังการปรับโครงสร้างและขายธุรกิจที่ไม่ทำกำไรออกไป
นิตยสาร Manager Magazin Online ของเยอรมนี รายงานข่าววงในว่าโนเกียสนใจซื้อกิจการบริษัทเครือข่าย Juniper Networks เพื่อนำมาผนวกกับกลุ่มธุรกิจ Nokia Solutions and Networks (NSN)
ตามข่าวบอกว่า Rajeev Suri ซีอีโอของ NSN เดินทางไปพบกับผู้บริหารของ Juniper ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วเพื่อหารือความเป็นไปได้นี้
การซื้อ Juniper จะช่วยให้ NSN เข้มแข็งขึ้นมากในตลาดสหรัฐ และทั้งสองบริษัทก็มีความร่วมมือในการพัฒนาอุปกรณ์เครือข่ายขนาดเล็กอยู่ก่อนแล้ว
Stephen Elop อดีตซีอีโอของโนเกียก็เคยทำงานเป็นซีโอโอของ Juniper ในช่วงปี 2007 ก่อนย้ายมาอยู่กับไมโครซอฟท์ อย่างไรก็ตามตอนนี้เขาไม่มีบทบาทในโนเกีย (ส่วนที่ไม่ได้ขายกิจการ) แล้ว
โนเกียเผยผลประกอบการในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ มีรายได้ 5.66 พันล้านยูโร ลดลง 22% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ถ้าหากดูรายได้รวมแล้วถือว่าโนเกียกลับมามีกำไรอีกรอบ ภายหลังจากที่มีกำไรเมื่อปลายปีที่แล้ว
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมที่น่าสนใจมีดังนี้ครับ
แผนการของ "โนเกียยุคใหม่" หลังขายธุรกิจมือถือ ประกาศไว้ชัดว่าอนาคตของโนเกียคือ อุปกรณ์เครือข่าย NSN, ระบบแผนที่ HERE และธุรกิจการขายสิทธิใช้งานสิทธิบัตร
เมื่อวานนี้ NSN จัดงานแถลงข่าวในประเทศไทยพอดี ผมไปร่วมงานด้วยจึงนำกลับมาเล่าให้ฟังครับว่า NSN ในฐานะ "อนาคตของโนเกีย" ด้านหนึ่งกำลังทำอะไรอยู่บ้าง
งานแถลงข่าวครั้งนี้นำโดยคุณฮาราลด์ ไพรซ์ (Harald Preiss) ซึ่งเข้ามารับตำแหน่งเป็นหัวหน้ากลุ่มธุรกิจเอเชียเหนือ รับผิดชอบตลาดประเทศไทย เวียดนาม บังกลาเทศ กัมพูชา ลาว ศรีลังกา มัลดีฟส์
Risto Siilasmaa ซีอีโอรักษาการของโนเกีย (เขาเป็นชาวฟินแลนด์ที่ก่อตั้งบริษัทความปลอดภัย F-Secure และขึ้นเป็นประธานบอร์ดโนเกียเมื่อปี 2012 ก่อนจะมาเป็นรักษาการณ์ซีอีโอแทน Elop) เผยชะตาชีวิตของ "โนเกียยุคใหม่" (เขาใช้คำว่า Nokia Reinvented) ที่ไร้ธุรกิจอุปกรณ์และบริการว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
Siilasmaa ยังยืนยันแนวทางเดิมตามที่โนเกียเคยแถลงไว้คือ 3 สายงานธุรกิจ ได้แก่
จากข่าวก่อนหน้านี้ที่โนเกียประกาศซื้อหุ้นของ Siemens คืนในธุรกิจ Nokia Siemens Networks (หรือ NSN) ล่าสุดโนเกียประกาศว่าตอนนี้โนเกียได้ซื้อหุ้นอีกครึ่งหนึ่งของ Siemens คืนเรียบร้อยแล้ว พร้อมเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Nokia Solutions and Networks (ตัวย่อเหมือนเดิมคือ NSN)
ด้านตำแหน่งผู้บริหาร อย่างเช่นซีอีโอ และประธานบอร์ดของ NSN จะยังอยู่ในตำแหน่งต่อไป เพียงแต่คณะผู้บริหารที่มาจาก Siemens ได้ลาออกไปแล้ว
ที่มา: โนเกีย
โนเกียประกาศขอซื้อหุ้นอีกครึ่งหนึ่งของ Siemens ในธุรกิจด้านเครือข่ายในนาม Nokia Siemens Networks มูลค่า 1,700 ล้านยูโรหรือราว 58,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ธุรกิจด้านเครือข่ายตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโนเกียเพียงบริษัทเดียว โดยโนเกียคาดว่า ดีลนี้จะสำเร็จภายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้
สำหรับธุรกิจ Nokia Siemens Networks ได้เริ่มกิจการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2007 ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มธุรกิจด้านเครือข่ายของโนเกียและ บริษัท Siemens และการควบรวมกิจการครั้งนี้จะไม่มีผลต่อซีอีโอของบริษัท Nokia Siemens Networks และสำนักงานใหญ่ยังคงอยู่ที่ Espoo ประเทศฟินแลนด์เช่นเดิม แต่ก็จะมีความสัมพันธ์แบบแนบแน่นกับเยอรมนีประเทศบ้านเกิดของ Siemens ด้วยครับ
เบื่อปัญหาความเร็วในการดาวน์โหลดมือถือตกเมื่อนั่งอยู่ในรถเร็ว ๆ หรือไม่? มีบ้านหรือที่ทำงานที่ตั้งอยู่จุดที่ห่างจากเสาสัญญาณมือถือเกินไป? Nokia Siemens ได้ออกมาเผยคุณสมบัติใหม่ของ HSPA+ Multiflow ที่จะทำให้โทรศัพท์สามารถเชื่อมต่อเข้ากับสองสถานีฐานได้พร้อม ๆ กัน
นอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาเหล่านี้แล้ว HSPA+ Multiflow สามารถเพิ่มความเร็วให้กับมือถือได้อีกสองเท่าเมื่อเทียบกับเครือข่าย HSPA+ แบบปกติ โดยทั้งหมดนี้ก็มาจากความสามารถในการเชื่อมต่อสองสถานีฐานได้พร้อม ๆ กันนั่นเอง
เป็นการตัดสินใจปรับโครงสร้างธุรกิจอีกครั้งของ Motorola เมื่อบริษัทประกาศว่าได้ทำการขายส่วนธุรกิจอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายให้กับ Nokia Siemens Networks คิดเป็นมูลค่า 1.2พันล้านดอลลาร์
Nokia Siemens ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนนี้คาดหวังว่าจะได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นจาก Motorola และทำให้บริษัทขยายส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยในปัจจุบันบริษัทมีคู่แข่งหลักคือ Ericsson และ Huawei การควบรวมนี้ทำให้กลุ่มลูกค้าเดิมของบริษัทอย่าง China Mobile หรือ Sprint Nextel มีความแข็งแกร่งเพิ่มมากขึ้น
หลังจากปิดข้อตกลงนี้ทาง Motorola จะพุ่งความสนใจไปยังธุรกิจโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายตามบ้านเป็นหลัก
บริษัทผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม Nortel ประกาศการขายกิจการส่วนการสื่อสารไร้สายให้กับคู่แข่ง Nokia Siemens Networks คิดเป็นมูลค่า 650 ล้านดอลลาร์ เนื่องจาก Nortel มีปัญหาทางการเงินจนต้องประกาศล้มละลาย เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
ส่วน Nokia Siemens Networks เป็นกิจการร่วมระหว่าง Nokia และ Siemens เพื่อผลิตอุปกรณ์ด้านโทรคมนาคม ปัจจุบันตลาดนี้มีผู้เล่นจำนวนน้อยรายลงเรื่อยๆ รายใหญ่ได้แก่ Ericsson ซึ่งเป็นเจ้าตลาด, Huawei และ Alcatel-Lucent เป็นต้น
Nortel เป็นบริษัทอเมริกาที่เอาดีทาง CDMA และ LTE (ซึ่งไม่ค่อยมีใครใช้มากนัก) การซื้อกิจการบางส่วนของ Nortel ในครั้งนี้จะช่วยให้ Nokia Siemens เจาะตลาดอเมริกาได้มากขึ้น
รอยเตอร์ รายงานว่า DTAC ได้ตกลงเลือกใช้อุปกรณ์โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G จาก NSN (Nokia Siemens Networks) และ หัวเหว่ย เทคโนโลยี โดยจะทำการอัพเกรดโครงข่ายเพื่อให้บริการ 3G
ก่อนหน้านี้ DTAC เคยประกาศว่าอาจจำเป็นต้องชะลอการลงทุนในโครงข่าย 3G ไปก่อนจนกว่าจะมีความแน่ใจว่าตลาดมีความต้องการใช้บริการสื่อสารข้อมูลไร้สายมากเพียงพอ อย่างไรก็ตามล่าสุด นาย Tore Johnsen ซึ่งเป็น CEO คนใหม่ของ DTAC ตัดสินใจที่จะลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาทกับการสร้างโครงข่าย 3G ในปี 2552 แล้ว โดยกล่าวด้วยว่า บริษัทยังไม่จำเป็นต้องรีบเปิดให้บริการ 3G เท่าใดนัก เพื่อให้แน่ใจว่าตลาดสื่อสารไร้สายของไทยมีความพร้อมที่จะใช้บริการของ 3G โดยเฉพาะในเรื่องของบริการสื่อสารข้อมูลไร้สาย
หลายๆ คนในบ้านเราคงใช้งานอินเทอร์เน็ตนอกบ้านผ่านทาง EDGE ผ่านทางผู้ให้บริการ GSM ที่มีให้เลือกในบ้านเรากันเป็นประจำ ปัญหาหลักของ EDGE ในตอนนี้คือความเร็วที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในบ้าน แต่ตอนนี้เองทาง Nokia Siemens Network ก็ได้เสนอการอัพเกรดซอฟต์แวร์ให้กับเครือข่าย EDGE เพื่อให้สามารถให้บริการได้ที่ความเร็ว 592 kbps หรือเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัวจากในปัจจุบัน
พร้อมกันนี้ยังเตรียมการอัพเกรดเป็นเครือข่าย EDGE 2 ที่รองรับความเร็ว 1.2 Mbps สำหรับการดาวน์โหลดและ 473 kbps
เริ่มขายซอฟต์แวร์ในไตรมาสสามของปีนี้ ส่วน EGPRS 2 นั้นยังไม่ระบุเวลาเปิดตลาดแต่อย่างใด