มาตรฐานล็อกหน่วยงานออกใบรับรองสำหรับเว็บ หรือ HPKP (HTTP Public Key Pinning) ถูกเสนอโดยกูเกิลเองตั้งแต่ปี 2015 จนได้เข้าเป็นมาตรฐาน RFC7469 แต่ตอนนี้กูเกิลก็ประกาศเลิกรองรับแล้ว โดยจะมีผลใน Chrome 67 ที่จะออกช่วงกลางปี 2018
กูเกิลระบุว่าจนทุกวันนี้มีเว็บไซต์ใช้ HPKP เพียงจำนวนน้อย โดย 1 ล้านเว็บแรกของ Alexa มีใช้ HPKP เพียง 375 เว็บ และมี 76 เว็บใช้ในโหมด report-only ตอนนี้เบราว์เซอร์หลักที่รองรับ HPKP มีเพียงไฟร์ฟอกซ์, โอเปร่า (ที่ใช้ Blink ด้วย), และโครม
ข่าวสำคัญเมื่อวานนี้คือ Microsoft เปิดตัว Edge บน iOS และ Android แต่ถ้าดูในรายละเอียดแล้ว มันคือการสร้างเบราว์เซอร์ครอบบนเอนจินตัวอื่นที่ไม่ใช่ EdgeHTML ของไมโครซอฟท์เอง (ไม่ได้เป็นการพอร์ต EdgeHTML มาลงทั้งสอง OS)
ฝั่ง iOS ค่อนข้างชัดเจนเพราะเป็นข้อกำหนดของแอปเปิลอยู่แล้ว ทำให้ Edge ต้องอิงเอนจิน WebKit ผ่าน WKWebView อีกที ในแง่การเรนเดอร์เว็บเพจจึงได้ผลเหมือนกับ Safari เวอร์ชันที่อยู่บน iOS ทุกประการ
หลังกูเกิลเปิดตัวเอนจิน Blink ของตัวเองแยกมาจาก WebKit ของแอปเปิล ช่วงหลังเราเริ่มเห็นหน่วยงานหลายแห่งเปลี่ยนมาใช้เอนจิน Blink กันมากขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ Opera ที่ถึงขั้นเลิกใช้เอนจิน Presto เดิมมาเป็น Blink แทน
ซอฟต์แวร์ตัวล่าสุดที่เปลี่ยนจาก WebKit มาเป็น Blink คือ Qt Framework โดยเวอร์ชันล่าสุด 5.6 ถอดโมดูล Qt WebKit ออกแล้ว หลังพัฒนาโมดูลใหม่ Qt WebEngine ที่ใช้ Blink (อิงจาก Chromium 45) มาใช้ทดแทนทั้งหมดแล้ว
ความน่าสนใจของข่าวนี้คือโครงการ Qt/KDE เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาเอนจิน KHTML ที่แอปเปิลนำไปพัฒนาต่อเป็น WebKit (และกูเกิลแยกมาทำ Blink) ซึ่ง Qt/KDE เองก็เปลี่ยนจาก KHTML มาเป็น WebKit และ Blink ในท้ายที่สุด
เว็บไซต์ Tizen Indonesia เผยแพร่ข้อมูลที่ยังไม่ยืนยันว่าซัมซุงเตรียมทำเว็บเบราว์เซอร์ของตัวเองชื่อ Samsung Browser โดยจะพัฒนาบนเอนจิน Blink ของ Chrome และเริ่มใช้งานในปี 2015 นี้
เป้าหมายของ Samsung Browser จะกลายเป็นเว็บเบราว์เซอร์ตัวเดียวของซัมซุง ไม่ว่าจะเป็นบนมือถือ แท็บเล็ต หรือสมาร์ททีวี ฟีเจอร์ต่างๆ ก็ครบครันคือ Reader Mode, Video Casting, รองรับการเชื่อมต่อ Quick Access จากมือถือซัมซุง, รองรับปากกา S Pen
เดิมทีซัมซุงมีเบราว์เซอร์ของตัวเองบน Android โดยนำเบราว์เซอร์ของระบบมาพัฒนาต่อ ส่วนบน Tizen นั้นพัฒนาขึ้นจากเอนจิน WebKit ของแอปเปิล
องค์กรมาตรฐานเว็บ W3C ออกมาตรฐาน Pointer Events อย่างเป็นทางการ (ปรับสถานะเป็น W3C Recommendation จากเดิมที่เป็นฉบับร่าง) อย่างไรก็ตาม เส้นทางเบื้องหน้าของมาตรฐานนี้ก็ไม่ง่ายเพราะยังไม่มีวี่แววว่า Safari และ Chrome จะรองรับ
วงการเว็บยุคจอสัมผัสเริ่มใช้งาน Touch Events ที่เริ่มโดย Safari บน iPhone แต่ข้อจำกัดของมันคือถูกออกแบบมารองรับเฉพาะนิ้วสัมผัสเท่านั้น ภายหลังไมโครซอฟท์ได้สร้างมาตรฐาน Pointer Events ที่ครอบคลุมการชี้ตำแหน่งด้วยปากกาและเมาส์เพิ่มมา และเสนอมาตรฐานนี้ไปยัง W3C
ทีม Chromium จากกูเกิลเผยข้อมูลล่าสุดของเอนจิน Blink ที่มาแทน WebKit โดยมีบริษัทและหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมพัฒนาเอนจิน Blink เป็นจำนวนมาก บริษัทที่มีบทบาทนอกเหนือจากกูเกิลได้แก่ Opera, Samsung, LG, Adobe, Intel, Yandex, ARM, Amazon, Dropbox (ที่สำคัญมี Microsoft ด้วย!)
ในรอบปีที่ผ่านมา Blink มีฟีเจอร์ใหม่เพิ่มเข้ามามากมาย เช่น Web Animations, HTML Imports, Device API, GPU Acceleration, Service Worker, DirectWrite
ส่วนในอนาคตกูเกิลจะเร่งพัฒนา Blink ใน 3 ประเด็นใหญ่คือประสิทธิภาพ ปรับปรุงให้การรันเว็บแอพบนอุปกรณ์พกพาเป็นไปได้ในโลกความเป็นจริง, ปรับปรุง API ให้เข้าถึงฮาร์ดแวร์ได้มากขึ้น และปรับปรุงด้านเครื่องมือต่างๆ ให้นักพัฒนาทำงานได้ง่ายขึ้น
ปัญหามาตรฐานเปิดสำหรับการรับอินพุตบนหน้าจอสัมผัสเป็นปัญหามายาวนานจนกระทั่งไมโครซอฟท์เคยทำแพตช์ให้ WebKit เพื่อให้รองรับมาตรฐานเปิด Pointer Events ตั้งแต่ปี 2012 แต่ล่าสุดมาตรฐาน Pointer Events ก็ดูจะพ่ายแพ้ต่อ Touch Events API ของแอปเปิลแล้วเมื่อ Blink ประกาศไม่รองรับ Pointer Events
Rick Byers นักพัฒนา Chrome ของกูเกิลระบุเหตุผลของการไม่รองรับมาตรฐาน Pointer Events สามข้อ ได้แก่ 1) ไม่ว่าอย่างไรเว็บที่ใช้ Touch Events เพื่อรองรับ WebKit ก็มีจำนวนมาก 2) ประสิทธิภาพของ Touch Events ดีกว่า Pointer Events มาก 3) Pointer Events ไม่สามารถดัก event จากผู้ใช้ได้ระหว่างเลื่อนหน้าจอ ขณะที่นักพัฒนาต้องการความสามารถนี้
ฟีเจอร์อย่างหนึ่งของ CSS3 ที่นักออกแบบเว็บควรให้ความสนใจคือ CSS3 Regions ที่ช่วยให้เว็บมีหน้าตาคล้ายสิ่งพิมพ์มากขึ้น โดยนักออกแบบสามารถกำหนด "พื้นที่" ในการแสดงผลข้อความที่ต่อเนื่องกันได้ (เช่น กำหนดพื้นที่เป็นรูปทรงต่างๆ ที่ไม่ใช่สี่เหลี่ยม หรือ กำหนดพื้นที่ที่ไม่ต่อเนื่องกัน แต่ให้ข้อความไหลต่อกัน ภาพตัวอย่างท้ายข่าว)
CSS3 Regions เป็นข้อเสนอของค่าย Adobe เพื่อเป็นมาตรฐานเว็บในอนาคต อย่างไรก็ตาม เบราว์เซอร์ที่รองรับ CSS3 Regions ยังมีเพียงเบราว์เซอร์สาย WebKit เท่านั้น (IE กับ Firefox ยังไม่สนใจ)
Eric Seidel วิศวกรของกูเกิลออกมาโพสในกลุ่ม Chromium ระบุแผนแม่บทของการพัฒนาเอนจิน Blink ในปี 2014 นี้ว่าจะมีการพัฒนาทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและฟีเจอร์
ในแง่ของประสิทธิภาพซึ่งจะเป็นแผนหลักของการพัฒนา โดยเป็นการปรับปรุงในสิ่งที่วัดได้ ได้แก่ ความลื่นของการใช้งาน วัดจากภาพเคลื่อนไหวที่ต้องได้รับถึง 60 เฟรมต่อวินาที การตอบสนองต่ออินพุต และเวลาโหลดครั้งแรก จากนั้นจึงดูประสิทธิภาพการเบนซ์มาร์ค ลดการใช้หน่วยความจำ และปรับให้การใช้พลังงานต่ำที่สุด
ส่วนของฟีเจอร์จะรองรับการทำเว็บเป็นแอพพลิเคชั่นให้ดีขึ้น, รองรับ Push Notifications, พัฒนา AppCache Offline สุดท้ายคือการพัฒนาเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาโดยเฉพาะเครื่องมือสำหรับพัฒนาเว็บบนอุปกรณ์เคลื่อนที่
กูเกิลออก Chrome 28 Stable มีของใหม่ ดังนี้
ตอนนี้ยังมีแค่เวอร์ชันบน Linux รองรับตั้งแต่ Ubuntu 12.04, Debian 7, OpenSuSE 12.2, Fedora Linux 17 หรือในเวอร์ชันที่สูงกว่าขึ้นไป
เป็นเวลาสักพักใหญ่ๆ ที่ Opera ประกาศว่าจะเลิกใช้เอ็นจิน Presto ของตัวเอง และหันไปพัฒนาโดยใช้ฐานจาก Chromium แทน และเมื่อไม่นานมานี้ก็เพิ่งจะปล่อย Opera 14 for Android เบราเซอร์รุ่นมือถือที่มีฐานมาจาก Chromium ไป จนถึงวันนี้ ก็ได้ปล่อย Opera Next 15 เบราเซอร์เดสก์ท็อปที่ใช้ฐานจาก Chromium มาให้ลองกันแล้วครับ
Opera Next 15 พัฒนาขึ้นมาโดยใช้ Chromium 28 เป็นฐาน นั่นหมายความว่า Opera Next 15 จะได้เอนจินแสดงผล Blink มาด้วยนั่นเอง โดยใน Opera Next 15 ตัวแรกนี้ ยังพอร์ตเอาฟีเจอร์เก่าๆ กลับมาได้ไม่ครบ หรือบางอันก็โดนถอดออกไปเสียอย่างนั้น ดังนั้นในฐานะสาวก Opera จึงขอเขียนรีวิวมันสักหน่อยแล้วกัน
หลังจากที่ประกาศว่าจะหันไปใช้ WebKit แทน Presto เดิม และประกาศว่าจะร่วมหัวจมท้ายไปกับ Google ในเอ็นจิน Blink วันนี้ Opera ได้ปล่อย Opera 15 รุ่นพรีวิวมาให้ทดสอบกันครับ
Opera Next 15 พัฒนาโดยใช้ฐานจาก Chrome 28 (Opera Next เป็นเบราเซอร์รุ่นพรีวิวของ Opera) นั่นทำให้มันมาพร้อมกับเอ็นจินแสดงผลตัวใหม่ของ Google อย่าง Blink ด้วยนั่นเอง
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคร่าวๆ คือ
ข่าวนี้ต่อจาก ไมโครซอฟท์ส่งแพตซ์เข้า WebKit ทำให้ Chrome รองรับจอสัมผัส ย้อนกลับไปอ่านรายละเอียดในข่าวเก่ากันเองนะครับ
หลังจากกูเกิลแยกโครงการ Blink ออกจาก WebKit ไม่นาน ล่าสุดนักพัฒนาของไมโครซอฟท์ก็ประกาศพัฒนาแพตช์สำหรับร่างมาตรฐาน Pointer Events (ของ W3C ที่ผลักดันโดยไมโครซอฟท์) เข้าไปยังโครงการ Blink ด้วย
Pointer Events ไม่ได้รองรับเฉพาะการสัมผัสด้วยนิ้ว แต่ยังรวมถึงเมาส์และปากกาด้วย สถานะตอนนี้เป็นร่างฉบับก่อนออกมาตรฐานหรือ Candidate Recommendation (CR) ของ W3C ซึ่งไมโครซอฟท์ระบุว่าได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก Opera, Mozilla, Adobe, Nokia, jQuery รวมไปถึงกูเกิลด้วย
เอนจินเรนเดอร์เว็บ Blink ที่กูเกิลแยกออกมาจาก WebKit เริ่มเดินหน้าปรับโค้ดให้ลดสิ่งที่ต้องซัพพอร์ตลงอย่างรวดเร็ว โดยช่วงแรกโครงการ Blink ถอดการรองรับระบบคอมไพล์ไป 7 ระบบ และลบไฟล์ไป 7,000 ไฟล์
ฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่เริ่มถูกทดลองใน Blink แล้วได้แก่ Oilpan ที่เก็บ DOM ใน heap ที่มีการจัดการหน่วยความจำที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือ Lazy block layout ระบบเรนเดอร์ใหม่ที่เรนเดอร์เฉพาะส่วนที่มองเห็น ทำให้เรนเดอร์หน้าเว็บได้เร็วขึ้นนับร้อยเท่าตัวในบางกรณี
แม้จะมีฟีเจอร์ใหม่ๆ เข้ามามาก แต่ทีม Chrome ก็ระบุตั้งแต่แรกว่าฟีเจอร์เหล่านี้จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่เข้าเป็นฟีเจอร์ของ Chrome จริงๆ แต่ระหว่างนี้เราคงเห็นฟีเจอร์แปลกๆ ที่ต้องเปิด มาทดลองใช้งานเองมากขึ้นเรื่อยๆ
ภายหลังจากที่กูเกิลเปิดตัวเอนจิน Blink แต่ชื่อดันไปตรงกับแอพ BLINK ของทางไมโครซอฟท์ ปัญหาเลยอยู่ที่ว่าเครื่องหมายการค้านี้จะเป็นของใคร ทว่าหลังจากนั้นไม่นานไมโครซอฟท์ก็จัดการยื่นจดเครื่องหมายการค้า Blink เป็นที่เรียบร้อยแล้วในเวลาไม่ถึงสัปดาห์หลังจากที่กูเกิลเปิดตัวเอนจินนี้
ต้องมาดูกันว่าไมโครซอฟท์จะนำเครื่องหมายการค้านี้ไปฟ้องกูเกิลหรือไม่
ที่มา: The Next Web
ต่อจากข่าว Google เปิดตัว Blink เอนจินแสดงผลหน้าเว็บที่จะนำมาใช้แทน WebKit ที่ทำให้โลกของ WebKit แยกออกเป็นสองสาย (และ Opera ประกาศเข้าร่วมกับ Blink แล้ว)
ล่าสุดทาง Adobe เป็นอีกบริษัทที่ประกาศให้การสนับสนุน Blink ด้วย อย่างไรก็ตาม Adobe ยังยืนยันว่าสนับสนุนเอนจินเบราว์เซอร์ตัวอื่นๆ ทั้ง WebKit และ Gecko ด้วยเช่นกัน
Adobe ให้เหตุผลที่สนับสนุน Blink ว่าเครื่องมือตระกูล Edge ของตัวเองใช้ Chromium Embedded Framework (CEF) เป็นฐานอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อ Chromium แยกมาทำ Blink ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่สนับสนุนต่อไป
หลังจาก กูเกิลเปิดตัว Blink เอนจินแสดงผลหน้าเว็บแทน WebKit ก็ได้เกิดประเด็นต่าง ๆ มากมาย ทางฝ่ายนักพัฒนา Chrome/Chromium ซึ่งมีทั้ง Paul Irish ตัวแทนของนักพัฒนา, Alex Komoroske หัวหน้าฝ่าย Chrome Web Platform รวมทั้ง Darin Fisher และ Eric Seidel หัวหน้าทีมวิศวกรพัฒนา Blink รวมทีมกันมาอธิบายให้ฟังกัน
พวกเขาบอกว่า Chrome ทุกแพลตฟอร์ม จะนำ Blink มาใช้เป็นเอนจินแสดงผลหลักภายในเวอร์ชันที่ 28 นี้ (หรืออีกประมาณ 10 สัปดาห์) ยกเว้น iOS โดย Chrome Canary ที่เปิดให้ทดสอบตอนนี้ก็ได้ใช้เอนจินแสดงผล Blink เป็นที่เรียบร้อยแล้ว (แต่ The Next Web ตรวจสอบแล้ว ตัว Chrome ยังบอกว่าเป็น WebKit อยู่)
เป็นอีกข่าวที่อาจจะสะเทือนใจนักพัฒนาเว็บไซต์หน่อยนะครับ Google เปิดตัว Blink เอนจินแสดงผลหน้าเว็บที่จะนำมาใช้แทน WebKit ในอนาคต โดย Google ให้เหตุผลว่า Chromium นั้นมีการทำงานแบบมัลติโพรเซสที่แตกต่างจากเบราว์เซอร์อื่นๆ ที่ใช้ WebKit เป็นเอนจินแสดงผลมาก อีกทั้งยังต้องซัพพอร์ตซีพียูหลากหลายสถาปัตยกรรม ทำให้โค้ดของทั้ง WebKit และ Chromium เองซับซ้อนมากขึ้น และจะทำให้การพัฒนานวัตกรรมโดยรวมเป็นไปได้ช้าลง
โดยในระยะแรก Blink จะเป็นการนำโค้ดของ WebKit มาปรับปรุงสถาปัตยกรรมภายในและความเรียบง่ายของโค้ด โดย Google คาดว่าจะสามารถลบโค้ดที่ไม่ใช้ออกไปได้กว่า 4.5 ล้านบรรทัด