Joomla! ออกอัพเดตเวอร์ชั่น 3.6.5 แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยหลังจากออกเวอร์ชั่น 3.6.4 ไปเมื่อสองเดือนก่อน รอบนี้ช่องโหว่ระดับสูงทำให้สมาชิกในระบบสามารถแก้ไขสิทธิ์ของตัวเองเพื่อยึดเว็บได้
ช่องโหว่นี้กระทบ Joomla! ตั้งแต่เวอร์ชั่น 1.6.0 เป็นต้นมา เว็บจำนวนมากน่าจะได้รับผลกระทบอยู่ เว็บที่เปิดให้คนทั่วไปเป็นสมาชิกได้ควรเร่งอัพเดตโดยเร็ว
นอกจากช่องโหว่ระดับสูงนี้แล้ว การอัพเดตครั้งนี้ยังแก้ช่องโหว่ระดับต่ำอีกสองช่อง ที่เปิดทางให้มีผู้ใช้อัพโหลดไฟล์ PHP ได้ และเปิดทางให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าดูเนื้อหาบางหน้าสามารถเข้าดูได้
Joomla! ออกแพตช์ล่าสุดเมื่อสามทุ่มที่ผ่านมาแก้ไขช่องโหว่ระดับวิกฤติ ทำให้แฮกเกอร์สามารถเข้าควบบคุมเว็บไซต์ได้แม้เว็บไม่ได้เปิดรับสมัครสมาชิกเลยก็ตามที ตอนนี้ทุกคนควรอัพเดตเป็นรุ่น 3.6.4
แพตช์ครั้งนี้ประกอบด้วยช่องโหว่ CVE-2016-8870 ที่ทำให้แฮกเกอร์สามารถสร้างผู้ใช้ใหม่ในเว็บได้แม้จะปิดการลงทะเบียนผู้ใช้ก็ตามที และ CVE-2016-8869 ทำให้แฮกเกอร์สามารถลงทะเบียนผู้ใช้ด้วยสิทธิ์ระดับสูงได้
ช่องโหว่เปิดให้แฮกเกอร์ส่งโค้ดเข้าไปรันในเซิร์ฟเวอร์ของ Joomla! รอบล่าสุดร้ายแรงเป็นพิเศษเพราะแฮกเกอร์โจมตีก่อนจะมีแพตช์หลายวัน ตอนนี้ช่องโหว่เปิดเผยต่อสาธารณะมาหลายวันแล้วทาง Symantec ก็ออกมารายงานว่าปริมาณการโจมตียังคงสูง
ปริมาณการโจมตีที่ Symantec ตรวจพบแต่ละวันเฉลี่ยสูงกว่า 16,000 ครั้ง
รายงานนี้ตรงกับ รายงานแรกของ Securi ที่เตือนตั้งแต่ครั้งแรกว่าเซิร์ฟเวอร์ล่อทั้งหมดถูกโจมตี แสดงว่าการโจมตีเป็นวงกว้างไปแล้ว
ที่มา - Symantec
Joomla! รายงานช่องโหว่ remote code execution จากการตรวจสอบข้อมูล session ก่อนเซฟลงฐานข้อมูลไม่ดีพอ ทำให้แฮกเกอร์สามารถส่งโค้ดเข้ามารันได้ และปัญหาใหญ่คือช่องโหว่นี้ถูกโจมตีเป็นวงกว้างแล้วตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา
Securi รายงานพบการโจมตีครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา และจนตอนนี้เกือบทุกเว็บไซต์และเว็บล่อที่บริษัทวางไว้กำลังถูกโจมตีช่องโหว่นี้ทั้งหมด ทำให้อนุมานได้ว่าตอนนี้แฮกเกอร์กำลังโจมตีเป็นวงกว้าง ถ้าใครยังใช้รุ่นที่มีช่องโหว่อยู่ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อในไม่ช้า
ทางแก้ตอนนี้คือทุกคนควรอัพเดตไปใช้ Joomla! 3.4.6 ทันที
ทีมงานจูมล่า ประกาศปล่อย Joomla! 2.5.28 โดยครั้งนี้เป็นเวอร์ชันปรับปรุงของซีรีส์ Joomla! 2.5 และเป็นรุ่นที่กำหนดไว้ให้เป็นรุ่นสุดท้ายของซีรีส์ โดยการสนับสนุนสำหรับ Joomla! 2.5 จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2014 นี้
สิ้นสุดการสนับสนุนหมายความว่ายังไง?
สิ้นสุดการสนับสนุนนั้นหมายถึง เมื่อมีข้อผิดพลาดในตัว Joomla! 2.5 ทีมงานจะไม่ทำการแก้ไข ปรับปรุง ข้อผิดพลาด หรือแก้ไขปรับปรุงด้านความปลอดภัยที่เจอหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2014 อีกต่อไป แต่ยังสามารถใช้ Joomla! 2.5 ต่อไปได้ ทั้งนี้แนะนำให้ ไมเกรทไปเป็น Joomla 3 รุ่นล่าสุด ในซีรีส์ 3.x จะดีกว่า
ผู้ให้บริการโฮสติ้งขนาดใหญ่ของโลกหลายราย ให้ข้อมูลว่าพบความพยายามเจาะระบบ CMS ที่เป็น WordPress และ Joomla! (ส่วนใหญ่เป็น WordPress) ครั้งใหญ่
รูปแบบการโจมตีครั้งนี้ไม่ซับซ้อน โดยเป็นการคาดเดารหัสผ่านแอดมินของ WordPress/Joomla! ด้วยรหัสผ่านที่พบบ่อย (dictionary attack) เช่น 123456, password, 1234, qwerty เพื่อหวังฟลุคจะเข้าบัญชีแอดมินของเว็บไซต์ต่างๆ ได้นั่นเอง
พฤติกรรมของการโจมตีใช้เวลาสั้นๆ ต่อหนึ่งเว็บไซต์แต่หว่านเป็นวงกว้างแทน ส่วนจำนวนเครื่อง botnet ที่ใช้เป็นฐานโจมตีมีราวๆ 100,000 เครื่อง
เจ้าของเว็บที่ใช้ CMS เหล่านี้สามารถป้องกันตัวโดยการเปลี่ยนชื่อผู้ดูแลระบบจาก admin เป็นชื่ออื่นๆ ที่คาดเดาได้ยาก และตั้งรหัสผ่านที่แข็งแรง ไม่ใช่คำพื้นฐานที่พบบ่อยครับ
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของรัฐบาลไทยหรือ thaigov.go.th ซึ่งมีชื่อเสีย(ง)มานานในเรื่องหน้าตาที่ล้าสมัย การตอบสนองที่ล่าช้า และการหาข้อมูลที่ยากลำบาก ถูกเปลี่ยนใหม่หมดทั้งเว็บแล้ว
เว็บไซต์โฉมใหม่ถูกปรับแต่งให้ทันสมัยขึ้น มีข้อมูลอัพเดตทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และใช้งานง่ายขึ้นมาก ผมลองดูแล้วข้างในทำด้วย Joomla! 1.5 แต่ยังไม่แน่ใจว่าทำโดยทีมไหนนะครับ (ใครมีข้อมูลโปรดแจ้ง จะขอสัมภาษณ์)
นี่เป็นสัญญาณที่ดีอย่างหนึ่งว่าเว็บไซต์หน่วยงานราชการของไทย (โดยเฉพาะเว็บสำคัญอย่างเว็บไซต์ของรัฐบาลเอง) ปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นมากครับ
Joomla! 1.6 ซึ่งจะออกในวันที่ 10 มกราคม 54 นี้ ได้ออกแบบหลายจุดใหม่เพื่อให้ทำเว็บได้ดีขึ้นผู้ใช้งานจะได้พบกับประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้น
ความสามารถใหม่ที่กล่าวถึงคือ ระบบการจัดการสิทธิการเข้าถึงข้อมูล, ใช้ XHTML ที่ถูกต้องตามมาตรฐาน, สามารถอัพเดตจูมล่าหรือส่วนเสริมอื่นๆ ได้ในคลิกเดียว และระบบรองรับเว็บไซต์หลายภาษา
ความสามารถหลักของ Joomla! 1.6
รางวัล CMS Award ปี 2010 โดยสำนักพิมพ์ Packt ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับ CMS รายใหญ่ที่สุดในโลก ประกาศแล้วดังนี้
Open Source CMS รางวัล CMS ยอดเยี่ยมหน้าใหม่
Hall of Fame CMS รางวัล CMS ยอดเยี่ยมสูงสุด
Most Promising Open Source Project รางวัล CMS รุ่นใหม่ มีแววอนาคตไกล (เปิดตัวไม่เกิน 2 ปีที่ผ่านมา)
Open Source E-Commerce Applications รางวัลสำหรับระบบร้านค้าออนไลน์ยอดเยี่ยม
ไมโครซอฟท์ร่วมมือกับโครงการ Joomla! เซ็นสัญญา Joomla! Contributor Agreement ซึ่งหมายถึงว่านักพัฒนาของไมโครซอฟท์สามารถใช้เวลางาน เขียนโค้ดที่เป็น GPL ส่งเข้า Joomla! ได้
ทาง Joomla! เองก็บอกว่าตอนนี้ใน Joomla! 1.6 มีโค้ดที่ส่งเข้ามาจากไมโครซอฟท์รวมอยู่ด้วยแล้ว คือส่วนของ WinCache หรือการทำแคชบนวินโดวส์
ไมโครซอฟท์ยังพัฒนา CMS แบบโอเพนซอร์สของตัวเองอีกตัว ใช้ชื่อว่า "Orchard"
การนำไปใช้งาน
บล็อก
การจัดการงานเอกสาร
E-Commerce
Forum
ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และการดูแลรักษาระบบ
Caching - สำหรับเก็บหน้าเว็บที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก
ทำหน้าเว็บแบบคงตัว - ไว้สำหรับหน้าที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น about
Permission
การจัดทำเว็บไซต์ทั่วไป
การติดตั้ง
การเรียนรู้ในการใช้งาน
เวลาผ่านไป โลกของ CMS ก็เปลี่ยนตาม หลังจากเขียนเกี่ยวกับหัวข้อนี้ครั้งแรกในปี 2007 ซึ่งตอนนั้นยังเป็นโลกของ Mambo และ Joomla! กาลเวลาผ่านไป 3 ปี Mambo ตายไปและปัจจุบันกลายเป็นโลกของ Joomla!, Drupal และ Wordpress ซึ่งทั้ง 3 ต่างได้รับรางวัล Best CMS Award ของสำนักพิมพ์ Packt แต่แน่ล่ะเมื่อมีตัวเลือกมากขึ้น สำหรับมือใหม่ก็คงยากในการตัดสินใจเลือกใช้ (มือเก่าคงไม่เปลี่ยนง่าย ๆ ด้วยหลายเหตุผล เช่น เคยมือ ง่ายในการดูแลรักษา)
และตัวเลือกที่นำมาเปรียบเทียบในบทความนี้ แน่นอน ต้องตามใจผู้เขียน ดังนั้นผมจึงขอนำเฉพาะ CMS ยอดนิยมมาเปรียบเทียบ Joomla!, Drupal, Wordpress และขอเพิ่ม TYPO3 อีก 1 ตัวเช่นเดิม ส่วน CMS อื่นที่พอเป็นที่นิยมในไทยก็ขอกล่าวคร่าว ๆ คือ
เว็บไซต์ PlayingWithWire ได้เปรียบเทียบซอฟต์แวร์ CMS สองตัวคือ Joomla! กับ WordPress ในแง่ usability อย่างละเอียด บทสรุปก็คือถึงแม้ว่า WordPress จะมีฟีเจอร์น้อยกว่า Joomla! แต่กลับมี usability ดีกว่า Joomla! มาก
I will argue that Joomla! is an example of a poorly managed open source project and that WordPress is a very successfully managed one.
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนได้กล่าวว่า Joomla! 1.5 นั้นเป็นทิศทางที่ถูกต้องที่โครงการ Joomla! กำลังมุ่งไปเพื่อ usability ที่ดีขึ้น และ Joomla! ก็สามารถทำงานซับซ้อนหลายอย่างๆ ที่ WordPress ทำได้ยาก เช่น eCommerce เป็นต้น
เวบไซต์อย่างเป็นทางการของ Joomla.org โดนมือดีแฮ็ค วันนี้และขณะนี้(ในระหว่างกำลังเขียนข่าว) โดยมีข้อความว่า
H A C K E D ! joomla.org owned! Red Eye CREW owned joomla.org =) m4V3RiCk - W4n73d - _dDoS_ by m4v3rick "That´s all Folks!!"
หลังที่ผมเขียน ศึกจ้าว CMS เวลาผ่านไป CMS แต่ละตัวก็มีการปรับตัวเพื่อสู้ศึกในโลกของ CMS ที่มีการแข่งขันสูง ผมขอเสนอแนวทางการพัฒนาของ 4 CMS หลัก (เหตุผลที่เลือก 4 ตัวนี้กรุณาอ่านบทความตามลิงก์บทความเก่า)
ทีมจูมล่า ได้ประกาศ ออกรุ่นใหม่ของจูมล่า 1.5 วันนี้ โดยเป็น Joomla! 1.5.3 [Vahi]. เวอร์ชันนี้ ได้ออกมาตามตารางเวลาที่ได้กำหนดไว้ โดยได้แก้ไขข้อผิดพลาด และทดสอบความถูกต้องต่างๆ ที่ได้มีการแจ้งไว้ ในเวอร์ชัน 1.5.2
Release Notes
* แก้ปัญหาเรื่อง การinputข้อมูลลงฐานข้อมูลใน โหมด Legacy
* แก้ไขปัญหาเรื่องที่มีบัคของภาษา xHTML
* อัพเดตหน้าต่างความช่วยเหลือ
* แก้ไขปัญหาการสร้าง PDF กับ PHP 4
* แก้ไข css ภาษาที่ต้องอ่านจากขวาไปซ้าย
ที่มา: joomla.org
ทีมจูมล่าลายไทย และ เว็บไซต์ JoomlaCorner.com ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ขอเชิญชาวไทยผู้มีใจรักจูมล่าเข้าร่วมงาน JoomlaDay Bangkok 2008 วันรวมพลคนใช้จูมล่าในประเทศไทยครั้งที่ 2
งานนี้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งาน Joomla! ชาวไทยได้มีโอกาสอัพเดทเทคโนโลยีใหม่ของ Joomla! 1.5 จากวิทยากรผู้พัฒนาโปรแกรม Joomla! จากต่างประเทศ (Joomla.org) โดยตรง ซึ่งเหมาะสำหรับ ผู้ใช้งาน Joomla! ที่ต้องการพบปะกลุ่มผู้ใช้งานด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และ สำหรับท่านที่สนใจ Joomla! แต่ยังไม่เคยใช้งาน ท่านจะมีความรู้และความเข้าใจ Joomla! มากขึ้น อีกทั้งยังได้มีโอกาสพบกับทีมผู้พัฒนาชาวต่างชาติ ตลอดจนทีมผู้แปลภาษาไทยอย่างทีมจูมล่าลายไทยอีกด้วย
ใน Release มีการแก้ไข และเพิ่มความสามารถดังนี้
หมัดเก้า การใช้งานร่วมกับภาษาไทย
เนื่องจากปัจจุบัน CMS ทั้ง 4 ตัวนี้ต่างเลิกสนับสนุนตระกูล ASCII ไปสนับสนุน Unicode ดังนั้นจึงมีปัญหากับภาษาไทยน้อย ยกเว้นเป็นผู้ใช้เก่า โดยเฉพาะผู้ใช้ Mambo ซึ่งในการปรับปรุงให้เป็นรุ่นใหม่แต่ละครั้งช่างยากเย็น เพราะนโยบายที่ประกาศออกบางครั้งไม่เป็นอย่างที่บอก แต่เนื่องจากปัญหากับภาษาไทยนั้นเป็นปัญหาค้างจากผู้ใช้เก่า ดังนั้นเราจึงสามารถมุ่งความสนใจไปสู่ส่วนภาษาไทยของผู้ดูแลและส่วนแสดงผล
หมัดเจ็ด การบริโภคทรัพยากร
"พลังอำนาจอันยิ่งใหญ่จะมาพร้อมกับความรับผิดชอบมหาศาล" ประโยคนี้จะนำมาใช้กับ CMS "ความสามารถอันยิ่งใหญ่จะมาพร้อมกับการบริโภคทรัพยากรมหาศาล" ได้เช่นเดียวกันหรือไม่ ลองติดตามดูครับ
Drupal ตัวโปรแกรมมีขนาดเล็ก การจัดการ cache ดีเยี่ยม เมื่อเทียบกับ CMS อื่นถือได้ว่าบริโภคทรัพยากรน้อยจริง ๆ
Joomla! และ Mambo ใน version ปัจจุบันนี้ความแตกต่างของ 2 ตัวนี้น้อยมาก คือทั้งสองตัวขนาดไฟล์ใหญ่ และบริโภคทรัพยากรมากพอ ๆ กัน
หมัดห้า ผลที่ได้
จากความสามารถที่หลากหลายของ CMS ทำให้เราสามารถนำ CMS ไปใช้ในรูปแบบต่าง ๆ กันได้มากมาย เราลองมาดูว่า CMS แต่ละตัวเมื่อนำไปใช้งานในลักษณะต่าง ๆ แล้ว จะมีผลที่ได้ออกมาอย่างไร
Blog
หมัดสาม การนำไปใช้งาน
หมัดแรก ชุมชนนักพัฒนา เป็นที่แน่นอนว่า อนาคตของ CMS ย่อมขึ้นอยู่กับชุมชนนักพัฒนา เพราะคุณคงไม่มานั่งเขียนเองหรอก (ถ้าคิดจะเขียนเองคงไม่มาใช้ CMS หรอก) และคุณอาจจะดูปริมาณการใช้งาน CMS แต่ละตัวคร่าว ๆ ได้ดังนี้