อีกครั้งที่เอเอ็มดีพยายามเข้าตีตลาดโน๊ตบุ๊ค หลังจากเริ่มกินส่วนแบ่งจากตลาดเซิร์บเวอร์มาจากอินเทลได้บางส่วน
ชิปรุ่นใหม่ในตระกูลทัวริออน (Turion) โดยมีเป้าหมายในการออกแบบหลักคือความพยายามในการลดความร้อน และอัตราการกินพลังงาน เพราะทุกวันนี้ชิปแอทลอน 64 ของเอเอ็มดีนั้นกินพลังงานอยู่ที่ราว 25 ถึง 62 วัตต์ ในขณะที่เพนเทียมเอ็มของทางอินเทลนั้นกินพลังงานเพียงไม่เกิน 20 วัตต์เท่าัน้น
ความพยายามครั้งใหม่นี้ ต้องอาศัยการสร้างแบรนด์ใหม่แทนที่จะใช้แบรนด์แอทลอนที่เป็นที่รู้จัก เนื่องจากแอทลอนนั้นถูกมองเป็นชิปความเร็วสูง และร้อน ทำให้ไม่เหมาะแก่การทำตลาดโน๊ตบุ๊ตอีกต่อไป
เป็น mobile processor ตัวใหม่ออกต้อนรับปีใหม่ของทางค่าย AMD เน้นงานบันเทิงอย่างยิ่งยวด.. ใช้ Architecture แบบ SoC
นิตยสารรายสัปดาห์บิซิเนสวีค รายงานถึงตัวเลขที่แสดงให้เห็นว่า เอเอ็มดีกำลังก้าวเข้ามาสู่อาณาจักรของอินเทลอย่างมั่นคง
นับจากที่เอเอ็มดีได้ออกชิปออปเทอรอนซึ่งแสดงให้เห็นว่าชิป 64 บิตกำลังเป็นที่ต้องการ พร้อมๆ กับความต้องการที่จะใช้แอปพลิเคชั่น 32 บิตไปด้วย ขณะที่อินเทลไม่เชื่อเช่นนั้น และแยกตลาดสองส่วนออกจากกัน เป็นอิทาเนียม และซีออน
ผลของการออกชิป แอทลอน64 และออปเทอรอน ส่งผลให้ตลาดของเอเอ็มดีใหญ่ขึ้นทันตาอีกหนึ่งเปอร์เซนต์ รายได้รวมทั้งปีกลายเป็น 5.1 พันล้านดอลล่าห์ กำไรจำนวน 200 ล้านดอลล่าห์ และหุ้นที่ทะยานขึ้นมาอยู่ที่ 21.73 ดอลล่าห์ สองเท่านับจากเดือนกันยาที่ผ่านมา
เอเอ็มดีร่วมมือกับไอบีเอ็มในการพัฒนากระบวนการผลิตชิปใหม่ เพื่อเพิ่มความเร็วขึ้นโดยการสร้างสนิมบนแผ่นซิลิกอน เพื่อเพิ่มความสามารถในการไหลของกระแสอิเลกตรอน
เทคโนโลยีดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นเมื่อสองปีก่อนโดยอินเทล ที่ระบุว่าเทคโนโลยีนี้เพิ่มความเร็วให้ชิปได้ 10 ถึง 25 เปอร์เซนต์ โดยเพิ่มต้นทุนเพียง 2 เปอร์เซนต์เท่านั้น
ความสำเร็จที่ร่วมกันครั้งนี้จะทำให้เอเอ็มดีและไอบีเอ็มต่างสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ในซีพียูของตนได้ โดยเอเอ็มดีจะนำไปใช้กับ Athlon64 ในต้นปีหน้า ส่วนไอบีเอ็มคาดว่าจะนำไปใช้ในซีพียูตระกูล Power ในเร็วๆ นี้
เอเอ็มดีประกาศถึงการตัดสินใจว่าเร็วๆ นี้ออปเทอรอนรุ่นใหม่จะมีฟีเจอร์พาวเวอร์นาว (PowerNow!) ไปในตัว เพื่อลดปัญหาความร้อนของเซอร์เวอร์
ปัญหาความร้อนเป็นปัญหาหลักเมื่อต้องใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากในที่เดียวกันเช่น ศุนย์ข้อมูล หรือศูนย์คลัสเตอร์ต่างๆ ก่อนหน้านี้เคยมีผู้ผลิตคอมพิวเตอร์บางรายผลิตเซอร์เวอร์ที่ใช้ เพนเทียมเอ็ม ที่ออกแบบมาให้ใช้ในโน๊ตบุ๊คเพื่อลดปัญหานี้ไปแล้ว
ไอดีซีรายงานถึงการวิเคราะห์ผลการประกอบการของเอเอ็มดีในไตรมาศสามที่ผ่านมา พบว่าเอเอ็มดีมีการเติบโตที่สูงทีเดียว โดยเหตุผลลักน่าจะมาจาก Athlon64 ที่เอเอ็มดีภูมิใจนักหนานั่นเอง
เอเอ็มดีมีส่วนแบ่งใตตลาดเซิร์บเวอร์อยู่ 8 เปอร์เซนต์ เพิ่มจาก 6.9 เปอร์เซนต์ในไตรมาศที่สอง ส่วนตลาดโน๊ตบุ๊คและ พีซีนั้นอยู่ที่ 9.3 และ 18.4 เปอร์เซนต์ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นอย่างละน้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซนต์
ก้าวช้าๆ แต่มั่นคงดี.....
สำนักข่าว Iniquirer สอบถามไปยัง AMD ถึงท่าทีของ AMD ต่อสถาปัตยกรรม BTX ที่ทางอินเทลเป้นผู้เสนอออกมา
ทางเอเอ็มดีกล่าวว่าไม่มีนโยบายจะผลักดันสถาปัตยกรรมดังกล่าวอย่างใด แต่จะทำตามความต้องการของผู้บริโภคเท่านั้น
หลังจากยืนยันว่าจะขายเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ซีพียูจากฝั่งอินเทลอย่างเดียวมานาน Dell เริ่มหวั่นไหวแล้วครับ เพราะ Opteron ได้รุกคืบไปยังตลาดเซิร์ฟเวอร์อย่างมั่นคง โซลูชัน Linux + Opteron กลายเป็นเรื่องน่าสนใจ และค่ายอื่นๆ เช่น ซัน ไอบีเอ็ม หรือ HP ก็หันมาขาย Opteron Server กันทั้งนั้น คิดว่าอีกไม่นาน Dell คงประกาศเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ให้เห็นกัน จาก Ars Technica
ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับหมอเลี๊ยบนะครับ แต่งานนี้เอเอ็มดีลงทุนออกแบบคอมพิวเตอร์ราคาถูก เพื่อสนับสนุนให้ประเทศทำลังพัฒนามีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้
โครงการดังกล่าวมีชื่อว่า 50x15 ก็คือการช่วยคนครึ่งโลก (50 เปอร์เซนต์) ให้มีคอมพิวเตอร์ใช้ในปี 2015
เครื่องดังกล่าวใช้ซีพียู Geode ของ AMD เอง ที่ความเร็ว 366 เมกะเฮิร์ต มีฮาร์ดดิส 10 กิกะไบต์ แรม 128 เมกะไบต์ ราคาประมาณหนึ่งหมื่นบาทรวมจอ 15 นิ้ว
C|Net มีภาพของเครื่องต้นแบบให้ดูกันด้วยครับ
เอเอ็มดีได้จดสิทธิบัตรเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Peltier Cooler ที่จะช่วยให้ชิปสามารถระบายความร้อนได้ดีขึ้น
ปัจจุบันความร้อนเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการเพิ่มจำนวนทรานซิสเตอร์ในชิป และการเพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาทำให้ชิปปล่อยความร้อนออกมามากขึ้นเรื่อยๆ
ยังไม่มีข่าวการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในผลิตภัณฑ์ใดๆ ของเอเอ็มดี
ที่มา X-bit labs - Hardware news - AMD Drives Integrated Peltier Cooling into Chips
มีการรายงานว่า Athlon64 บนซ๊อกเก็ต 939 ได้วางจำหน่ายแล้วในประเทศญี่ปุ่น โดยออกมา 5 รุ่น คือ 3000+, 3200+, 3500+ และ 4000+
เอเอ็มดีเปิดตัวการพัฒนาระบบเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่สร้างจากชิปตัวเดียวที่ชื่อว่า Emma ระบบดังกล่าวจะทำให้นักพัฒนาสามารถสร้างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ โดยที่ระบบรวมยังมีขนาดเล็กไม่เกินซองบุหรี่เท่านั้น
AMD 'Emma' SoC revives Net Appliance concept | The Register By Tony Smith
nVidia ออกมาประกาศชิปเซตตัวใหม่ nForce 4 โดยรองรับซีพียูใหม่ๆ ของ AMD ทั้ง Athlon 64, Athlon 64 FX และ Sempron มีฟีเจอร์ใหม่ๆ มากมาย ทั้ง PCI Express, Gigabit Ethernet, SATA จาก Ars Technica
พักนี้รู้สึกดวงของ AMD จะพุ่งกระฉูดเลยครับ ล่าสุดปล่อย Athlon 64 4000+ และตัวท็อปสำหรับคอเกม คือ Athlon 64 FX-55 ตัวแรกวิ่งที่ 2.4GHz ตัวหลังที่ 2.6GHz ทั้งคู่มีแคช L2 ขนาดหนึ่งเมก และว่ากันว่านี่ล่ะ คือหมัดเด็ดที่ทำให้อินเทลต้องยกเลิก Pentium 4 4GHz ไป เพราะทำความเร็วได้ด้อยกว่า ต้องไปซุ่มออกตัวที่แรงกว่ามาข่ม จาก Ars Technica
Hexus.net มีผลการทดสอบ AMD Sempron ซีพียูราคาประหยัดตัวใหม่จาก AMD และ Celeron D จากอินเทล ซึ่งมันก็คือ Prescott ฉบับย่อส่วนน่ะเอง ผลการทดสอบผมดูผ่านๆ Sempron 3100+ ค่อนข้างน่าประทับใจทีเดียว เหนือกว่า P4 2.8E ในบางการทดสอบซะอีก ท่าทางว่าในอนาคต AMD จะตัด AthlonXP ทิ้งไป และเหลือเพียง Sempron กับ Athlon64 แล้วล่ะครับ
หลังจาก nVidia ลุยตลาดมาซักพักแล้วกับ nForce และค่อนข้างประสบความสำเร็จ ATI เลยเอาอย่างบ้าง หันมาทำชิปเซ็ตสำหรับ PCI Express ให้กับซีพียูฝั่ง AMD เพราะเห็นศักยภาพของ AMD ในตลาดเครื่องประกอบเอง และผู้ใช้ที่เชี่ยวชาญ ชื่อของชิปเซตคือ RX480 ก็ต้องรอติดตามกันครับ ข่าวจาก Ars Technica เช่นเคย
เอเอ็มดีประกาศกำไรประจำไตรมาศที่สามออกมาแล้วครับ อยู่ที่ 43.8 ล้านดอลล่าห์ โดยมียอดขาย 1.25 พันล้านดอลล่าห์ อาทิตย์หน้าอินเทลก็จะออกมาประกาศตัวเลขเหล่านี้เหมือนกัน
ปัจจุบันเอเอ็มดีมีกำไรต่ำกว่าอินเทลอยู่มาก เนื่องจากไม่สามารถบุกตลาดที่ทำเงินมากๆ โดยเฉพาะตลาดโน๊ตบุ๊คที่อินเทลครองอยู่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังอินเทลนั้นเพลี่ยงพล้ำในหลายๆ ส่วนไปทำให้การขับเคี่ยวระหว่างสองค่ายนี้มีลุ้นกันทีเดียว
ที่มา theINIQUIRER
มีรายงานจากทาง ECS ผู้ผลิตเมนบอร์ดรายใหญ่ ว่าเมาบอร์ด K8T800-A ของตนนั้นจะรองรับ AMD64 ด้วย รายงานนี้ออกมาโดยที่ทาง AMD ยังไม่ได้ประกาศถึงชิปที่ว่าเลย ทำให้มีข้อกังขาว่าจะมีชิปที่ว่าจริงหรือไม่ เพราะถ้ามีจริงเราๆ ท่านๆ ก็เตรียมใช้เทคโนโลยี 64 บิตในราคาถูกได้แล้ว
ที่มา X-Bits Labs
ข่าวจาก CNET PCI-Express เป็นมาตรฐานใหม่ที่จะมาแทน PCI และ AGP ในปัจจุบัน มาตรฐานนี้ถูกดันอย่างแรงโดยอินเทล และมีชิปเซตของเพนเทียมที่สนับสนุน PCI-Express มาแล้ว ฝั่งคู่แข่งอย่าง AMD ที่ไม่หนุนออกนอกหน้ามากนัก จึงต้องรอผู้ผลิตไต้หวันอย่าง VIA ผลิตให้ คือ ชิปเซต K8T890 สำหรับ Opteron, Athlon และ Sempron ตอนนี้หลายๆ อย่างก็เริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว การ์ดจอ GeForce และ Radeon แบบ PCI Express 16 กำลังจะออกมาเร็วๆนี้ ปีหน้าคงเป็นปีแห่ง PCI Express ครับ
AMD รับช่วงทีมพัฒนาจากทางซันยกทีมเลยครับงานนี้ โดยถึงกับมีการเปิดศูนย์ออกแบบใหม่ในบอสตัน เพื่อรองรับทีมใหม่ที่จ้างเข้ามาเกือบ 60 คน
ทางซันเองเป็นผู้ปล่อยเกาะทีมพัฒนาชุดนี้เนื่องจากทางซันก็ลดการออกแบบชิปใหม่ๆ ลงไปมากแล้ว เช่นการยกเลิกการพัฒนา UltraSparc V สำหรับเหตุผลนั้น เข้าใจว่าทางซันเริ่มทำใจได้แล้วกับกระแส X86 ที่ไม่มีใครต้านมันอยู่ แม้ว่ามันจะเป็นสถาปัตยกรรมแบบ CISC ซึ่งมีการพิสูจน์แล้วว่าช้ากว่าสถาปัตยกรรมแบบ RISC ที่ใช้อยู่โดย PowerPC ของ IBM ที่ใช้รันเครื่องแอปเปิลทุกวันนี้ และ UltraSparc ของซันเอง
AMD ประกาศชัยอีกครั้งหลังมีการสำรวจพบว่าเครื่องตั้งโต๊ะที่ใช้ชิปของ AMD ที่ขายในร้านค้าปลีก นั้นมียอดขายสูงกว่าอินเทลตลอดระยะหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
การประกาศชัยชนะครั้งนี้เป็นครั้งที่สองในรอบปีที่ AMD ประกาศชัยในด้านยอดขายที่เหนือกว่า Intel จากครั้งแรกที่ประกาศยอดขายของชิป Opteron ที่มียอดขายสูงกว่า Itanium ซึ่งในตอนนั้นกลับไม่น่าสนใจนัก เพราะเป็นส่วนตลาดระดับ 64 บิตที่ยังแคบมากๆ อยู่ในตอนนั้น
arstechnica เมื่อวานนี้ AMD แถลงการพร้อมกับโชว์เครื่องเซอร์เวอร์ที่รันด้วยไมโครโปรเซสเซอร์แบบดูอัลคอร์ แซงหน้าอินเทลไปอีกหนึ่งก้าวกับเทคโนโลยีใหม่นี้
การแถลงข่าวครั้งนี้อาจเกิดขึ้นเพราะการแถลงการของอินเทลถึงเทคโนโลยี 35 นาโนเมตร เพื่อเรียกความมั่นใจในตัวบริษัทกลับคืนมา