นักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาหุ่นยนต์ AutoVacc หรือเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ ที่สามารถดึงวัคซีน AstraZeneca ออกจากขวดแก้วได้ 12 โดสภายใน 4 นาที และสามารถดึงปริมาณวัคซีนมาใช้ได้มากกว่าการใช้แรงคน 20% เพิ่มโอกาสการกระจายวัคซีน
จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ หัวหน้าทีมวิจัยของศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ของมหาวิทยาลัย กล่าวว่า วัคซีน AstraZeneca หนึ่งขวดบรรจุ 10 โดส หรือฉีดได้ 10 คน แต่ทางบริษัทผู้ผลิตวัคซีนเติมปริมาตรวัคซีนให้เป็น 13 โดส เนื่องจากแต่ละรอบที่บุคลากรต้องดูดวัคซีนขึ้นมาใช้ อาจเกิดการสูญเสียวัคซีน ได้ การพัฒนา AutoVacc ช่วยเพิ่มปริมาณวัคซีน หรือลดโอกาสการสูญเสียวัคซีนไป
การจัดการข่าวปลอมวัคซีนดูเป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้ไม่มีวันจบสิ้น Facebook ออกมาเผยว่าได้ระงับบัญชีจำนวนหลักร้อย ที่มีความเกี่ยวข้องกับเอเจนซี่รายหนึ่ง ที่ให้เงินอินฟลูเอนเซอร์ให้พูดดิสเครดิตวัคซีน COVID-19 โดยเฉพาะ Pfizer และ AstraZeneca
AstraZeneca ออกจดหมายข่าวประกาศว่าเดือนกรกฎาคมนี้บริษัทจะเริ่มส่งออกวัคซีน COVID-19 จากโรงงาน Siam Bioscience ในประเทศไทย โดยจะส่งออก 2 ใน 3 และกันไว้ให้ใช้ในประเทศไทย 1 ใน 3
จนตอนนี้ยังไม่มีข่าวเป็นทางการว่ากำลังผลิตจริงของ Siam Bioscience เป็นเท่าใด หลังจากบริษัทเคยประกาศร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขว่าจะผลิตให้ได้ 200 ล้านโดสต่อปี ซึ่งหากทำได้ตามที่ประกาศไว้ก็จะคิดเป็นกำลังผลิตเดือนละ 16.7 ล้านโดส ตามสัดส่วนในประกาศครั้งนี้ไทยจะได้รับ 5.56 ล้านโดสต่อเดือน
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดรายงานถึงการทดลองตรวจภูมิในผู้รับวัคซีน ChAdOx1 nCoV-19 หรือวัคซีน Oxford-AstraZeneca ในกรณีที่มีการดึงเวลารับเข็มที่สองเอาไว้ พบว่าการดึงเวลาเอาไว้นานขึ้นแม้จะส่งผลให้ภูมิลดลงในช่วงที่รอเข็มสอง แต่เมื่อกระตุ้นภูมิในเข็มที่สองแล้วกลับมีภูมิสูงกว่าการฉีดตามกำหนดปกติ
ทีมวิจัยทดสอบโดยแบ่งตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มรับเข็มสองภายใน 8-12 สัปดาห์หลังเข็มแรก, กลุ่มรับเข็มสองภายใน 15-25 สัปดาห์หลังเข็มแรก, และกลุ่มรับเข็มสอง 44-45 สัปดาห์หลังเข็มแรก ผลพบว่ายิ่งรอนานภูมิหลังกระตุ้นเข็มสองนั้นยิ่งสูงขึ้น อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันโรคต่อไป
MHRA (Medicines and Healthcare products Regulatory Agency - หน่วยงานดูแลความปลอดภัยยาของสหราชอาณาจักร) ออกรายงานจากการตรวจสอบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จากเหตุการเกิดลิ่มเลือดในกลุ่มผู้ได้รับวัคซีน AstraZeneca โดยพบประมาณ 4 คนในล้านคน และทุกคนที่มีอาการจะพบหลังได้รับโดสแรก
แม้จะพบความเชื่อมโยง แต่ MHRA ยังไม่แนะนำให้จำกัดอายุผู้รับวัคซีน AstraZeneca แต่อย่างใด แต่แนะนำให้ผู้รับวัคซีนสำรวจอาการตนเองไปอีก 4 วันหลังรับวัคซีน โดยให้ระวังอาการ เช่น ปวดหัว, สายตาเบลอ, งงงวยสับสน, ชัก, หายใจสั้น, ปวดอก, ปวดท้องต่อเนื่อง และหากพบอาการให้รีบพบแพทย์
SK Bioscience ผู้รับจ้างผลิต (contract manufacturing organization - CMO) ของ AstraZeneca ออกมาเตือนว่าตนเองเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตเท่านั้น แม้วัคซีนอยู่ในโกดังแล้วก็ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ว่าจะส่งมอบให้ประเทศใด โดยการกำหนดโควต้าและลำดับการส่งมอบก่อนหลังเป็นสิทธิ์ของ AstraZeneca
ทางกรมควบคุมโรคของเกาหลีใต้ก็ยอมรับเงื่อนไขนี้ แต่ย้ำว่าการที่มีโรงงานของ SK Bioscience อยู่ในประเทศจะทำได้การกระจายวัคซีนทำได้ง่ายขึ้น โดยเกาหลีใต้จองซื้อวัคซีนของ AstraZeneca ไว้ทั้งหมด 10 ล้านโดส และได้รับ 1.5 ล้านโดสเป็นล็อตแรก พร้อมๆ กับไทยและเวียดนามที่ได้รับ 117,000 โดส
วัคซีน COVID-19 ของ AstraZeneca ต่างจากผู้ผลิตรายอื่นเนื่องจากทางบริษัทพยายามจับมือกับพันธมิตรทั่วโลกเพื่อร่วมผลิตวัคซีนกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ โดยมีเป้าหมายถึง 3,000 ล้านโดสต่อปี สัปดาห์นี้ทาง CSL Behring ผู้ผลิตจากออสเตรเลียออกมาเปิดเผยกระบวนการผลิตอย่างละเอียดกับสำนักข่าว ABC ทำให้เรารู้ว่ากว่าจะเป็นวัคซีนจาก AstraZeneca นั้นต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง และความยากของการผลิตวัคซีนตัวนี้เป็นอย่างไร
คณะกรรมการยุโรป European Commission (เปรียบได้กับรัฐบาลของสหภาพยุโรป) เปิดเผยสัญญาซื้อวัคซีนที่เซ็นกับ AstraZeneca ต่อสาธารณะ หลังมีปัญหา AstraZeneca ผลิตวัคซีนได้ไม่ทันตามที่เซ็นสัญญาเอาไว้ พร้อมทั้งอนุมัติวัคซีนของ AstraZeneca ให้ใช้งานได้ในยุโรปแล้ว
สหภาพยุโรปแสดงความไม่พอใจ AstraZeneca หลังบริษัทระบุว่ากำลังผลิตของโรงงานสำหรับยุโรปนั้นต่ำกว่าที่คาดไว้ทำให้ต้องลดปริมาณส่งมอบ จากเดิมสัญญาไว้ 80 โดสภายในเดือนมีนาคม เหลือเพียง 31 ล้านโดสเท่านั้น แม้ว่าจะได้รับค่าวัคซีนล่วงหน้าไปแล้วถึง 336 ล้านยูโร และสัญญารวมต้องส่งมอบวัคซีนถึง 300 ล้านโดส
ทางสหภาพยุโรปออกมาเร่งให้บริษัทหาทางแก้ไข และอธิบายปัญหาให้ชัดเจนกว่านี้ นอกจากนี้ยังเตือนว่าสหภาพยุโรปมีสิทธิขอเข้าตรวจสอบบัญชีการผลิตและการจัดส่งได้ หลังจากทางสหภาพยุโรปได้ข่าวว่าบริษัทส่งมอบวัคซีนให้ชาติต่างๆ นอกสหภาพยุโรป
เกาหลีใต้แถลงถึงกระบวนการฉีดวัคซีนว่ากำลังวางแผนการกระจายวัคซีนภายในเดือนนี้เพื่อให้พร้อมรับวัคซีนจาก AstraZeneca จะส่งมอบได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม
ยอดการจองวัคซีนโดยรวมของเกาหลีใต้ตอนนี้เพียงพอสำหรับประชากร 56 ล้านคน ลำดับการส่งคือ AstraZeneca ส่งมอบเป็นรายแรก, Janssen และ Moderna ส่งมอบภายในไตรมาสสอง, และ Pfizer ส่งมอบภายในไตรมาสสาม
สถานการณ์ COVID-19 ในเกาหลีใต้ตอนนี้ไม่สู้ดีนัก จากการระบาดจากหลายคลัสเตอร์พร้อมๆ กันทำให้ยอดผู้ติดเชื้อยืนยันแล้วเพิ่มขึ้นกว่าวันละพันคน
note: เวอร์ชั่นแรกของบทความนี้ระบุว่าเกาหลีใต้จองวัคซีน 56 ล้านโดส แต่ที่จริงเป็นวัคซีนสำหรับ 56 ล้านคน
หลังจากที่ ไมโครซอฟท์รายงานแฮกเกอร์ไล่โจมตีบริษัทวิจัยยา COVID-19 ไปไม่กี่วัน ได้มีการเปิดเผยกับผู้เกี่ยวข้องจากบริษัท AstraZeneca หนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนโรค COVID-19 ว่ามีความพยายามจากแฮกเกอร์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งคาดว่าเป็นความพยายามโจมตีจากกลุ่มแฮกเกอร์ในเกาหลีเหนือ