IBM Cloud เพิ่มโหมดการคิดค่าเซิร์ฟเวอร์แบบใหม่ รองรับการหยุดใช้งานชั่วคราว ทำให้หยุดค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ เช่น ค่าซีพียู, แรม, หรือความเร็วเน็ตเวิร์ค ไปได้ (ยังคงคิดค่าสตอเรจและค่าไอพีที่สอง) ความพิเศษของโหมดนี้คือการนำเครื่องกลับขึ้นมาจะเร็วกว่าสร้างเครื่องใหม่มาก อยู่ที่ 30 วินาทีถึง 2 นาทีเท่านั้น เนื่องจาก IBM Cloud จะไม่ทำทรัพยากรไปขายต่อแบบปกติ แต่ขายให้กับผู้ที่สร้างเครื่องชั่วคราว Transient Instances เท่านั้น เมื่อเจ้าของเดิมกลับมาเปิดเครื่องก็สามารถดึงทรัพยากรกลับมาได้ทันที
นอกจากนี้เซิร์ฟเวอร์เสมือนแบบมาตรฐาน จะคิดราคาเป็นรายนาทีแล้ว ทำให้สามารถเปิดปิดเครื่องได้บ่อยๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
IBM ประกาศยกเลิกการใช้แบรนด์ Bluemix ทำตลาดคลาวด์ โดยจะเปลี่ยนชื่อมาเป็น "IBM Cloud" ที่ตรงไปตรงมากว่าแทน
ก่อนหน้านี้ IBM มีบริการด้านคลาวด์ 2 แบรนด์คือ Bluemix และ SoftLayer โดยแบรนด์ SoftLayer ถูกยุบรวมกับ Bluemix ในปี 2016 และแบรนด์ Bluemix ก็ถูกเปลี่ยนมาเป็น IBM Cloud ในปีนี้
ในแง่ของผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เพราะเป็นการเปลี่ยนแค่ชื่อเท่านั้น
ที่มา - IBM
ข้อจำกัดสำคัญของการใช้งานคลาวด์ชนิดเต็มรูปแบบอย่างหนึ่งคือองค์กรจำนวนมากมีข้อมูลมหาศาลจนกระทั่งการอัพโหลดตามปกติทำได้ลำบาก อาจจะใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปี ตั้งแต่ปี 2010 AWS รับข้อมูลเป็นฮาร์ดดิสก์จากลูกค้า จนกระทั่งพัฒนาเป็นบริการเต็มรูปแบบในชื่อว่า Snowball เมื่อปี 2015 ทางฝั่งกูเกิลเองก็เปิดบริการแบบเดียวกันในปี 2013 ตอนนี้ทั้งไมโครซอฟท์และไอบีเอ็มก็เปิดบริการฮาร์ดดิสก์สำหรับอัพโหลดขึ้นคลาวด์แล้วทั้งคู่
ไอบีเอ็มประกาศเพิ่มจีพียู Tesla P100 จากเดิมที่มีเฉพาะ M60, K80, และ K2 ภายในเดือนนี้ ซึ่งทำให้เป็นคลาวด์เจ้าแรกที่ใช้จีพียูรุ่นล่าสุดจาก NVIDIA
Tesla P100 เปิดตัวมาครบหนึ่งปีพอดี แต่สำหรับคลาวด์เจ้าหลักๆ การอัพเกรดใช้เวลานานกว่ารอบอัพเกรดของจีพียูตามบ้าน โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมากูเกิลเปิดให้ลูกค้าสามารถต่อจีพียูเข้ากับเซิร์ฟเวอร์บนคลาวด์ได้ แต่ยังเป็น Tesla K80
ตอนนี้ไอบีเอ็มยังไม่เปิดเผยราคา แต่เครื่องรุ่นก่อนหน้านี้เป็น Tesla K80 แรม 24GB พร้อม Xeon E5-2620v4 แรม 128GB ราคาอยู่ที่ 5.3 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง
ไอบีเอ็มร่วมกับอินเทลและเลอโนโว เตรียมเปิดให้ทดสอบ Intel Optane ในปีหน้า สำหรับนักพัฒนาที่ต้องการทดสอบประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใหม่ สามารถเข้าใช้งานได้ผ่านบริการ IBM Bluemix
Intel Optane เป็นหน่วยความจำแบบแฟลช (ข้อมูลไม่หายเมื่อปิดเครื่อง) ที่ความเร็วสูงจนกระทั่งใกล้เคียงหน่วยความจำหลัก ความเร็วเช่นนี้ทำให้แอปพลิเคชั่นต้องมองแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมเสียใหม่เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
อินเทลเปิดตัว Optane มาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่คาดว่าสินค้าจริงจะเริ่มส่งมอบได้ในปีหน้า
ที่งาน IBM InterConnect 2016 ที่สหรัฐอเมริกา (จัดช่วงเดียวกับ Mobile World Congress) IBM ได้แถลงเปิดตัวบริการและคุณสมบัติใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์สำคัญอย่าง IBM Cloud, Bluemix และ Watson (ขอจับรวบเป็นข่าวเดียว) ดังต่อไปนี้
ที่งาน IBM InterConnect 2016 บริษัท IBM ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะรองรับภาษา Swift บนคลาวด์ Bluemix ของตัวเองอย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นการสานต่อความร่วมมือกับทาง Apple ที่ตกลงกันไปเมื่อปี 2014
IBM ระบุว่าการเพิ่มคุณสมบัติภาษา Swift บน Bluemix จะทำให้การพัฒนาแอพด้วยการใช้ภาษา Swift สำหรับฝั่งเครื่องแม่ข่าย (server-side programming) เป็นไปได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
มีให้ใช้แล้วบน Bluemix ในสถานะเปิดทดลองใช้ (preview) ใครสนใจสามารถทดลองเปิดใช้ได้ครับ
วานนี้ (ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา) IBM ออกแถลงการณ์ว่าได้ลงนามเป็นพันธมิตรกับ GitHub ระบบบริหารและจัดการซอร์สโค้ดบนเว็บ และเปิดตัว GitHub Enterprise Service ซึ่งเป็นบริการที่ให้องค์กรสามารถใช้ GitHub บนระบบของตัวเองที่ตั้งอยู่บนคลาวด์ของ Bluemix
ผู้บริหารของ IBM ระบุว่าความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้การพัฒนาแอพบนแพลตฟอร์มคลาวด์ Bluemix สามารถทำได้ง่ายและเร็วขึ้นกว่าเดิม และสามารถใช้ได้ทั้งบน Public Cloud, Hybrid Cloud หรือแม้กระทั่ง Dedicated Cloud ของบริษัทเอง
ยังไม่ระบุว่าจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อใดครับ
ที่มา - IBM
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา IBM ได้ประกาศเพิ่มความสามารถเพิ่มเติมสำหรับ Bluemix ระบบคลาวด์ของตนเอง ซึ่งความสามารถดังกล่าวก็คือการที่นักพัฒนาสามารถ debug แอพที่พัฒนามาจาก Node.js ได้ด้วยเครื่องมือโอเพ่นซอร์สภายนอกได้ทันที
IBM ระบุว่า แต่เดิมนั้นการ debug แอพที่พัฒนามาจาก Node.js นั้นเต็มไปด้วยความยุ่งยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เครื่องมือโอเพ่นซอร์สบนเครื่องของนักพัฒนา ซึ่งนักวิศวกรรมของ IBM ก็ได้พัฒนาโซลูชั่นแก้ไข จนสามารถทำให้การ debug จากเครื่องนักพัฒนานั้นง่ายขึ้นกว่าเดิม
เมื่อสิ้นเดือนที่ผ่านมา IBM ประกาศว่าบริการ Bluemix ซึ่งเป็นบริการคลาวด์ของตัวเอง จะสามารถให้ลูกค้านำไปใช้งานภายในองค์กร (on premise) ได้ด้วย ซึ่งจะอนุญาตให้ลูกค้าเชื่อมต่อเข้ากับบริการ Bluemix เอง และบริการคลาวด์อื่นๆ ที่ลูกค้าใช้อยู่ด้วย
ระบบดังกล่าวนี้จะนำเสนอบริการพื้นฐานบางอย่างของ Bluemix ให้กับลูกค้าในลักษณะ on premise และทำให้กลายสภาพเป็น hybrid cloud ได้ โดยลูกค้าสามารถโยนงานบางอย่างขึ้นไปประมวลผลกับระบบของ Bluemix ที่เป็น public cloud ได้ด้วย