มหาวิทยาลัย Tsukuba เริ่มทดสอบเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Pegasus ที่อาจจะเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ประหยัดพลังงานที่สุดในตอนนี้เพราะใช้ซีพียูและกราฟิกรุ่นใหม่ ร่วมกับหน่วยความจำแบบ Intel Optane ที่ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนักจนอินเทลต้องถอยออกจากตลาดไป
Pegasus ผลิตเครื่องโดย NEC ใช้ซีพียู Xeon Platinum 8468 (Sapphire Rapids) ร่วมกับ NVIDIA H100 พร้อมกับแรม DDR5-4800 อีก 128GB ที่น่าสนใจคือตัวเครื่องใส่ Intel Optane มาด้วยอีก 2TB แยกออกจาก SSD ขนาด 3.2TB อีกสองชุด เชื่อมต่อเน็ตเวิร์คด้วย NVIDIA Quantum-2 Infiniband (200Gbps)
หลังจากมีสัญญาณว่าไปไม่รอดมาสักพักใหญ่ๆ แล้ว อินเทลก็ประกาศอย่างเป็นทางการว่ายุติธุรกิจหน่วยความจำ Optane ในงานแถลงผลประกอบการไตรมาสล่าสุด
Optane เป็นโครงการที่อินเทลร่วมกับ Micron ตั้งแต่ปี 2015 พัฒนาหน่วยความจำประเภท 3D XPoint ที่เร็วกว่าหน่วยความจำ NAND และใช้เป็นสตอเรจคั่นกลางระหว่างแรมกับ SSD แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอด อินเทลหยุดขายสินค้าในปี 2021 ในขณะที่ Micron ขายโรงงานทิ้ง
อินเทลระบุสั้นๆ แค่ว่าจะยุติธุรกิจนี้ และลงบัญชีด้อยค่าสินทรัพย์สินค้ากลุ่ม Optane ที่เหลือเป็นมูลค่า 559 ล้านดอลลาร์
Micron ประกาศขายโรงงานผลิตหน่วยความจำแบบ 3D XPoint ที่ร่วมพัฒนากับอินเทลเป็น Optane (ประกาศเลิกทำเมื่อต้นปี) ให้กับ Texas Instrument แล้ว ถือเป็นการปิดฉากการลงทุนในหน่วยความจำ non-volatile memory ที่ล้มเหลวของ Micron
ฝั่งของอินเทลยังไม่มีท่าทีชัดเจนว่าจะเอายังไงกับ Optane ต่อไป แต่เมื่อหน่วยความจำที่ใช้ใน Optane ต้องผลิตจากโรงงานของ Micron ก็ไม่น่าจะไปต่อได้ง่ายนัก
โรงงานผลิตหน่วยความจำแห่งนี้อยู่ที่เมือง Lehi ในรัฐ Utah ของสหรัฐ มูลค่าการขายกิจการรวมทั้งหมด 1.5 พันล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นเงินสด 900 ล้านดอลลาร์ และการตีมูลค่าจากเครื่องมือและทรัพย์สินต่างๆ อีก 600 ล้านดอลลาร์
บริษัทหน่วยความจำ Micron Technology ประกาศหยุดพัฒนาหน่วยความจำแบบ 3D XPoint ที่ร่วมพัฒนากับอินเทลมาตั้งแต่ปี 2015 และใช้เป็นหน่วยความจำสำหรับ Intel Optane
3D XPoint เป็นหน่วยความจำประเภท non-volatile memory (NVM ปิดไฟแล้วข้อมูลยังอยู่) ที่มีตำแหน่งทางการตลาดอยู่ระหว่างแรมแบบ DRAM และสตอเรจแบบ Flash (เร็วกว่า Flash แต่ถูกกว่า DRAM) ซึ่งอินเทลนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ตระกูล Optane ที่นำไปคั่นตรงกลางระหว่างแรมกับสตอเรจ ส่วน Micron เคยออก SSD มาตัวเดียวคือ X100
อินเทลมีสินค้าแบรนด์ Optane อยู่ 2 ประเภท ได้แก่ Optane Memory หน่วยความจำ 3D XPoint ใช้คั่นระหว่างแรมกับสตอเรจเพื่อเร่งความเร็วจากแคช และ Optane SSD ที่เป็นการนำหน่วยความจำแบบนี้มาทำ SSD ในขนาดเดียวกับไดร์ฟ Flash SSD ทั่วไป (ซึ่งอินเทลก็มี Flash SSD อีกชุดที่ไม่ใช้แบรนด์ Optane)
ล่าสุดอินเทลเลิกทำตลาด Optane SSD สำหรับเดสก์ท็อปพีซีแบบเงียบๆ สินค้า Optane SSD กลุ่มนี้ (900, 905P, 800P, M10) ล็อตสุดท้ายจะส่งให้ผู้ขายปลีกในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ และไม่มีสินค้ารุ่นอื่นมาทดแทนแล้ว
อินเทลนำ Intel® Optane™ DC Persistent Memory รุ่นใหม่เวอร์ชั่นต้นแบบมาโชว์ประสิทธิภาพในวัน Intel Memory and Storage Day ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ โดยเจ้า NV Storage รุ่นต้นแบบนี้แม้ทาง Intel จะนำมาแสดงแค่ช่องเดียว (Single Channel) แต่ก็ยังส่งข้อมูลได้เร็วมากจนน่าทึ่ง
ความเร็วที่ Intel Optane DC Persistent รุ่นต้นแบบทำได้ ในส่วนของ SEQ1M จะทำความเร็วอ่านได้ที่ 3,634.80 MB/s เขียนที่ 1,803.37 MB/s ส่วน Random 4K (IOPS) นั้น ทำคะแนน Read ได้ถึง 437,539 IOPS และ Write ที่ 471,482 IOPS ทีเดียว
อินเทลประกาศเซ็นสัญญาความร่วมมือกับ SAP เพื่อนำซอฟต์แวร์ธุรกิจของ SAP (เช่น SAP S/4HANA, SAP Business Suite, SAP Leonardo) มารันบนฮาร์ดแวร์ในศูนย์ข้อมูลของอินเทลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ฝั่งอินเทลจะนำซอฟต์แวร์ของ SAP มาปรับปรุงให้ทำงานบนซีพียู Xeon Scalable และหน่วยความจำ Intel Optane DC ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการรันแอพพลิเคชันบน SAP HANA ในหน่วยความจำ Optane ก็ช่วยให้การทำงานหลายๆ อย่างที่เกี่ยวกับข้อมูลจำนวนมาก มีความรวดเร็วขึ้นมาก
ที่มา - Intel
การเปิดตัว 8th Gen Core บนโน้ตบุ๊กที่มีฟีเจอร์ Intel Optane สำหรับช่วยเร่งความเร็วการเข้าถึงสตอเรจ (อ่านเรื่อง Intel Optane คืออะไร) ทำให้ตอนนี้อินเทลมีสินค้า Optane ครบทั้งบนเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊ก และได้เวลาของการขาย 'ซีพียูพ่วงสตอเรจ' แล้ว
สิ่งที่อินเทลทำคือออกแบรนด์ Core i5+/i7+/i9+ การมีเครื่องหมาย + เข้ามา แปลว่าคอมพิวเตอร์นั้นใช้ซีพียู 8th Gen ของอินเทล บวกกับ Intel Optane ให้เสร็จสรรพ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงประสิทธิภาพ ทั้งในแง่การประมวลผล และการเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่เร็วขึ้นถึง 4.7 เท่า (สำหรับเกม) และ 1.7 เท่า (สำหรับไฟล์มีเดีย)
อินเทลเปิดตัวเทคโนโลยี Optane หรือ 3D XPoint มาตั้งแต่ปี 2015 จำกัดสินค้าเฉพาะเครื่องเซิร์ฟเวอร์เฉพาะทางมาโดยตลอด จนตอนนี้อินเทลก็เปิดตัวสินค้าตระกูล Optane SSD 900P สำหรับผู้ใช้ทั่วไปแล้ว
อินเทลวางตัว 900P สำหรับผู้ที่ต้องการความเร็วดิสก์สูง เช่น งานจำลองระบบ, การเรนเดอร์สามมิติ, ไปจนถึงการเล่นเกมที่ต้องการให้โหลดเกมเร็วขึ้น
ตัว SSD ต้องเชื่อมต่อด้วย PCIe NVMe 3.0 x4 ขนาดดิลก์เล็กสุดที่ 280GB ราคาเริ่มต้น 389 ดอลลาร์ หรือ 13,000 บาท รุ่น 480GB ราคา 599 ดอลลาร์หรือ 20,000 บาท
อินเทลเปิดตัว Optane สำหรับเซิร์ฟเวอร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วันนี้ก็เปิดตัว Optane สำหรับผู้ใช้ทั่วไปแล้ว การ์ดจะมาในรูปแบบ M.2 รุ่น 16GB ราคา 44 ดอลลาร์ และรุ่น 32GB ราคา 79 ดอลลาร์
อินเทลระบุว่าการใช้งาน Optane กับพีซีช่วยให้พีซีตอบสนองผู้ใช้ได้ดีกว่าเดิมมาก เช่น การรัน Outlook เร็วขึ้น 6 เท่าตัว Chrome เร็วขึ้น 5 เท่าตัว ส่วนซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่เช่นเกมก็เปิดเกมเร็วขึ้นสูงสุด 67%
ผู้ใช้ทั่วไปที่จะติดตั้ง Optane ต้องใช้เมนบอร์ดที่รองรับอยู่ก่อนแล้ว โดยตอนนี้มีกว่า 130 รุ่น ส่วนเครื่องที่จะติดตั้ง Optane มาแต่แรกจะต้องรอไตรมาสที่สองของปีนี้
โปรแกรมเมอร์ควรหามาไว้เปิด Android Studio
อินเทลร่วมมือกับไมครอน เปิดตัวเทคโนโลยีหน่วยความจำแบบใหม่ที่เรียกว่า 3D XPoint มาตั้งแต่ปี 2015 โดยโฆษณาว่ามันเร็วกว่าหน่วยความจำแบบ NAND ที่ใช้กันในปัจจุบันถึง 1,000 เท่า, ทนทานกว่ากัน 1,000 เท่า และจัดเรียงชิปหน่วยความจำได้หนาแน่นกว่า DRAM 10 เท่า
อินเทลตั้งเป้านำ 3D XPoint มาใช้ทำสตอเรจ SSD ความเร็วสูงภายใต้แบรนด์ Optane ที่วางตัวไว้เป็น "แคชความเร็วสูง" ที่อยู่ระหว่างแรมกับสตอเรจ หรือบางครั้งอาจมองว่ามันเป็นส่วนขยายของแรมก็ได้ ด้วยการที่มันทำงานได้เร็วมากๆ นั่นเอง
หลังจากโฆษณามานานและเลื่อนกำหนดวางขายมาหลายรอบ ในที่สุดผลิตภัณฑ์ตัวแรก Intel Optane SSD DC P4800X ก็เริ่มวางขายแล้ว
ไอบีเอ็มร่วมกับอินเทลและเลอโนโว เตรียมเปิดให้ทดสอบ Intel Optane ในปีหน้า สำหรับนักพัฒนาที่ต้องการทดสอบประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใหม่ สามารถเข้าใช้งานได้ผ่านบริการ IBM Bluemix
Intel Optane เป็นหน่วยความจำแบบแฟลช (ข้อมูลไม่หายเมื่อปิดเครื่อง) ที่ความเร็วสูงจนกระทั่งใกล้เคียงหน่วยความจำหลัก ความเร็วเช่นนี้ทำให้แอปพลิเคชั่นต้องมองแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมเสียใหม่เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
อินเทลเปิดตัว Optane มาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่คาดว่าสินค้าจริงจะเริ่มส่งมอบได้ในปีหน้า
หน่วยความจำ 3D XPoint หรือชื่อการค้าตอนนี้เป็น Optane มีทั้งแบบ SSD ปกติและแบบ DDR เรื่องที่น่าหลายคนสนใจคือราคาของ Optane จะสูงแค่ไหน วันนี้ทางอินเทลก็บอกช่วงราคามาเพิ่มเติมว่าจะไม่เกินครึ่งหนึ่งของแรม DDR
อินเทลเปิดตัวเทคโนโลยี 3D XPoint โดยระบุว่าเป็นเทคโนโลยีหน่วยความจำแบบใหม่ในรอบหลายสิบปีที่จะเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ไปอย่างมาก แต่จนตอนนี้นอกจากตัวเลขประสิทธิภาพแล้ว ข้อมูลอื่นๆ ก็ยังไม่ได้เปิดเผยออกมามากนัก วันนี้ที่งาน IDF2015 Bill Liszenske ผู้บริหารอินเทลที่ดูแลฝ่ายหน่วยความจำถาวร (non-volatile memory) ก็พูดคุยกับสื่อถึงประเด็นของเทคโนโลยีนี้ ผมรวบรวมคำถามที่น่าสนใจมาไว้ในบทความนี้
อินเทลประกาศหน่วยความจำ 3D XPoint เมื่อเดือนที่แล้ว วันนี้อินเทลประกาศชื่อแบรนด์สำหรับหน่วยความจำรุ่นใหม่นี้ใช้ชื่อ Optane จะเริ่มวางขายในปีหน้า
Optane จะมีขายทั้งแบบ SSD และแบบ DIMM ให้เสียบคู่กับแรม แต่ต้องใช้งานร่วมกับ Xeon รุ่นที่รองรับ
อินเทลและไมครอนประกาศความสำเร็จของงานวิจัยร่วม 3D XPoint (อ่านว่า ทรี-ดี ครอส-พอยต์) หน่วยความจำแบบแฟลช โดยระบุว่าเป็นหน่วยความจำประเภทใหม่ครั้งแรกในรอบ 25 ปี
3D XPoint ประสิทธิภาพสูงกว่า NAND ได้ถึงพันเท่าตัว ทนทานต่อการใช้งานถึงพันเท่าตัว และหน่วยความจำหนาแน่นกว่าสิบเท่าตัว ทำให้สามารถใช้งานได้ทั้งงานที่ต้องการประสิทธิภาพสูง, พื้นที่ขนาดใหญ่, และต้องการเก็บข้อมูลระยะยาว