Compose Multiplatform เฟรมเวิร์คสำหรับเขียน UI ของภาษา Kotlin ที่พัฒนาโดย JetBrains และออกเวอร์ชันแรกในปี 2021
รากเหง้าของ Compose มาจาก Jetpack Compose ที่กูเกิลสร้างขึ้นเพื่อเขียน UI บน Android โดย JetBrains นำมาพัฒนาต่อให้รองรับแพลตฟอร์มอื่นๆ คือบนเดสก์ท็อป (Windows, macOS, Linux)
ล่าสุด JetBrains เปิดตัว Compose Multiplatform สำหรับ iOS แล้ว สถานะยังเป็นรุ่นทดสอบแบบ Alpha และจำเป็นต้องใช้ Xcode บน macOS ช่วยคอมไพล์ออกมาเป็นแอพบน iOS ให้
กูเกิลออก Android Studio Dolphin (2021.3.1) รุ่นเสถียร ตามแนวทางโค้ดเนมชื่อสัตว์เรียงตามตัวอักษร (รุ่นก่อนหน้านี้คือ Chipmunk (2021.2.1) ออกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2022) ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
กูเกิลออก Jetpack Compose ชุดเครื่องมือสร้าง UI ของ Android เวอร์ชัน 1.2 ถัดจากเวอร์ชัน 1.0 ที่ออกเมื่อกลางปีที่แล้ว และเวอร์ชัน 1.1 ที่ออกต้นปีนี้
การเปลี่ยนแปลงสำคัญใน Jetpack Compose 1.2 คือการรองรับ Wear OS อย่างเป็นทางการ ทำให้นักพัฒนาสามารถนำ Compose ไปสร้างแอพบน Wear OS ได้เพิ่มเติมนอกเหนือจาก Android เวอร์ชันหลัก
Jetpack Compose เป็นแนวทางการสร้าง UI ของ Android ยุคใหม่ที่ใช้ภาษา Kotlin และไลบรารี Jetpack (มีชื่อเรียกว่า Modern Android Development) โดยกูเกิลเองก็เริ่มปรับแอพของตัวเองมาเขียนด้วย Compose แทนแล้ว เช่น Google Play Store ส่วนบริษัทอื่นๆ ก็มีเริ่มใช้ Compose บ้างแล้วเช่นกัน ตัวอย่างคือ Airbnb
กูเกิลมีแนวทางพัฒนาแอพบน Android ยุคใหม่ที่เรียกว่า Modern Android Development (MAD) มาได้สักระยะแล้ว ประกอบด้วยภาษา Kotlin, เครื่องมือ Android Studio, ชุด API Jetpack, และชุดเขียน UI Jetpack Compose
กรณีของ Jetpack Compose เป็นชุดเครื่องมือสร้าง UI แบบเนทีฟสำหรับ Kotlin ที่ออกเวอร์ชัน 1.0 ในปี 2021 และเริ่มมีแอพดังๆ หลายตัวนำมาใช้แล้ว เช่น Twitter, Airbnb, Pinterest
ส่วนแอพของกูเกิลเองที่ใช้งานแล้วคือ Google Play Store โดยล่าสุดกูเกิลออกมาเล่าเบื้องหลังและบทเรียนการเปลี่ยนมาใช้ Jetpack Compose
JetBrains เปิดตัว Compose Multiplatform เฟรมเวิร์คสำหรับเขียน UI ของภาษา Kotlin เวอร์ชันเสถียร 1.0 พร้อมแล้วสำหรับงานโปรดักชัน
Compose Multiplatform เป็นการเขียน UI ของ Kotlin ด้วยภาษาแบบ declarative ตามสมัยนิยม โดยทำงานได้ข้าม 2 แพลตฟอร์มคือ แอพเดสก์ท็อปและเว็บแอพ ส่วน Kotlin บน Android ใช้เฟรมเวิร์ค Jetpack Compose ของกูเกิล ที่ JetBrains ระบุว่าเป็นพี่น้องกัน มี API ส่วนใหญ่เหมือนกัน สามารถแชร์คอมโพเนนต์ข้ามกันได้ และหากมีแอพ Android ที่เขียนด้วย Jetpack Compose อยู่แล้วก็สามารถนำมารันบนเดสก์ท็อปได้ง่ายมาก
Jetpack Compose คือเครื่องมือสร้าง UI สำหรับ Android ยุคใหม่ที่กูเกิลแนะนำให้ใช้งาน ในงานสัมมนา Android Dev Summit เมื่อคืนนี้ กูเกิลประกาศของใหม่ให้ Jetpack Compose หลายอย่างดังนี้
กูเกิลประกาศออก Jetpack Compose เครื่องมือสร้าง UI บน Android เวอร์ชัน 1.0 หลังเปิดตัวโครงการและพัฒนาต่อเนื่องมาราว 2 ปี
กูเกิลให้นิยาม Jetpack Compose ว่าเป็น modern toolkit for building native UI โดยตัวมันถูกสร้างขึ้นมาสำหรับแอพ Android ยุคใหม่ที่เขียนด้วยภาษา Kotlin, หน้าตาแบบ Material และใช้ส่วนขยาย Jetpack ส่วนวิธีการวาด UI จะเป็น declarative ตามสมัยนิยม
ถึงแม้ Jetpack Compose เพิ่งเดินทางมาถึงเวอร์ชัน 1.0 แต่ก็มีแอพดังๆ หลายตัวนำไปใช้งานแล้วในปัจจุบัน เช่น Twitter, Square, Airbnb, Pinterest, Lyft การที่ตัวซอฟต์แวร์นับเลขเป็น 1.0 แล้วยิ่งน่าจะทำให้แอพอื่นๆ กล้านำไปใช้งานเชิง production กันมากขึ้น
ในงานเปิดตัว Android 11 Beta กูเกิลนำเสนอ Modern Android Developement แนวทางการพัฒนาแอพยุคใหม่บน Android ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ประการที่กูเกิลแนะนำ